dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

ความสำคัญนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาปฐมวัยไทย


ความสำคัญนโยบายและยุทธศาสตร์ พัฒนาการศึกษาปฐมวัย

 

ความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) : นโยบายและ

ยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ.2550 - 2559

                                                                                                                                                                            

                                                                                                                                                                              

 

 

 

                การพัฒนาเด็กปฐมวัยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง   คุณภาพของคนเป็นเช่นไร  อยู่ที่การพัฒนามนุษย์ตั้งแต่แรกในยุทธศาสตร์การพัฒนา  พ.ศ.2550 2559  ของไทยให้ความสำคัญดังนี้

                ประการที่  1  การพัฒนามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ  โดยเฉพาะในช่วงปฐมวัยซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาทั้งปวง  ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืนและป้องกันปัญหาสังคมในระยะยาว   โดยเน้นให้ครอบครัวเป็นแกนหลักในการพัฒนาเด็ก  และให้ชุมชนและสังคมเป็นฐานที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการพัฒนาเลี้ยงดูเด็กทุกขั้นตอน

                ประการที่  2  แนวคิดเชิงทฤษฏีและผลการวิจัยด้านพัฒนาการเด็กได้แสดงว่าปัจจัยแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถปรับเปลี่ยนลักษณะการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองมนุษย์ได้  ช่วงเวลาที่สำคัญและจำเป็นที่สุดในการพัฒนาสมอง

                ประการที่  3  องค์ความรู้และแนวคิดสมัยใหม่เรื่องการพัฒนาสมอง  ในทศวรรษที่ผ่านมามีการใช้ศาสตร์ต่าง ๆ  ไปวิเคราะห์สมอง  ถ่ายภาพสมองเพื่อศึกษาพัฒนาการแต่ละขั้นตอนความรู้ใหม่  พบว่า  โอกาสแห่งการเรียนรู้และอัตราการเรียนรู้สูงสุดอยู่ในช่วงวัยเด็ก  การเติบโตและพัฒนาการของสมองเป็นรากฐานของการเรียนรู้และเริ่มตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ในช่วง  3-6  เดือนในครรภ์มีการสร้างเซลล์สมองสูงสุด  การเติบโตของสมองสูงสุดในช่วง  0-6   ปี  เป็นการเติบโตทางปริมาณ  ทำให้สมองของเด็กมีขนาด  90 95 %  สมองไม่ได้หยุดเติบโตเมื่ออายุ   6  ปี          แต่สมองเติบโตจนถึงอายุ  20-25  ปี  การศึกษาเรื่องการเรียนรู้ของสมอง  เช่น  การทำงานของสมองซีกซ้ายและขวาไม่แยกส่วนกัน  แต่จะทำงานในลักษณะร่วมกันทั้งสมองซีกซ้ายและขวา  จากองค์ความรู้นี้นำไปสู่การออกแบบการเรียนรู้สมัยใหม่  ให้เข้ากับพัฒนาการของสมอง

                ประการที่  4  การพัฒนาคุณลักษณะตามช่วงวัย  การพัฒนาคุณลักษณะของเด็กในวัย 3-5 ปี   ควรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ถูกผิด การเรียนรู้ความถูกผิด  พ่อแม่ต้องสอนเรื่องการยอมรับผิด  ไม่หยิบของผู้อื่น  ไม่ทำร้ายผู้อื่น  เด็กต้องรู้จักการถูกลงโทษ  โดยผลของการกระทำผิด               การควบคุมอารมณ์  เด็กวัยนี้อยากได้อะไรก็ต้องเอาให้ได้ดังใจ  ถ้าไม่ได้ก็จะแสดงออกอย่างรุนแรง  พ่อแม่ต้องใจแข็งไม่ยอมให้ตามที่ลูกแสดงอาการเรียกร้อง  สอนให้เด็กเรียนรู้ในการควบคุมตนเอง  ควบคุมความโกรธ  ควบคุมความอยาก  รู้จักรอคอย  พ่อแม่บางคนรู้สึกผิดที่ไม่มีเวลาให้ลูก          จึงชดเชยด้วยการซื้อของเล่นให้  เมื่อลูกขออะไรก็ให้โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม  ทำให้เด็ก      มีปัญหาในการควบคุมความอยาก

 

                ประเด็นที่  5  การพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า  การวิจัยได้แสดงว่าการลงทุนเพื่อพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงชีวิตวัยเยาว์  เป็นการลงทุนที่น้อยกว่าค่าใช้จ่ายในการตามแก้ปัญหาของสังคมที่เกิดขึ้น  เพราะความไม่มีคุณภาพของประชากรในสังคม

                ความสำคัญของเด็กปฐมวัยดังกล่าวอยู่ในนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย  ระยะยาว  พ.ศ.2550 2559  ซึ่งนโยบายและแผนดังกล่าวทุกฝ่ายในสังคมไทยจะต้องร่วมมือกันทำให้สำเร็จ  ถึงแม้จะดำเนินการเพียงเล็กน้อย  หรือเพิ่งเริ่มดำเนินการก็ดีกว่ายังไม่ได้ทำอะไรเลย

 

หมายเลขบันทึก: 293566เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2009 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

นำสื่อดีๆ ที่เห็นมิติของบุญกุศล
และองค์ความรู้ที่จะนำไปปฎิบัติในการเรียนการสอนมาฝากครับ


 

เห็นด้วยกับบทความค่ะ เพราะการพัฒนาเด็ก ต้องพัฒนาตั้งแต่ช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนา โดยเน้นให้ครอบครัวเป็นแกนหลักในการพัฒนา เด็กในวัยนี้ควรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ถูกผิด พัฒนาให้มีการควบคุมอารมณ์ พัฒนาสมอง พัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อจะได้โตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมและประเทศชาติต่อไป

โบว์-ปัทมา ศิริฤกษ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท