ความหมายของ "ความไม่ประมาท" ในพุทธพจน์สุดท้าย


ความหมายของ"ความประมาท" และ "ความไม่ประมาท" ในศาสนาพุทธ

จากพุทธพจน์สุดท้าย

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเตือนท่าน สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด

ขอนำความหมายของคำว่า ความประมาท และ ความไม่ประมาท มาบันทึกถึงหน่อยนะคะ โดยยกคำบรรยายของพระอริยสงฆ์มาเป็นบทอธิบาย

ความประมาท

ความประมาทในภาษาชาวบ้าน จะต่างจากภาษาวัด โดยทั่วไป จะหมายถึงความปราศจากสติ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ขาดความยั้งคิด ขาดความรอบคอบ ทำอะไรบุ่มบ่ามจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย แต่ในภาษาวัด จะหมายถึงความพลั้งเผลอ ละเลยในการประพฤติสุจริตและสัมมาทิฐิ มัวแต่ประพฤติทุจริต และมิจฉาทิฐิ ทำให้เสียประโยชน์ คือมรรคผลที่พึงได้ในชาตินี้และชาติหน้า ตลอดถึงพระนิพพาน ( * หน้า ๕๒๙ )

คำว่าประมาทมันรวมไว้ทั้งหมดของสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ความไม่รู้ก็รวมอยู่ในคำว่าประมาท ความอวดดีก็รวมอยู่ในความประมาท ความสะเพร่า ไม่รอบคอบ ก็รวมอยู่ในความประมาท ความขี้เกียจก็รวมอยู่ในความประมาท แม้แต่ความไม่ตั้งอกตั้งใจฟันฝ่าอุปสรรคให้สำเร็จ ก็เรียกว่าความประมาททั้งนั้น(**หน้า ๔๐)

ความไม่ประมาท

ความไม่ประมาท คำวัดใช้คำว่า อประมาท , อัประมาท หรือ อัปปะมาทะ ความหมายตรงข้ามกับความประมาท ในทางปฏิบัติ ความไม่ประมาทก็คือ สติ นั่นเอง และความไม่ประมาทนี้ เป็นธรรมที่ถือว่าเป็นหัวใจ หรือ บทสรุปรวบยอดของคำสอนทั้งหมด (* หน้า ๑๓๒๓)

พระธรรมปิฏก ( ป.อ.ปยุตฺโต ) ได้ให้ความหมายของความไม่ประมาท(อัปปมาทะ)ไว้ว่าเป็น ความเป็นอยู่อย่างไม่ขากสติ ความไม่เผลอ ความไม่เลินเล่อเผลอสติ ความไม่ปล่อยปละละเลย ความระมัดระวังที่จะไม่ทำเหตุแห่งความผิดพลาดเสียหาย และไม่ละเลยโอกาสที่จะทำเหตุแห่งความดีงามและความเจริญ ความมีสติริบคอบ

ความไม่ประมาท พึงกระทำในที่ ๔ สถานคือ ๑.ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต ๒. ในการละวจีทุจริต ในการประพฤติวจีสุจริต ๓.ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต ๔.ในการละความเห็นผิด ประกอบความเห็นที่ถูก;อีกหมวดหนึ่งว่า ๑.การระวังใจไม่ให้กำหนัดในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ๒.ระวังใจไม่ให้ขัดเคือง ๓.ระวังใจไม่ให้ไม่ให้หลง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๔.ระวังใจไม่ให้มัวเมา ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา (*** หน้า ๓๔๑ )

ส่วนท่านพุทธทาส เน้นไปที่ ความไม่ งมงาย ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตน ของตัวของตน ท่านว่าให้ศึกษาเรื่องจิตว่างให้กระจ่าง (**** หน้า ๒๓๕ )

ไม่ว่าจะเน้นไปทางใด ไม่ประมาทไว้เป็นดีที่สุดค่ะ เพราะเราอาจจะถึงกาลมรณะด้วยลมหายใจถัดไปก็ได้ จึงควรใช้เวลาขณะที่ยังมีลมหายใจอยุ่ให้ดีที่สุด

...................................................................

อ้างอิง

* พระธรรมกิตติวงศ์ ( ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ธรรมสภา ๑/๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ ๑๐๑๗๐

**พุทธทาสภิกขุ พจนานุกรมธรรมของท่านพุทธทาส ธรรมสภา ๑/๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ ๑๐๑๗๐

***พระธรรมปิฏก ( ป.อ.ปยุตฺโต ) พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๑ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงทพ ๑๐๒๐๐

****พุทธทาสภิกขุ ภาษาคน - ภาษาธรรม ธรรมสภา ๑/๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ ๑๐๑๗๐

หมายเลขบันทึก: 292349เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2009 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2013 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ตราบใดที่มนุษย์รู้จักตัวตนของตน ตราบนั้นตัวตน ๆ นั้นก็จะประคองตนให้สมตนได้ชั่วกาลตน

บางครั้งตนเองก็เผลอ...เผลอ = ประมาท ทำสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ทันได้คิด หรือคิดแล้วแต่คิดไม่ถึง...ว่าจะเป็นอย่างงั้นอย่างนี้ตามมา ฮ้าย!!แย่จัง

ขอบคุณค่ะใช้ชีวิตไม่ประมาทเช่นเดียวกับพี่ตุ๊กตา..บ้างคงดีนะคะ..

สวัสดียามเย็น เจ้า

            ทำอะไร  ๆ ๆ  ต้องไม่ประมาท

                 การใช้ชีวิต  ต้องไม่ประมาท

                         การใช้ชีวิต "คู่ " ต้องไม่ประมาท

 

                                 ขอบคุณนะคะ

  • สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดา แวะมาเยี่ยมเยียนค่ะ
  • ศึกษาธรรมได้ลึกซึ้งจริง ๆ เห็นจากอ้างอิงหลายเล่ม 
  • ขอให้รักษาความดี ประดุจเกลือรักษาความเค็ม 

มาชม

มาเชียร์

เป็นธรรมะน่าสนใจดีจัง

อตมา ขออนุญาตินำข้อมูลนี้ไปใช้ประกอบในงานวิจัย ท่านอาจารย์ เจริญพร


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท