7 "รู้" คาถาดีจากอาจารย์แม่


  • วันนี้โชคดีมากได้เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษของอาจารย์แม่ รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยราชมงคล สุรินทร์
  • ท่านได้ให้ข้อคิดศาสตร์และศิลป์ ของความเป็นครูเพื่อศิษย์ เพื่อประเทศชาติไว้อย่างน่าสนใจ จึงขอนำบทเรียนบางส่วนมานำเสนอดังนี้ครับ

 

1. รู้เขา รู้เรา

2. รู้เหตุ รู้ผล

3. รู้ตน รู้ใจ

4. รู้ให้ รู้รับ

5. รู้ปรับ รู้อยู่

6. รู้สู้ รู้รุก

7. รู้ผูก รู้แก้

 

(ต้องไปขึ้นรถกลับโรงแรมแล้วครับ จะกลับมาเขียนต่อ)

คำสำคัญ (Tags): #อาจารย์แม่
หมายเลขบันทึก: 292278เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2009 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ มาขอแบ่งคาถาอาจารย์แม่ไปใช้บ้างครับ ขอบพระคุณ

Img_50488

หัวอกคนไทย

4 ความคิดเห็น โดย sutthinun เมื่อ 23 สิงหาคม 2009 เวลา 9:10 ในหมวดหมู่ สวนป่าฮาเฮ #

อ่าน: 145

 

คนเรามีเวลาอยู่บนโลกนี้ประมาณ 100 ปี

ส่วนจะอยู่มากน้อยย่อมขึ้นปัจจัยและเงื่อนไขที่ดำเนินชีวิตแห่งตน

บางคนอยู่นานทุกข์ทรมานทำให้เปลืองทรัพยากรโลก

บางคนอยู่เพราะยังมีลมหายใจก็ซังกะตายอยู่ๆไป

อยากจะยื้ออยู่เพื่อสร้างความกระเหี้ยนกระหือให้บ้านเมือง

อยู่ทำไม อยู่ทำอะไร เปลือกอ็อกซิเย่นเปล่าๆ

 

จำนวนพลเมืองโลกนับวันจะมากขึ้น มนุษย์ดิ้นรนที่จะอยู่กันไปอย่างทรหด สิ่งเรียกว่าความเจริญ หรือการพัฒนา แต่ที่จริงแล้วสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆเหล่านั้นส่วนมากกำลังทำลายล้างความปกติของโลก ทำไปเพื่อบำรุงกิเลศและบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า คนผิดปกติ สังคมผิดปกติ โลกผิดปกติ ถามว่ารู้วิธีที่จะอยู่กับความปกติทั้งมวลนี้แล้วหรือยัง

 

มนุษย์สาละวันสาละวนกับการสร้างมลภาวะทางจิตใจให้หยาบกระด้างขึ้น เชื้อความไม่ชอบมาพากลแพร่กระจายไปทุกหย่อมหญ้า ถ้าศีลธรรมอ่อนแรงก็หมายว่ามนต์ดำกำลังกล้าแข็งขึ้น วินัยทางสังคมที่ทุกศาสนาทำหน้าที่โอบอุ้มเสื่อมอานุภาพ สภาพแวดล้อมของโลกก็เสื่อมโทรมตามไปด้วย

ยังจะเรียนฟรี 15 ปี เพื่อไปวิ่งสอบจนขาขวิดอย่างนั้นหรือ

ทำไมไม่เรียนฟรี 15 ปี ที่จบออกมาทำอะไรๆได้บ้าง

วิชาความเป็นผู้เป็นคนทำไมไม่สอนกันบ้าง

ความสุข ความดีงามมีจริงไหม หรือว่าดีแต่เล่นชิวหากันไปวันๆ

เมื่อการศึกษาหลงทิศทาง ตัวก่อปัญหาไม่สำนึก

ปัญหาจึงก่อหวอดขึ้นทุกหัวระแหง

จิตใจคนเน่าอะไรๆก็ส่งกลิ่นตุๆ

คุยกันที่ร้านไก่ตะกร้าเมื่อคืนนี้ว่า..วันนี้ลำพูนรถติดทั่วเมือง..คนนับแสนแห่กันมาสอบบรรจุและส่งญาติมิตร..เหนื่อยกันตั้งแต่ฟ้ายังไม่สว่าง คุณครูเพิ่งกลับกันหมดเมื่อสักครึ่งชั่วโมงนี้ ถ้าลูกหลานไทยต้องวิ่งสอบคราวละหลายหมื่นคนในทุกสนาม เพื่อบรรจุเข้าทำงานครั้งละ100-200คน เพื่อสนับสนุนความเชื่อที่จะต้องเป็นเจ้าคนนายคน..ความเชื่อที่ก่อวิกฤติผิดปกตินี้มีใครรับผิดชอบ มีใครเป็นเจ้าภาพ มีใครเป็นตัวหลักที่จะแก้ไข คนตกงาน คนว่างงานจริงๆมีแค่ไหน เพราะอะไร ที่สำคัญมองเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ หรือผืดปกติ ใส่ใจที่จะแก้ไขไหม หรืออยู่ซังกะตายเพื่อเดินหน้าสร้างปัญหาต่อๆไป

ยังจะเรียนฟรี15ปี เพื่อไปวิ่งสอบจนขาขวิดอย่างนั้นหรือ

ทำไมไม่เรียนฟรี 15 ปี ที่จบออกมาทำอะไรๆเป็นบ้าง

วิชาเป็นผู้เป็นคนทำไมไม่สอนกันบ้าง

จะเอาคนที่กำใบปริญญาจนเปียกชื้นไปวางไว้ตรงไหน ในเมื่อความรู้ที่อ้างไว้ในกระดาษขาดคุณค่าอย่างร้ายแรง เมื่อไม่รู้จริงจะไปแปลงเป็นมูลค่ามันก็ยากอย่างที่เห็นตำตา ถามว่าเราจะให้ลูกหลานเรียนไปทำอะไร เรียนไปแล้วทำได้จริงหรือไม่ ถ้าเรียนความไม่จริง จะทำอะไรๆได้จริงอย่างนั้นหรือ การศึกษาที่ไม่สมประโยชน์ไม่คุ้มทุนคุ้มค่านี้ตีเป็นความสูญเสียปีละกี่แสนกี่ล้านๆบาท คนไทยลำบากหาเงินมาส่งลูกเรียนอย่างกระเสือกกระสน จบมาแล้วต้องขอดเงินจนหมดตัวซื้อตำแหน่งให้ลูกอีก

 

มองให้ชัดว่าระบบราชการที่ผ่านมาอาจจะดูดี แต่ต่อไปนี้ไม่ใช่แล้ว มันไม่ได้ดีกว่าการทำงานภาคเอกชน หรือทำงานอาชีพอิสระ ถ้าจะเปลี่ยนแนวทางการศึกษาแบบอุ้มช้างรอดรูเข็ม ก็ควรจะผ่าตัดแผนการศึกษาชาติใหม่ เลิกค่านิยมเชิงเดี่ยว จะเป็นมนุษย์เงินเดือนอย่างเดียว ควรจะเอางานเป็นเป้าหมายชีวิต ถ้างานดีเงินจะไปไหนเสีย เปิดโอกาสให้องค์กรหรือสถาบันต่างๆมีอิสระมีส่วนวางแผนในการคิดและทำเรื่องที่คลี่คลายปัญหาของการศึกษาชาติ ลงทุนสร้างครูพันธุ์ดี คัดกรองคนที่แฝงตัวมาเป็นครูออกไป ให้ครูอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ดูแลครูให้มีรายได้คุ้มกับรายจ่าย ไม่ต้องงมโข่งทำอาจารย์3แบบพิสดาร

 

ไม่แน่นะ..

จุดจบของการศึกษาไทยอาจจะส่งผลกระทบไปจนกระทั้งสิ้นชาติ

ในเมื่อคนสมัยนี้เห็นเรื่องของตนเองสำคัญกว่าชาติ

คนไทยบางส่วนไม่มีความรู้เพียงพอที่จะดูแลตัวเองได้

รัฐบาลก็ต้องมาแบกภาระให้คนที่ไม่มีทางออกเหล่านี้

ไม่แบกได้ไหม..ไม่ได้หรอก

เพราะเป็นคนไทยที่มีสิทธิกาคะแนนเลือกควายเข้าคอก

เงินไม่มากาไปถูกเสียด้วยสิ

ที่เขาเป็นอย่างนี้ก็เพราะพวกคุณพ่อรู้ดีทั้งหลายนั้นแหละ

มาฝึกอบรมให้เขาสิ้นไร้ไม้ตอก

 

นี่แหละวิบากกรรมประชาธิปตายอย่างเขียดแบบไทยๆ

สุดท้ายสังคมก็ถูกลอยแพ

จะให้คนที่ไส้เต็มไปด้วยน้ำเหลืองคิดทำอะไร

ลำพังช่วยเหลือตนเองก็ย่ำแย่อยู่แล้ว

ประเทศชาติที่ไร้ศักยภาพจะไปต่อสู้หรือแข่งขันใคร

ประเทศที่เต็มไปด้วยคนอ่อนแอ จะเป็นอย่างไร

 

สุดท้ายก็ขายๆๆทุกอย่างที่ขวางหน้า

ขายทรัพยากรธรรมชาติ ขายทรัพยากรมนุษย์

ขายสิทธิในการแสวงหาประโยชน์ให้ต่างชาติ

ขายอำนาจหน้าที่

ขายความเป็นคนไทย และวัฒนธรรมประเพณีไทย

ขายแม้กระทั่งอนาคตไทย

ตอนนี้กำลังสนุกกับการขาย

ขายกันเก่งเหลือเกิน

เจ้าพวกพ่อค้าพันธุ์ใหม่

 

 

หมายเหตุ:

  1. ไม่ใช่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ แต่ทำเรื่องอะไรก็ได้ให้มีชีวิตชีวา
  2. ทำเรื่องต่างๆให้เกิดคลื่นความสุข ความคิด ความคันในหัวจ๋าย
  3. ทำเรื่องมิตรภาพให้เกิดมิตรสัมพันธ์ยิ่งขึ้น
  4. แสวงหาประโยชน์จากความรักและัคิดถึง ให้สมประโยชน์ทุกฝ่าย
  5. เปิดพื้นที่ทางสังคม ให้มาระดมขายความคิด ในเป้าหมายที่กำหนด
  6. เป็นการบริหาร หรือทดสอบ ความยับยั้งชั่งใจ มาไม่มา
  7. เป็นการประเมินความรักและคิดถึงระหว่างกัน
  8. ยกระดับศักยภาพสมาชิกให้เป็นตัวคูณของกันและกัน
  9. เป็นการมาร่วมแสดงความยินดี ความก้าวหน้ากิจการงานตาหวาน
  10. เป็นการเพิ่มเติม สารtให้หนังสือเจ้าเป็นไผ 4
  11. มาแล้วได้กอดเป็นของแถม
  12. ไม่มา เสียดายของแถม

แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาไทย อาจารย์หมอประเวศ วะสี ชี้ช่องดังนี้

เนื้อหาความรู้ในโลกนี้เพิ่มขึ้นรวดเร็ว

ประมาณว่าเพิ่มขึ้นเท่าตัวภายในเวลา3-4ปีเท่านั้น

แต่เวลาเรียนยังมีอยู่เท่าเดิม

การพยายามยัดเยียดความรู้ขนาดมหึมาเข้าไปในเวลาเท่าเดิม

จึงไม่ต่างกับการจับช้างยัดเข้าไปในรูเข็ม

จึงลำบากและบอบช้ำอย่างยิ่ง

ครูก็ลำบากเพราะไม่สามารถจดจำเนื้อหาต่างๆได้

ครูจึงขาดความมั่นใจ

ครูจึงหาทางออกด้วยการแบ่งกันสอนเป็นวิชาๆ

แต่นักเรียนไม่มีทางออกต้องเรียนทุกวิชาแบบแยกส่วน

สุดท้ายก็ฝืนทนไม่ไหว

ถ้าครูทิ้งเด็ก เด็กก็จะทิ้งครู

ถ้าครูทิ้งโรงเรียน ทิ้งสังคม

สังคมก็จะทิ้งโรงเรียน

เด็กจำนวนมากจึงทิ้งครู ทิ้งโรงเรียน ทิ้งการเรียนที่น่าเบื่อหน่าย

หันไปแสดงออกด้วยการ ปาหินใส่รถยนต์ในยามค่ำคืน

ยกพวกตีกัน และประชดชีวิตต่างๆนานา

เพราระบบการศึกษาปรับตัวไม่ทันกับการจัดการสอนเด็กพันธุ์ใหม่

การเรียนโดยเอาวิชาเป็นตัวตั้ง

โดยไม่เอาวิถีชีวิตเป็นตัวตั้ง

ทำให้เกิดปัญหาตามมาเช่น

1. เรียนยาก

เพราะท่องจำไม่ไหว นักเรียนเกือบทั้งหมดกลายเป็นคนไม่เก่งแต่ละคนมีความชอบความถนัดต่างกัน ถ้าได้เรียนสิ่งที่ชอบจะง่ายและเรียนเก่ง การถูกบังคับให้ท่องจำมากมาย ทำให้ขาดความสุข ขาดการสร้างสรรค์ เป็นการทำลายศักยภาพของคนอย่างรุนแรง ทำให้คนส่วนใหญ่ขาดความมั่นใจและความภูมิใจในตนเอง

2. มีปริญญาแต่ทำอะไรไม่เป็น

เคยมีคนถามคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ว่าคุณเจริญ คุณก็มีโรงแรมมาก ทำไมคุณไม่จ้างคนไทยทำงาน คุณเจริญตอบว่า ผมจ้างแล้ว เขามีปริญญาแต่ทำงานไม่เป็น

3. เกิดความแปลกแยกจากเพื่อนมนุษย์และความเป็นจริง

เด็ก ที่เรียนแบบท่องจะเครียดมาก ไม่อยากคุยแม้แต่กับพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย เพราะคุยแล้วไม่ได้คะแนน คะแนนไปอยู่ที่วิชา การเรียนแบบนี้จึงไม่ให้ความสำคัญสัมพันธภาพใด ๆ ในสังคม เหมือนเด็กถูกตัดขาดหรือไปถูกกักขังอยู่กับ“วิชา” ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและสังคมที่เปลี่ยนแปลง

4. ขาดศีลธรรม

ศีลธรรมเกิดจากวิถีชีวิตร่วมกัน การเรียนวิชาศีลธรรมสร้างไม่ได้ เมื่อเรามองการเรียนเป็น“วิชา”ไป หมด ไม่มองว่าการเรียนรู้เกิดในวิถีชีวิตและการทำงาน เมื่อระบบการศึกษามาแยกผู้คนออกจากวิถีชีวิตจริง ความเสื่อมเสียทางศีลธรรมก็หนีไม่พ้น

5. ตัดรากทางวัฒนธรรม

วัฒนธรรม คือวิถีชีวิตร่วมกันของชุมชน ที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆ บุคคลเรียนรู้ในวัฒนธรรมได้ง่าย เพราะผู้คนเขาปฎิบัติอยู่รอบตัว ต้นไม้ต้องมีรากฉันใด สังคมก็เช่นเดียวกัน

จะเห็นว่าหนทางเกียรติยศอันคับแคบของระบบการศึกษาปัจจุบัน ก่อให้เกิดความบีบคั้นอย่างหนักในสังคม เราควรจะผ่าตัดระบบการศึกษาอย่างถึงรากถึงโคนไหม จุดเปลี่ยนอยู่ที่การเคารพความรู้ในตัวคน เราไม่ได้ปฏิเสธความรู้ในทางทฤษฎีและความรู้ในตำรา เพียงแต่ควรจัดสัมพันธ์ความรู้ในตัวคนกับความรู้ในทฤษฎีให้ถูกต้อง อะไรเป็นฐาน อะไรต่อยอด อะไรเป็นส่วนเสริม

“การจัดการความรู้” คือรูปธรรมของการเคารพความรู้ในตัวคน เท่าที่ประเมินสถานการการศึกษาในปัจจุบัน ถามว่าไม้ซีกอย่างเราจะไปงัดอะไรได้การศึกษาไทยถูกคุมกำเนิดไปแล้ว เห็นแต่ความดันทุรังที่จะปีนเกลียวความจริงอย่างที่ท่านอาจารย์หมอประเวศบอก

: ประมวลบทวิพากษ์จากเหล่าเครือญาติเฮฮาศาสตร์

Logos 17 สิงหาคม 2009 21:25

ลงชื่อจองก่อนเลยครับ (ไม่ขอรับตั๋วเครื่องบินที่ต้องจ่ายเอง) เดี๋ยวจะมาเขียนเพิ่มครับ ทั้งหมดเป็นการตีความส่วนตัว จะตรงหรือไม่ตรงกับใครก็ไม่นะแปลกครับ

KM ธรรมชาติ

วิทยาการต่างๆ ก้าวหน้าไปตามโลก จนระบบการศึกษาไม่สามารถให้ได้ทั้งทางกว้างและทางลึกพร้อมกัน การศึกษามุ่งสร้างคนลงไปในทางลึกและแคบ โดยการพัฒนาคน เริ่มเดินลงไปในเหวแคบๆ ตั้งแต่ระดับมัธยมปลาย เมื่อเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี แม้หลายมหาวิทยาลัยจะเปิดให้ลงทะเบียนข้ามคณะได้ แต่นักศึกษากลับไม่มีความรู้เพียงพอที่จะทำเช่นนั้น พอเรียนสูงๆ ขึ้นไป กลับยิ่งลุ่มหลงอยู่ในกรอบแคบๆ แต่ลึกล้ำมากขึ้น จนความรู้ที่ร่ำเรียนมา ก็นำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตได้น้อย/แคบลงเรื่อยๆ

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับชีวิตเป็นสหวิทยาการ การดำรงชีวิตต้องการความรู้และทักษะที่หลากหลาย ซึ่งการเรียนรู้จากการศึกษาในระบบอย่างเดียว ไม่พอที่จะทำให้ชีวิตรอดอยู่ได้ และไม่มีใครรู้ทุกอย่าง

KM ธรรมชาติ เริ่มจากโจทย์ในชีวิตจริง ถูกวางไว้กลางวงเครือข่ายกัลยาณมิตร ใครมีความเห็นอย่างไรก็ใส่ลงมาโดยความสมัครใจ จะถูกหรือผิดอย่างไรยังเป็นเรื่องรองลงไป ทั้งนี้เป็นเพราะความจริง “มีหลายมุม” สิ่งที่ “ถูกต้อง” จากมุมหนึ่ง อาจ “ไม่ถูกต้องนัก” จากอีกมุมหนึ่ง — ขึ้นกับเหตุผล ข้อจำกัด และบริบทของปัญหา; จะถูกหรือจะผิดยังเป็นเรื่องรองลงไป เราไม่ได้ทำข้อสอบ เรื่องที่สำคัญกว่าคือความเหมาะสม และการเข้ากับบริบทของปัญหาได้หรือไม่ การนำปฏิบัติได้หรือไม่

ในเครือข่ายกัลยาณมิตรที่มีความรู้จักคุ้นเคยกันจนเข้าใจดีถึงความรู้ ความชำนาญของสมาชิกแต่ละคนนั้น ผู้ถามชั่งน้ำหนักของคำตอบต่างๆ จากบริบทและเหตุผลของคำตอบ ได้ดีกว่าการดูจากตำแหน่ง หน้าที่การงาน หรือหน้ากากของผู้ตอบ; คำตอบที่ผู้ถามนำไปใช้ อาจจะไม่ใช่คำตอบที่มาจากผู้ตอบท่านใดเลย แต่อาจเป็นคำตอบที่สังเคราะห์ขึ้นใหม่ (อาจจะเนื่องจากคำตอบของผู้ตอบ ทำให้เห็นแง่มุมอื่นที่นึกไม่ถึงมาก่อน แล้ว “เอ๊ะ” ขึ้นมา — และไม่ได้เป็นข้อสอบปรนัย) ผู้ตอบไม่ได้ตอบเพื่อรางวัลใดๆ แต่ให้ความเห็นช่วยเพื่อนจากสิ่งที่ตนมองเห็น ถ้าผู้ถามคิดว่าคำตอบใช้ได้(แม้บางส่วน) ก็เอาไปใช้ ถ้าใช้ไม่ได้ ก็วางไว้เฉยๆ

KM ธรรมชาติ จึงไม่ได้เป็นการจัดเก็บความรู้ตามรูปแบบของบรรณารักษ์ศาสตร์ แต่เป็นการ “รู้” ว่าจะไปหาคำตอบที่ไหน/อย่างไร; เป็นการร่วมกันคิด ร่วมกันแสดงความคิดเห็น คือมีเครือข่ายกัลยาณมิตรเป็นแหล่งทรัพยากร; มีการพิจารณาความเป็นมาของคำตอบ ไม่ใช่เพียงใครตอบว่าอะไร แต่เป็นคำตอบนี้เป็นมาอย่างไร เหมาะสมหรือไม่ ฯลฯ เป็นการแสวงหาคำตอบแบบร่วมกันเรียนรู้ เข้าใจได้ตามพื้นฐานของแต่ละคน และในกรณีที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านบล็อก ก็เรียนด้วยอัตราที่แต่ละคนสบายใจ เร็วช้าไม่สำคัญ (ไม่เข้าใจก็อ่านซ้ำ อ่านซ้ำแล้วไม่เข้าใจก็ถามได้)

ถ้าเรียนรู้เป็น ผู้ถามไม่ใช่แต่รับรู้คำตอบแต่เรียนที่จะพิจารณาคำตอบต่างๆ ผู้ตอบแตกฉานชัดเจนในสิ่งที่ตนตอบยิ่งขึ้นและเห็นมุมมองจากคำตอบอื่นๆ ผู้อ่านที่ไม่ได้ร่วมตอบก็ยังได้คิดได้พิจารณา

Logos 17 สิงหาคม 2009 22:58

ผมไม่เขียนเรื่องพันธมิตรทางวิชาการ กับการทำงานอิงระบบต่อแล้วนะครับ คงมีคนมาตอบอีกเยอะ แต่จะว่าต่อตรงนี้ครับ

(1) ยุคโรงเรียนชุมชนอีสาน ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ 2 คน และนักเรียนโรงเรียนชุมชนอีสาน 10 คน
(2) ยุคกรมราษฎรส่งเสริม (โครงการนักจัดการความรู้ในชุมชนฯ) สมาชิกฐานการเรียนรู้ชุมชนฐานละ 5 คน จำนวน 5 ฐานการเรียนรู้
(3) ยุคมหาชีวาลัยอีสาน กลุ่มเฮฮาศาสตร์ กลุ่มลานปัญญา
(4) กลุ่มพันธมิตรทางวิชาการจากหน่วยงานชุมชน ราชการ และเอกชน

โรงเรียนชุมชนอีสาน สอนโดยถามคำถาม สอนให้ “เอ๊ะ” (หมายถึง “เอ๊ะ ทำไมจึงคิด/ทำอย่างนั้น”) ไม่ให้ “อ๋อ” (หมายถึง “อ๋อ อย่างนี้เองจึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง”)
กรมราษฎรส่งเสริม พาเรียนจากของจริง เรียนการปรับตัวเอาชนะข้อจำกัด แง่คิด และศึกษาผลลัพธ์ - แต่คนเรียนไม่เขียนบล็อก เพราะไม่เข้ากับชีวิตเขา
มหาชีวาลัยอีสาน ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รู้จักคน รู้ว่าหาความรู้ในตัวคนอะไรได้ที่ไหน เป็นเครือข่ายที่แตกต่างแต่ไม่ผิวเผิน - เหมือนอ่านหนังสือ 50 เล่ม ก็ไม่จำเป็นต้องจำให้ได้ทุกตัวอักษร แต่ต้องรู้ว่าควรค้นหาแนวทางคำตอบจากหนังสือเล่มใด
กลุ่มพันธมิตรทางวิชาการ เชื่อมกลุ่มต่างๆ ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน แต่ละกลุ่มเป็นอิสระแต่เรียน+ปรับใช้ความรู้จากกลุ่มอื่นได้

สิทธิรักษ์ 17 สิงหาคม 2009 22:19

ไม่ว่าไปทางใด ธรรมชาติของ เฮฮาฯล้วนก่อกำเนิดด้วยบุคคลและคณะบุคคลกลุ่มเล็กๆ โดยธรรมชาติ การพัฒนาเป็นไปด้วยการวิวัฒนาการจากเรียบง่ายสู่ความซับซ้อน
เป็นไปตามการกระตุ้นของ ครูบาสุทธินันท์ สังคมเฮฯแปลกและมีเอกลักษณ์เฉพาะ ความเชื่อมโยงเกาะเกี่ยวเป็นไปด้วยบรรยากาศ
เฮฮาฯ เกิดมาด้วยความอุตสาหของ ครูบาฯ และกลุ่มสังคมที่เป็นเฉพาะ ไม่ว่าที่ไหน แห่งใด วิชาการ กรรมกร นักเลง คนรู้มาก คนรู้น้อย
การหลอมรวมของสังคมเช่นนี้ ย่อมมีปฏิกิริยาและปัญหาเกิดขึ้นต่างๆ ฐานความรู้ ฐานคิด ฐานะทางสังคมซึ่งแตกต่างกัน แต่ก็ยังสามารถรวมกลุ่มกันได้อย่างเหนียวแน่น
ฉะนั้นอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าที่ไหน เมื่อไหร่ การเคลื่อนไหวของเฮฮาฯ ย่อมเป็นได้เสมอ และไม่ผูกติดกับสถานที่และเวลา และไม่มีทางถูกครอบงำได้ มีความอิสระและเสรี

•·         ไม่ว่าสิ่งอะไรก็ตาม สถานการณ์ใดก็ตาม เฮฮาฯสามารถดำรงอยู่ได้ และอยู่อย่างมั่นคง โดยภายใต้การนำของ ครูบาฯ โดยไม่ผูกติดกับค่ายหรือองกรณีใดๆ
เพิ่มเติมใน http://lanpanya.com/dongluang/archives/439#comment-266

ป้าหวาน 17 สิงหาคม 2009 22:44

มาตอบค่ะ
คำถามหลัก
อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระบวนการจัดการความรู้ตามแนวคิดของครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ทำให้ชุมชนหรือสังคม มีการพัฒนาไปสู่การเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา และการเรียนรู้
คำตอบก็คือ คำถามรองนั่นเอง
1 KM.ธรรมชาติ
2 พันธมิตรทางวิชาการ
3 การทำงานอิงระบบ
อธิบายคำตอบในคำถามรอง เนื่องจากกระบวนการของครูบาอิงธรรมชาติของคนคือ
คนมีธรรมชาติในตัวตนมีความต้องการลึกๆคล้ายๆกัน การจัดการกระบวนการเรียนรู้ของพ่อครูได้อาศัยความต้องการลึกๆนี้เป็นตัวเชื่อมโยงทุกๆคนเข้าหากัน อะไรคือความต้องการนั้น ถามใจตัวเองว่าต้องการอะไร คือคำตอบที่จะเข้าใจได้ด้วยตัวเองค่ะ ทุกคนต้องการจะได้รับความรู้สึกดีๆและต้องการให้ความรู้สึกดีๆตอบแทน นั่นคือการเปิดใจ อะไรก็ตามที่ถูกดำเนินการด้วยความเต็มใจ ก็จะทำให้ทุกคนมีจุดร่วมเดียวกัน ต่อมาคือ โอกาส และ อิสรภาพ ในกระบวนการของพ่อครูเปิดโอกาสเสมอให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และ ความรู้สึก ช่วยกันคือรูปแบบ ไม่มีใครต้องฝืนใจทำอะไรเพราะจะไม่ทำก็ไม่มีใครว่า ในใจทุกคนปรารถนาดีต่อกันจึงเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวขึ้น

•·         พันธมิตรทางวิชาการ ในเฮฮาศาสตร์มีผู้คนหลายวัย หลายอาชีพ แต่ละคนมีประสบการณ์อันมีค่า และหลายๆท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวิขาการ เริ่มจากใจมีความปรารถนาดีต่อกัน และปรารถนาที่จะรับความรู้ต่างๆ มีความไฝ่รู้จึงได้เข้ามาในลานปัญญา ในขณะเดียวกัน ด้วยความปรารถนาดีจึงเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ให้บนลานผ่านบันทึกและผ่านคอมเม้นท์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างความสัมพันธ์และให้ความรู้ในขณะเดียวกัน ดังนั้นเมื่อมีการเสวนาที่ใด เมื่อใด ก็สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ไม่ยากเลย ได้หลากหลายความรู้ ความคิด ขยายวง ต่อยอดได้อีกด้วย
การทำงานอิงระบบ จากประสบการณ์ผู้ทรงคุณวุฒิหลายๆท่าน การจัดการและการทำงานในกระบวนการของครูบาจึงมีขั้นตอน มีการเรียงลำดับอย่างมีหลักการเพียงแต่มีความยืดหยุ่นสูงซึ่งกลับทำให้การเชื่อมต่อทำได้ง่าย เหมือนการสานร่างแหที่สามารถ ยืดหด เปลี่ยนมุม เอาออก เอาเข้า ได้ง่ายๆเพราะไม่ตายตัว แต่ทำได้เพราะมีความเข้ากันได้อยู่แล้วในแต่ละเส้นใย

dd_l 17 สิงหาคม 2009 23:26

มองว่า กระบวนการจัดการความรู้ของครูบา เกี่ยวข้องกับศรัทธาและสัมพันธภาพ

ครูบาเป็นจุดรวมใจและจุดเริ่มต้น ที่มีฐานบนความศรัทธา

ศรัทธาในภูมิปัญญา ความรู้ วิธีคิด ทัศนะต่อการดำเนินชีวิต
ศรัทธาในความเป็นนักพัฒนา นักสู้ชีวิต ความเป็นคนจริง กล้าคิด กล้าทำ กล้าลอง
ศรัทธาในวิถีปฏิบัติ การพัฒนาตน เป็นนักเรียนรู้
ศรัทธาในความเป็นตัวตนที่เป็นธรรมชาติ จริงใจ สุภาพอ่อนน้อม เมตตา อบอุ่น
เป็นกัลยาณมิตร
ศรัทธาในการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย และมุ่งมั่นในการทำหน้าที่เพื่อสังคม ประเทศชาติ

จากฐานของความศรัทธา พัฒนาสู่สัมพันธภาพ ระหว่างกันผ่านการสื่อสาร

ทั้งการเขียน การติดตามอ่านเรื่องราวที่แบ่งปันบนบล็อก
ครูบาทำหน้าที่เชื่อมโยงสายสัมพันธ์ ด้วยวิธีการที่เป็นกันเอง
ครูบาทำหน้าที่เป็นตัวอย่างในการเขียนอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
แลกเปลี่ยนความคิด กระเซ้าเย้าแหย่ด้วยมิตรไมตรี
ทั้งชวนให้มีกำลังใจในการเขียน
แนะนำคนนี้ บอกเล่าเรื่องราวของคนนั้น
ทำให้รู้จักกันผ่านเรื่องราว ความคิด ความรู้สึก ก่อเกิดความคุ้นเคยใกล้ชิด

สัมพันธภาพ แน่นแฟ้นมากขึ้น ด้วยกิจกรรมที่คิดทำร่วมกัน

จากการสื่อสารผ่านโลกเสมือน สู่การพบปะ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
กิจกรรมที่ทำร่วมกันในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ไม่เป็นทางการ ช่วยสานสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกัน
เรื่องราวที่ได้ร่วมกันเรียนรู้และมีประสบการณ์ร่วม นำให้เกิดความใกล้ชิด การพบปะระหว่างบุคคล ก่อให้เกิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมิติที่ลึกซึ้งมากขึ้น
โอกาสในการเรียนรู้กันและกันในมิติที่ลึกซึ้งมากขึ้น ก่อให้เกิดการยอมรับนับถือ เคารพศรัทธาในความรู้ ความคิด ตัวตน ซึ่งกันและกัน
โอกาสในการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน นำสู่วัฒนธรรมกัลยาณมิตรและเครือญาติสัมพันธภาพแบบเครือญาติ นำสู่การช่วยเหลือ แบ่งปัน ดูแล ใส่ใจ ซึ่งยิ่งก่อให้เกิดสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นมากขึ้น

วัฒนธรรมการเป็นกัลยาณมิตร และเครือญาติ จึงก่อให้เกิด

การพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ความคิด ความหวัง ความรู้สึก อย่างสม่ำเสมอการช่วยเหลือระดมสรรพกำลังในการแก้ไขปัญหา ดูแล ใส่ใจ ให้กำลังใจ ให้ความเชื่อมั่น ด้วยวิธีต่างๆ ด้วยใจที่มุ่งสู่การแบ่งปันมากกว่าความต้องการได้รับประโยชน์
การเชื่อมโยงเครือข่าย ที่ขยายจากสมาชิกในกลุ่มต่อเนื่องออกไป
และต่างได้เรียนรู้ เติบโต งอกงาม มีความสุข มีความผูกพันซึ่งกันและกัน

เป็น” กระบวนการจัดการความรู้ตามแนวคิดของครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์” ตามที่รู้สึกและสัมผัสได้

25 handyman 18 สิงหาคม 2009 6:31

เมื่อครูน้อยยังไม่มา ก็ขอว่าเสียเองอีกหน่อย ตามประสาผู้มีเวลาน้อย เพราะต้องเตรียมตัวอพยพครั้งใหญ่
จาก ..
3. มีปัญหา และข้อจำกัดอะไรบ้าง ในกระบวนการจัดการความรู้ตามแนวคิดของครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
.. การปล่อยให้ยืดหยุ่นเป็นธรรมชาติเป็นเรื่องดี เพราะจะมีผลที่ยั่งยืน แต่หากยืดมากเกินไป จะเป็นจุดอ่อน คือไม่สามารถสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่า หรือแก้ปัญหาได้อย่างฉับไว ทันการณ์ได้
.. ศักยภาพในตัวบุคคลที่มีอยู่มากและหลากหลาย ยังไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ในการดึงความรู้ ความสามารถของบุคคลออกมาใช้ ทั้งๆที่ทุกคนมีใจพร้อมลุย ควรมีกระบวนการคัดกรอง จัดการให้มีข้อมูลในลักษณะ Tacit Knowlede Mapping ให้ได้เห็นชัดว่าเรื่องไหน ใครคือคน หรือ กลุ่มคนที่จะเป็นแกนในการทำงานในโอกาสต่างๆ
.. มีโอกาสค่อยมาต่อครับ

19 Logos 18 สิงหาคม 2009 0:17 |

ปัญหาและข้อจำกัดในกระบวนการจัดการความรู้ตามแนวคิดของครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
@ ตัวครูบาสุทธินันท์ เป็นศูนย์กลางสำคัญของกระบวนการ (KM แบบครูบามีคนเป็นศูนย์กลาง ต่างกับ KM ตามรูปแบบที่มีความรู้เป็นศูนย์กลาง) มีปัญหาคือเกือบทุกอย่างจะมีครูบาอยู่เป็น facilitator ด้วย คำว่าเกือบ แปลว่าไม่เสมอไป เนื่องด้วยบุคลิกลักษณะพิเศษซึ่งเรียกศรัทธาได้ดี จึงเกือบจะเป็นข้อจำกัดของกระบวนการ; แก้ไขโดยเรียนรู้ที่จะสร้าง facilitator/กระบวนกร ใหม่ๆ ขึ้นมาเสริม เพื่อให้กระบวนการนี้ขยายตัวได้ดียิ่งขึ้น ทำหลายอย่างขนานกันไป; เป็นกับดักเชิงระบบที่เจ้ากรมวังป่วนพยายามแก้ไขอยู่
@ ในลักษณะกึ่ง virtual ซึ่งเกิดจากการใช้ไอทีเชื่อมโยงจนรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนม แต่เมื่อจะระดมคน บางครั้งก็ยากเนื่องจากแต่ละคนมีหน้าที่การงาน มีข้อจำกัด และวันลาที่แตกต่างกัน
@ คุณค่าของเฮฮาศาสตร์อยู่ที่การใช้ประโยชน์จากความแตกต่าง กล่าวคือมีดีกันคนละอย่างสองอย่าง; ถ้าเฮฮาศาสตร์เป็นการรวมกลุ่มทางวิชาชีพหรือเหมือนกันไปหมด จะเป็นกลุ่มที่น่าเบื่อมาก; การรวมกลุ่มกันอยู่ได้นานนั้น จะต้องมีทิศทาง/เป้าหมายที่ชัดเจนกว่านี้ โดยทิศทาง/เป้าหมายนั้น จะต้องเห็นร่วมกันเพื่อที่ทุกคนจะมุ่งไปในทิศทางที่ใกล้เคียงกัน ไม่ดึงกันไปดึงกันมา
@ การเหนี่ยวนำความรู้ (ต่างกับการถ่ายทอดความรู้ หรือ”การสอน”ตามรูปแบบ) ทำได้ช้ากว่า และขึ้นกับความสามารถในการเรียนรู้ ความช่างสังเกต ความกล้าที่จะพิจารณารับสิ่งที่แตกต่าง ประสิทธิผลอาจจะต่ำกว่าการสอนให้รับรู้ไปเลย แต่ผลนั้นยั่งยืนกว่าเพราะคิดได้เอง/เข้าใจเอง/เห็นของจริงเอง ซึ่งบางคนอาจเรียนรู้ด้วยวิธีการนี้ไม่ได้เลย

30 Logos 18 สิงหาคม 2009 13:17

มาเก็บตกเรื่องการทำงานอิงระบบครับ อ.แสวงเคยให้ความเห็นไว้น่าสนใจ [1] [2]

สำหรับผมแล้ว การทำงานอิงระบบ คือการทำงานที่นำเป้าหมายมาเป็นจุดศูนย์กลางของการทำงาน เพื่อที่จะทำให้งานนั้นสำเร็จ ก็จัดหาทรัพยากรที่เหมาะสมเข้ามาทำงานนั้นทีหลัง

โดยทั่วไป สามารถจัดรูปแบบการทำงานได้เป็นสามประเภทใหญ่ๆ คือ

ลักษณะงาน ฝรั่งว่า ไทยว่า ศูนย์กลางของตัวขับเคลื่อนงาน วิธีทำ
นอกระบบ do it my way ตามใจแป๊ะ ใจของตัว ใช้ใจและกำลังที่มี
อิงระบบ do the right thing ทำสิ่งที่ถูกต้อง ปัญหา ขาดอะไรก็ไปหามา
ตามระบบ do thing right ทำอย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์ อำนาจ ใช้อำนาจและกำลังที่มี

คนทำงานอิงระบบต้องมีความหนักแน่นมั่นคง เพราะไม่เหมือนกับคนทางซ้ายและคนทางขวา คนทางซ้ายก็ว่าเราอยู่ขวา คนทางขวาก็ว่าเราอยู่ซ้าย ไม่มีใครตระหนักเลยว่าเรายืนมองไปที่ปัญหา-พยายามจะแก้ไขอยู่ ไม่ได้ซ้าย-ไม่ได้ขวาเลย (แต่ได้ยินนะ)

ทุกอย่างมีกฎเกณฑ์อยู่ตามธรรมชาติ เมื่อโลกวิวัฒนาการ ชีวิตและงานมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นจนไม่มีใครสามารถทำทุกอย่างได้เอง จึงต้องแบ่งกันทำ แล้วเกิดการปกครองตามลำดับชั้น เกิดอำนาจการสั่งการ เกิดการแสวงหาและรักษาอำนาจ ทำให้องค์กรขนาดใหญ่ทำงานเหมือนอยู่ในกล่องแคบๆ ตัวเองไม่ยอมออกนอกกล่อง แล้วใครล้ำเขตเข้ามาก็ไล่ตะเพิดออกไป ปรากฏการณ์นี้น่าจะเห็นชัดในระบบราชการ ซึ่งถูกกำกับโดยกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ ฯลฯ ใครจะให้ระบบราชการทำอะไร ก็ต้อง “ไปขอ” แทนที่ระบบราชการจะวิ่งมาบริการประชาชน; ปัญหาของประชาชนนั้นอยู่ในพื้นที่ ไม่ได้อยู่ตามสถานที่ราชการ ห้องประชุมหรือในสภา การเสพติดระบบทำให้ห่างเหินจากปัญหาที่แท้จริง ไม่เข้าใจ ไม่มีอารมณ์ร่วม จึงมักจะแก้ไขปัญหาอะไรไม่ได้ ยกเว้นหมูวิ่งชนปังตอ

ส่วนทางอีกขั้วหนึ่ง ตีความได้สองอย่างคือเป็นผู้ถูกกระทำจากระบบ และเป็นผู้ที่เข้ามาช่วยเหลือเพื่ออะไรก็แล้ว ต่างโกรธเกรี้ยวระบบที่ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ จึงปฏิเสธระบบโดยสิ้นเชิง และมุ่งทำในสิ่งที่ตนทำได้เอง; การทำงานแบบนอกระบบนี้ แม้ว่าแก้ปัญหาได้บางอย่าง ก็ยังติดเรื่องทรัพยากร และการไม่สามารถระดมสรรพกำลังมาแก้ปัญหาได้ จึงช่วยได้ในสถานการณ์เล็กๆ ขยายใหญ่ไม่ได้ ย้ายไปทำที่อื่นก็อาจไม่สำเร็จ

การทำงานแบบอิงระบบ เอาปัญหา(การพัฒนา)เป็นตัวตั้ง แล้วดึงเอาจุดดีจากทั้งสองขั้วมา ใช้ทั้งใจ และทั้งทรัพยากร ให้สิ่งที่ภาคีต้องการ คนตามระบบได้ผลงาน+ได้KPI คนนอกระบบได้ทำ+มีความสุข คนอิงระบบได้เห็นปัญหาที่ได้รับการแก้ไข ตัวเองได้เรียนรู้-ได้ทำ ถึงไม่ได้อย่างอื่นก็ไม่เป็นไร แต่ว่าปัญหาได้รับการแก้ไขไป - ก็คงมีเหมือนกัน ที่ไม่เชื่อว่าจะมีคนมาช่วยทำโดยไม่หวังอะไรนอกจากแก้ไขปัญหาไปได้ อันนี้เป็นเรื่องปกติที่คนมองอะไร ก็มองจากความคุ้นเคยของตัว คือว่าถ้าเป็นตัวเขา ทำแล้ว “ไม่ได้อะไร/ไม่คุ้ม” เขาคงไม่ทำ ก็เลยไม่เชื่อว่าใครจะทำ ลืมไปว่ามนุษย์นั้นแตกต่างกัน ถึงเขาไม่ทำ ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีใครทำ

จะมีอะไรคุ้มค่าไปกว่าการที่สังคมอยู่ร่วมกันโดยสงบสุข มีอิสระที่จะเลือกวิถีชีวิตโดยไม่เบียดเบียนกัน?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท