การเปลี่ยนแปลงบนความอยู่รอด


การเปลี่ยนแปลงบนความอยู่รอด

    เรื่องสืบเนื่องจาก การได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมโครงการ "การประยุกต์องค์ความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพและความสุขในการทำงานขององค์กร" ระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมบ้านเชียง อำเมือง จังหวัดอุดรธานี

    เลยนึกว่า คงใช่กับคำว่า "การเปลี่ยนแปลงบนความอยู่รอด" เนื่องจากการไปในครั้งนี้ เป้าหมายที่ตั้งใจ ก็คิดว่าได้เป็นเวทีในการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยหาจุดบอด ขององค์กร โดยอาจมีข้อสรุป หรือไม่มีข้อสรุป ...

    ช่วงแรกของการอบรม ก็เป็นเรื่องของการนำเสนอของวิทยากร เป็นเรื่องของ วิสัยทัศน์ พันธกิจและนโยบาย รวมถึงระเบียบและข้อบังคับของ มทร.อีสาน และ ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนตำแหน่ง การเปลี่ยนระดับตำแหน่ง และการตัดโอน ตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

   วันนั้น ผู้บริหาร คงหูอื้อกันพอสมควร เพราะได้รับ การตอบรับในการนำเสนอข้อมูลในภาคปฏิบัติของแต่ละฝ่ายที่เป็นกลไก ตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่งที่มีผลต่อการเดินทางขององค์กร

   ภาคบ่ายเป็นการนำเสนองานวิเคราะห์งาน ซึ่งจะได้เป็นคู่มือการปฏิบัติงาน ของ รายงานผลการประเมินตนเอง หรือ SAR ของแต่ละส่วนงาน เป็นภาพรวม แล้วนำออกไปเสนอ ต่อ ที่ประชุมในวันนั้น เป็นการดีที่ทุกส่วนที่บุคลากรแต่ละฝ่ายได้นำเสนอหัวข้อของงานหรือปัญหา ที่ต้องช่วยกันแก้ไข รวมทั้งเป็นผลสะท้อนไปถึงผู้บริหารระดับสูง จาก top down ขององค์กร ตามโครงสร้าง สุดท้ายต้องได้เป็นคู่มือออกมา

    ในวันที่สอง ของการอบรม ได้เชิญวิทยากร จาก มข.มาอบรมเรื่องการทำงานให้มีประสิทธิภาพและความสุขในการทำงาน ซึ่งการมองของแต่ละคน ซึ่งแล้วแต่ละบทบาท วิทยากร ได้นำเสนอให้เห็นภาพชัดเจน อ๋อลืมไป วิทยากร ดร.อำนวย คำตื้อ จำได้ เพราะพูดประทับใจ อยากฝากตัวเป็นศิษย์ จริง ๆ เลย ในการทำงานและการมองโลก วิสัยทัศน์ รวมทั้งการทำงาน ..

     ซึ่งการบริหารงาน วิทยากร บอกว่า ...

      องค์กร เปรียบเหมือน คนขี่จักรยาน สองคน คนแรกเปรียบเหมือน ผู้บริหาร คนที่สองเปรียบเหมือน บุคลากรที่ทำงานขับเคลือนงาน ส่น จักรยาน เปรียบเหมือนองค์กร ถ้าองค์กร คือ ล้อถ้าล้อเป็น สี่เหลี่ยม ก็มีปัญหา ในองค์กร ถ้าล้อเป็นวงกลม การทำงานก็ง่ายขึ้น

     ระบบราชการไทย ต้องการ คนเก่ง บวก ดี เพราะหลักการ : เน้นจริยธรรม ธรรมาภิบาล ประโยชน์สุขของประชาชน

     บุคลากร เปลี่ยนจาก บริหารเวลาราชการ-บริหารระเบียบมาเป็น บริหารงาน รับผิดชอบงาน รับผิดชอบในผลงาน รับผิดชอบผลกระทบ

    เปลี่ยนวิธีการทำงาน จากรับเป็นรุก คือ หาคนดี คนเก่งมาร่วมงาน หารายได้มาทำงานและเพิ่มคุณภาพงาน หาเครือข่าย (สำคัญ) และ หาคนเก่ง คนดี มารับบริการ

    สิ่งที่ผู้บังคับบัญชาควรให้ คือ ความมั่นคง ขวัญ กำลังใจ ความเสมอภาค พระเดช พระคุณ เป็นตัวอย่างที่ดี

    สิ่งที่ต้องการจากคนในการทำงาน คือ ความสัตย์-จริง ซื่อสัตย์ สำนึกในหน้าที่ ความอดทน ความยึดมั่นในกฎเกณฑ์เสมอกัน ความเอาใจเขามาใส่ใจเรา เมตตาธรรม

    สิ่งที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้..เป็นการสังเคราะห์ส่วนตัว..คือ การที่องค์กรจะเดินไปในอนาคตได้ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่ชื่อว่า "คน" เป็นตัวขับเคลื่อน บุคลากรในองค์กร ต้องสำนึกว่า ตัวเราเป็นคนในองค์กร องค์กร คือของเรา เราต้องรักษา ต้องพัฒนา ร่วมทั้งผลักดัน ในส่วนงานต่างๆ ที่ต้องบรรลุเป้าหมายให้ได้ ไม่มาก ก็น้อย รวมทั้งสังเคราะห์งานที่มีผลกระทบต่องาน หรือ ไม่อาจทำให้เป้าหมายสำเร็จได้ตามเป้าที่วางไว้

    แต่ก็นั้นแหละ คำว่า "คน" ก็อยู่วังวน วนเวียนอยู่อย่างนี้ เป็นการยากในเรื่องของ HR ซึ่งหลายองค์กรก็ประสบ กับปัญหาในเรื่องของคนกัน บนความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม การใช้ชีวิตที่ต้องแข่งขัน ทุกด้าน สุดท้าย กลับเข้าสู่จุดเริ่มของการดำรงค์ชีวิต คือความอยู่รอด...

     เพราะฉะนั้น อย่ามองการเปลี่ยนแปลง จากระบบองค์ราชการแบบเดิม เป็นระบบราชการแบบใหม่ ที่ต้องมี ธรรมาภิบาล รวมทั้งโปร่งใส ตรวจสอบได้และเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน สิ่งเหล่า นี้ คือการเปลี่ยนแปลงบนความอยู่รอดของคนในองค์กร และองค์กร

 present

 

 

หมายเลขบันทึก: 291965เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2009 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท