โครงการสร้างผุ้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา (1) การประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10/2552และการนำเสนอโครงการสร้างผุ้เชี่ยวชาญด้านระบาด5สาขา


27-8-52

ดิฉันจัดประชุมคณะกรรมการTM ครั้งที่10/2552 ซึ่งเป็นการจัดประชุมของคณะกรรมการชุดใหม่ครั้งแรก 

 ในการประชุมครั้งนี้กรรมการมากันครบถ้วนดีเพราะเราเปลี่ยนเวลาเป็นเที่ยงตรงทำให้หมอคำนวณ อึ้งชูศักดิ์และหมอแก้ว สำนักKMเข้ามาร่วมรวมทั้งท่านอื่นๆด้วย  ท่านรองแนะนำกรรมการใหม่และน้องสองคนที่มาช่วยงานโครงการ  คือนางสาวดวงภาณิชา            สุขพัฒนนิกูล     ผู้ประสานงานโครงการ  นางสาวฐานีย์   อุทัศน์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

หลังจากรับรองรายงานการประชุมแล้วเราเริ่มประชุมเรื่องสำคัญคือแผนของโครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยงปี2553โดย นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวรได้นำเสนอเริ่มโครงการซึ่งจะเริ่มเดือนตุลาคม 52 ดังนี้ค่ะ   

 วัตถุประสงค์ คือพัฒนาบุคลากร ในหน่วยงาน  เป้าหมายคือ 10ปีจะสร้างผู้เชี่ยวชาญประมาณ 150คน แต่ปีแรกอาจจะสร้าง 5คนก่อน   วิธีดำเนินงาน คืออาศัยพี่เลี้ยง เป็นหลัก  กิจกรรมที่จะดำเนินคือ การฟังบรรยาย การเลือกปฏิบัติในหัวข้อที่สนใจ จัดทำรายงานและการเข้าประชุมวิชาการ คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 1ปี โดยทุก 3เดือนจะเจอกัน1ครั้ง

ในการฝึกจะมีการทำกิจกรรมหลัก ผู้ที่สนใจในเรื่องใดก็ทำงานด้านนั้น อาจจะต้องอยู่กับพี่เลี้ยงสิ่งที่ยากคือการผลักดันให้พี่เลี้ยงเข้าใจวัตถุประสงค์ที่ตรงกัน

อาจมีการประชุม การศึกษาโปรแกรมทางระบาดวิทยา เช่น GIS, การประชุมนานาชาติ, การเสนอผลงานวิชาการ, การประชุมวิชาการของกรม หรือกระทรวง เริ่มโครงการเดือนตุลาคม

 

                นายแพทย์คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ได้ถามว่า 5 คนแรกที่จะสร้างนั้น ใช้เกณฑ์อะไรซึ่ง ด้านนายแพทย์โสภณได้อธิบายว่า เป็นแพทย์หรือนักวิชาการรุ่นใหม่ที่รับราชการมาประมาณ 5 10 ปีโดยจะมีการเปิดรับสมัครให้ได้ ในจำนวนที่พอสมควร      นายแพทย์คำนวณได้เสริมว่า ควรจะรับสมัครให้ได้ประมาณ 15คน และจัดอันดับ 1, 2, 3 ตามQuality

                นายแพทย์โอภาสได้แสดงความเห็นว่า เห็นด้วยกับการเปิดรับสมัครโดยไม่มีโควต้า  มีการแข่งขัน  ใจมีความพร้อม      นายแพทย์โสภณกล่าวว่า ควรให้โควตากับคนที่เหมาะสม มีOption ในการพัฒนาต่อเนื่อง     น่าจะมีกิจกรรมต่อเนื่อง

                 นายแพทย์ธนรักษ์     ให้ความเห็นว่าเวลาพูดถึงTalent คือคนที่มีความสามารถระดับหนึ่ง   ไม่ใช่คนมาปูพื้นฐานใหม่     จึงถามว่า 1) คนที่เข้ามาใช่talentหรือไม่? 2)เราจะพัฒนาให้เค้าเติบโตได้อย่างไร

เพราะสิ่งที่อธิบายมา เหมือนหลักสูตร FETP ทั่วๆไป การที่เราจะพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งควรจะต้องมี environment มากกว่านี้คือมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆมา     จุดอ่อนของเราคือการแปลงความรู้ไปสู่ actiionด้านวิชาการ ยุทธศาสตร์ coordinating

                คุณหมูตัวแทนกองแผน กล่าวว่า ความสำเร็จของโครงการ ควรจะมี Outcome ที่ชัดเจนกว่านี้    

                ท่านรองอธิบดี นายแพทย์สมศักดิ์ได้อธิบายว่า การเลือกคนรุ่นใหม่ที่รับราชการมา 5-10 ปี นั้นหมายความว่า เราจะคัดเลือกทีม        แต่ขณะนี้ไม่มีตัวTalent จะให้คัดจึงต้องฝึกคนรุ่นนี้เพื่อเป็นตัวแทนซึ่งจะเป็นผลดีในระยะยาว        ส่วนเรื่องคัดเลือกมา 5คนนั้น มีข้อดีคือเราสามารถ Focus ได้ง่าย แต่ก็มีข้อเสียคือ network น้อย        อาจจะต้องปรับมาเป็น 10คน  

                นายแพทย์คำนวณ ได้เสริมว่ากรม เราขาดคนดังนั้นควรจะสร้างคนขึ้นไปแทนโดยอาจจะมีการตั้งทีมขึ้นมา  5 ทีม        ในทีมก็มี Mentor, ผอ.สำนัก, มีนายแพทย์ที่ผ่านFETPT,   MES, นักวิชาการ, อื่นๆ อาศัยการสัมผัสใกล้ชิดระหว่าง Mentor กับน้องเลี้ยง          อาจจะเอา 4 หรือ 5ทีมอยู่คนละโปรแกรมและให้ปีหน้าเป็นโปรแกรมทดลอง 1 ปี ซึ่ง 5คนต้องเจอกันตลอดอย่างน้อย 1อาทิตย์ครั้งอย่างน้อย2ชั่วโมง        เช่นการประชุมนานาชาติเรื่อง TB ถึงเวลาอาจจะให้เด็กนำเสนอ mentor เป็นBack up ให้   ท่านแจ้งว่า สสส.สนใจมาก ให้ทุนอาจารย์ประเวศ    ถ้ากรมเสนอขอเงินเพื่อพัฒนาพี่เลียงก็น่าจะได้รับการสนับสนุน   กรมน่าจะของบหัวละประมาณ1ล้านบาท  

                นายแพทย์สมศักดิ์ ได้ให้ความเห็นว่าควรรับเด็กใหม่ไม่เกิน 5-7ปี     ควรฝึกคนที่เป็น Talent

และเด็กใหม่ควบคู่ไปด้วย        โดยเปิดรับสมัครหน่วยงานละ 1คน      ส่วน Talent ควรจะเลือกเฟ้นเอาได้โดยมีงบมาจาก2ส่วน

มีข้อแนะนำจากการประชุมควรทำความต้องการกรมและผู้เข้าโครงการก่อน

                                            อาจจะอาศัยหน่วยงานอื่นๆช่วย   เป็นsemistructure

                                            ต้องดูจุดแข็งของกรม

                                            คนเข้าโครงการอาจจะต้องเรียนSRRT ก่อน แล้วค่อยต่อFETP  มองให้ทะลุในการสร้างคนรุ่นใหม่และรุ่นกลาง

                                              ควรมองcareer path  ( รองสมศักดิ์บอกว่ามองได้แต่คนตั้งไม่ใช่เรา  )

                                             รองสมศักดิ์ให้มองเป็นกลุ่มTalent  ดูว่าน้องถูกใช้งานมากเกินจนไม่มีเวลาจะนำตัวมาพัฒนา    ให้หมอโสภณเขียนเพื่อปรับให้คนเป็นทีมชาติโดยมีส่วนที่เฟ้นเองและส่วนที่สมัคร( กลุ่มที่อยู่กรมไม่เกิน7ปี )โดยยกตัวอย่างแพทย์ที่สำนักโรคติดต่อทั่วไปและน้องที่สคร.8

                         ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดู

                                     จะสนับสนุนเรื่องที่พัก

แผนการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูความรู้และพัฒนาแพทย์ใช้ทุน ปี 2552-2553

                จากร่างแผนการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูความรู้และพัฒนาแพทย์ใช้ทุน ปี 2552-2553 (Develop and Refresher Course) เบื้องต้นได้ประสานไปยังผู้ดูแลดังต่อไปนี้    TB ได้ประสานเบื้องต้นกับคุณบุญเชิด      STI ได้ประสานเบื้องต้นกับคุณวัชรินทร์    สบร. ได้ประสานเบื้องต้นกับแพทย์หญิงจริยา   สำนักระบาด ได้ประสานเบื้องต้นกับคุณหมอโสภณ     แต่นายแพทย์โสภณอาจจะมอบหมายให้คุณวันชัยซึ่งเป็นผู้ดูแลคอร์สอบรมต่าง ๆ ของสำนักระบาด เป็นผู้ดูแล        ในส่วนนี้ยังติดเรื่องงบประมาณว่าจะได้รับจัดสรรตามกำหนดการในตารางหรือไม่ จึงยังไม่ได้มีการลงรายละเอียดในส่วนของวันและเวลาที่แน่นอน รองสมศักดิ์มีความเห็นว่าสำหรับคอร์สที่ TB, STI , บำราศ ให้มาอบรมแค่ครั้งเดียวแต่ถ้าเป็นในส่วนของด้านระบาดจะต้องมีการกลับมาอบรมซ้ำ     ควรจะให้แพทย์ใช้ทุนปี 2 ทั้ง 6 คน จับกลุ่มกันเอง กลุ่มละ 3 คน และให้ตัวแพทย์ใช้ทุนเองเลือกว่าจะเข้ามาอบรมตามคอร์สต่าง ๆ ในช่วงใด     แต่ต้องอยู่ภายใต้กำหนดการของที่ทางโครงการจัดไว้ให้ ซึ่งทางสำนักระบาดจะต้องกำหนดเวลาให้แน่นอน

               นายแพทย์คำนวณได้เสนอว่า กรมเราน่าจะมีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน สำหรับแพทย์จบใหม่ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากในด้านต่าง ๆ ซึ่งอาจจะต้องรวบรวมข้อมูลมาทำตรงนี้โดยรองสมศักดิ์ได้มอบหมายให้สำนักจัดการความรู้ไปหาข้อมูลเพื่อมาจัดทำคู่มือดังกล่าว โดยให้เวลาในการรวบรวมข้อมูลประมาณ 2-3 เดือน         

               ผอ.สำนักจัดการความรู้ได้เพิ่มเติมว่าควรจะมีการบริหารจัดการแพทย์และนักวิชาการในกรมควบคุมโรคที่อยู่ในช่วงอายุ 35- 50 ซึ่งหลาย ๆ คนมีความรู้และความสามารถและมีหน่วยงานอื่นสนใจและทาบทามให้ไปทำงานด้วยเราจึงควรจะสร้างแรงจูงใจและจัดระบบแพทย์และนักวิชาการเหล่านี้ให้มีพัฒนาการเรียนรู้ในด้านที่เค้าสนใจ เพื่อดึงให้แพทย์และนักวิชาการเหล่านี้ทำงานอยู่กับกรมให้นานที่สุด ส่วนเรื่อง Refresher Course ของแพทย์ใช้ทุนชั้นปีที่ 3 ตกลงกันว่าจะให้มีคอร์สนี้แค่ปีละครั้งก็พอ โดยอาจจะจัดในช่วงเดือนพฤศจิกายน จะมีประโยชน์กับกรมมากกว่าที่จะให้แพทย์ใช้ทุนมาอบรมในเดือนมีนาคม เพราะเป็นช่วงเวลาระยะสั้นเนื่องจากแพทย์ใช้ทุนอาจจะต้องกลับไปเรียน ไปทำงาน หากมาในเดือนพฤศจิกายน จะมีเวลาว่างเยอะกว่าจะทำให้สร้างประโยชน์ให้กับกรมได้มากกว่า โดยการ Refresher จะจัดขึ้นที่สถาบันบำราศนราดูร ส่วนแพทย์ใช้ทุนชั้นปีที่ 2 จะต้องผลัดเปลี่ยนคอร์สอบรมให้ครบทั้ง 4 หน่วยงาน โดยที่การอบรมที่บำราศ  TB STI อาจจะอบรมแค่รอบเดียว แต่สำหรับสำนักระบาดจะต้องมาปฏิบัติตามหลักสูตรการอบรมซึ่งอาจจะสัก 2 เดือน      ส่วนของแพทย์ใช้ทุนปี 3 ทั้งสองท่านคือแพทย์หญิงเกวลีและแพทย์หญิงมนัสวินีร์ ตกลงแล้วที่จะทำงานกับกรมต่อไป      ส่วนแพทย์ใช้ทุนชั้นปีที่ 2 ตกลงที่อยู่กับกรมแน่นอนแล้วสองคนคือ แพทย์หญิงนฤมล และนายแพทย์พิสุทธิ์ ในส่วนของแพทย์ใช้ทุนชั้นปีที่ 1 ถ้าเราสามารถดึงแพทย์ไว้ได้สัก 2-3คน ก็ถือว่าประสบผลสำเร็จ ในระดับหนึ่งจากที่เมื่อก่อนจะไม่ได้แพทย์ที่อยู่ทำงานให้กรมเลยสักคน       ถ้ามีการจัดแบบนี้เราจะมีแพทย์ใช้ทุนต่อยอดทำงานให้กรมตลอดทุกปี ๆ ถือว่าเป็นเรื่องที่ด

 แบบสอบถามความต้องการของแพทย์ใช้ทุนในกรมควบคุมโรค จากการส่งแบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการของแพทย์ใช้ทุนในกรมควบคุมโรคไปให้แพทย์ใช้ทุนทั้ง 3 ชั้นปี ทาง e-mail ทางโครงการได้รับแบบสอบถามตอบกลับ 10 คน จาก 13 คนโดยลักษณะของแบบสอบถามจะเกี่ยวกับรายละเอียดของการทำงานในสังกัดของแพทย์ใช้ทุนทั้ง 3 ชั้นปีว่ามีความพอใจในงานทำที่อยู่และการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานหรือไม่และความต้องการในอนาคตว่าต้องการทำงานในด้านใด การสนับสนุนต่าง ๆ ที่ต้องการได้รับจากหน่วยงาน จากแบบสอบถามตอบรับทำให้ทราบว่า แพทย์ใช้ทุนชั้นปีที่ 1 มีความพอในในงานที่ทำอยู่และการดำเนินงานของต้นสังกัดในระดับที่ดี และแพทย์ใช้ทุนชั้นปีที่ 1 ทั้ง 4 คนต้องการทำงานด้าน Clinician ในอนาคต ในส่วนของแพทย์ใช้ทุนชั้นปีที่ 3 เหลือ 2 คน ในส่วนของแพทย์ปี 2 มีคนจะลาออก ประมาณ2 คน อีก 2 คนต้องการจะอยู่กับกรมต่อไปและ แพทย์ใช้ทุนชั้นปีที่ 2 ต้องการจะเรียนต่อด้านผิวหนัง

 สรุปการประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง( Talent Management)อีก 3หน่วยงานที่ยังไม่ได้รายงาน

                ได้รับสรุปการประเมินมาเพียง 2หน่วยงานคือ สคร.7 และ สคร.10 ส่วน สคร.9 ได้ใช้งบประมาณในการอบรมเรื่องระบบGIS ไปหมดแล้ว

                สคร.7 ได้ทำโครงการ Talent Research มีการเชิญคนมาสอน 3- 4 ครั้ง มีการประเมินโครงการเอดส์ แต่คิดว่ายังไม่ได้ทำ เรายังไม่ได้ถามสคร.7 ว่าถ้าปีหน้างบโดนตัดไป จะไปสะดุดกับงานที่เค้าทำอยู่หรือไม่

                สคร.10 ได้มีการกำหนดบุคคลที่จะมาเรียนว่ามีใครบ้าง โดยได้คัดเลือกบุคลากรมา2คนคือ

1)พญ.เสาวนีย์มีแผนพัฒนา 3 หลักสูตร แต่เนื่องจากเกิดไข้หวัดใหญ่ระบาดจึงไม่สามารถเข้าอบรมได้เพราะต้องทำหน้าที่หัวหน้าปฏิบัติการและ2)นายสมศักดิ์ นาคกลิ่นกูล นักวิชาการชำนาญการเข้าอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการค้นคว้าและสื่อสารและส่งบุคลากรเข้าอบรมเกี่ยวกับ Measurees2คน, สถิติชั้นสูง 1คน, ระบาดวิทยาประยุกต์ 1คน และแนะนำมาว่าควรกำหนดใครและมีใครบ้าง 

 สรุปการประชุมแพทย์ใช้ทุนฯ วันที่ 20-22 สิงหาคม 2552 จังหวัดเชียงใหม่ 

                   สำหรับการประชุมแพทย์ใช้ทุนในกรมควบคุมโรคร่วมกับท่านอธิบดีกรมควบคุมโรคที่เชียงใหม่ ทาง Talent ได้เชิญแพทย์ไปทั้ง 14 คนแต่มาร่วมงานประมาณ 7 คน เข้ารวมประชุม 6 คน เหลือ 3 คนอยู่ร่วมงานกลางคืน ในวันนั้นท่านอธิบดีได้พูดคุยกับแพทย์ใช้ทุนและอยากให้แพทย์ใช้ทุนมี innovation และแนะนำว่า เวลาทำงานที่ไหนขอให้ตั้งสติให้ดี ทำงานในส่วนที่ชอบแนะนำว่าเวลาทำงานอย่าทิ้งเพื่อนที่เราอยู่รวมทั้งครอบครัว แพทย์หญิงอัจฉราได้ไปเล่าเรื่อง Talent คืออะไร กรมตั้งโครงการนี้มาอย่างไร นายแพทย์โสภณเล่า 2 เรื่องคือ เรื่องของการฝึกอบรม FTTP  และโครงการพี่เลี้ยง ส่วนรองสมศักดิ์เล่าตั้งแต่ในอดีตที่ท่านอยู่กับกรมได้รับการส่งเสริมอย่างไรบ้าง WHO ชวนให้ท่านไปทำงานเพื่อเป็นแรงบันดาลให้แพทย์ใช้ทุนว่า 2 ปีที่แพทย์ใช้ทุนมาอยู่กรมจะพยายามทำให้แพทย์ใช้ทุนอยู่กับกรมอย่างมีความสุข สิ่งที่เป็นปัญหาที่แพทย์ใช้ทุนเสนอแนะให้คือ มีความรู้สึกว่าการอบรมบางอย่างไปไม่ถึงเค้าเช่นการอบรมด้าน STI และส่งแพทย์ใช้ทุนให้ไปรักษา TB ที่ยาก ๆ โดยที่ตัวแพทย์ใช้ทุนไม่รู้เรื่องเลย แพทย์หญิงอัจฉราก็ได้แจ้งกับแพทย์ใช้ทุนว่ากำลังจัดหลักสูตรให้อยู่

สรุปการเรียนรู้

การประชุมครั้งนี้ดิฉันจัดด้วยความลำบากเพราะเปลี่ยนแปลงเวลา3ครั้งจากงานของผู้บริหารที่ผันแปรไปทำให้เหนื่อยในการประสานงานและการตัดสินใจกำหนดวันเวลา

                            เป็นการประชุมที่มีคนมามากที่สุดเพราะกลางวันทุกคนมักจะไม่มีนัดและเป็นกรรมการชุดใหม่

                             เป็นการประชุมที่ดีใจมากที่สุดเพราะผู้รับผิดชอบโครงการมีความตั้งใจสูง   คิดแผนมาให้   มีคนช่วยทำและประสานงาน    มีความรวดเร็วในการทำงาน   ประสานระหว่างผู้บริหารและกรรมการ   น่าจะทำให้เกิดผลได้อย่างรวดเร็วโดยดิฉันไม่ต้องช่วยคิดให้มากนัก   

 

 

     

หมายเลขบันทึก: 291922เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2009 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดี ครับ คุณหมอ

P พ.ญ. อัจฉรา เชาวะวณิช

แวะมาติดตาม ภาระกิจของคุณหมอ

Talent management 51 การประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10/2552และการนำเสนอโครงการสร้างผุ้เชี่ยวชาญด้านระบาด5สาขา
เป็นกำลังใจ ให้คุณหมอ ครับ

 

 

ขอบคุณ คุณแสงศรีที่มาให้กำลังใจค่ะ

ตามอ่านที่บล็อกบ้างแต่ไม่ค่อยได้ลงชื่อไว้ค่ะ

  • โอโหคุณหมอ
  • ได้รายละเอียดทั้งหมดเลยครับ
  • เหมือนได้ประชุมอยู่ด้วย
  • ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณอาจารย์ขจิตที่มาเยี่ยมค่ะ

อย่าเพิ่งชมว่าครั้งนี้ทำไมเขียนละเอียดจัง ต้องสารภาพว่าเอาบันทึกการประชุมของเด็กๆมาตัดต่อและเพิ่มเติมทำให้บางประโยคจะไม่ใช่สำนวนหมอค่ะ

หมอเขียนเองส่วนใหญ่10บันทัดก็ขี้เกียจค่ะเพราะพิมพ์ช้ามาก

อาจารย์งานเยอะเหมือนเดิมนะคะ อ่านบล็อกอาจารย์ไม่ค่อยลงชื่อไว้เพราะแฟนอาจารย์เยอะจัง กลัวตอบไม่ทัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท