dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

อิทธิพลค่อการอ่านของคนไทย


การอ่าน อิทธิพลต่อการอ่าน

                          อิทธิพลต่อการอ่านของคนไทย

 

                มีนักการศึกษาได้อธิบายและชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลต่อการอ่านของคนไทยเรา  พอชี้ให้เห็นเป็นประเด็นได้ดังนี้

                ประเด็นที่  1  สาเหตุที่คนไทยไม่รักการอ่านเพราะ

                                        -  เด็กถูกบังคับให้อ่านหนังสือเพียงเล่มเดียว  เด็กนักเรียนส่วนใหญ่จะมีหนังสือเรียนอยู่เล่มเดียว  เช่น  สมัยก่อนใช้หนังสือนิทานอิสป  ซึ่งเป็นเรื่องสนุก  นักเรียนและเด็ก    ก็อ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก

                                        -  ผู้ปกครอง  ครูบรรณารักษ์  หรือผู้ใกล้ชิดจะบังคับให้เด็กอ่านแต่หนังสือเรียน  ห้ามอ่านหนังสืออื่น    หากอ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียนมักจะถูกทำโทษ  ทำให้เด็กไม่ได้อ่านหนังสือที่อยากจะอ่าน  เมื่อโตขึ้นจึงไม่เกิดนิสัยรักการอ่าน

                                        -  กิจกรรมในโรงเรียน  เช่น   การเรียนการสอนของครู  ไม่ได้เอื้ออำนวยต่อการฝึกนิสัยรักการอ่าน  ครูไม่ได้ฝึกให้เข้าห้องสมุดหรือฝึกการเรียนจากการค้นคว้า  ครูมีหนังสือคู่มือ  นักเรียนมีหนังสือเรียนที่เป็นหนังสือบังคับใช้  จึงไม่จำเป็นต้องใช้หนังสืออื่น    นอกจากที่กล่าว

                                       -  หนังสือเรียนไม่ได้เอาไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของคนชนบทที่ห่างไกลตัวเมือง  ไม่ได้นำสิ่งที่ได้จากหนังสือไปใช้ประโยชน์  จึงไม่สนใจหรือไม่อ่านหนังสือเพราะไม่เห็นประโยชน์จากการอ่านหนังสือ  ชีวิตสามารถอยู่รอดได้  โดยไม่ต้องอ่านหนังสือก็ได้  การดำรงชีวิตของเกษตรกร  ซึ่งประชากรตามภาคต่าง    ของประเทศประกอบอาชีพด้านนี้ส่วนใหญ่ใช้ประสบการณ์ที่ได้สืบทอดต่อกันมา   เมื่อมีปัญหาก็ไปพึ่งพาพระสงฆ์ที่ไม่ใช่พุทธสาวกที่แท้จริง  ซึ่งเป็นความเชื่อตาม    กันมา  ถึงแม้ปัจจุบันจะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ก็ตาม

                ประเด็นที่  2  ปัญหาการอ่านที่มีผลต่อนิสัยรักการอ่านของคนไทย

                                         -  อ่านหนังสือไม่แตกฉานไม่รู้จักการผสมคำ  อ่านช้า  อ่านไม่คล่อง  อ่าน     ผิด    ถูก     อ่านออกเสียงผิด  อ่านข้าม  การชอบอ่านออกเสียงคำทำให้อ่านได้ช้า  จึงอ่านไม่ได้มาก

                                         -  อ่านแตกฉานแต่ไม่เข้าใจความหมาย  ไม่สามารถสรุปความได้  เนื่องจากไม่เข้าใจความหมายของคำอ่าน  เว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง  ทำให้ความหมายของข้อความเปลี่ยนไป

                                         -  อ่านแล้วไม่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม  เนื่องจากขาดประสบการณ์ทางด้านภาษา  ได้แก่  ความหมายของคำและวิธีเสนอเรื่องและขาดการสะสมความรู้เดิมในเรื่องที่อ่าน

                                         -  คนไทยส่วนหนึ่งอ่านหนังสือไม่ออก  ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะได้ทำโครงการรณรงค์การรู้หนังสืออย่างจริงจัง

 

 

 

                ประเด็นที่  3  วัสดุสำหรับการอ่านหรือหนังสือและเอกสารที่ใช้อ่าน

                                         -  มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ  และขาดการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง  โดยเฉพาะประชาชนในชนบท

                                         -  รูปร่างภายนอกไม่น่าอ่าน  โดยเฉพาะหนังสือแบบเรียนต่างๆ ใช้กระดาษไม่ดี  พิมพ์ไม่สวย ไม่ชัดเจน  ภาพที่ใช้ไม่จูงใจผู้อ่าน

                                          -  เนื้อหาไม่น่าอ่าน  ภาษาไม่สื่อสาร  ไม่มีความไพเราะ  ไม่สนุก

                                          -  ขาดคุณภาพในด้านให้ความรู้แก่ผู้อ่าน มีหนังสื่อบางส่วนคนเขียนไม่รู้จริง

                                           -  ขาดนักเขียนหนังสือในเรื่องของชนบท โดยเฉพาะนิสัยและสิ่งแวดล้อมของชาวชนบท เพราะในชนบทและเมืองมีความแตกต่างกัน

                

           จากประเด็นดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงการที่คนไทยมีนิสัยไม่รัการอ่าน  ไม่เห็นถึงความสำคัญของการอ่าน       ซึ่งเป็นโอกาสที่เราสามารถร่วมมือช่วยกันแก้ไขตามโจทย์ที่มีอยู่เพื่อคนไทยจะได้มีนิสัยรักการอ่านต่อไปในอนาคตอันใกล้          

 

---------------------------

หมายเลขบันทึก: 291829เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2009 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

-ปัญหาเหล่านี้ ต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไขพอสมควร จะแก้ปุบปับคงทำไม่ได้

-เป็นกำลังใจให้ครับ

นางสาวชมพูนุท คงสัตย์

โรงเรียนควรทบทวนการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลให้เกี่ยวข้องกับการอ่านของนักเรียนให้มากขึ้น ปรับปรุงพัฒนาวิธีการสอนภาษาไทยเพื่อให้นักเรียนอ่านเขียนได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว

ปัญหาเรื่องการอ่านเป็นสิ่งที่ต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ปัญหา ต้องฝึกให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เด็ก โดยให้เด็กเลือกหนังสือเล่มที่ชอบหรือสนใจไม่บังคับให้เด็กทำในสิ่งที่ไม่ชอบ เช่น ให้อ่านวันละ 10 หน้า ครูควรจัดหานิทานที่มีภาพประกอบสวยๆ จูงใจให้เด็กอยากอ่าน เป็นต้น

นงลักษณ์ ศรีวิสุทธินันท์

การแก้ปัญหาเรื่องการอ่านน่าจะแก้ที่สื่อการนำเสนอเพื่อเร้าความสนใจเด็ก ทำให้เด็กอยากอ่าน มีสีสันสวยงาม ตัวหนังสืออ่านง่าย เป็นภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย

การปลูกฟังให้เด็กรักการอ่านนั้น  ควรที่จะเิ่ริ่มตั้งแต่เด็กยังอยู่ในช่วงปฐมวัย เด็กจะเิ่ริ่มใช้จินตนาการและพูดออกมาให้ครูฟังจากการดูรูปภาพประกอบ  หากภาพที่เห็นเด็กไม่เข้าใจ  ก็มักจะให้ครูบอก  ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเด็กมีจิตนาการและรักการอ่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท