การวางตัวเป็นกลางในการเลือกตั้งท้องถิ่นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา


การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

                 ในช่วงนี้อยู่ระหว่างการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับต่างๆ โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล ซึ่งกำลังหาเสียงกันอย่างถึงพริกถึงขิง เพื่อรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่รัฐกระจายอำนาจมาสู่ท้องถิ่นในการสรรหาผู้แทนเข้าไปบริหารองค์กร

                 สิ่งหนึ่งที่หลายฝ่ายมองคือ "การวางตัวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา"ไม่เป็นกลาง โดยเฉพาะผู้สมัครเป็นญาติ เป็นผู้ปกครอง เป็นผู้อุปการะโรงเรียน หรือเป็นลูกศิษย์ ที่เข้ามาสมัครเลือกตั้งในครั้งนี้

                ความขัดแย้งในโรงเรียน ความขัดแย้งในชุมชน หรือในหมู่บ้านอาจจะเกิดขึ้น หรือเป็นคำครหาหากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาวางตัว"ไม่เป็นกลาง"ในการเลือกตั้ง และนำไปสู่ความขัดแย้ง การร้องเรียน หรือ การดำเนินการทางวินัยตามมา

               คิดว่า ทุกคนรักการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่รัฐกระจายอำนาจมาให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ และเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับในกฎเกณฑ์ กติกา และการได้มาซึ่งเสียงส่วนใหญ่ที่บริสุทธิ์ยุติธรรม

              วันนี้ จึงอยากเห็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้วางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงซึ่งการสนับสนุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จนเกิดกระแสเรื่องการวางตัว และจะมีปัญหาอื่นๆตามมา

              ที่สำคัญ อยากให้เป็นตัวอย่างกับนักเรียนของเรา 

 

หมายเลขบันทึก: 291365เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2009 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การวางตัวเป็นกลางบางทีก็ยากเหลือเกินนะคะ..ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่ตั้งใจในความเป็นกลางนะคะ

มาเชียร์ความเป็นประชาธิปไตยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ  วางตัวเป็นกลางค่ะ  แต่ใจ......นิดหนึ่ง

ทักทาย สวัสดี

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท