การศึกษาและทุนการศึกษา


การศึกษา

เทคนิคการอ่านหนังสือประเภทต่างๆ


วันนี้ อะตอมมีเทคนิคในการอ่านหนังสือแต่ละประเภทมาแนะนำให้เลือกใช้กันค่ะ เพื่อให้การอ่านหนังสือมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น

วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์: ไม่ควรอ่านตะลุยเรื่อยๆ รวดเดียวจบเล่มควรอ่าน แล้วหยุดพักเป็นตอนๆไปเรื่อยๆ

ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ : ควรอ่านตะลุยรวดเดียวไปจนจบเพื่อให้เรื่องราวสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน

วรรณคดี : อ่านอย่างรอบคอบถี่ถ้วน อ่านช้าๆไม่รีบเร่งปล่อยอารมณ์ให้คล้อยตามคําบรรยาย ถ้าอ่านเพื่อศึกษาควร มีการวิเคราะห์เรื่องราว บทบาทของตัวละครตลอดจนส่วนอื่นๆของวรรณคดี

นิตยสารและหนังสือพิมพ์ ควรใช้วิจารณญาน พิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ เชื่อทุกอย่างตามที่ข่าวรายงาน

ใครชอบอ่านหนังสือประเภทไหนก็ลองนำเทคนิคข้างบนไปใช้กันดูนะคะ

เทคนิคการเป็นนักอ่านที่ดี

การจะเป็นนักอ่านที่ดีได้นั้นต้องเริ่มพัฒนาและฝึกฝนตนเองให้เกิดลักษณะนิสัยและคุณลักษณะที่ดีของนักอ่าน มีแนวทางการฝึกดังต่อไปนี้

1. พยายามสร้างนิสัยตนเองให้รักการอ่าน โดยพยายามอ่านหนังสือทุกประเภทที่จะให้ประโยชน์และอ่านบ่อยๆ จนเกิดเป็นนิสัย

2. ฝึกฝนการอ่านหนังสือให้รวดเร็วและจับใจความให้ได้ วีธีการก็คือต้องใช้ช่วงสายตาให้กว้างพยายามให้ไม่มีจุดสะดุด หรือสายตาหยุดนิ่ง เพื่อจะให้อ่านได้รวดเร็ว ขณะที่อ่านก็พยายามจับใจความไปด้วย

3. ฝึกฝนตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่าน คือ อ่านเพราะต้องรู้ อ่านเพราะความรู้ และอ่านเพราะอยากรู้ การที่จะเป็นคนเก่งกว่าหรือว่ามีความสามารถเหนือกว่าคนอื่นได้เราต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านแล้วพยายามทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้นให้ได้

4. ฝึกสังเกตส่วนประกอบของหนังสือ เช่น ปก คำนำ สารบาญ คำนิยม หัวข้อเรื่อง บรรณานุกรม จะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่อ่านได้ดียิ่งขึ้น

5. ใช้เทคนิคหรือองค์ประกอบอื่นๆ เข้าช่วย เช่น สร้างบรรยากาศ ทำจิตใจให้มีสมาธิ ใช้ประสาททุกส่วนให้ช่วยจำ ตั้งใจให้แน่วแน่ ทำอารมณ์ให้สดชื่น แจ่มใส

ทำได้เท่านี้น้องๆ ก็จะเป็นนักอ่านที่ดีได้ในอนาคตแน่นอนค่ะ เพราะการอ่านเป็นพื้นฐานของความสำเร็จ

ที่มา : กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ, “ เคล็ดไม่ลับกับการอ่าน”

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ

TEXT:ATOM

น้องหลายคนใกล้สอบ จะใช้เทคนิคนี้ในการเตรียมตัวสอบทั่วไป หรือสอบ A-NET, O-NET ก็ไม่ว่ากันนะคะ ยังก็ขอให้สอบผ่านกันถ้วนหน้าแล้วกัน ^^ เริ่มกันเลยแล้วกัน วันนี้อะตอมมี 4 เคล็ดลับมาฝากค่ะ

1. ทำตารางสอบ
: โดยจดวันและเวลาที่สอบไว้ให้ชัดเจน

2. อ่านตำราโดยจัดลำดับตามตารางสอบ (ในข้อ 1)
: โดยเริ่มอ่านจากวิชาที่สอบวันแรก ไปจนถึงวันสุดท้าย และควรอ่านให้จบก่อนถึงวันสอบประมาณ 4 วันหรือมากว่านั้น และอ่านทบทวนอีกครั้งในวันสุดท้ายก่อนที่จะถึงวันสอบวิชานั้นๆ

3. พูดคุยกับเพื่อนๆ
: ไม่ใช่ชวนกันคุยเรื่องแฟชั่น เสื้อผ้า ดูหนัง หรือฟังเพลงนะคะแต่เป็นการพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่เราจะสอบ ถ้าจะให้ดีควรหากลุ่มเพื่อนสนิทแล้วเริ่มอ่านหนังพร้อมกัน และเมื่ออ่านจบก็ควรซักถามในส่วนที่ยังไม่เข้าใจเพื่อจะได้เป็นการทบทวนความรู้ให้เพื่อนและเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้แก่ตนเองด้วย

4. ค้นคว้าเพิ่มเติม
: ในกรณีที่เรายังเข้าใจในเนื้อหาที่อ่านอย่างถ่องแท้เราก็ควรค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรา หรือว่าอาจารย์ผู้สอนรายวิชานั้นๆ และจดบันทึกข้อควรจำที่สำคัญๆ เพื่อทำความเข้าใจก่อนสอบ

ถ้าน้องๆ ทำได้ตาม 4 ข้อข้างต้นรับรองว่าข้อสอบครั้งนี้คงไม่ยากเกินความสามารถของน้องๆ อย่างแน่นอนค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29130เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2006 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท