somtawin
นาง สมถวิล somtawin โชติคณาทิศ

ขั้นตอนการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของคอนสตรัคติวิสต์


ขั้นตอนการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของคอนสตรัคติวิสต์
การสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 สร้างความขัดแย้งทางปัญญา
              1. ครูเสนอปัญหา A ให้นักเรียนคิดแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล โดยที่ปัญหา A เป็นปัญหาที่มีความยากในระดับที่นักเรียนต้องปรับโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม หรือต้องสร้างโครงสร้างทางปัญญาขึ้นใหม่ จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้
              2.จัดนักเรียนเข้ากลุ่มย่อย กลุ่มละ 4 – 6 คน นักเรียนแต่ละคนเสนอคำตอบและวิธีหาคำตอบของปัญหา A ต่อกลุ่มของตน

ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินกิจกรรมไตร่ตรอง
1. นักเรียนในกลุ่มย่อยตรวจสอบคำตอบและวิธีหาคำตอบของสมาชิกในกลุ่ม  ตามเกณฑ์การตรวจสอบความเชื่อที่เสนอโดย โคโนลต์ ซึ่งได้แก่ ความสอดคล้องของความเชื่อ
                     ก. ระหว่างบุคคล
                     ข. ระหว่างสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกัน และ
                     ค. ระหว่างความเชื่อกับการสังเกตในเชิงประจักษ์ โดยดำเนินการดังนี้
                            1) กลุ่มตรวจสอบคำตอบปัญหา A ของสมาชิกแต่ละคนตามเงื่อนไขที่โจทย์กำหนด อภิปราย ซักถามเหตุผลและที่มาของวิธีหาคำตอบ
                            2) สมาชิกกลุ่มช่วยกันสร้างสถานการณ์ตัวอย่าง B ที่ง่ายต่อการหาคำตอบในเชิงประจักษ์และมีโครงสร้างความสัมพันธ์เหมือนกับปัญหา A ตามกฎการสร้างการอุปมาอุปไมยของเจนท์เนอร์ ดังนี้
             ก) ไม่ต้องพิจารณาลักษณะ ของสิ่งเฉพาะแต่ละสิ่งในสถานการณ์ปัญหา A
             ข) หาความสัมพันธ์ระดับต่ำ ระหว่างสิ่งเฉพาะแต่ละสิ่งในสถานการณ์ปัญหา A
            ค) หาความสัมพันธ์ระหว่างสูง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ระดับต่ำ ความสัมพันธ์ระดับสูง นี้เรียกว่า ระบบความสัมพันธ์หรือโครงสร้างความสัมพันธ์แล้วถ่ายโยงโครงสร้างความสัมพันธ์นี้ไปสร้างสถานการณ์ตัวอย่าง B ที่มีสิ่งเฉพาะแตกต่างกับสถานการณ์ ปัญหา A
                            3) หาคำตอบของสถานการณ์ตัวย่าง B ในเชิงประจักษ์
                            4) นำวิธีหาคำตอบของปัญหา A มาใช้กับปัญหา B ว่าจะได้คำตอบตรงกับคำตอบของปัญหา B ที่หาได้ในเชิงประจักษ์หรือไม่ ถ้าคำตอบที่ได้ไม่ตรงกัน ต้องทำการปรับเปลี่ยนวิธีหาคำตอบใหม่ จนกว่าจะได้วิธีหาคำตอบที่ใช้กับปัญหา B แล้วได้คำตอบสอดคล้องกับคำตอบที่หาได้ในเชิงประจักษ์ ซึ่งอาจมีมากกว่า 1 วิธี
                            5) นำวิธีหาคำตอบที่ใช้กับปัญหา B แล้วได้คำตอบสอดคล้องกับคำตอบที่หาได้ในเชิงประจักษ์ ไปใช้กับปัญหา A กลุ่มช่วยกันทำให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้าใจการหาคำตอบของปัญหา A ด้วยวิธีดังกล่าว ซึ่งอาจมีมากกว่า 1 วิธี (6) กลุ่มทำการตกลงเลือกวิธีหาคำตอบที่ดีที่สุดตามความเห็นของกลุ่มและช่วยกันทำ ให้สมาชิกของกลุ่มทุกคนมีความพร้อมที่จะเป็นตัวแทนในการนำเสนอและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับวิธีการหาคำตอบดังกล่าวต่อกลุ่มใหญ่ได้

  2. สุ่มตัวแทนกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่ม มาเสนอวิธีหาคำตอบของปัญหา A ต่อกลุ่มใหญ่ กลุ่มอื่นๆ เสนอตัวอย่างค้าน หรือเหตุผลมาค้านวิธีหาคำตอบที่ยังค้านได้ ถ้าไม่มีนักเรียนกลุ่มใดสามารถเสนอตัวอย่างค้านหรือเหตุผลมาค้านวิธีหาคำตอบที่ยังค้านได้ ครูจึงเป็นผู้เสนอเอง วิธีที่ถูกค้านจะตกไป ส่วนวิธีที่ไม่ถูกค้านจะเป็นที่ยอมรับของกลุ่มใหญ่ว่าสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการหาคำตอบของปัญหาใด ๆ ที่อยู่ในกรอบของโครงสร้างความสัมพันธ์เดียวกันนั้นได้ ตลอดช่วงเวลาที่ยังไม่มีผู้ใดสามารถหาหลักฐานมาค้านได้ ซึ่งอาจมีมากกว่า 1 วิธี
3. ครูเสนอวิธีหาคำตอบของปัญหา A ที่ครูเตรียมไว้ต่อกลุ่มใหญ่ เมื่อพบว่าไม่มีกลุ่มใดเสนอในแบบที่ตรงกับวิธีที่ครูเตรียมไว้ ถ้ามี ครูก็ไม่ต้องเสนอ
4. นักเรียนแต่ละคนสร้างปัญหา C ซึ่งมีโครงสร้างความสัมพันธ์เหมือนกับปัญหา A ตามกฎการสร้างการอุปมาอุปไมยของเจนท์เนอร์ดังกล่าวแล้วในข้อ (2) เลือกวิธีหาคำตอบจากวฺธีซึ่งเป็นที่ยอมรับของกลุ่มใหญ่ มาหาคำตอบของปัญหา C
5. นักเรียนแต่ละคนเขียนโจทย์ของปัญหา C ที่ตนสร้างขึ้นลงในแผ่นกระดาษพร้อมชื่อผู้สร้างปัญหา ส่งครู ครูนำแผ่นโจทย์ปัญหาของนักเรียนมาคละกันแล้วแจกให้นักเรียนทั้งห้องคนละ 1 แผ่น
6. นักเรียนทุกคนหาคำตอบของปัญหาที่โจทย์ได้รับ ด้วยวิธีการหาคำตอบที่เลือกมาจากวิธีที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มใหญ่แล้ว แล้วตรวจสอบคำตอบกับเจ้าของปัญหา ถ้าคำตอบขัดแย้งกัน ผู้แก้ปัญหาและเจ้าของปัญหาจะต้องช่วยกันค้นหาจุดที่เป็นต้นเหตุแห่งความขัดแย้ง และช่วยกันขจัดความขัดแย้ง เช่น อาจจะแก้ไขโจทย์ให้รัดกุมขึ้น ให้สมเหตุสมผล หรือแก้ไขหรือวิธีคำนวณและซักถามกันจนเกิดความเข้าใจทั้งสองฝ่าย นำปัญหา C และวิธีหาคำตอบทั้งก่อนการแก้ไขและหลังการแก้ไขของทั้งผู้สร้างปัญหาและผู้แก้ปัญหาส่งครู ครูจะเข้าร่วมการตรวจสอบเฉพาะในคู่ที่ไม่สามารถขจัดความขัดแย้งได้เอง

ขั้นตอนที่ 3 สรุปผลการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา
                ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปมโนทัศน์ กระบวนการคิดคำนวณ หรือกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาที่นักเรียนได้ช่วยกันสร้างขึ้นจากกิจกรรมในขั้นตอนที่ 2 ให้นักเรียนบันทึกข้อสรุปไว้

คำสำคัญ (Tags): #somtawin
หมายเลขบันทึก: 291009เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2009 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

-อาจารย์มีแบบอธิบายเป็นโครงสร้างไหมครับ (รูปภาพ) ถ้ามีรูปผมคงเข้าใจได้ดีกว่านี้ ...แต่ไม่ได้หมายความว่าที่อาจารย์เขียนนี้ไม่ดีนะครับ

ขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะ...ตอนนี้หนูกำลังทำรายงานเกี่ยวกับรูปแบบการสอนคอนตรัคติวิส...แต่มีปัญหาตรงที่ว่าอาจารย์ของหนูต้องการให้ทำแผนการสอนโดยใช้ทฤษฎีนี้รองรับหนูยังไม่สามารถทำได้...โดยเรื่องที่จะทำเป็นหน่วยการเรียนรู้เรื่องการวัด ป.3-ป.4

หากอาจารย์มีตัวอย่าง รายชั่วโมงอยากให้อาจารย์นำมาฝากหน่อยนะค่ะ....ขอบพระคุณมากค่ะ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์คะหนังสือเกี่ยวคอนสตรัคติวิสต์มีไหมคะ แล้วชื่ออะรัยบ้างคะ รบกวนหน่อยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท