Model ความร่วมมือของ3เสาหลักในการจัดการงานชุมชนท้องถิ่น.....ชุมชนท้องถิ่นจัดการตัวเอง(1)


ดังนั้น 3 เสาหลักของแต่ละชุมชนท้องถิ่น ที่มีกฎหมายรองรับแล้วนั้น ควรร่วมกันเป็นเจ้าภาพประสานความร่วมมือทุกฝ่ายในการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนา สู่ “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” Model ความร่วมมือของ3เสาหลักในการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นควรมีดังนี้

หน่วยจัดการงานพัฒนาขั้นพื้นฐานของชุมชนท้องถิ่นที่มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว คือ อบต. (ท้องถิ่น)/ สภาองค์กรชุมชน(ชุมชน)และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (ท้องที่)เป็นกลไกของประชาชนในการปกครองและจัดการตนเองที่สามารถดำเนินงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้อย่างเป็นระบบ และสามารถเชื่อมโยงกับกลไกกับระบบราชการกลางได้ (ราชการส่วนภูมิภาคเชื่อมต่อกับท้องถิ่น)  ดังนั้น 3 เสาหลักที่เป็นหน่วยจัดการงานพัฒนาขั้นพื้นฐานของชุมชนท้องถิ่นของแต่ละชุมชนท้องถิ่น ควรได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพประสานความร่วมมือทุกฝ่ายในการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนา สู่ “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”  โดยแต่ละหน่วยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องรองรับดังนี้

สภาองค์กรชุมชน(ชุมชน)   มีกฎหมายที่ให้บทบาทอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องคือ 

Ø รธน. 2550 ม.66,67,60

Ø พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน 2551

Ø พ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมือง 2551

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ท้องถิ่น)   มีกฎหมายที่ให้บทบาทอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องคือ

Ø  พรบ.สภาตำบลและอบต. 46

Ø  พรบ.แผนขั้นตอนกระจายอำนาจ 42  

Ø  พรบ.การเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น     

Ø  รบ.มท.ประสานแผน 48

Ø  รบ.มท.ว่าด้วยการประสานแผน 2548

กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน(ท้องที่)  มีกฎหมายที่ให้บทบาทอำนาจหน้าที่    ที่เกี่ยวข้องคือ

Ø  รบ.มท.ว่าด้วยการเลือกตั้งฯ,     

Ø  พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่2551

         คำถามที่น่าสนใจ เพื่อที่จะทำให้ชุมชนท้องถิ่นระดับตำบลสามารถจัดการงานพัฒนาได้ด้วยตนเอง คือ ทำอย่างไรเราจึงจะสนับสนุนส่งเสริมให้ 3 เสาหลัก  คือ ชุมชน ท้องถิ่นและท้องที่ ที่เป็นหน่วยจัดการงานพัฒนาขั้นพื้นฐานของแต่ละชุมชนท้องถิ่น ตามที่กฎหมายให้การรับรองแล้วนั้น ได้ทำงานร่วมกัน   เป็นเจ้าภาพประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายในชุมชนท้องถิ่น   จัดให้มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อ “จัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนา” สู่ “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ได้

 

หมายเลขบันทึก: 290991เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2009 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ พี่สุเทพ เข้ามาเยี่ยมชมค่ะ ต่อไปจะขอสมัครเป้นแฟน ๆติดตามอ่านผลงาน ด้วยคนนะคะ

สวัสดีค่ะคุณสุเทพ
*  หน่วยจัดการงานพัฒนาขั้นพื้นฐานของชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญมากในยุคปัจจุบัน  แต่ดูเหมือนว่าเกือบ ๙๐ เปอร์เซ็นจะบริหารงานยังไม่ตรงประเด็น  ไปเน้นเรื่องการพัฒนาคณะของตนเองโดยการไปศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ บ่อยมากจนไม่มีเวลามาคิดพัฒนาชุมชน เลยค่ะ
* ในฐานะที่คุณสุเทพ ทำงานอยู่ด้านนี้  คงต้องฝากเรื่องนี้ด้วยนะคะ  ขอบคุณค่ะ   

สวัสดีครับ คุณ K.Pually

ยินดีต้อนรับคุณครูมาเยี่ยมบ้าน “ชุมชนจัดการความรู้”ครับ

เห็นด้วยกับคุณครู ที่ว่าหน่วยจัดการงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นระดับตำบล

ปัจจุบันมีประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ที่มีความร่วมมือกันของ

“ชุมชน-ท้องถิ่น-ท้องที่”

คงต้องช่วยกันครับ ที่กำแพงเพชรก็คงมีพื้นที่ที่มีความร่วมมือ

ในจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์นั้นอยู่ เราคงต้องนำเรื่องราวที่ดีๆนั้น

มาสร้าง “ชุมชนท้องถิ่นแห่งการจัดการความรู้”

มีโอกาสคงได้ไปแวะเยี่ยมที่กำแพงเพชรและจะได้นำมาบอกเล่าต่อครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท