สำนวนภาษาถิ่นใต้


สำหรับสำนวนในภาษาถิ่นใต้ มักจะใช้ถ้อยคำสั้นๆ กะทัดรัด ซึ่งตรงตามอัตลักษณ์ของการใช้ภาษาถิ่นใต้ที่มักจะมีการลด ตัด ทอนพยางค์ให้สั้นเข้า

        สำนวน   ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง โวหาร ทำนองพูด ถ้อยคำที่เรียบเรียง ถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่รับใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาเป็นข้อความพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ สำนวนไทยจะมีความหมายโดยนัย เป็นลักษณะความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ จะไม่แปลความหมายตรงตามตัวอักษร 

        สำนวนเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมการใช้ภาษา  ผู้ใช้ภาษาสามารถคิดถ้อยคำสั้นๆ เพื่อใช้ในความหมายที่กว้างและลึกซึ้งได้เป็นอย่างดี  นอกจากนั้น สำนวนก็ยังสะท้อนวิถีชีวิต และค่านิยมของคนในสังคมได้เป็นอย่างดี 

        สำหรับสำนวนในภาษาถิ่นใต้ มักจะใช้ถ้อยคำสั้นๆ กะทัดรัด  ซึ่งตรงตามอัตลักษณ์ของการใช้ภาษาถิ่นใต้ที่มักจะมีการลด ตัด ทอนพยางค์ให้สั้นเข้า  ดังปรากฏในการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันของชาวจังหวัดสงขลา  ซึ่งลูกน้องรถประจำทางมักจะเรียกผู้โดยสาร  โดยใช้คำที่บ่งบอกสถานที่ปลายทาง "หาดใหญ่"  เพียงพยางค์สั้นๆ ว่า   "ใหญ่"   นอกจากนี้ยังมีการควบเสียง หรือกลมกลืนเสียงให้สั้นเข้าในคำบางคำ เช่น  ออกเสียง   หมฺระ  ในคำว่า  มะระ,   เมละ  ในคำว่า  มะลิ,   แหมฺละ  ในคำ  ชำแหละไหมฺล  ในคำ  กำไล  เป็นต้น  หรือแม้แต่คำบางคำที่สร้างขึ้นเพื่อสื่อความหมายก็สามารถอธิบายได้ชัดเจน  เช่นคำว่า  "รุนทก" (การแก้ปัญหารถจักรยานยนต์ สตาร์ทไม่ติด อันเนื่องมาจากสาเหตุแบตเตอร์รี่อ่อน หรือหัวเทียนบอด  โดยการให้บุคคลอื่นมาช่วยเข็นรถให้รถเคลื่อนไปข้างหน้า  แล้วคนที่ขี่ หรือควบคุมจักรยานยนต์ ก็เข้าเกียร์สตาร์ทให้เครื่องยนต์ติด) ซึ่งถ้าอธิบายให้คนท้องถิ่นอื่นๆ ฟังก็คงจะต้องขยายความเสียหลายประโยค 
        สำนวนในภาษาถิ่นใต้ มีทั้งที่เป็นสำนวนสั้นๆ ๒ พยางค์  จนถึงสำนวนมากพยางค์ เช่นเดียวกับสำนวนในภาษาไทยทั่วไป  ดังนี้

สำนวน ๒ พยางค์

ศัพท์

เสียงถิ่นใต้

ความหมาย

ดับพาย

ดั๋บพ่าย

เก็บเสื้อผ้า สิ่งของเครื่องใช้  เตรียมตัวเดินทางไป  ย้ายถิ่น

ได้แรง

ดายแร่ง

ถึงใจ  ชื่นใจ  สมใจ
ตัวอย่าง  มาร้อนๆ กินน้ำเย็น ชาดได้แรงอก

ถอดสี

ทอดซี้

กลัว  ประหม่า  ขี้ขลาด  สำนวนนี้มากจากกีฬากัดปลากัด

ซึ่งปลาตัวที่กัดแพ้สีตัว ครีบ หาง จะซีด  เรียกว่า  ถอดสี

ทอดกลืน

ถอดกลื๋น

กริยากลืนอาหารโดยไม่ต้องเคี้ยว

ฉีกเหงือก

ซีกเฮือก

ปฏิบัตินอกคำสั่ง  นอกคอก  ดันทุรัง 

ชักย่าน

ฉักหย่าน

เดินตามกันมาเป็นแถว

ตัวอย่าง  ไอ้โหมฺนั้น ไปเยี่ยมคนป่วยที่โรงบาลคนนึง ชักย่านกันไปเป็นร้อย

รดท่อน

หร็อดถ่อน

การอาบน้ำเพียงครึ่งตัวส่วนบน  โดยการจัดร่างกายเหมือนท่า วิดพื้น  แต่ยกก้นกระดกสูงขึ้นเพื่อเวลารดน้ำ จะรดจากสะเอวให้ไหลลงไปยังลำตัวส่วนบน

สำนวนมากกว่า ๒ พยางค์

ค่อยยังชั่ว (ข่อยยั่งฉั่ว)
หมายความว่า ดีขึ้น  สบายขึ้น  ใช้กล่าวเมื่ออาการเจ็บป่วยหรือ ความเป็นอยู่ดีขึ้น

โม่ขี้ดำ (โหม่คีด๋ำ)
หมายความว่า  โง่มาก  โง่ดักกาน  สำนวนนี้มาจากเด็กเล็กแรกเกิดไม่รู้ประสา ซึ่งมักถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีดำ

เดือนเป็นจันทร์ (เดื๋อนเป๋นจั๋น) 
หมายความถึง  ปรากฏการณ์จันทรุปราคา  ชาวปักษ์ใต้ จะใช้คำว่า  "เดือนเป็นจันทร์"  ส่วน สุริยุปราคา ใช้ "หวันเป็นสูรย์"

ไอ้รัดดวง (ไอ่หรัดด๋วง) 
เป็นสำนวนที่ใช้ว่าคน  ไม่ดี  เลวทราม  น่ารังเกียจ  โดยเทียบว่าเป็นเหมือนโรคริดสีดวงทวาร(ภาษาถิ่นใต้เรียกริดสีดวงทวารว่า "รัดดวง" ปัจจุบันใช้สำนวนนี้ในความหมายที่กว้างออกไป โดยเป็นใช้ว่ากล่าวสัพยอกกัน

กินเหมือนผีอยู่ใน (กิ๋นเมื้อนพี่โหย่ไน่)
หมายความว่า  กินจุ (แต่ไม่อ้วน)  เหมือนผีอยู่ในท้องตัวเองกินเข้าไปเท่าไหร่ๆ  ผีที่สิงอยู่ในร่างกายก็เอาไปกินหมด ทำให้ไม่อ้วน  มักใช้เปรียบเทียบถึงคนที่กินจุ  กินมาก  แต่ไม่อ้วน

ขี้คร้านเหมือนเรือด (คีขร่านเมื้อนเหรือด) 
หมายความว่า  สำนวนเปรียบเทียบกับคนที่ขึ้เกียจ  ไม่ค่อยทำอะไรเอาแต่กิน และนอน  ที่เปรียบกับตัวเรือด คงไม่ใช่เพราะเรือดนอนกิน  แต่เป็นเพราะตัวเรือดมักจะอาศัยตามที่นอน  ใต้เสื่อ  ร่องพื้น คอยกินเลือดคนที่นอนอยู่กับที่ไม่ออกไปทำมาหากิน

ดีหวาเอาไม้ดีดปาก (ดี๋ว้าเอ๋าหม่ายดีด*ปาก*)   หมายเหตุ เครื่องหมาย * หมายถึงออกเสียงให้สั้นเข้า
เป็นสำนวนปลอบใจเชิงประชดประชัน ในการกินอาหารที่มีรสชาติไม่อร่อย  แต่ก็ยังมีประโยชน์กว่า และไม่เจ็บ เท่าเอาไม้ไปดีดที่ปาก

ถูกเหมือนลูกเคย (โทกเมื้อนโหลกเค่ย)
เป็นสำนวนเปรีบเทียบ สิ่งของที่มีราคาถูก  ที่เปรียบกับลูกเคย ก็คือ กุ้งเคย ที่นำมาใช้ทำกะปิ  เป็นกุ้งตัวเล็กๆ ที่มักพบบริเวณริมทะเล  ซึ่งหาได้ง่าย และมีราคาถูก 

รักกันเหมือนอีฉีกวานดุม (หรักกั๋นเมื้อนอี่ซีกว่านดุ๋ม)
เป็นสำนวนเปรียบเทียบ คนรักที่รักกันมาก หรือผู้ใหญ่รักใคร่ลูกหลาน จนหลง  ที่เปรียบกับกริยา ฉีกวาน(ก้น)ดม  หมายถึงรักมาก  จนไม่รังเกียจ

ผอมเหมือนไม้เสียบผี (พ้อมเมื้อนหม้ายเซียบพี้)
ใช้เปรียบเทียบคนที่ ผอม สูง สกปรก น่ารังเกียจเหมือนไม้ที่สับปะเหร่อใช้เขี่ยศพขณะเผาศพ

ยุ่งเหมือนหมวดข้าวยำ (ยุงเมื้อนมวดคาวย่ำ)
ใช้กับงานที่ยุ่ง  งานประดังเข้ามาเยอะจนทำไม่ทัน ซึ่งเปรียบได้กับหมวด(เหมือด)ข้าวยำ ซึ่งเป็นผักนานาชนิดที่หั่นหรือซอยเป็นฝอย ได้แก่ ใบมะกรูด  ใบกระพังโหม  ตะไคร้  แตงกวา  ถั่วฝักยาว  เกสรดอกชมพู่  ถั่วงอก  มะม่วง  ดอกดาหลา ฯลฯ  ซึ่งก่อนรับประทานข้าวยำต้องคลูกเคล้าหมวดต่างๆ ให้เข้ากันดูยุ่งเหยิง

เอือดเหมือนเรือเกลือ (เอือด*เมื้อนเรือเกลือ)
ใช้ว่าคนที่เนื้อตัวมีเหงื่อโซมเหนียวเหนอะหนะ  กับเรือที่บรรทุกเกลือ ซึ่งกระสอบเกลือมักจะชื้น(เอือดเหนียว)

ฮ่องเหมือนไก่ถูกบาด (ฮ็องเมื้อนไกโทกบาด*)
ใช้ว่าคนที่ซึม หงอย  ดูเหนื่อยหน่าย อ่อนเพลีย จากการไม่สบายกาย ไม่สบายใจ  เปรียบกับไก่ที่ถูกบาด (เป็นโรคระบาด)  มักจะมีอาการซึมหงอย ไม่มีแรง



หมายเลขบันทึก: 290914เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2009 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

โรงเรียนวรนารีเฉลิม

กอเคยไปแล้วค่ะ

อยู่ใกล้กับแหลมสะมิหรู อิอิ แหลมสะมิหรา

ทำไมคุณครูแปลภาษาใต้ให้เป็นภาษาใต้อีกทีล่ะค่ะ

คนใต้อ่านเองยังงงเลยค่ะ

♥!♥☻♥♠¶ ↨↨‘YA2ฯ๑๑๏•๑◙b•◘♦♠☺3256♣○5

  • ขอบคุณค่ะ
  • ชอบบันทึกนี้จังเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • ได้รับความรู้มากมายภาษาใต้ น่าเรียนรู้ค่ะ
  • แวะมาเชิญไปสมัครครูสอนดี สอนเก่ง รุ่นสองที่นี่ค่ะ
  • จะรอต้อนรับสมาชิกรุ่น 2ค่ะ

ภาษาใต้ที่ครูแปลเปนภาษาใต้อีกที เพราะ อย่าให้คนภาคอื่นได้ออกเสียงถูกค่ะ

อยากให้มีทั้ง4ภาคเลยค่ะ

ทำมคำน้อยจังเลย

อยากได้เนื้อหามากกว่านี้อ่ะ

ทำมคำน้อยจังเลย

อยากได้เนื้อหามากกว่านี้อ่ะ

อยากทราบ E-mail ของอาจารย์ค่ะ หนูเคยเป็นลูกศิษย์ตอนอาจารย์สอนที่กระบี่

ณัฐวุฒิ พงศ์จันทรเสถียร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท