การวัดผลการปฏิบัติธรรม (1)


วิธีวัดผลว่าเมื่อเราปฏิบัติธรรมแล้ว เรามีความก้าวหน้าไปหรือไม่ อย่างไร

เมื่อเรานำธรรมมะมาใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเมื่อฝึกปฏิบัติการทางจิตแล้ว เราคงอยากรู้ว่าเราก้าวหน้าไปหรือไม่ อย่างไร แล้วจะเอาอะไรมาวัดผล

พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตฺโต ) ได้บรรยายถึงหลักพิจารณาไว้ดังนี้ค่ะ

พระพุทธเจ้าทรงเห็นแล้วว่า คนเรานี่จะเขวได้ง่าย จึงตรัสหลักในการตรวจสอบไว้ การตรวจสอบด้วยประสบการณ์ตรงก็คือ ให้ดูใจของตนเอง ว่ามีโลภ โกรธ หลง ไหม แล้วละคลายไปได้แค่ไหน มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้แค่ไหน เพียงไร มีความคิดประทุษร้ายต่อผู้อื่นหรือไม่ มีความเกลียดชังผู้อื่นหรือไม่ มีความต้องการในทางที่เห็นแก่ตนมากมายแค่ไหนเพียงไร มีความลุ่มหลง เพลิดเพลิน มัวเมา แค่ไหนเพียงไร ใจตัวเองรู้

ถึงจะปฏิบัติมีศีลเคร่งครัดแค่ไหนเพียงไร หรือได้ฌานสมาบัติ มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อะไร หรือจะได้สมาธิดื่มด่ำอะไรก็ตาม ก็ไม่ใช่เครื่องวินิจฉัย

นี่เป็นหลักตรวจสอบคร่าวๆ แต่หลักตรวจสอบโดยละเอียดนั้นมีเนื้อหามาก ขอยกไปเป็นบันทึกถัดไปนะคะ

.................................................

อ้างอิง

พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตฺโต ) ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง ( หน้า ๔๒ ) สำนักพิมพ์ระฆังทอง นครปฐม

หมายเลขบันทึก: 290830เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2009 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2013 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาชม

มาเชียร์

บันทึกถึงธรรมนำชีวิตดีแท้นะนี่

  ผมตรวจสอบการปฏิบัติดูที่ใจตัวเองครับ

  ถ้าใจมันวุ่นๆ ขุ่นมัว แสดงว่า  มันมีกิเลสอยู่มาก

  ถ้าใจโล่งๆ โปร่งๆ  แสดงว่า   วันนี้ ดีขึ้น

                         ขอบคุณครับ

ขอบพระคุณครับ

ใช้หลักโยนิโสมนสิการ พิจารณาด้วยตนเอง ละกิเลสได้มากน้อยเพียงไร เข้าใจการทำงานของจิตขนาดไหน หรือถ้าพอจะรู้จักผู้รู้ หรือ ครูบาอาจารย์ เพื่อนกัลยาณมิตรก็พอจะช่วยได้อีกทางหนึ่งครับ

กิเลสหยายๆอาจจะไม่ยากมาก แต่กิเลสละเอียด เช่นพวกวิปัสสนูกิเลสนี่มาเหนือเมฆนี่ยากมากเลยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท