ส่งผ่านประสบการณ์...ไข้หวัด 2009... สู่เพื่อนร่วมงาน


...เรียนรู้เพื่อแก้ไข...และป้องกันทั้งจนท. ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย

             เมื่อมีเจ้าหน้าที่ติดเชื้อไข้หวัด 2009 ก็มีเรื่องราวมากมายตามมาในการเฝ้าระวังบุคคลรอบข้างรวมถึงผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย ถึงแม้ว่าช่วงนี้...ข่าวคราวของไข้หวัด 2009 จะลดลง แต่ทางการระบาดนั้นก็ยังคงอยู่ การที่ผู้ติดเชื้อไข้หวัด 2009 ซึ่งหายแล้วได้นำประสบการณ์ตรงที่พบมาเล่าสู่เพื่อนร่วมงานให้ได้เรียนรู้ เพื่อแก้ไขและเฝ้าระวังคนรอบข้างจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก ต้องขอชื่นชมศูนย์ IC ของหน่วยงานที่เห็นถึงความสำคัญและได้จัดให้มีเวทีเล่าสู่กันฟังในวันนี้

          เส้นทางการติดเชื้อไข้หวัด 2009 ของจนท. (เหตุเกิดจากการอบรมสัมนา)

          โดยเริ่มแรกไม่รู้ว่าใคร?เป็นผู้รับเชื้อมาก่อนหน้านี้ แต่อาการป่วยและมีไข้นี้เริ่มจากน้องพยาบาลที่อบรมสัมนาร่วมกันมีอาการไข้ 2 คนและอาการเริ่มเหมือนไข้หวัดใหญ่ธรรมดาในตอนแรกและเมื่อพบหมอก็ไม่ได้คิดว่าจะเข้าข่ายไข้หวัด 2009 จึงได้รับยาแอนตี้ไบโอติกในการรักษาเบื้องต้น แต่ต่อมาปรากฏว่าอาการไข้สูงขึ้นและหมอก็เลยส่งตรวจไข้หวัด 2009 ที่ร.พ.รามาพร้อมทั้งให้พักรอผลการตรวจ ซึ่งผลออกมาบวกทั้งสองคน ปรากฏว่าคนอื่นๆรอบข้างก็เริ่มมีไข้ตามมาติดๆถัดกันคนละวัน ดังนั้นทุกคนที่สัมผัสหรืออยู่ร่วมกัน(ในห้องอบรมสัมนา)และทานข้าวด้วยกัน ก็ต้องเข้าข่ายเฝ้าระวังทั้งหมด ซึ่งคุณเอื้องและคุณน้องเป็นหนึ่งในนั้นเป็นตัวแทนนำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟัง   แถมท้ายว่า...ซึ้งน้ำใจในความห่วงใยของเพื่อนๆที่โทร.มาถามอาการด้วยความเป็นห่วงและให้กำลังใจ จำนวนมากจนคิดไม่ถึง...

          สิ่งที่น่าสังเกตุจากอาการที่พบ...ซึ่งทำให้คาดไม่ถึง

          อาการที่ทั้งสองท่านพบนั้นบอกว่า...ไม่คิดว่าตัวเองจะติดเชื้อไข้หวัด 2009 เนื่องจากดูแลตัวเองอย่างดี ใช้ผ้าปิดปากตลอดและก็ล้างมือป้องกันอย่างสม่ำเสมอ แต่เมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ (น้องพยาบาล 2 คนแรก) ก็เลยต้องกันตัวเองออกมาและเฝ้าระวังคนรอบข้างด้วยจากการสังเกตุอาการของตัวเอง พบว่า....

1.      เริ่มแรกอาการที่พบคือมีอาการคันตาอย่างเดียว(เหมือนกันทั้งสองท่าน) อาการคันเหมือนอาการแพ้อะไรสักอย่าง ก็เลยอดที่จะขยี้ตาไม่ได้ และก็ใช้มือดึงผ้าปิดจมูกบ่อย (เนื่องจากไอของความร้อนจาการหายใจ มักจะขึ้นไปทำให้แว่นตามัว)

2.      ไม่พบอาการมีไข้หรือเบื่ออาหาร ท้องเสียใดๆ(ในตอนเริ่มแรก)

3.      ถัดมา 1 วันเริ่มมีอาการร้อนคอ แสบคอ คล้ายหิวน้ำ คอแห้งและเริ่มมีอาการไอมากขึ้น แต่ไม่มีเสมหะ เมื่อไปรับการตรวจจากแพทย์ (เนื่องจากเป็นผู้เฝ้าระวังก่อนแล้ว) มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยจึงได้รับยาต้านไวรัสทันที ก่อนที่ผลการตรวจจะออกมา ซึ่งผลปรากฏว่าติดเชื้อไข้หวัด 2009 และคุณน้องเล่าว่าตั้งแต่ตรวจพบเชื้อนั้นมีอาการไข้ขึ้นสูง 38 องศาเพียงครั้งเดียว แต่ชีพจรเต้นเร็วใน 2-3 วันที่ติดเชื้อและมีอาการไอมากขึ้นแบบควบคุมไม่ได้ และปวดเมื่อยเนื้อตัว (เนื่องจากได้รับยาเร็วก่อนรู้ผลเลยทำให้อาการเป็นไม่มาก)

4.      สิ่งที่บอกข้อสัณนิฐานตรงกันของทั้งสองท่านคือ พักผ่อนน้อย นอนดึก  เมื่ออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยจึงทำให้ติดเชื้อง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานจะต่ำกว่าคนที่ได้รับการพักผ่อนเพียงพอ

5.      อาการอื่นๆก็ไม่ชัดเจน ในส่วนอื่นๆก็ปกติและแข็งแรงดี อาจจะเป็นเพราะว่า ทั้งสองท่านได้รับยาเร็วจึงมีอาการน้อย ซึ่งต่างจาก2 คนแรกที่มีอาการแย่หลายวันและได้รับยาช้าเพราะไม่คิดว่าจะใช่ไข้หวัด 2009 ในตอนแรก

6.      สิ่งที่ควรทำก็คือ ให้สังเกตุตัวเองให้ดี ถ้าไม่แน่ใจ ก็ให้แยกตัวเองออกมาก่อน เพราะว่าแม้ได้รับเชื้อแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ ดังนั้นในส่วนนี้สามารถป้องกันไว้ก่อนได้

7.      คนที่มีอาการไข้ หมอก็สั่งพักผ่อนอยู่บ้าน ทานยาแก้ไข้ตามอาการ ถ้าผิดปกติมากก็รีบมาพบแพทย์อีกครั้ง

การเฝ้าระวังคนอื่นรอบข้าง

1.      คุณน้องเล่าว่าเมื่อรู้ตัวว่าตัวเองเป็นกลุ่มใกล้ชิดผู้ป่วยและเฝ้าระวัง จึงกันตัวเองออกมาจากคนรอบข้างทันที กักบริเวณอยู่ที่พัก ไม่เข้าใกล้ผู้อื่น พร้อมสังเกตุอาการตัวเอง

2.      เมื่อทราบว่าผลการตรวจออกมาเป็นบวก ได้แจ้งให้ทุกคนที่คิดว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้ใกล้ชิดใครให้รับทราบและให้เฝ้าระวัง และรับการตรวจเมื่อมีอาการ

3.      พยายามช่วยเหลือตัวเองทุกอย่าง เพื่อให้คนอื่นเข้าใกล้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และวัดไข้โทร.รายงานเป็นระยะๆ ไม่เปิดแอร์เปิดหน้าต่างแทน เนื่องจากคิดว่าแอร์ไม่มีที่กรองเชื้อโรคกลัวว่าจะทำให้เชื้อติดที่กรองอากาศได้ อาการก็ไม่มากนัก แต่ก็ไอ เหนื่อยง่าย จนได้รับยาครบ 5 วัน อาการดีขึ้น

4.      การเฝ้าระวังคนไข้และญาติคนไข้ รวมถึงจนท.ทุกคนในตึกรักษาผู้ป่วย ต้องรับการตรวจวัดอุณหภูมิทุกคน ก่อนพบผู้ป่วย ซึ่งถ้าอยู่ในข่ายสงสัยจะกันตัวออกมาทันที ไม่ให้เข้าเยี่ยม

การเข้าใจผิด เรื่องวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ...ว่าป้องกันไข้หวัด 2009 ได้ 

มีคนถามว่า...ได้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้ว เลยไม่ค่อยกลัวหวัด 2009 ซึ่งหมอณัฐฐาบอกว่า ...เป็นการเข้าใจผิดเรื่องที่ว่าฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 ได้ เนื่องจากเป็นเชื้อคนละสายพันธุ์กันไม่สามารถป้องกันได้ และเชื้อไวรัสนี้ก็สามารถปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ได้ตลอด ไม่แน่คนที่เคยติดไข้หวัด 2009 แล้วในอนาคตอาจสามารถติดระลอกใหม่ได้ถ้าเชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์ (น่ากลัวจัง...)

คุณหมอณัฐฐาให้ความรู้เรื่องไข้หวัด 2009   

1.      เนื่องจากคุณหมอถามว่า ...ใครรู้เรื่องไข้หวัด 2009 เป็นอย่างดีแล้ว 100% ไม่มีใครมั่นใจ...กล้ายกมือ  70% ล่ะ...มีบ้างเล็กน้อย  50 % ล่ะ...เกือบทั้งหมด น้อยกว่า 50 %...มีเล็กน้อย 

2.      คุณหมอบอกว่าไข้หวัด2009 นี้อาการเหมือนไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่ อาการแยกกันไม่ค่อยออก ซึ่ง 90% สามารถที่จะหายเองได้ มีเพียง 0.5% เท่านั้นที่มีอัตราการเสียชีวิต แต่คนที่ควรระวังคือ กลุ่มเสี่ยง เช่น มีโรคประจำตัว เบาหวาน โรคหัวใจ หลอดเลือด ปอดเรื้อรัง โรคที่กินยากดภูมิ เช่น เอดส์ มะเร็ง เป็นต้น

3.      คนที่อดนอน พักผ่อนน้อย สามารถติดเชื้อได้ง่าย

4.      การใส่หน้ากากปิดจมูกนั้น ทำให้บางคนอึดอัดไม่เคยชิน จึงทำให้บางคนจะใช้มือจับขยับไปมา เป็นสาเหตุให้ติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นคุณหมอแนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงการล้วง แคะ แกะ เกา เนื่องจากเยื่อบุที่อ่อนๆเช่น เยื่อบุตา เยื่อบุจมูกและเยื่อบุปาก สามารถทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้เมื่อมีการฉีกขาดของเยื่อบุเหล่านั้น

5.      ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงให้สังเกตุอาการดังนี้

# อาการที่สงสัยว่าปอดอักเสบรุนแรง ให้ x-ray ทุกราย

-          เหนื่อยหอบ หรือเจ็บหน้าอก

-          ฟังปอด ได้ยินเสียงผิดปกติ

-          Chest x-ray ที่ชี้แนะว่ามีปอดอักเสบ

# ซึมผิดปกติ

# กินอาหารและน้ำได้น้อยกว่าปกติ มีภาวะขาดน้ำ

# อาการไม่ดีขึ้นหลัง 48 ชั่วโมง นับตั้งแต่เริ่มป่วย

6.      ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง ไม่ต้องส่งตรวจ เนื่องจากสามารถหายเองได้ ให้พักผ่อนมากๆ

เมื่อเป็นหวัด 2009 แล้ว...หายแล้ว...มีภูมิแล้วจะเป็นอีกไหม?

      

1.      เมื่อเป็นไข้หวัด2009 แล้วและหายแล้วจะมีภูมิป้องกัน แต่ก็ไม่มีที่ไหน ตรวจสอบหลังการรักษาว่ามีจริง เชื่อว่าร่างกายจะสร้างภูมิต่อเชื้อนี้ขึ้นเองในเวลาต่อมา จึงทำให้ไม่เป็นอีก

2.      กินยาครบ 5 วันหายแล้วจริงหรือ? ตรวจสอบอย่างไร? หมอบอกว่าไม่มีใครตรวจและเชื่อว่ากินยาครบตามนั้นก็หายแล้ว อาจ x-ray ดูอีกครั้ง

3.      อาการหลังจากรักษาหายแล้ว ยังไอ...ไม่เลิก..(คุณน้องถาม) ทำให้เพื่อนและคนรอบข้างไม่แน่ใจว่าหายขาด ไม่อยากเข้าใกล้ หมอบอกว่าเป็นอาการข้างเคียงหลังการรักษา เนื่องจากตัวเยื่อบุอ่อนและปอดเกิดการระคายเคือง ซึ่งจะเกิดขึ้นระยะหนึ่งแล้วจะหายไปเอง

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 

(ขอขอบคุณข้อมูลจากศูนย์ IC สถาบันมะเร็งแห่งชาติ)

1.      หากมีอาการป่วยไม่รุนแรง เช่นไข้ไม่สูงและรับประทานอาหารได้ สามารถดูแลอาการด้วยตนเองที่บ้านได้ ควรให้พาราเซตามอลเพื่อลดไข้ (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

2.      หยุดเรียน หยุดงาน จนกว่าจะหายปกติดีและหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิด ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่นหรือออกไปในที่ชุมชน เพื่อลดการแพร่เชื้อ

3.      ใช้กระดาษทิชชู ผ้าเช็ดหน้า ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์เจล ทำความสะอาดมือและสวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องอยู่กับผู้อื่น

4.      ควรให้ผู้ป่วยแยกห้องเป็นสัดส่วน และอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทได้

5.      หากอาการไม่ดีขึ้น เช่น ไข้สูง อ่อนเพลีย ไอมากขึ้น เจ็บหน้าอก เหนื่อย อาเจียนมาก รับประทานอาหารได้น้อย ซึม เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์

6.      ผู้ดูแลผู้ป่วย ควรล้างมือบ่อยๆหรือใช้หน้ากากอนามัย

7.      ผู้มีโรคประจำตัวเช่น โรคปอด หอบหืด เบาหวาน ไต มีครรภ์ อ้วน กินยากดภูมิต้านทาน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

การแพร่เชื้อ ติดต่อ  (ขอขอบคุณข้อมูลจากศูนย์ IC สถาบันมะเร็งแห่งชาติ)

โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 สามารถแพร่ติดต่อไปยังผู้อื่นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม

การติดต่อทางตรง คือ ไอ จามรดกัน เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยจะฟุ้งกระจายในอากาศและคนที่อยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร หายใจเอาฝอยละอองเข้าไป เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย

การติดต่อทางอ้อม  จากการสัมผัสผ่านมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อโรคของผู้ป่วย เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ซึ่งเชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้จากการใช้มือที่สัมผัสเชื้อโรคมาขยี้ตา แคะจมูก และหยิบอาหารเข้าปาก

          ระยะฟักตัว  (ขอขอบคุณข้อมูลจากศูนย์ IC สถาบันมะเร็งแห่งชาติ)

          ผู้ป่วยเมื่อได้รับเชื้อ จะมีระยะฟักตัวประมาณ 2-3 วัน นานที่สุดไม่เกิน 7 วันและมีระยะเวลาแพร่เชื้อประมาณ 7 วัน ซึ่งอาจจะเริ่มแพร่เชื้อได้นั้งแต่ 1 วันก่อนป่วยและจะแพร่เชื้อได้มากที่สุดในระยะเวลา 3 วันแรกหลังการได้รับเชื้อ

          สิ่งที่ควรระวังในการติดเชื้อมาโดยไม่รู้ตัว

          คุณไกรวีร์กล่าวย้ำเตือนอีกครั้งว่า สิ่งที่ควรระมัดระวังในการติดเชื้อมาโดยไม่รู้ตัวคือ เชื้อที่จะติดมากับสิ่งเหล่านี้ ถ้าเป็นไปได้ให้พกเจลล้างมือ ในส่วนที่สะดวกต่อการใช้ 

                -    กระเป๋าสตางค์

-          เงิน (แบ็งค์ เหรียญ)

-          โทรศัพท์สำนักงาน  มือถือ

-          แป้นคอมพิวเตอร์  เม้าส์

-          ลูกบิดประตู

-          ราวบันได

-          แป้นกดลิพท์  แป้นแสกนนิ้ว

-          ห้องน้ำ

มาตรการในการเฝ้าระวังในหอผู้ป่วย

1.      จากจนท.ที่เฝ้าระวังทั้งหมด ไม่มีรายงานเพิ่มเติมว่าติดเชื้อเพิ่ม (จนท.ติดเชื้อ 5 ราย) เนื่องจากมาตรการดูแลเข้มงวดและได้ผลดี แต่ละคนรู้วิธีในการดูแลตนเองพอสมควร

2.      ได้มีการเ



ความเห็น (4)

เล่าได้ดีและเป็นตัวอย่างที่ดีค่ะ

2.      ได้มีการเฝ้าระวังในบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยทุกคนให้วัดอุณหภูมิทุกวัน จดบันทึกดูการเปลี่ยนแปลง  ในส่วนของคนไข้เองก็ได้รับการวัดอุณหภูมิทุกคนเช่นกัน

3.      มีการเฝ้าระวังในแต่ละหอผู้ป่วย โดยได้จัดช่องพิเศษเข้าออกทางเดียว ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้ง จนท. รวมถึงญาติคนไข้ที่มาเยี่ยมทุกคน ผ่านการวัดอุณหภูมิเพื่อหากลุ่มเสี่ยง ก่อนที่จะมาถึงคนไข้ เพื่อป้องกันไว้ก่อน (ในช่วงเวลาที่ผ่านมา และได้ชี้แจงให้ทุกคนเข้าใจ และก็ได้รับคำชม และความร่วมมืออย่างดี) จากสถิติที่ได้ พบว่าญาติคนไข้ 736 ราย พบว่า 17 รายมีไข้สูง (>38 องศา) อยู่ในข่ายต้องสงสัยได้ให้คำแนะนำไปรับการตรวจที่ร.พ.รามา ซึ่งส่งผลทำให้ญาติผู้ป่วยมีความพอใจและวางใจในการดูแลผู้ป่วยอย่างดี

สุดท้ายประธาน IC ได้บอกให้จนท.ทุกคนให้เฝ้าสังเกตุอาการตัวเองและคนรอบข้าง ถ้ามีอาการดังกล่าวก็มาพบแพทย์ที่ได้จัดไว้ได้ และกล่าวว่าบุคลากรทางการแพทย์ควรที่จะสามารถแนะนำรวมถึงถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชนได้ และบอกว่าเราต้องช่วยกันหามาตรการป้องกันและรับมือกับการระบาดรอบใหม่อีกครั้ง รวมทั้งการเฝ้าระวังผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยให้เกิดความมั่นใจในมาตรฐานการทำงานว่า สถาบันมะเร็งพยายามที่จะดูแลท่านให้ดีที่สุดเพื่อความปลอดภัย.

>>>>IMM 2 ….Post>>>>

สวัสดี่ค่ะ พ.ญ. อัจฉรา เชาวะวณิช

·       ประสบการณ์ตรง ทำให้เรารู้จักและระมัดระวังรวมถึงป้องกันความปลอดภัยได้ดีขึ้น ทำให้ไม่ประมาทในการรับมือกับไข้หวัด2009 ระลอกใหม่ที่จะมาถึงอีกครั้ง

·       ขอบคุณที่ท่านให้เกียรติแวะมาเยี่ยม ค่ะ.

 

ประเทศเรามีผู้ติคเชื่อมากที่สุดใช้หรือเปล่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท