จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการสู่โครงการ"ทำดีมีอาชีพ"


สร้างอาชีพเพื่อการพัฒนาเยาวชน

      เยาวชนเป็นผลผลิตอันทรงคุณค่าของสังคมหากผลผลิตดีสังคมย่อมได้รับอานิสงค์ของความดีตามไปด้วยในทางกลับกันผลผลิตที่ขาดคุณภาพย่อมนำมาซึ่งผลกระทบมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อมตลอดทั้งทุกภาคส่วนของสังคมการที่รัฐบาลนำนโยบายส่วนใหญ่พุ่งเป้าหมายสำคัญไปที่เยาวชนจึงเป็นวิธีการตัดสินใจที่ถูกต้องและชัดเจนที่สุด

       โครงการทำดีมีอาชีพมุ่งเน้นให้เยาวชนมีทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสำคัญนำไปสร้างงานสร้างรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว  สามารถพึ่งพาตนเองได้ทั้งยังมีโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้หลากหลายวิถีชีวิตและวั ฒนธรรมอันเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาสังคมและสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติ

        ก้าวขั้นสำคัญของโครงการ" ทำดีมีอาชีพ" คือบูรณาการแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"รณรงค์ร่วมในการสร้างจิตสำนึกแห่งความพอเพียงให้คนไทยสู้วิกฤติเศรษฐกิจและดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผลรู้จักพอประมาณและรู้จักสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองและสังคมคือ สังคมพอประมาณที่มีคำเรียกว่า "โมโซไซตี้" (moderation  society) ที่มีคำเรียกว่าโมโซ ที่มุ่งให้สมาชิกในสังคมมีวิธีปฏิบัติอยู่ในแนวทางสายกลางเป็นทางเลือกท่ามกลางกระแสหลักโลกาภิวัฒน์ที่ปรับเปลี่ยนและแข่งขันกระทบถึงชีวิตและสังคมอย่างรวดเร็ว(ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด 24 ส.ค. 2552)

      แนวคิดเหล่านี้บูรณาการอยู่ในการฝึกอบรมเยาวชนในโครงการ"ทำดีมีอาชีพ"และกอ.รมน. รณรงค์ร่วมอย่างกว้างขวางกับทุกภาคส่วนของสังคมแล้วขยายแนวพระราชดำริในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เป็นที่รับรู้รับทราบ  เข้าใจของพี่น้อง  ประชาชนทั่วไปและสำคัญไปกว่านั้นคือการกระตุ้นให้เกิดวิธีคิดอย่างยั่งยืนคือสิ่งที่ท่านนายกอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะแถลงต่อประชาชน

      แนวทางการปฏิบัติจะเน้นลงสู่พื้นที่ที่เสี่ยงต่อภาวะอันตราย ทั้งหลายโดยเน้นปัญหาที่ทำลายความมั่นคงต่อประเทศชาติได้แก่ จังหวัดที่อยู่แนวชายแดนจะมีรูปแบบปัญหาที่คล้ายคลึงกันเช่น  ปัญหาภัยคุกคามจากยาเสพติด   การก่อการร้าย    การค้าประเวณี การหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย  เนื่องจากเยาวชนและผู้ด้อยโอกาสจำนวนมากที่ไม่ได้รับการศึกษาและไม่มีอาชีพ

     ตามหลักสุตรระยะสั้นของส.อ.ส. ใช้เวลาฝึกอบรม2เดือน เดือนแรกฝึกอบรมในสถาบัน  เดือนที่สองฝึกอบรมในสถานประกอบการ  หรือคิดเป็นชั่งโมงคือ 225 ชั่วโมงมีสาขาวิชาที่ให้เลือกฝึกอบรมอย่างหลากหลาย และได้จัดสวัสดิการให้พร้อมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในด้านที่พักและอาหาร วิชาที่เปิดต้องอยู่ในความสนใจและความต้องการของเด็ก แต่สิ่งสำคัญคือเตรียมการเรียนการสอนที่สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรม  ไว้ด้วยเสมอ  หลังจากจบการฝึกอบรมแล้วรัฐบาลยังให้กู้เงินอีกก้อนหนึ่งเพื่อเป็นทุนสำหรับผู้ที่ต้องการเปิดกิจการเป็นของตนเองโดยจะยังไม่ต้องใช้คืนใน 3 เดือนแรก และมีองค์กรหน่วยงานรองรับสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการประกอบอาชีพโดยอิสระ

     นโยบายคิอสิ่งดีดี   สร้างสรรค์ และยังเปิดโอกาสให้คนไทยอีกมาก ด้วยการยืนได้ด้วยตนเองโดยการสร้างอาชีพดีกว่าที่จะแจกสิ่งของหรือเงินแน่นอนเพราะนั่นเป็นการช่วยเหลือชั่วคราวไม่ยั่งยืน  แต่สิ่งหนึ่งที่ยังน่าเป็นห่วงคือความร่วมมือกันในหลายๆฝ่ายจึงจะทำให้งานประสบความสำเร็จ คุณธรรมในเรื่องการสร้างความสามัคคี  จึงจะต้องปลูกฝังให้เกิดในทุกหน่วยงาน  ถ้าเมื่อไหร่เกิดความขัดแย้งแตกสามัคคีโครงการดีดีเช่นนี้จะยังคงดำเนินการต่อไปได้อีกหรือไม่จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง สำหรับโครงการทำดีมีอาชีพ  ที่ต้องประสบความล้มเหลว ทั้งที่ความสำเร็จรออยู่เบื้องหน้า  ทั้งนี้เพราะการปฎิบัติที่ขัดแย้งกันเอง  คงจะต้องเสียดายแทนคนไทยที่โอกาสมาถึงแล้วแต่ใฝ่คว้ามาไม่ได้เพราะ คนไทยด้วยกันเอง

    

    

หมายเลขบันทึก: 290387เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2009 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท