แนวทางการจัดทำผลงานทางวิชาการ


การจัดทำผลงานทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการ ทำผลงานเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ ความก้าวหน้าของครู

แนวทางในการทำผลงานทางวิชาการ  (๑)

      ผลงานทางวิชาการ   หมายถึง เอกสารหรือหลักฐานที่จัดทำขึ้นจากความรู้ ความสามารถทักษะและประสบการณ์ของผู้จัดทำ  โดยการศึกษา  ค้นคว้า  วิเคราะห์  สังเคราะห์  วิจัย  และได้นำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาในหน้าที่ จนเกิดผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและเป็นประโยชน์ ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ

     เพื่อนครูที่มีความมุ่งหวังความก้าวหน้าในวิชาชีพครู          สู่การเลื่อนตำแหน่งสู่ ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  ครู วิทยฐานะเชี่ยวชาญ และครู วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ จึงเป็นความใฝ่ฝันที่ทุกคนอยากมุ่งไปให้ถึงบางครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากทั้งที่การทำผลงานทางวิชาการมีปรัชญาไว้เพียงว่าเป็นการนำเสนอผลงานที่เพื่อนครูได้จากการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ในชั้นเรียนที่มีความสำเร็จเป็นแบบอย่างได้      เกิดผลที่ต่อวงการศึกษาอย่างกว้างขวาง   ถือเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการได้ นำเสนอเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ     การทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะจึงมีหลายแนวทางที่เพื่อนครูเลือก        แต่แนวทางหนึ่งที่ผมอยากเสนอเป็นพื้นฐานก่อนแล้วผมจะค่อยนำเสนอไปเรื่อย ๆ ครับ   เพราะผมอยากให้เพื่อนครูประสบความสำเร็จในการทำผลงานทางวิชาการโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก     และมีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง มีศักดิ์ศรีในวิทยฐานะที่ตนเองได้รับ  หลักพื้นฐานที่ควรปฏิบัติคือ

.วิเคราะห์ปัญหา ภาระงาน    คือ มองไปที่งานของตนเองที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อนำมาวางแผนในการจัดทำผลงานเป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานของตนเอง

              . ศึกษาค้นคว้า หาแนวทางแก้ปัญหา   ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องไม่หลงทางในการแก้ปัญหา หรือจัดสร้างนวัตกรรมที่ถูกต้อง                    

              . จัดหา จัดทำ สร้าง ผลิต ผลงานทางวิชาการ  ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ   อาทิ    สื่อ อุปกรณ์ สิ่งประดิษฐ์   นวัตกรรม  เทคโนโลยี  เทคนิค วิธีการ กระบวนการ  โครงการ

             . ออกแบบเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูล     เพื่อแสดงว่าผลงานทางวิชาการมีคุณภาพทางวิชาการเป็นที่ยอมรับได้

.ทดลองใช้เพื่อหาคุณภาพเครื่องมือ      หมายความว่า งานที่นำเสนอต้องผ่านการใช้มาแล้ว มีข้อมูลเพื่อการนำมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติ       โดยเพื่อนครูควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ  ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง   วิเคราะห์ค่าสถิติ     ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา  หาค่า IOC  และค่าสถิติอื่นตามความเหมาะสมของชิ้นงานที่เป็นผลงาน

๖. เผยแพร่ผลงานให้เป็นที่ปรากฏ  ทั้งในโรงเรียน อำเภอ จังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา หรือระดับประเทศด้วยยิ่งดี ตรงนี้เพื่อนครูควรแสวงหาโอกาสเอง  มือชั้นครูแล้วน่าจะทำได้

    แล้วผมจะมาเล่าต่อนะครับว่าการทำผลงานทางวิชาการมีกระบวนการทำอย่างไร พร้อมตัวอย่างความสำเร็จของผมที่ทำผลงานทางวิชาการด้วยตนเองจากอาจารย์ ๓ ระดับ ๖ จนถึงอาจารย์ ๓ ระดับ ๙ และเปลี่ยนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญในปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 290292เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2009 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เป็นประโยชน์มากๆค่ะ..ขอบคุณค่ะ...

 

สวัสดีค่ะคุณครูไพศาล

จะรออ่านบันทึกความภูมิใจในวิทยฐานะที่ท่านได้รับตอนต่อไปค่ะ

เรียน คุณครูไพศาล

ดิฉันได้อ่านประวัติของท่านแล้วน่าภูมิใจมากนะค่ะ หวังว่าคงได้ครูเชี่ยวชาญพิเศษต่อไปในอนาคต ส่วนดิฉีนส่งผลงานครูเชี่ยวชาญตั้งแต่เดือน กันยายน 2550

ยังไม่ทราบผลการประเมิน กำลังรอคอย

พิศมัย พานโฮม

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

*อยากเผยแพร่และแนะนำการทำผลงานทางวิชาการแก่เพื่อนครูทุก ๆ ท่าน เห็นทำผลงานแล้วน่าเห็นใจ ซึ่งในอดีตการทำผลงานทางวิชาการเป็นเรื่องแปลกสำหรับเพื่อนครู เพราะไม่ค่อยมีใครทำ และรอนานมากกว่าจะรู้ผล ขอคำแนะนำจากใครก็ยาก ผมจะค่อย ๆ เขี่ยนแนะนำเป็นระยะ ๆ ตามความรู้ความสามารถที่มีอยู่ และกำลังศึกษาเกณฑ์ใหม่อยู่ว่าจะมีรายละเอียดเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไรบ้าง เดือนตุลาคมนี้คงทราบ

* ขอให้กำลังใจคุณพิศมัย พานโฮม ขอให้ได้ข่าวดี ๆ ตามที่หวังนะครับ

อ่านประวัติของท่านแล้วดีมากและมีประโยชน์ต่ออาจารย์ที่กำลังทำผลงานทางวิชาการมากคะ

อ่านประวัติของท่านแล้วดีมากและมีประโยชน์ต่ออาจารย์ที่กำลังทำผลงานทางวิชาการมากคะ

มีประโยชน์มา ขอบคุณที่ถ่ายทอดความรู้เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไปคะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ หนูเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ ชื่นชมในผลงานของอาจารย์มากๆ แล้วก็ติดตามการเปลี่ยนแปลงของหลักเกณฑ์การทำวิทยฐานะ ซึ่งไม่ค่อยแน่นอนเท่าไรนัก ซึ่งมีเรื่องมากมายที่อยากถามท่านอาจารย์แล้วหนูจะมาใหม่นะค่ะ

ขอให้อารย์ไพศาล และอาจารย์ยุพินมีสุขภาพแข็งแรง

สวัสดีครับคุณครูทุก ๆ ท่าน

ขอเป็นกำลังใจสำหรับคุณครูทุก ๆ ท่านที่จะจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะครับ

ผลประโยชน์ของเรา เราต้องดูแลตัวเราเองครับไม่มีใครจะช่วยเราได้ทั้งหมดหรอกนะ เราต้องช่วยตัวเอง เมื่อวาน (๒๒ กันยายน ๒๕๕๒) ผมไปที่สำนักงาน ก.ค.ศ. เพื่อสอบถามเรื่องการประกาศใช้เกณฑ์การประเมินวิทยฐานะใหม่ เพื่อจะนำรายละเอียดมาบอกเพื่อนครู และเตรียมเขียนข้อมูลการทำผลงานทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์ใหม่....คำตอบคือกำลังดำเนินการอยู่ คงต้องรอประกาศใช้ต่อไป ผมคิดว่าคณะกรรมการฯ คงเร่งรีบจัดทำอยู่นะครับ... ฉะนั้นพวกเราคงต้องรออยู่ก่อน แต่ต้องเตรียมตัวเราให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ทำอยู่เป้นประจำ จัดระบบข้อมูลให้เป้นระบบไว้เพื่อแสดงความชำนาญการของเราเอง..สู่วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และเชียวชาญต่อไป ขอเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ ท่านครับ และขอให้ รสริน เต็มปลื้ม ประสบความสำเร็จในการทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ...นะ ดีใจที่ลูกศิษย์จะมีความก้าวหน้า ส่งสัยอะไรก็สอบถามครูได้ ด้วยความยินดี

ได้ติดตามผลงานครูไพศาล มานานตั้งแต่สอบบรรจุได้ใหม่ ๆ จนปัจจุบัน 16 ปีแล้ว ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ลงแนวการทำผลงาน เชี่ยวชาญ จะต้องส่งอะไรบ้างคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท