สะท้อนคิดกับ KM


สะท้อนคิด, KM, เรื่องเล่าเร้าพลัง,อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้

เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา  16 โรงเรียนนำร่อง ใน สพท.สบ.1 เพิ่งเข้ารับการอบรมการจัดการความรู้ ตามโครงการขยายผลการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร โดยท่าน ผอ. ดร.ปัญญา  แก้วเหล็ก  ก่อนเข้าอบรมครูก็มีความตื่นเต้นบ้าง กังวลบ้าง แต่เมื่ออบรมแล้วนำไปปฏิบัติช่วงระยะหนึ่ง เมื่อสิ้นสุดโครงการ   เราได้นำกิจกรรมสะท้อนคิด (Reflective Thinking) ที่ได้รับการอบรมจาก รศ.ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ตอนที่เข้ารับการอบรมโครงการวิจัยหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 (ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ) มาฝึกให้คุณครูในโครงการขยายผล KM ได้สะท้อนคิด   3 ขั้นตอนคือ Narrative Thinking, Technical Thinking  และ Critical Thinking 

แม้จะเป็นการฝึกครั้งแรกแต่คุณครูก็สามารถเขียนสะท้อนคิดได้ดีมาก แต่อาจจะยังไม่ครบประเด็นที่ต้องการอยู่บ้าง  และที่สำคัญคือคุณครูกล้าที่จะสะท้อนตัวตนของตนเองออกมา และยอมรับตนเองในเรื่องที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อย  เมื่ออ่านแล้วก็พบว่าในการสะท้อนคิดนั้น  แฝงไปด้วยพลัง และเต็มเปี่ยมด้วยขุมความรู้ ที่เป็น Tacit Knowledge มากมาย

อยากจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยตัวอย่างของคุณครูท่านแรก  แม้เธอจะเป็นเพียงครูอัตราจ้าง แต่เธอก็ได้ทำหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่  และน่าประทับใจมาก ๆ  มาให้กำลังใจเธอด้วยกันนะคะ

 

ข้าพเจ้านางนวรัตน์ ร้อยดาพันธุ์  ครูอัตราจ้างโรงเรียนวัดส้มป่อย  ทำงานเป็นครูอัตราจ้างมาเป็นเวลา 3 ปี กว่า ๆ  ทุกครั้งที่ได้รับคำสั่งจากผู้บริหารให้เข้าประชุม/อบรม ข้าพเจ้าจะดีใจและยินดีเข้าประชุม/อบรม  และเมื่อกลับจากประชุมอบรมก็จะสามารถมาถ่ายทอดงานได้ทุกครั้ง  พอมาถึงวันหนึ่ง ผอ.เข้ามาบอกว่า  ครูนวรัตน์ งานเข้า!  แล้วงานใหญ่ด้วย!  พอข้าพเจ้าเข้ามาเป็นสมาชิก KM ข้าพเจ้าก็รู้ว่าที่ ผอ. พูดว่างานใหญ่ เออ! มันใหญ่จริงด้วย โดยเฉพาะการเขียนเรื่องเล่าเร้าพลัง  ข้าพเจ้ากลัวมาก ไม่รู้ว่าจะเขียนอะไร เพราะที่ผ่านมาข้าพเจ้าก็สอนอย่างเดียว ไม่รู้ว่าการเขียนเรื่องเล่าเร้าพลังมันคืออะไร  จะเขียนอย่างไร เขียนจะถูกหรือเปล่า? พอ ผอ.บอกว่าต้องเขียนทุกคน โอ๊ย! ข้าพเจ้าปวดหัวจี๊ด   พอมาเข้าอบรมวันที่ 2 แบ่งกลุ่มการเล่าเรื่องเร้าพลัง พอข้าพเจ้าได้ฟังครูท่านอื่นเล่าแล้ว  ข้าพเจ้าอยากตะโดนออกมาดัง ๆ ว่า โอ๊ย!  ข้าพเจ้ามีเป็นร้อยเรื่อง  แต่เขียนไม่ได้ จนบัดนี้ข้าพเจ้ารู้ว่าไอ้เรื่อง KM   มันไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับข้าพเจ้าเลย! กลับเป็นเรื่องกล้วย ๆ แต่ข้าพเจ้าไม่ได้ทำเป็น KM เท่านั้นเอง

หลังจากอบรมแล้ว  ข้าพเจ้าพบจุดเด่นของข้าพเจ้าคือ ข้าพเจ้าเป็นคนขยัน ตั้งใจทำงาน ทุ่มเท เสียสละ ตอนเย็นหลังเลิกเรียนข้าพเจ้าจะสอนซ่อมเสริมให้เด็กนักเรียนชั้น ป.2 ซึ่งข้าพเจ้าเป็นครูประจำชั้น ทุกวัน จนนักเรียนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้นั้นทุกวันนี้อ่านเก่ง และเก่งมาก ตรงนี้เองทำให้ข้าพเจ้าเกิดแรงบันดาลใจในการทำงาน อยากจะสอนเสริมให้กับนักเรียนชั้นอื่นนอกจาก ป. 2 ด้วย ถ้ามีโอกาส  แต่สำหรับจุดอ่อนของข้าพเจ้าคือ ข้าพเจ้ายังทำงานไม่เป็นระบบ ไม่มีการจัดการความรู้ ขาดขั้นตอนในการทำงาน ยังไม่กล้าแสดงความคิดเห็น

ณ จากจุดอบรม KM/ดูงาน KM ข้าพเจ้าได้สัญญากับตัวเองว่าต่อไปนี้ ข้าพเจ้าจะทำงานโดยการนำกระบวนการ KM มาใช้ในการทำงาน ตลอดจนผลงานนักเรียน (ที่มีอยู่กระจัดกระจายนั้น เอามาจัดใส่แฟ้มให้มีระบบ ระเบียบ

เป็นอย่างไรบ้าง อยากรู้วิธีการสอนซ่อมเสริมของเธอแล้วใช่ไหมว่าสอนอย่างไร นักเรียนที่อ่านไม่ได้ จึงอ่านเก่ง และเก่งมาก คราวหน้ามาเรียนรู้กันต่อ

วันนี้อยากจะบอกว่า ถ้าเราเป็นผู้อำนาจ เราจะสั่งบรรจุคุณครูนวรัตน์ให้ป็นข้าราชการครูโดยไม่ต้องสอบเลย  ก็คิดดูสิว่าครูอัตราจ้างตัวเล็ก ๆ  มุ่งมั่นทุ่มเทเสียสละสอนจนกระทั่งนักเรียน ป.2 ที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ อ่านเก่ง และเก่งมาก ถ้ามีครูอย่างคุณครูนวรัตน์ในโรงเรียนทุก ๆ แห่ง  ก็คงจะสามารถปลดล็อค เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้  ได้แน่ ๆ เลยใช่ไหม

เธอทำได้อย่างไร ต้องติดตาม

แต่อำนาจยังไม่มาหาเราเลยนี่  ฝากท่าน ผอ. หรือท่านเลขาธิการ กพฐ. รับไว้พิจารณาก็แล้วกัน

 

หมายเลขบันทึก: 290030เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2009 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขุมความรู้ของท่านครับ

  • ทำงานเป็นระบบ
  • มีการจัดการความรู้
  • การทำงานมีขั้นตอนการปฎิบัติที่ชัดเจน
  •  กล้าแสดงความคิดเห็น

วันนี้อ่านสะท้อนคิดแล้วถ้าครูมีความตั้งใจเด็กไทยคงอ่านออกเขียนได้ แต่ทุกวันนี้ภาษาไทยเป็นวิชาที่ยากเด็ก ป 4อ่านหนังสือไม่ออกผสมสระพยัญชนะไม่เป็น ผันเสียง เอก โท ตรี จัตวา เสียงสามัญ ไม่เป็นเพราะไม่รู้จักอักษรกลาง สูง ต่ำ การผันวรรณยุกต์ ภาษาไทยเป็นวิชาที่ยากถ้าไม่เข้าใจ แต่อย่างไรก็เป็นภาษษประจำชาติ ทครูควรเน้นเด็กให้รักภาษาไทย ใช้ภาษาไทยให้ถู ครูบางคนสอนแค่ให้เด็กคัดไทย ต้องให้เขียน ให้อ่านให้แตกฉาน เพราะดิฉันชอบภาษาไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท