นักกิจกรรมบำบัดแนวใหม่ ตอนที่ 2


บทความนี้รวบรวมจาก http://gotoknow.org/blog/otpop ในหัวข้อที่กล่าวถึงบทบาทวิชาชีพกิจกรรมบำบัดสากล ที่มีรูปแบบหรือแนวทางใหม่ในการพัฒนาความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชากรโลก

นอกจากนี้ประเทศ Netherlands, Sweden, Denmark และ UK ได้รวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนา European Master Entry Level of Occupational Therapy ทำให้วิชาชีพกิจกรรมบำบัดแบบเฉพาะทางในแง่พัฒนา Scientific methods and theory in human occupation and culture in Europe ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.ot-euromaster.nl  ในประเทศ Ireland นำ International guidelines มาพัฒนาหลักสูตรร่วมกับการเสริม Local context through occupational view เช่นเดียวกับประเทศ Canada ที่มีการพัฒนา Competency based fieldwork evaluations for occupational therapist students

หลายประเทศได้นำ Revised Minimum Standard of the World Federation for Occupational Therapists (Hocking, C. & Ness, N., 2002) มาพัฒนากระบวนการ Clinical reasoning skills ผ่าน Case scenario (VIVA) นั้นสามารถขยายแนวคิดออกเป็นห้ารูปแบบ ได้แก่  The Person-Environment-Occupation (PEO) relationship and health, Context of practice with task-based learning, Therapeutic and professional relationship, Client practice and relationship, และ Learning styles and environment รวมถึง WHO เน้นประสมประสานกรอบความคิด International Classification of Functioning, Disability and Health (ICF) สู่วิถีชุมชนปฏิบัติด้วยกิจกรรมบำบัดที่ครอบคลุมถึง Living experience and individual perceptions of participation with health conditions

บางประเทศเน้นการศึกษาคำจำกัดความและการเข้าถึงปฏิบัติการทางคลินิกด้าน Occupational science into practice และศึกษาวิจัยในหลากหลายรูปแบบ เช่น Energy for engagement in pre-occupation, Formal educator support (3-day workshop for training supervisor education/using creative supervision), Service learning project (preparation/need assessment-action onsite-reflection core concepts of occupational therapy in community), Rebuilding of relationship through occupational deprivation/alienation/adaptation/justice/professional, Self-management and behavioral approach/strategy for chronic disease, Developing the practice education database (website)-ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.inpractice.org และ www.wfot.org

ด้วยเหตุนี้ “WFOT International Day on Oct 27th จึงถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้นานาชาติรับรู้ถึงการพัฒนาการเรียนกิจกรรมบำบัดร่วมกันทั่วโลกในแง่ Occupational dysfunction and health กับ Occupational engagement is central to meaningful life และเน้นการให้คำปรึกษา (International Advisory Groups) แก่ประเทศที่ขาดแคลนหรือกำลังพัฒนางานทางด้านกิจกรรมบำบัดโดยสรุปคือ

1.             Occupational science

2.             Mental Health

3.             Evidence Based Practice

4.             Participation and Accessibility

5.             Health Policy

6.             Human Resources Project

ในปัจจุบันนักกิจกรรมบำบัดแนวใหม่พยายามสร้างสรรค์โปรแกรมใน 6 รูปแบบข้างต้น สำหรับผมนั้นสนใจรูปแบบของกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิตโดยการจัดการใช้เวลาว่างให้ชีวิตมีคุณค่า (Leisure Management for Meaningful Life) ในโอกาสนี้ผมจึงรวบรวมบันทึกที่น่าสนใจมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกัลยาณมิตรทุกท่าน ดังต่อไปนี้

ตัวอย่างแรกของโปรแกรมกิจกรรมบำบัด เป็นการริเริ่มศึกษาความสนใจของการทำกิจกรรมยามว่างและสังคม (Leisure and social activities) ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายูและผู้ที่มีความพิการ โดยใช้แบบสอบถาม Activity Self-Interest Checklist แล้วมาวิเคราะห์ทางสถิติพบว่ากลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีความพิการกำลังได้รับความเจ็บป่วยอื่นๆเพิ่มเติมได้แก่ Hypertension, Diabetes, Arthritis, Cardiac Problems และผู้ร่วมให้ข้อมูลวิจัยมีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างและสังคม แต่มีอุปสรรคความบกพร่องทางร่างกายอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยดังกล่าว จากข้อมูลนี้จึงเป็นจุดสำคัญให้ผู้วิจัยสร้าง Creative Exercise Program มุ่งให้คนในชุมชนมาร่วมทำกิจกรรมยามว่างและสังคม เช่น การออกกำลังกายแบบไม่หนักจนเกินไป (Low Impact & Conditioning Exercise) และให้ความรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยดังกล่าวรวมถึงข้อควรปฏิบัติเพื่อลดอาการเจ็บป่วยขณะเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างและสังคมในแต่ละวัน โปรแกรมนี้ใช้เวลารวมหกครั้งๆละหนึ่งชั่วโมง แล้วมีการประเมินผลเพื่อปรับปรุงโปรแกรมจากคนในชุมชนก่อนนำไปใช้ในอีกหลายๆชุมชนที่ต้องการ โดยสรุปกระบวนการของการพัฒนาโปรแกรมอย่างเป็นระบบ (Systemic Program Development Process) ได้แก่ Preplanning, Needs Assessment & Analysis, Program Implementation และ Program Evaluation

 

ตัวอย่างที่สอง คือ การริเริ่มโปรแกรมการปรับตัวของพฤติกรรมและความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupational Performance and Satisfaction) ด้วยการเข้าไปสัมภาษณ์พร้อมใช้แบบฟอร์มมาตรฐาน (Semi-structured Interview) ในกลุ่มคนที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาลและยังคงมีอาการความเครียดที่เกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ (Stress-related Illness) จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่ากลุ่มคนดังกล่าวมีความต้องการในการเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินชีวิตในระดับที่แตกต่างกัน แล้วแต่ประสบการณ์การเรียนรู้จากการได้เข้ารับการรักษาอาการของโรคจากโรงพยาบาล กลุ่มคนดังกล่าวต้องการการรักษาในระดับฟื้นฟูสภาพเพื่อให้ตนเองสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินชีวิตโดยมีความเครียดน้อยลงและพบปะผู้คนในสังคมได้ในระดับปกติสุข ข้อคิดที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ทำให้ผู้วิจัยต้องพัฒนาโปรแกรมการปรับกิจกรรมการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลโดยเน้นการให้ความรู้และสร้างความพึงพอใจในกิจกรรมการดำเนินชีวิตอยู่สามระดับความรู้สึก ได้แก่ คุณต้องการทำอะไร (Want to Do) คุณต้องทำอะไร (Have to Do) และคุณคาดว่าจะทำอะไร (Expect to Do)

 

จากสองตัวอย่างดังกล่าว เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองภาพนักกิจกรรมบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสุขภาพจิต ได้ชัดเจน ผมจึงขอสรุปกลุ่มบุคคลทุกเพศทุกวัยที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้แก่ 

           1.  บุคคลที่ประกอบอาชีพจนไม่สามารถมีเวลาพักผ่อนและเวลาการทำกิจกรรมยามว่าง

2.   บุคคลที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

3.   บุคคลที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังทางระบบประสาท

4.   บุคคลที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม เช่น โรคเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า กลัว อารมณ์เศร้าอย่างรุนแรง บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมทางสังคมเปลี่ยนแปลง โรคจิตประสาทระยะแรก โรคใช้สารเสพติดมากผิดปกติ เป็นต้น 

5.   บุคคลที่มีเวลาว่างมากจนเกินไปและมีความรู้สึกท้อแท้ต่อการประกอบอาชีพเสริม

6.   บุคคลที่อยู่ในสภาวะการเจ็บป่วยขั้นสุดท้ายของชีวิต

7.   ญาติหรือผู้แทนของชุมชนที่ต้องการรับคำปรึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตของบุคคลที่รู้จักหรืออยู่ในชุมชนและมีอาการต่างๆ ข้างต้น  

 

 ตัวอย่างที่สามของโปรแกรมกิจกรรมบำบัดในระดับ Health Policy เพื่อตอบโจทย์ ทำอย่างไรให้สังคมมีสุขด้วยการกำจัดภาวะคอร์รับชั่น (Anti-corruption) ได้แก่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ สำรวจความพอดีในความต้องการทางจิตสังคมของตนเอง (Self-determination on a balance of psychosocial need)” พูดง่ายๆก็คือ ต้องให้การศึกษา พูดคุยกับแบบเพื่อน และสำรวจจิตใจของเพื่อนที่กำลังทำตัวเป็นผู้บริหารที่มีปัญหาในการควบคุมตนเอง ไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น อาจต้องใช้เวลา ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความดีและสัมพันธภาพระหว่างคนที่มีปัญหากับคนที่อยากให้เพื่อนกลับมาเป็นคนเดิม ผมคิดว่าคำว่า เพื่อนไม่มีวันตาย และการมีสัมพันธภาพที่ดีร่วมกันสามารถสร้างสังคมให้น่าอยู่ 

 

ตัวอย่างที่สี่ คือ โปรแกรมการกำหนดกิจกรรมที่มีความหมายและคุณค่าแก่ชีวิต ภายใต้ทฤษฎีทางจิตสังคมที่กล่าวว่า ทุกๆกิจกรรมการดำเนินชีวิตประกอบด้วยพฤติกรรมต่างๆ ได้แก่ ความเป็นส่วนตัว (discretion) ความเป็นธรรมชาติ (spontaneity) ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) และการมีส่วนร่วม (involvement) แต่บทบาทและความคาดหวัง (roles and expectations) ของแต่ละคนนั้นจะมีความสามารถตรวจสอบความรู้สึกของตนเอง (self-determination)ไม่เท่ากัน ระหว่างอิสระและแรงจูงใจ (freedom and intrinsic motivation) ในการใช้เวลาว่าง (leisure) การทำงาน (work) และการสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัว (family relationship) ส่วนใหญ่สังคมเราจะเป็นผู้กำหนดมิติของกิจกรรมเหล่านี้ด้วยความแตกต่างของเวลา สถานที่ และความหมายของการทำกิจกรรม น้อยคนนักจะกำหนดความรู้สึกด้วยความเป็นตัวของตัวเองในการให้นิยามและมิติที่แตกต่างกันของการทำกิจกรรมเหล่านั้น จุดนี้เองที่ทำให้สังคมมุ่งเน้นให้คนเราเป็นมนุษย์ทำงานจนไม่มีเวลาให้กับการใช้เวลาว่างของตนเองหรือครอบครัว

 

แล้วเราจะพัฒนา self-determination ที่ผมขอเรียกว่า จินตมิติของกิจกรรมชีวิต (Activity-Living) ของคุณให้สมบูรณ์ได้อย่างไร

 

ผมกำลังจะสรุปเนื้อหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำถามข้างบน แต่คุณเท่านั้นที่จะต้องใช้เวลาคิดและหาคำตอบให้กับกิจกรรมชีวิตของคุณ

 

กิจกรรมต่างๆ มีหลายความหมายที่เกี่ยวข้องกัน เช่น ผลสำเร็จของการทำกิจกรรม ความเชื่อมโยงของการทำกิจกรรม การแสดงออกและการเรียนรู้ในการทำกิจกรรม

 

ความพึงพอใจที่รู้สึกว่า เรากำลังทำกิจกรรมนี้ในเวลาและสถานการณ์ที่เหมาะสม หรือทำกิจกรรมนี้เพราะแรงบังคับของสังคมรอบข้าง หรือทำกิจกรรมนี้เพราะเราชอบและสนใจจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

 

หากคุณเป็นคนที่รักครอบครัวและสังคม เวลาที่ให้กับตนเอง ทั้งการทำงานและการใช้เวลาว่างเพื่อตนเองก็จะลดลงตามลำดับ แต่ต้องคอยตรวจสอบความรู้สึกของตนเองว่า คุณพอใจกับกิจกรรมชีวิตตรงนี้หรือไม่

 

หากตอบว่า ไม่ลองพิจารณาความเป็นกลางระหว่างกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ คุณค่าของการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมใดๆ ที่ได้ทั้งงาน ครอบครัว และเวลาว่าง ตัวอย่างที่ผมพอจะคิดออก เช่น การนั่งทำงานที่บ้าน ในตอนเช้าตรู่ที่สมาชิกในครอบครัวกำลังหลับ จากนั้นผ่อนคลายด้วยการออกกำลังกายเบาๆ แล้วต่อด้วยการทำอาหารเช้าที่คุณชอบร่วมกับคนที่คุณรัก เป็นต้น แต่การวางแผนความสมดุลของกิจกรรมต่างๆ ต้องมีการบันทึก (Time use-activity diary record) และตรวจสอบความสุขของคุณและครอบครัวอยู่บ่อยครั้ง

 

กรณีศึกษาที่จะกล่าวต่อไปในบทความนี้ เน้นการให้คำปรึกษาของนักกิจกรรมบำบัดแนวใหม่ในการจัดลำดับความสำคัญของการนำกิจกรรมเข้ามาช่วยคุณตัดสินใจวางแผนการเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข

 

เช้าวันนี้สดชื่นและเป็นวันว่างของนายเอจริงๆ แต่แล้วเจ้านายโทรมาบอกแกมบังคับให้ไปช่วยงานที่บริษัทโดยด่วน วันที่สดใสก็ไม่ต่างจากวันทำงานอื่นๆ หรือเคร่งเครียดกว่าเพราะทุกคนถูกเรียกมาทำงานด่วนให้เสร็จภายในห้าชั่วโมง ทั้งๆที่วันนี้เป็นวันหยุดราชการ ทำจนเกือบเสร็จก็ไม่ได้ทานอาหารเที่ยง แถมยังไม่ได้เงินค่าทำงานล่วงเวลาด้วย ก่อนจะเลิกงานแฟนโทรมาบอกเลิกเพราะลืมที่จะใช้เวลาอยู่กับแฟนในวันเกิดและเหตุผลเบื่อหน่ายชีวิตคู่ เออ...ชีวิตช่างเหมือนละครเสียจริง ตอนนี้นายเอต้องโทรหาเพื่อนสนิทเพื่อไปทานข้าวเย็นพร้อมต้องการกำลังใจอย่างยิ่ง ระหว่างทางโชคร้ายเสียจริง นายเอข้ามถนนแบบไม่ทันระวัง โดยรถมอเตอร์ไซด์เฉียวล้มลงข้อเท้าหัก นายเอต้องลากสังขารไปเข้าเฝือกที่คลินิกหนึ่ง แล้วกลับไปทำกิจกรรมยามว่างที่น่าเบื่อ ณ หอพักตามลำพัง

 

จะเห็นว่ากรณีตัวอย่างของนายเอ เกิดสภาวะที่ผมกำลังเรียกว่า กิจกรรมยามว่างที่ถูกจำกัด (Leisure Constraints) มีความยากลำบากในการใช้ทำกิจกรรมยามว่างที่ตนเองตั้งใจหรือวางแผน โดยมีอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ได้แก่ สิ่งกีดขวางหรือวัตถุโครงสร้าง (structural barriers) บุคคลที่เราติดต่อสื่อสารด้วย (interpersonal barriers) และความพร้อมของตนเอง (intrapersonal barriers)

 

โดยปกติแล้ว คนที่อยู่เฉยๆ คงไม่ง่ายนักที่จะได้รับอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมดังกล่าว นอกเสียจากการนำตนเองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมดังกล่าว เช่น นายเอเริ่มตอบตกลงไปทำงานด่วนทันทีโดยที่ยังไม่ได้มีโอกาสคิดและตัดสินใจเลือกที่จะไม่ไปเลย เป็นต้น บางท่านอาจจะพิจารณาปัญหาสุขภาพ (health restrictions) เป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรมยามว่าง แต่จริงๆแล้วเราต้องรู้จักเลือกชนิดและลักษณะการทำกิจกรรมยามว่างๆ นั้นให้เหมาะสม นั่นคือรู้จักที่จะมีกิจกรรมยามว่างที่ตนเองชอบและพอเป็นตัวเลือกได้ (Leisure choices) กรณีที่จะต้องเกิดอุปสรรคต่างๆโดยไม่คาดฝัน

 

จากนั้นนักกิจกรรมบำบัดแนวใหม่จะให้กรณีศึกษาเลือกห้าหรือสิบกิจกรรมที่ชอบและอยากทำให้มีความสุขในการใช้เวลาว่าง แล้วฝึกให้คะแนนในโอกาสที่กรณีศึกษากำลังทำหรือเพิ่งเลิกจากการทำกิจกรรมเหล่านั้น โดยเลือกให้คะแนนด้วยความรู้สึกทันทีอย่างไม่ลังเลใจ เริ่มจาก ไม่พอใจหรือไม่ชอบกิจกรรมนี้มากๆเลย = 1 คะแนน   ไม่ชอบเล็กน้อย = 2 คะแนน   เฉยๆ ชอบหรือไม่ชอบก็ได้  = 3 คะแนน   ชอบเล็กน้อย = 4 คะแนน   และชอบมากๆเลย = 5 คะแนน  

 

ประโยชน์ของสเกลนี้ กรณีศึกษาได้รู้จักวิเคราะห์ความชอบ จากความรู้สึกลึกๆส่วนตัว และวางแผนต่อไปอีกว่าคุณอยากทำกิจกรรมยามว่างนี้เมื่อใด กับใคร อย่างไรอีก กรณีถ้าไม่ชอบกิจกรรมนี้แต่จำเป็นต้องทำกิจกรรมนั้นบ่อยครั้ง กรณีศึกษาพอจะมีหนทางใดบ้าง ที่สามารถปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับความชอบและความสนใจ เช่น ไม่ชอบอ่านหนังสือหนาๆ คนเดียว อ่านเลือกอ่านหนังสือที่เป็นแบบ Electronic File ในห้องสมุด เป็นต้น จะเห็นว่างานนี้นักกิจกรรมบำบัดแนวใหม่ทุกคนต้องส่งเสริมสุขภาวะของประชากรโลกด้วยการทำกิจกรรมยามว่างที่สร้างสรรค์ มีส่วนร่วมทางสังคมในแบบกิจกรรมกีฬาและนันทนาการบ้าง ไม่ใช่อยู่ว่างกับความรู้สึกของตนเองมากจนเกินพอดี ดังสโลแกนของ WHO ที่ว่า “Leisure For Health to the Year of 2015”

 

ตัวอย่างสุดท้ายของโปรแกรมกิจกรรมบำบัด ได้แก่ การให้ความรู้แบบโปรแกรมสร้างพลเมืองที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก  (Preparing to be volunteering positive minded person as the global citizenship) ปัจจุบันเราคงสังเกตได้ถึงทุกขภาวะทางจิตสังคม เช่น มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์น้อยลงตามสภาพสังคมที่แข่งขันสูงและเน้นผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผู้อื่น จะเห็นได้จากปัญหาความยากจนและอาชญากรรมที่กำลังคุกคามประชากรโลก ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดแนวใหม่จึงวิเคราะห์ผลกระทบของแต่ละบุคคล ที่อาจส่งผลให้มีทักษะทางจิตสังคมที่ไม่สมดุล กล่าวคือ Trends to increase mental problems for the individual environment และให้โปรแกรมปรับจิตใต้สำนึกเพื่อให้มีความสมดุลทางจิตสังคม (Psychosocial skills for interactive balance)  โดยพิจารณากิจกรรมการให้ความรู้แบบ Counseling & simulation workshops ในหกปัจจัยที่คนเรากำลังต้องมีการยกเครื่องทางจิตสังคม ดังย่อๆคือ การปรับปรุงเรื่องเวลาที่ยึดติดกับตนเองมากเกินไป (Distortion of time perception) การปรับปรุงเรื่องความสุขของตนเองมากกว่าผู้อื่น (Enjoyment) การปรับปรุงเรื่องภาวะอารมณ์วิตกกังวลและเครียด (Loss of anxiety and constraint) การปรับปรุงเรื่องการรู้จักช่วยเหลือผู้อื่นอย่างพอดี (Total involvement-forgetting self) การปรับปรุงเรื่องให้สนใจมองคนอย่างลึกซึ้งและจริงใจ (Narrowed focus of attention) และสุดท้ายการปรับปรุงให้สนใจมองตนเองให้เป็นคนใจกว้างและเหมาะสม (Enriched perception)

 

จากตัวอย่างทั้งหมดนี้ ถือเป็นแนวคิดที่นักกิจกรรมบำบัดแนวใหม่ของไทยจะได้นำมาพัฒนารูปแบบการให้บริการทางวิชาชีพ ที่ส่งผลให้เกิดการปฏิรูประบบประกันสุขภาพไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และถือเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชากรไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

หมายเลขบันทึก: 289937เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2009 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2012 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)

ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ เพื่อให้เห็นบทบาทที่ชัดเจน และเพื่อความชัดเจนของวิชาชีพกิจกรรมบำบัดนะครับ อาจารย์ป็อป

ขอบคุณมากครับสำหรับการเผยแพร่งานกิจกรรมบำบัดให้ประชาชนรู้จักมากยิ่งขึ้น

............เป็นแนวคิดที่ดีมากครับ ผมเห็นด้วยกับบทความข้างต้น แต่ผมสงสัยนิดหน่อยตรงตัวอย่างของนายเออะครับที่ให้เลือกกิจกรรมที่ชอบมาไว้หากเกิดอุปสรรค์ ถ้าหากว่า*ทุกกิจกรรม*ที่เขาเลือกมานั้นมันโดนขัดขวางทั้งทางด้านร่างกายที่เกิดจากอุบัติเหตุ ทั้งด้านจิตใจที่คิดว่าชอบกิจกรรมนี้แต่พอทำแล้วมันไม่ชอบ และอื่นๆ แล้วต้องทำยังไง?

............ผมเห็นว่าตรงด้านร่างกายก็อาจจะให้พวกอุปกรณ์ช่วยหรือปรับกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมให้เขาทำกิจกรรมนั้นได้ ส่วนทางด้านจิตใจน่าจะเสริมเรื่องแรงจูงใจเข้ามาเพื่อที่จะให้ผู้รับบริการอยากทำกิจกรรมนั้นๆมากขึ้น(ไม่รู้ว่าที่คิดไปถูกหรือเปล่าครับ)

ขอบคุณมากครับคุณวิทยา

กิจกรรมใดๆ ที่คิด ลงมือทำ แล้วรู้สึกไม่ชอบ นักกิจกรรมบำบัดก็ต้องประเมินเหตุผลของความรู้สึกไม่ชอบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงแนวทางเพิ่มความชอบในกิจกรรมเดิม ปรับบางขั้นตอนของกิจกรรมเดิม เปลี่ยนกิจกรรมใหม่

ถ้ามีอุปสรรคทางร่างกาย นักกิจกรรมบำบัดต้องปรับสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ช่วยเหลือ และ/หรือปรับขั้นตอนการทำกิจกรรมหรือรูปแบบกิจกรรมที่ชดเชยร่างกายที่บกพร่องไป พร้อมกับค้นหาความสามารถและความสุขที่มีอยู่ในขณะทำกิจกรรมนั้นๆ

คุณวิทยาตอบได้ดีครับ

นางสาวเมธิตา วิวิตรกุล

- การทำกิจกรรมยามว่างตามที่สนใจและเหมาะสมเป็นสิ่งที่ดีต่อผู้รับบริการแัละบุคคลทุกคน แต่เป็นการยากที่แต่ละคนจะรู้และเข้าใจความต้องการของตัวเองจริงๆ ทำให้บางคนประสบปัญหาในการใช้เวลาว่าง

- ถ้าเราจะปรับกิจกรรมยามว่างของเขาให้่มีส่วนช่วยในการบำบัดเขาไปในตัวด้วย

เราซึ่งเป็นผู้จัดกิจกรรมนั้นๆจะทำยากหรือป่าวคะ เนื่องจากว่าถ้าปรับหรือเปลี่ยนกิจกรรมยามว่างของเขาไป

อาจทำให้เขารู้สึกว่ากิจกรรมไม่เหมือนเดิม(เกิดการยึดติด)เช่น ผู้สูงอายุ เพราะก่อนหน้าที่เขาจะได้รับอุบัติเหตุเขาสามารถทำได้อย่างสบายๆ แต่เมื่อได้รับอุบัติเหตุแล้วเกิดข้อจำกัด ทำให้เขาคิดมาก แล้วเขาจะมีความสุขกับการทำกิจกรรมนั้นๆ(ที่เราปรับให้)หรือป่าวคะ แล้วถ้าบอกถึงประโยชน์ที่จะได้รับแล้ว เขายังรับไม่ได้ เราควรจะทำอย่างไรใ้ห้เขายอมรับในส่วนนั้นหรือควรที่จะเปลี่ยนกิจกรรมไปเลย

ขอบคุณค่ะ

เป็นแนวคิดที่ดีมากค่ะ แต่ในตัวอย่างที่ สาม ที่กล่าวว่า "ทำอย่างไรให้สังคมมีสุขด้วยการกำจัดภาวะคอร์รับชั่น (Anti-corruption) ได้แก่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ “สำรวจความพอดีในความต้องการทางจิตสังคมของตนเอง (Self-determination on a balance of psychosocial need)” มันเป็นสิ่งที่กว้างไปหรือเปล่าคะ แล้้วสามารถทำได้จริงเหรอคะ เพราะว่านิยามของคำว่า "พอดี" ของแต่ละคนไม่เท่ากัน หนูจะมองแค่ในประเทศไทยนะคะ ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป จากประเทศเกษตรกรรมเริ่มแปรเปลี่ยนเป็นประเทศอุตสาหกรรม ประเทศต้องมีการพัฒนาเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ส่วนประชาชนก็ต้องดิ้นรนเพื่อจะอยู่รอดในสังคม ถ้าคำว่าพอดีมันอาจทำให้เขารู้สึกว่าอนาคตอาจจะ"ไม่พอกิน" เขาก็ต้องแสวงหาให้มันเกินพอดี เพื่ออนาคต เพื่อลูกหลานของพวกเขา มีการรณรงค์เรื่องนี้มากมาย แม้แต่ในหลวงยังทรงมีพระราชดำดัสเกี่ยวกับความพอเพียง พอดี ถ้าเปลี่ยนเจตคติในเรื่องนี้ในคน1คน หรือหลายคนอาจจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แต่เราไม่สามารถทำในทุกคนได้

ข้อความข้างต้นเป็นเพียงความคิดเห็นของตัวหนูเท่านั้นค่ะ

นางสาวหทัยชนก เรืองสวัสดิ์

จากข้อความได้อ่านมาข้างต้นนั้น  ซึ่งบางตัวอย่างอ่านแล้วก็ยังมองภาพไม่ค่อยออกว่าเราจะจัดการอย่างไร หรือให้การประเมิน  ส่งเสริม บำบัด ฟื้นฟู  อย่างไรได้บ้าง

               มีข้อสงสัยว่า  ....  โดยเฉพาะถ้าเป็นผู้ป่วยจิตเวช  ....

        ความคิด ทัศนคิต ความรู้สึก ของคนเรามันเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลอย่างมากให้คนเรานั้นจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมในแบบต่างมากมายทั้งที่สังคมยอมรับได้และไม่ได้

เพราะทั้งความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก เหล่านี้ที่มีมากับตัวบุคคลบางครั้งก็ยากที่จะอธิบายให้คนอื่นเขาเข้าใจได้  และบางครั้งก็ไม่เข้าใจความรู้สึกของตัวเองด้วยว่าคืออะไร  อย่างไร  และบอกความเหตุผลไม่ได้  และสุดท้ายเองคือผู้รับฟังก็ไม่สามารถเข้าใจ จึงเป็นการยากที่เราจะสามารถทำการประเมินเขาได้  ถึงแม้เราจะมีการสังเกต หรือสอบถามจากผู้ดูแลแล้วก็ตาม  ถ้าเขายังไงแล้วก็ยังไม่ยอมเปิดใจและไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า  หรือยังคงยึดติดกับเรื่องราวที่เจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเราเองก็มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต เพื่อหากิจกรรมให้เขาได้ทำโดยมิได้อยู่ว่าง  ได้ทำด้วยตรงกับความต้องการ ตรงกับความชอบ ตรงกับความสนใจ  มีเป้าหมาย  มีคุณค่า เหมาะสม มีความสุข และเป็นทักษะในการดำรงชีวิตต่อไปได้  นำไปประยุกต์ใช้ได้จริง OT ควรทำอย่างไรต่อไปดีค่ะ

        ... และอยากมองอย่างเข้าใจเป็นภาพกรณีตัวอย่างของกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิตโดยการจัดการใช้เวลาว่างให้ชีวิตมีคุณค่าพร้อมกับวิธีการที่เราจะจัดการแบบหลากหลายว่าควรทำอย่างไร  เข้าใจง่าย จะได้นำไปเป็นแนวทางในการเรียนต่อได้ค่ะ 

 

ขอขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณมากครับคุณเมธิตา คุณชลธิชา และคุณหทัยชนก

  ดิฉันมีความสนใจในเรื่อง"การจัดการใช้เวลาว่างให้ชีวิตมีคุณค่า" เพราะดิฉันมองว่า กิจกรรมยามว่างเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทุกคน  การทำกิจกรรมยามว่างทำให้คนเกิดความสุข รู้สึกมีคุณค่า     ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี เกิด Well  being  ตามแนวคิด PEO กิจกรรมยามว่างอยู่ใน Occupation เป็นกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่เราต้องทำให้เกิดความสมดุลในรูปแบบการดำเนินชีวิตของเฉพาะบุคคล แต่ละคนก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันไป  

          ดิฉันคิดว่ากิจกรรมยามว่างส่งผลกระทบต่อกิจกรรมต่างๆในชีวิต  ลองคิดดูนะคะ

ว่าระหว่างคนที่ทำแต่งานไม่มีเวลาว่างพักผ่อน ใช้เวลาอยู่กับคนที่ตัวเองรัก หรือทำกิจกรรมที่

ตัวเองชอบ  กับคนที่ทำงานแต่มีเวลาพักผ่อน ไปเที่ยว หรือได้ใช้เวลาอิสระ  คุณภาพชีวิตน่าจะต่างกัน  เพราะการที่ทำแต่งาน นอกจากส่งผลกระทบต่อความสุขในชีวิต  สุขภาพกายที่แย่ลงเพราะไม่มีเวลาออกกำลังกายหรือพักผ่อนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คนรัก เพื่อนร่วมงาน อื่นๆ  เช่นตัวอย่างของคุณเอ

      

        ดิฉันคิดว่าน่าสนใจเหมือนกันที่นักกิจกรรมบำบัดจะเข้าไปมีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของคนทุกกลุ่ม ทุกเพศทุกวัย    ดิฉันคิดว่าน่าจะมีการทำการวิจัยเกี่ยวกับการทำกิจกรรมยามว่างที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต โดยสำรวจในกลุ่มคนที่หลากหลายทุกเพศทุกวัย    เช่น

ทำในกลุ่มคนทำงานระหว่างคนที่ได้ทำกิจกรรมยามว่างโดยบริษัทนั้นอาจจะให้เวลาพักร้อนประจำปี   กับบริษัทที่ให้พนักงานทำแต่OT (ล่วงเวลา) ไม่มีเวลาพัก  ถ้าวัดผลเฉพาะบุคคลลองดูว่ากลุ่มคนกลุ่มใดมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ากัน  ถ้าทำในเชิงบริษัท   ก็วัดผลที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน   หรือจะทำในกลุ่มอื่นๆ ดังที่อาจารย์แบ่งไว้ 7 กลุ่มตามตัวอย่างที่2 ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือกลุ่มคนที่จะวัด  เมื่อได้ทำการประเมินผ่านแบบสอบถามเราก็นำมาสรุปผลได้ว่ากิจกรรมยามว่างมีความสำคัญกับคนๆนั้นมากแค่ไหน  แล้วข้อมูลที่ได้จะนำมาเป็นข้อมูลในการคิดวางแผน และออกแบบการรักษาที่เหมาะสมเฉพาะบุคคลต่อไป  ซึ่งชี้วัดผลสุดท้ายก็คือ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งกาย จิต รวมทั้งด้านสังคมด้วย

        ตัวอย่างแรกของโปรแกรมกิจกรรมบำบัด ดิฉันคิดว่าน่าสนใจมากเพราะว่า นักกิจกรรมบำบัดน่าจะมีบทบาทในกลุ่มนี้มากขึ้นในอนาคต ดิฉันมองว่าการทำกิจกรรมยามว่างเพื่อลดอาการเจ็บป่วย นอกจากดูแลรักษาทางกายแล้วยังเป็นการเสริมสร้างสุขภาพจิตให้แข็งแรง แล้วส่งผลต่อสุขภาพกายที่จะดีขึ้นตามมา  “ ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว” คำกล่าวนี้น่าจะใช้ได้ดี

       ตัวอย่างที่2 มองว่าเป็นการยากที่จะปรับพฤติกรรม คิดเหมือนคุณเมธิตา แต่ดิฉันคิดว่าน่าจะต้องให้เขาเห็นถึงความสำคัญของการทำกิจกรรมยามว่างก่อนหรืออาจทำการประเมินการให้คุณค่าหรือความสำคัญของกิจกรรมนั้นๆแล้วต้องให้เห็นว่ากิจกรรมยามว่างจะส่งผลดีอย่างไร?

เมื่อเขาเห็นถึงความสำคัญก็จะเป็นการง่ายมากขึ้นในการปรับเปลี่ยน เราอาจประเมินแรงจูงใจและนำผลมาเป็นตัวกระตุ้นให้มีการร่วมมือในการทำกิจกรรมมากขึ้น

         ตัวอย่างที่ 3 มองว่าเป็นไปได้ยากมากๆ เพราะความพอดีของแต่ละคนต่างกันดังที่คุณชลธิชากล่าวไว้  แล้วการที่เขาจะเปิดเผยตัวตนหรือความคิดที่แท้จริงออกมานั้นยาก

           เรื่องนี้ดิฉันมองว่า เป็นเรื่องของจิตวิญญาณความเป็นตัวตนของบุคคล เป็นเรื่องละเอียดอ่อนของจิตใจ  แต่ละคนมีบุคลิก ลักษณะนิสัย  พื้นฐานการเลี้ยงดู พื้นฐานทางสังคม จริยธรรม  ครอบครัว ความคิด  ความเชื่อเรื่องคุณงามความดี  ความคาดหวัง ฯลฯ ที่แตกต่างกัน  การดึงคนที่รักคนใกล้ชิด หรือคนที่ไว้วางใจมาเป็นสื่อกลางก็มีส่วนช่วยที่ดี แต่ดิฉันมองว่าทุกคนยังคงต้องเก็บเรื่องความคิดไว้กับตัวเองส่วนหนึ่งยากที่จะเปิดเผยทั้งหมดออกมาแม้จะเป็นคนที่ไว้ใจมากก็ตาม เพราะกรอบทางสังคม ค่านิยม กฎเกณฑ์ความคาดหวังทางสังคมยิ่งผู้บริหารระดับสูง นักการเมืองสังคมยิ่งคาดหวังสูง  คนกลุ่มนี้เลยต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีไว้ก่อน ทำให้คนต้องแสดงออกทางทางความคิด วาจา การกระทำที่เหมาะสม  น่าจะมีการศึกษาเรื่องนี้ต่อไป

         ตัวอย่างที่ 4 น่าสนใจตรงประเด็นที่ส่วนใหญ่สังคมเป็นผู้กำหนดมิติของกิจกรรมด้วยความแตกต่างของเวลา สถานที่ และความหมายของการทำกิจกรรม ทำให้เราเป็นมนุษย์ทำงานไม่มีเวลาว่างให้ครอบครัว   คนส่วนใหญ่ทำงานจนลืมทำสิ่งชอบ ลืมมองถึงความสุข  ดิฉันคิดว่าการทำกิจกรรมยามว่างทำได้โดยไม่ขัดขวางการทำงาน  โดยกำหนดตารางเวลาเวลาในแต่ละวัน  เช่น บางคนไม่มีเวลาทานข้าวกับครอบครัว ก็วางเวลาไว้เลยว่าทุกเย็นวันศุกร์จะใช้ทานข้าวกับครอบครัว

บางครั้งอาจมีกินเลี้ยงบริษัท ซึ่งอาจไม่รู้ล่วงหน้าก็ต้องมีการยืดหยุ่นบ้าง แต่ควรจะมีการปฏิเสธเช่นกัน   เมื่อทำเป็นประจำ เพื่อนร่วมงานรู้ก็จะไม่ชวนไปกินเลี้ยง อาจมองว่าจะขาดสังคมทางการทำงาน แต่จริงไม่หรอกเพราะใช่ว่าเราจะไม่เข้าร่วมงานสังคมเลย  เราไปในเวลา ปริมาณ     

ที่เหมาะสม ซึ่งสิ่งสำคัญอยู่ที่การจัดการกับเวลา  ถ้าเรารู้ว่าทุกวันศุกร์บริษัทจะมีงานเลี้ยง เราก็อย่านัดทานข้าวกับครอบครัวทุกวันศุกร์ซิ เปลี่ยนเป็นวันอื่น  มีการแก้ปัญหาอีกตั้งหลายวิธี ขึ้นอยู่กับการวางแผน การจัดการ ให้มีการใช้ชีวิตให้เกิดความสมดุล และที่สำคัญความแน่วแน่และมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยน 

                   ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตกิจกรรมบำบัดจะเป็นที่รู้จักมากขึ้น และทุกคนก็จะรู้ว่าเราเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต 

ขอบคุณมากครับสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทีดีจากคุณนิตินัย

จากข้อความทั้งหมดข้างต้น โดยส่วนตัวแล้วดิฉันสนใจตัวอย่างที่ 4 ค่ะ เพราะว่าเนื่องจากในปัจจุบันสังคมของเราให้ความสำคัญกับปัจจัยทางด้านการเงินซึ่งเป็นสิ่งของนอกกายมากกว่าสิ่งที่มากจากภายใน เช่น จิตใจ อารมณ์ และความสุขตัวเราเอง

ทำให้คนในสังคมต้องดิ้นรนและทำงานอย่างหนักเพื่อที่ได้เป็นที่ยอมรับและได้รับความเคารพนับถือจากคนในสังคม เนื่องจากในสังคมปัจจุบัน ยกย่องและสรรเสริญคนที่มีฐานะรวย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ปัจจัยทางสังคมเหล่านี้ส่งผลให้ค่านิยมของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป คือต้องขยันทำงานมาก เพื่อที่ได้เงินเยอะๆ โดยคิดว่าการที่มีเงินเยอะๆแล้วตัวเราเองและครอบครัวจะมีความสุข และเลือกอาชีพโดยมีปัจจัยเรื่องเงินที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าที่จะเลือกอาชีพที่ตนเองมีความสนใจและมีความชอบในอาชีพนั้น ทำให้เมื่อประกอบอาชีพนั้นนานๆไปก็จะทำให้ไม่มีความสุข ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน โดยลืมคนรอบข้างที่เรารักไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ภรรยา ลูกและพ่อแม่ เป็นต้น และทำไม่มีความสุขในชีวิตได้

แต่ในอีกแง่มุมนหนึ่ง ถ้าเราปรับสมดุลของการดำรงชีวิตให้สมดุลกันโดยทำงานสิ่งที่ตนเองรักและพัฒนาตนเองอยู่สม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็น พัฒนาทักษะที่ใช้ในการทำงานและพัฒนาทักษะทางด้านจิตใจร่วมกันไปด้วย ก็จะส่งผลให้เรามีความสุขและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขค่ะ

จากข้อความข้างต้นเป็นเพียงความคิดเห็นและมุมมองของหนูค่ะ และขอบคุณอาจารย์ป๊อปด้วยค่ะที่ให้หนูมาแลกเปลี่ยนความเห็นกับอาจารย์

ขอโทษด้วยค่ะ หนูลืมเขียนชื่อ ข้อความข้างบนเป็นความคิดเห็นของหนูนะค่ะ

จากข้อความข้างต้น ดิฉันเห็นด้วยกับรูปแบบของกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิตโดยการจัดการใช้เวลาว่างให้ชีวิตมีคุณค่า เพราะ การที่คนเราจะเลือกทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งนั้น ทุกคนมักจะเลือกสิ่งที่คิดว่าตนเองสนใจและสามารถทำกิจกรรมนั้นจนประสบความสำเร็จ และเมื่อมีเวลาว่างทุกคนก็จะพยายามหากิจกรรมที่นอกเหนือจากกิจกรรมที่ทำอยู่แล้วเป็นประจำ ซึ่งเมื่อเราอยากทำกิจกรรมยามว่าง เราก็ต้องศึกษาหาว่าเราสนใจกิจกรรมอะไร สนใจในด้านไหน นอกจากนี้เรายังต้องปรับพฤติกรรมของตัวเรา เพื่อเข้าสู่กิจกรรมยามว่างนั้น และการจะเลือกกิจกรรม กิจกรรมนั้นมักจะมีความหมายและให้คุณค่าแก่ชีวิต ซึ่งกิจกรรมหนึ่งๆก็อาจจะประกอบไปด้วย ความคิดสร้างสรรค์, การมีส่วนร่วม, ความคาดหวัง, แรงจูงใจ ซึ่งถ้าคนเรามีความสนใจในการที่จะทำกิจกรรมใดๆแล้ว เราก็จะมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมนั้นให้สำเร็จ ตรงกับความคาดหวังของตนเองและสังคม และกิจกรรมก็จะเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า มีความหมาย ซึ่งยังมีคนหมู่มากที่ยังไม่เคยทำกิจกรรมยามว่างของตนเองตามที่ตนเองสนใจและยังมีคนหมู่มากที่ยังคิดว่าตนเองไม่มีเวลาทำกิจกรรมยามว่าง ทั้งๆที่ไม่ลองและหาเวลาทำ

แต่ถ้าหากลองให้เวลากับตัวเอง ลองปรับปรุงเรื่องเวลาที่ยึดติดกับตนเองมากไป, ปรับปรุงเรื่องภาวะอารมณ์ความเครียดหรือวิตกกังวลและปรับปรุงให้สนใจมองตนเองให้เป็นคนใจกว้างและเหมาะสม ก็จะทำให้เรามีกิจกรรมยามว่างที่น่าสนใจ มีคุณค่า มีความหมายสำหรับทุกคน และที่สำคัญก็จะนำมาสู่ความสุขของตัวเราเอง

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ป๊อบ

ดิฉันเห็นด้วยกับตัวอย่างสุดท้ายค่ะ คือการปรับทั้งหกแบบที่อาจราย์กล่าวมา ดิฉันคิดว่าน่าจะนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาช่วยด้วยค่ะ อย่างเช่นเรื่องของ อริยสัจ 4 ที่สอนให้หาสาเหตุของการเกิดปัญหาและหนทางแก้ปัญหา คือ ถ้าเราสามารถค้นหาปัญหาและจัดการอย่างเป็นระบบก็น่าจะช่วยให้เขา เข้าใจชีวิต เข้าใจเตนเอง เข้าใจผู้อื่นได้ง่ายมากขึ้น

ในเรื่องของการยกระดับเครื่องทางจิตสังคมเป็นสิ่งที่ ต้องใช้ระยะยเวลานานมาก เพราะต้องยกระดับจิตของบุคคลก่อนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันก่อน และสังคมไทย เป็นสังคมที่ค่อนข้างใจร้อนและฉาบฉวยทำในสิ่งที่เห็นผลชัดเจนมากๆ เราต้องมี การติดตามผลอยู่เรื่อยๆเพื่อไม่ให้สิ่งที่เราทำนั้นสูญหายไป อยากถามอาจารย์คะว่าถ้าเราทำเรื่องนี้เราต้องเริ่มจากตรงไหนก่อนคะ???

ขอบคุณอาจารย์มากคะที่เผยแพร่ความรู้ดีๆให้

ขอบคุณครับคุณกัลย์กวิสร คุณอลิสรา คุณพรพรรณ

ตอบคุณพรพรรณว่า เราเริ่มได้ทันทีเมื่อมีโอกาสไม่ว่าจะระดับบุคคลที่สุขภาพดีหรือเป็นผู้รับบริการทางกิจกรรมบำบัด ระดับสังคมรอบข้างที่นักกิจกรรมบำบัดมีโอกาสเข้าไปช่วยเหลือ และระดับประเทศที่นักกิจกรรมบำบัดมีโอกาสเข้าไปเสนอนโยบาย

เราไม่จำเป็นต้องรอโอกาสนั้น แต่เราสามารถค้นหาโอกาสที่สังคมไทยกำลังขาดแคลนความรู้ทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคม เพียงแต่นักศึกษาต้องเรียนรู้ให้กว้างและลึกว่าจะพัฒนาทักษะชีวิตด้านจิตสังคมกับใคร ที่ไหน อย่างไร และเมื่อใด

สวัสดีค่ะ อ.Pop

จากบทความข้างต้นดิฉันรู้สึกสนใจในตัวอย่างที่ 3 เมื่อได้อ่านบทความในบรรทัดแรกในประโยคที่ว่า “ทำอย่างไรให้สังคมมีสุขด้วยการกำจัดภาวะคอร์รับชั่น” ก็ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาในใจว่ากิจกรรมบำบัดเกี่ยวข้องอย่างไรกับปัญหาคอร์รับชั่นและกิจกรรมบำบัดจะช่วยแก้ปัญหาคอร์รับชั่นได้อย่างไร เมื่อได้อ่านบทความนี้จนจบจึงทำให้ดิฉันเข้าใจถึงคำตอบ และมีความเห็นด้วยกับบทความข้างต้น ในเรื่องของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ สำรวจความพอดีในความต้องการทางจิตของตนเอง ผ่านการพูดคุยแบบเพื่อน และการสำรวจจิตใจของเพื่อนที่กำลังทำตัวเป็นผู้บริหารที่มีปัญหาในการควบคุมตนเอง แต่ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ก็ขั้นอยู่กับพื้นฐานความดีของแต่ละบุคคล และการเข้าใจความหมายของคำว่าเพื่อนอย่างลึกซึ้งเพราะแต่ละคนอาจให้คำนิยามของคำว่าเพื่อนที่แตกต่างกันไป แต่หากเข้าใจถึงสัมพันธภาพของคำว่าเพื่อนอย่างแท้จริงแล้วก็จะสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีร่วมกันในสังคมได้ และดิฉันคิดว่าเราสามารถนำแนวคิดนี้ไปต่อยอดและพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้นี้ได้อีก เพื่อนำไปแก้ปัญหาคอร์รับชั่นได้จริงโดยใช้หลักการทางกิจกรรมบำบัด

สวัสดีคะอาจารย์ป็อป

จากข้างต้น

ความพึงพอใจที่รู้สึกว่า เรากำลังทำกิจกรรมนี้ในเวลาและสถานการณ์ที่เหมาะสม หรือทำกิจกรรมนี้เพราะแรงบังคับของสังคมรอบข้าง หรือทำกิจกรรมนี้เพราะเราชอบและสนใจจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

หากคุณเป็นคนที่รักครอบครัวและสังคม เวลาที่ให้กับตนเอง ทั้งการทำงานและการใช้เวลาว่างเพื่อตนเองก็จะลดลงตามลำดับ แต่ต้องคอยตรวจสอบความรู้สึกของตนเองว่า คุณพอใจกับกิจกรรมชีวิตตรงนี้หรือไม่

หนูสงสัยว่าการเล่นอินเตอร์เน็ต จัดเป็นกิจกรรมยามว่างที่มีความหมายไหมคะ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันมีความหมายมีคุณค่าแล้วสำหรับทางกิจกรรมบำบัด ต้องถาม หรือประเมินอะไรเพิ่มเติม หรือจะทำอย่างไร เพื่อให้ทราบว่าการเล่นอินเตอร์เน็ตเป็นกิจกรรมที่มีความหมายสำหรับคนๆนั้นจริงๆ หรือเป็นแค่การฆ่าเวลา เพราะไม่มีกิจกรรมใดๆทำคะ

น.ส.ชุตินันท์

ขอบคุณคะอาจารย์

การเล่น Internet มีหลายรูปแบบ อาจประเมินความคิดความเข้าใจว่า รูปแบบนั้นได้คุณค่าทางร่างกาย ความคิดสร้างสรรค์ สังคม ไม่ออกแรง เป็นต้น นักกิจกรรมบำบัดคงต้องวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนและเป้าหมายของการเล่น Internet ว่า จะจัดการเวลาอย่างมีคุณค่า หรือ ฆ่าเวลา ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตสุขภาพกายและใจต่อไป

ขอบคุณครับน้องชุตินันท์

สวัสดีค่ะอาจารย์ป๊อบ

บทความข้างต้นเป็นบทความที่ดี ทำให้ได้ฉุกคิดขึ้นมาว่า

"มัชฌิมาปฏิปทา"

แปลว่า ทางสายกลาง คือ ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป

ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้

ดังนั้นคนเราก็ไม่ควรที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป เช่น ทำงานมากเกินไป เล่นมากเเกินไป เราควรที่จะแบ่งเวลาให้พอดี มีทั้งทำงานและเล่นอย่างสมดุลย์กัน ชีวิตจิงจะมีความสุขได้

จุฑามณี แก้วปัญญา

สวัสดีค่ะอาจารย์ป็อป

จากบทความข้างต้น ดิฉันมีความคิดเห็นว่าการทำกิจกรรมยามว่างตามที่สนใจและเหมาะสมเป็นสิ่งที่ดีต่อผู้รับบริการ เพื่อเป็นการส่งเสริมทำให้ผู้รับบริการเกิดรู้สึกตนเองมี Self esteem ,Value และเกิดความสุขในการดำเนินชีวิตในสังคมได้

แต่ในบางผู้รับบริการบางท่านอาจจะมีความยากลำบากในการระบุหรือเลือกกิจกรรมยามว่างที่ตนเองสนใจได้เองจริงๆ ดังนั้นดิฉันจึงมีความเห็นตรงกับอาจารย์ในประเด็นที่ว่า "การจัดการใช้เวลาว่างให้ชีวิตการปรับปรุงเรื่องเวลาที่ยึดติดกับตนเองมากเกินไป (Distortion of time perception) การปรับปรุงเรื่องความสุขของตนเองมากกว่าผู้อื่น (Enjoyment) การปรับปรุงเรื่องภาวะอารมณ์วิตกกังวลและเครียด (Loss of anxiety and constraint) การปรับปรุงเรื่องการรู้จักช่วยเหลือผู้อื่นอย่างพอดี (Total involvement-forgetting self) การปรับปรุงเรื่องให้สนใจมองคนอย่างลึกซึ้งและจริงใจ (Narrowed focus of attention) และสุดท้ายการปรับปรุงให้สนใจมองตนเองให้เป็นคนใจกว้างและเหมาะสม (Enriched perception)มีคุณค่า (Leisure Management for Meaningful Life) " นั่นเป็นการกล่าวที่เหมาะสมกับบริบทการทำกิจกรรมยามว่างให้ผู้รับบริการได้มีเกณฑ์ในการเลือกทำกิจกรรมยามว่างได้อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการทำให้ตนเองเกิดความสุขเพื่อเกิดเป็นุณภาพชีวิตที่ดีด้วย

น.ส.จุฑามณี แก้วปัญญา

ขอบคุณมากๆ คะอาจารย์สำหรับแนวคิดดีๆ

นัทธวัฒน์ ชาวดร 5223014

จากบทความทำให้ผมทราบถึงความแตกต่างของบทนักกิจกรรมบำบัดและนักนันทนาการบำบัดได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้

หน้าที่นักนันทนาการบำบัดจะเกี่ยวข้องกับการประเมินและส่งเสริมทางด้านร่างกายและจิตใจผ่านทางกิจกรรมนันทนาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสุขและผ่อนคลายความเครียด วิตก กังวล เป็นหลัก

หน้าที่นักกิจกรรมบำบัดจะมองผู้รับบริการโดยองค์รวม วิเคราะห์ประเมินผู้รับบริการ ความต้องการทำกิจกรรมยามว่าง ความพึงพอใจในการใช้เวลาว่างของแต่ละบุคคล รวมถึงการค้นหาและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมยามว่าง ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะนำข้อมูลของผู้รับบริการแต่ละบุคคลมาวิเคราะห์จัดกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความหมายและตรงตามความต้องการของผู้รับบริการสอดคล้องกับทักษะต่างๆที่ผู้รับบริการต้องได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้ยังพัฒนาไปสู่การทำกิจกรรมยามว่างในสังคม เพื่อให้กิจกรรมยามว่างของผู้รับบริการมีเป้าหมายและเกิดประโยชน์สูงสุด

ดิฉันรู้สึกดีใจมากที่ได้มาอ่านบทความดีๆแบบนี้ เพราะดิฉันก็เป็นบุคคลหนึ่งที่จัดการเวลาในชีวิตได้ไม่ค่อยดีนัก มักใช้เวลาไปกับการทำงานอดิเรกและการพักผ่อนเป็นส่วนใหญ่เพราะรู้สึกมีความสุข ณ ขณะนั้น แต่ลืมคิดไปว่าเราทุ่มเทกับสิ่งเหล่านั้นมากเกินไปหรือเปล่า บทบาทของเราตอนนี้คืออะไร หน้าที่ที่เราต้องรับผิดชอบเป็นอย่างไรบ้าง จึงทำให้ชอบค้างงานที่อาจารย์ประจำวิชาต่างๆสั่งไว้ เมื่อใกล้สอบก็อ่านหนังสือไม่ทัน และรู้สึกเป็นทุกข์ทุกครั้งเมื่อใกล้ส่งงานหรือใกล้สอบ บทความนี้ช่วยเตือนสติให้ดิฉันคิดได้ว่า คนเราควรจะมีการจัดการเวลาในชีวิตให้ดี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขในทุกช่วงของชีวิต

น.ส.ยุพดี ธัญญศรีรัตน์ 5223017

ทิพย์สุดา อินทร์ยา 5223012

สวัสดีค่ะอ.ป๊อบ

จากบทความนะคะ ทำให้ดิฉันมีมุมมองใหม่เดี่ยวกับเรื่องการใข้เวลาว่าง เพราะเมื่อก่อนเคยเข้าใจว่าการใข้เวลาว่างคือการอยู่เฉยๆ จนกระทั่งมาเรียนกิจกรรมบำบัดจึงเข้าว่ากิจกรรมยามว่างก็เป็นกิจกรรมที่สำคัญหนึ่งในชีวิต คงไม่มีสาขาวิชาชีพใดที่จะสนใจถึงจุดนี้ การทำกิจกรรมยามว่างนั้นนอกจากจะทำให้เกิดคุณค่าจากการทำกิจกรรมที่ทำให้ไม่อยู่ว่างแล้วยังก่อให้เกิดความพึ่งพอใจที่สามารถวัดได้ ซึ่งจะทำให้เราเห็นผลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้การสนับสนุนให้มีการใช้เวลาว่างเพื่อสังคม ถืเป็นเเนวคิดที่ดีมากค่ะ เพราะจะทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแก่ทุกฝ่า

แต่ดิฉันสงสัยในเรื่องของ Anti-corruption ค่ะ การที่จะสำรวจจิตใจของบุคคลแบบซื่อสัตย์ เราจะทำได้จริงรึป่าวคะในแง่ของความเป็นจริง ที่แน่นอนคนเราต้องมีการปกป้องตัวเอง แล้วเราจะใช้ความสัมพันธ์แบบเพื่อนยังไง

สวัสดีค่ะ อ.ป๊อป

"กิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิตโดยการจัดการใช้เวลาว่างให้ชีวิตมีคุณค่า" เป็นรูปแบบที่น่าสนใจมากเลยค่ะ ซึ่งการทำกิจกรรมยามว่างนั้นจะต้องมองถึงความสนใจและความชอบในการทำกิจกรรม กิจกรรมนั้นจะต้องมีความหมายและคุณค่าแก่ตนเอง และสามารถวัดระดับความพึงพอใจในกิจกรรมนั้นได้ว่าสามารถสร้างความสุขและคุณค่าให้กับชีวิตได้หรือไม่ และจะมีการวางแผนการทำกิจกรรมยามว่างนี้ต่อไปหรือไม่ หรือจะเปลี่ยนกิจกรรมใหม่ที่ตนมีความชอบและสนใจมากกว่า แต่อย่าลืมว่าในการทำกิจกรรมยามว่างนั้นจะต้องมีการจัดการเวลาที่ดี ไม่มากจนไปเบียดเบียนเวลาในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้านอื่นหรือไม่น้อยจนทำให้มีเวลาว่างมาก เวลาในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตทุกด้านจะต้องมีความสมดุลกันจึงจะเรียกได้ว่าเป็นชีวิตที่มีคุณค่าและมีความสุข

ศิรินันท์ ทองดี

ขอบคุณสำหรับบทความค่ะ

ดิฉันมีความคิดเห็นว่า ความสำคัญของกิจกรรมยามว่าง ในแ่ต่ละบุคคลนั้นให้คุณค่าไม่เหมือนกัน ทัศนคติต่อการทำกิจกรรมยามว่างมีความแตกต่างกัน คนปกติส่วนมากจะทำงานตามหน้าที่ของตนเอง เป็นงานหลักๆ เมื่อรู้สึกเครียด เหนื่อยล้า ความสนใจในการทำกิจกรรมยามว่างจะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ จะทำให้บุคคลนั้นมีความสมดุลที่ดี สามารถจัดการเกี่ยวกับตนเองได้ดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นดีๆ จากน้องนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2554 ตามรายชื่อข้างต้น

"การสำรวจความพึงพอใจจากการทำกิจกรรมและพิจารณาความเป็นกลางระหว่างกิจกรรมต่างๆ วางแผนความสมดุลของกิจกรรมต่างๆ ต้องมีการบันทึก (Time use-activity diary record) และตรวจสอบความสุขของคุณและครอบครัวอยู่บ่อยครั้ง"

จากบางส่วนของบทความดังกล่าวข้างต้น ในเรื่องการใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมที่มีคุณค่า มีความหมาย ควรมีความสมดุลกับกิจกรรมการเรียน การพักผ่อน ไม่ทำกิจกรรมประเภทใดประเภทหนึ่งมากหรือน้อยจนเกินไป ทำให้ดิฉันได้ตระหนักว่าควรปรับกิจกรรมต่างๆที่ตนเองทำเพื่อให้เกิดสมดุลขึ้นระหว่างกิจกรรมการเรียน การทำกิจกรรมยามว่าง และการพักผ่อน แต่บางครั้งด้วยบริบททางสังคมทำให้ต้องปรับเปลี่ยนและตัดสินใจทำกิจกรรมหนึ่ง และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนหลายๆกิจกรรม บางครั้งกิจกรรมเกี่ยวกับการพักผ่อน การใช้เวลาว่างก็มากเกินไป หรือบางครั้งต้องอ่านหนังสือสอบจนลืมสนใจทำกิจกรรมยามว่าง หรือกิจกรรมที่ต้องการทำ ด้วยเหตุนี้จึงควรมีการวางแผนการทำกิจกรรมให้เกิดความสมดุล และมองย้อนกลับไปหลังจากทำกิจกรรมนั้นว่าเกิดความพึงพอใจ ความสุขหรือไม่ อยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้การทำกิจกรรมและการดำเนินชีวิตมีความราบเรียบไม่สุดโต่งไปในทางด้านใดด้านหนึ่ง รู้จักวางแผน ตัดสินใจและจัดการตนเองก่อน การนำไปสู่การแนะนำให้คำปรึกษาในเรื่องการทำกิจกรรมยามว่างแก่ผู้อื่น

ขอบคุณคะ บทความนี้ทำให้ได้ตระหนัก และคิดให้มากขึ้นด้วยคะ

สิริกานต์

สวัสดีค่ะอาจารย์ป๊อป

บทความนี้เป็นบทความที่สะท้อนให้เห็นบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดที่มีต่อเรื่องการทำกิจกรรมยามว่าง ทำให้รู้ว่าเราควรทำอย่างไงกับเวลาที่เรามี เราไม่ควรปล่อยให้ตนเองหมกหมุ่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งตลอดเวลาซึ่งจะส่งผลให้เราเกิดความเครียด และทำให้ทราบว่ากิจกรรมยามว่างจะช่วยผ่อนคลายกับความเครียดได้จริง

ขอบคุณอาจารย์ป๊อปมากค่ะ ที่ทำให้เห็นบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดที่มีต่อกิจกรรมยามว่าง

สวัสดีค่ะอาจารย์ป๊อป

บทความนี้เป็นบทความที่สะท้อนให้เห็นบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดที่มีต่อเรื่องการทำกิจกรรมยามว่าง ทำให้รู้ว่าเราควรทำอย่างไงกับเวลาที่เรามี เราไม่ควรปล่อยให้ตนเองหมกหมุ่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งตลอดเวลาซึ่งจะส่งผลให้เราเกิดความเครียด และทำให้ทราบว่ากิจกรรมยามว่างจะช่วยผ่อนคลายกับความเครียดได้จริง

ขอบคุณอาจารย์ป๊อปมากค่ะ ที่ทำให้เห็นบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดที่มีต่อกิจกรรมยามว่าง

สวัสดีค่ะอาจารย์ป๊อป

จากตัวอย่างที่สองจะเห็นได้ว่า ผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ หรือผู้ที่ไม่สามารถจัดสรรเวลาของตัวเองได้โดยอาจมี การจัดการเวลาของตนเองที่มีเวลาว่างมากเกิน หรือไม่มีเวลาว่างเหลืออยู่ ซึ่ง สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน และการทำกิจกรรมยามว่าง จากการมีปัญหาในการทำกิจกรรมยามว่างนี้ นักกิจกรรมบทบาทจึงมีบทบบาที่จะเข้าไปมีส่วนในการให้ความช่วยเหลือให้บุคคลเหล่านี้มีกิจกรรมยามว่างที่ตนสนใจ โดยใช้แบบประเมิน interest checklist หรือสอบถามเพื่อหากิจกรรมที่สนใจ และส่งเสริมให้บุคคลเหล่านี้เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมยามว่าง เพือให้ชีวิตเกิดความสมดุลในการทำกิจกรรม

ขอบคุณมากครับน้องๆ ว่าที่นักกิจกรรมบำบัดคนเก่งคนดีในอนาคตทุกท่าน

จากข้อความข้่างต้น การที่เราจะจัดกิจกรรมยามว่างเพื่อส่งเสริมสุขภาพดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมากเลยคะ แต่เราอาจจะต้องบริบทต่างๆ ของชุมชน หรือ องค์กร นั้นๆ ด้วยว่า เค้ามีค่านิยม หรือวัฒนธรรม ร่วมถึงตัวของผู้รับบริการว่ามีสภาพทางร่างกายและจิตใจเป็นเช่นไร ดิฉันคิดว่าการจัดกิจกรรมยามว่างที่เป็นการออกกำลังกายนั้น ควรเิ่พิ่มการจัดเป็นแบบกลุ่มหรือจัดกิจกรรมให้ได้ทำร่วมกันกลายๆ คน เพื่อเป็นการช่วยในเรื่องของการเข้าสังคมและการปรับตัวกับผู้อื่น อีกทั้งยังสามารถช่วยในด้านของสภาพจิตใจได้ เช่นผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า เมื่อได้ออกมาเจอผู้คนได้พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน จะทำให้ ผู้รับบริการมีการปรับตัวและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีขึ้น อีกทั้ง ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงอีกด้วย

                                                                                                                 จิตติมา  ขาวเธียร 5323003 OT#3

ขอบคุณสำหรับบทความค่ะ

หลังจากที่ได้อ่านบทความข้างต้นทำให้ดิฉันเห็นตัวอย่างโปรแกรมทางกิจกรรมบำบัดที่หลากหลาย โดยเน้นรูปแบบกิจกรรมบำบัดด้านจิตสังคม และยังทำให้ดิฉันได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้รับบริการ นักกิจกรรมบำบัดสามารถนำมาปรับใช้หรือเป็นแนวคิดเพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการทางกิจกรรมให้ดียิ่งขึ้น

จากตัวอย่างหลากหลายที่ อ.ป๊อบ ยกมาให้ดู ดิฉันสนใจมากเลยค่ะ โดยเฉพาะการศึกษาความสนใจของการทำกิจกรรมยามว่างและสังคม (Leisure and social activities) ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายูและผู้ที่มีความพิการ โดยใช้แบบสอบถาม Activity Self-Interest Checklist แล้วมาวิเคราะห์ทางสถิติ เพราะทำให้เราทราบถึงความสนใจและอุปสรรคที่ขัดขวางในการทำกิจกรรมยามว่าง นักกิจกรรมบำบัดสามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะสมได้ เพื่อไม่ให้ผู้รับบริการอยู่ว่าง ได้ทำกิจกรรมยามว่างที่ตนสนใจ เกิดความสุขและคุณภาพชีวิที่ดีตามมา

อีกตัวอย่างคือ โปรแกรมการปรับตัวของพฤติกรรมและความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินชีวิต(Occupational Performance and Satisfaction) ทำให้ทราบว่าผู้รับบริการมีความต้องการในการเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินชีวิตในระดับที่แตกต่างกัน นักกิจกรรมบำบัดจึงมีบทบาทสำคัญในการปรับกิจกรรมการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยเน้นการให้ความรู้และสร้างความพึงพอใจในกิจกรรมการดำเนินชีวิต

และอีกหลายๆตัวอย่างที่ทำให้เราเห็นถึงกิจกรรมบำบัดแนวใหม่ชัดเจนขึ้น อันจะเป็นประโยชน์กับนักกิจกรรมในประเทศไทยอย่างมากค่ะ

พัชรี รุ่งฉัตร 5323011 OTs#3

ในสังคมปัจจุบัน โลกที่แสนวุ่นวาย ทุกอย่างมีแต่ความเร่งรีบ  แข่งขัน ทุกคนต่างมีหน้าที่และทำหน้าที่กันอย่างสุดโต่ง จนชีวิตหาความสมดุลแทบไม่ได้ เกิดความเครียด ความล้าจากการทำงาน แล้วความสุขจะเกิดขึ้นกับชีวิตได้อย่างไร

แนวคิดกิจกรรมบำบัดแนวใหม่ จากบทความข้างต้น เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะ ข้อจำกัดในการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่ทว่าขึ้นอยู่กับจิตใจและการใช้ชีวิตด้วย คนเราจะใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุข แน่นอนว่าเรื่องเวลาเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ การแบ่งเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆให้เหมาะสม ทั้งการทำงาน การพักผ่อน ให้มีความเหมาะสมนั้น ย่อมส่งผลให้ชีวิตเกิดความสมดุล มีเวลาให้กับตัวเอง ครอบครัว และงานอย่างเต็มที่ ได้ทำในสิ่งที่ตนเองสนใจและไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน เพียงเท่านี้ชีวิตก็จะมีความสุข ส่งผลต่อการพัฒนาให้ก้าวไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ขอบคุณอาจารย์ป็อปค่ะ ที่ยกตัวอย่างโปรแกรมการรักษาทำให้ดิฉันได้เห็นภาพของกิจกรรมในฝ่ายจิตมากขึ้น

        การทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตถ้าขาดการสมดุล ซึ่งปัจจุบันมักพบเป็นจำนวนมาก  เช่น ทำงาน จนไม่ได้พักผ่อน หรือไม่มีเวลาให้กับครอบครัว  นอกจากจะส่งผลต่อ สุขภาพกายแล้ว ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือส่งผลต่อจิตใจ ดังนั้นสิ่งที่จำเป็น คือการจัดการเวลาให้เหมาะสม (time management)   ให้สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข (โดยการให้คะแนนความสุขในการทำแต่ละกิจกรรม)  ตามความสนใจและบทบาทของตน

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ จากอาจารย์ป๊อบคะ 
นักกิจกรรมบำบัดแนวใหม่ถือเป็นเรื่องราวที่ทำให้ดิฉันได้ข้อคิดในหลายประเด็นที่สนใจ  

เริ่มต้นที่ประเด็นแรก คือกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิต(Mental Health) บางครั้งเมื่อเห็นคำว่าสุขภาพจิต หลายคนก็จะนึกถึงผู้รับบริการที่เป็นจิตเภทหรือมีความบกพร่องทางจิตสังคม จนละเลยผู้รับบริการฝ่ายกายที่มีปัญหาเด่นชัดด้านร่างกาย แต่ลืมประเมินปัญหาทางด้านจิตใจของผู้รับบริการ เนื่องจากผู้รับบริการไม่สามารถทำกิจกรรมได้จึงเกิดอาการซึมเศร้า รวมถึงผู้รับบริการฝ่ายเด็ก ผู้สูงอายุ หรือแม้กระทั่งครอบครัว ผู้ดูแล และคนปกติอย่างเราก็สามารถเกิดปัญหาทางจิตขึ้นได้ บทบาทนักกิจกรรมบำบัดคือการให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ บำบัดฟื้นฟูผ่านสื่อกิจกรรมการรักษา กิจกรรมผ่อนคลาย การจัดการเวลา การจัดการความเหนื่อยล้า และการจัดการความเครียด

ประเด็นที่สอง คือการปรับพฤติกรรมและความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินชีวิต การให้ความรู้และสร้างความพึงพอใจในกิจกรรมการดำเนินชีวิตอยู่3ระดับความรู้สึก ได้แก่ คุณต้องการทำอะไร  คุณต้องทำอะไร และคุณคาดว่าจะทำอะไร รวมถึงประเด็นการให้คะแนนกิจกรรมที่ทำผ่านมา เช่นการให้คะแนนความชอบ ความพึงพอใจและความสุขในการทำกิจกรรม รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อควรปรับปรุง/ข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาพัฒนากิจกรรมในครั้งถัดไป อย่าลืมหัวใจสำคัญ"Client center" ต้องเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจ(ได้จากการสอบถามหรือใช้Interest Checklist) กิจกรรมมีความเหมาะสมกับบริบทและความสามารถของผู้รับบริการแต่ละบุคคล เพื่อพัฒนาทักษะที่บกพร่องไป ทำให้ผู้รับบริการมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ประเด็นสุดท้าย คือการพัฒนา self-determination หลังจากอ่านบทความแล้วยอมรับเลยคะ ว่าเป็นคนที่เมื่อมีงานเข้ามาเยอะแล้วจะแบ่งเวลาอย่างไม่สมดุล มักจะทุ่มเทให้กับเวลางาน จนลืมเวลาพักผ่อนและทำกิจกรรมยามว่างร่วมกับครอบครัว ทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า "Leisure Constraints" หรือกิจกรรมยามว่างที่ถูกจำกัด  นอกจากการจัดการเวลาอย่างสมดุลแล้ว การปรับปรุงเรื่องเวลาที่ยึดติดกับตนเองมากเกินไปก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากคะ เช่นเราอาจจะจัดให้วันอาทิตย์เป็นวันพักผ่อน ทำกิจกรรมยามว่างที่เราและครอบครัวสนใจร่วมกัน

น.ส. อารยา อารีสกุลสุข 5323018 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่3 

ขอบคุณบทความดีๆของ Dr.Pop


บทความนี้ ทำให้ได้เห็นมุมมองของรูปแบบการทำกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิตโดยการจัดการใช้เวลาว่างให้ชีวิตมีคุณค่า (Leisure Management for Meaningful Life) โดยมีหลายๆตัวอย่างกรณีศึกษาให้ได้เรียนรู้ กระผมมีความสนใจในตัวอย่างแรก และตัวอย่างที่สอง

 ตัวอย่างแรก มุ่งเน้นกิจกรรมยามว่าง และสังคมที่ผู้รับบริการให้ความสนใจ โดยใช้แบบสอบถาม Activity Self-Interest Checklist เพื่อหาขอบเขตของกิจกรรมที่สนใจ ประกอบกับการสัมภาษณ์สอบถาม และวิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างแรงจูงใจในการบำบัดฟื้นฟู และการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่อไป

ตัวอย่างที่สอง การปรับตัวของพฤติกรรมและความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินชีวิต(Occupational Performance and Satisfaction) โดยเน้นสำหรับผู้ป่วยที่กำลังฟื้นตัว หรือเพิ่งออกจากโรงพยาบาล โดยส่วนมากผู้ป่วยประเภทนี้มักจะมีความเครียดร่วมด้วย นักกิจกรรมบำบัดจะเน้นการให้ความรู้และสร้างความพึงพอใจในกิจกรรมการดำเนินชีวิตอยู่สามระดับความรู้สึก ได้แก่ 

- คุณต้องการทำอะไร(Want to Do) 

- คุณต้องทำอะไร (Have to Do)

- คุณคาดว่าจะทำอะไร (Expect to Do)

นอกจากนี้ยังได้ทราบเกี่ยวกับการพัฒนา self-determination ของกิจกรรมชีวิต  เพื่อแก้ปัญหาการเกิดสภาวะที่เรียกว่า "Leisure Constraints" หรือกิจกรรมยามว่างที่ถูกจำกัด โดยให้ความสำคัญกับความพึงพอใจในการทำกิจกรรมเวลา และสถานที่อันเหมาะสม ความชอบและความสนใจกิจกรรมโดยให้คะแนนดังที่กล่าวมาในบทความ ที่สำคัญคือการวางแผนความสมดุลของกิจกรรมต่างๆ จำเป็นต้องมีการบันทึก (Time use-activity diary record) ตรวจสอบความสุขของตัวคุณ และบุคคลใกล้ชิดโดยการให้เกณฑ์คะแนน 0 - 10 (0 ไม่มีความสุขเลย / 10 มีความสุขมาก) อยู่เสมอ รวมถึงการประเมินเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมเพิ่มเติม นอกจากจะพัฒนาในเชิงครอบครัวแล้ว ยังสามารถพัฒนาให้ความรู้แบบโปรแกรมสร้างพลเมืองที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก โดยเป็นการต่อยอด เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี


ขอบคุณทุกความเห็นจากนักศึกษากิจกรรมบำบัดมหิดลครับผม

ขอบคุณบทความดีๆจากอาจารย์นะคะ ดิฉันก็เป็นคนนึงคะที่บริหารจัดการเวลาในชีวิตไม่ค่อยสมดุล พูดง่ายๆก็คือไม่มีการวางแผนว่าแต่ละวันจะทำอะไรบ้าง นึกจะทำอะไรก็ทำ บางวันก็อยู่เฉยๆว่างๆไม่ทำอะไร แต่พอใกล้สอบใกล้จะส่งงานก็ทำก็อ่านมันทั้งวัน จนไม่มีเวลาผ่อนคลาย ดิฉันเลยคิดว่าการที่เรารู้จักจัดการเวลาของตนเองเป็นสิ่งที่ดี เพราะเราจะได้มีความสมดุลเกิดขึ้นในชีวิต นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข หลังจากได้อ่านทำให้ดิฉันมีความคิดที่จะวางแผนชีวิตให้มีความสมดุลทั้งการเรียน การพักผ่อน และการทำกิจกรรมอื่นๆที่ตนเองสนใจคะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆของอาจารย์ค่ะ


โปรแกรมข้างต้นที่อาจารย์เสนอมามีประโยชน์มากค่ะ เมื่อดิฉันได้ลองนำมาปรับใช้กับตัวเอง และผู้รับบริการฝ่ายจิตเวช การประเมินความสนใจของผู้รับบริการ สามารถทำให้เราสามารถเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมและส่งผลให้ผู้รับบริการมีความสนใจมากกว่า กิจกรรมที่เราเลือกในความคิดของเราเอง การที่ทำให้ผู้รับบริการเห็นถึงคุณค่าในตัวเอง เกิดความสนใจและความภาคภูมิใจนั้น จะทำให้การฟื้นฟูความสามารถมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการจัดการเวลา การจัดตารางเวลา ถือเป็นสิ่งที่สำคัญในผู้รับบริการและดิฉัน ทำให้ในแต่ละวันเรามีจุดมุ่งหมาย มีเป้าประสงค์ที่จะทำ ศึ่งจะสามารถนำไปสู่ความสำเร็จตามที่เราวางแผนไว้ได้


ขอบคุณสำหรับบทความดีๆของอาจารย์ป๊อปค่ะ

การจัดการเวลาให้สมดุลของแต่ละคนนั้นถือว่าสำคัญมากเพราะมันจะส่งผลกระทบกันเป็นวงจรเช่นถ้าเราทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตมากเกินไปจนทำให้การพักผ่อน การนอนหลับไม่เต็มที่ ก็มักจะส่งผลในวันต่อๆไป เกิดความล้าของร่างกายที่ได้รับการพักไม่เต็มที่ ไม่อยากทำอะไร อยากนอนเพียงอย่างเดียว ทำกิจกรรมไม่มีความสุข ในโปรแกรมของนักกิจกรรมบำบัดแนวใหม่ดิฉันเห็นว่า ดีมากๆที่จะนำมาใช้กับทุกๆคนเพื่อให้แต่ละบุคคลสามารถจัดการเวลาต่างๆได้อย่างเหมาะสม มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท