กี่กำ...ในล้อธรรม


ความหมายของธรรมจักรและซี่ล้อในธรรมจักร

สัญลักษณ์หนึ่งของพระพุทธศาสนาคือรูปธรรมจักร อันหมายถึงวงล้อของพระธรรมอันหมุนไป

TamjakC

( ภาพสลักหิน ประกาศธรรมจักรแบบภารหุต)

วงล้อนี้เปรียบได้กับการแผ่ขยายอาณาเขตของจักรพรรดิในทางโลก เมื่อล้อรถศึกของจักรพรรดิเคลื่อนไปทางใดในทิศทั้ง ๔ ย่อมหมายถึงเลือดเนื้อ และความตายได้เริ่มขึ้นในทางทิศนั้น หากล้อธรรมของพระพุทธองค์เป็นไปในทางตรงข้าม นั่นคือ เมื่อล้อธรรมเริ่มหมุน หรือก็คือเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเริ่มแระกาศอริยสัจ ๔ แก่สรรพสัตว์ สันติ ความสงบ ก็เริ่มปรากฏแก่โลก

และเมื่อวงล้อธรรมจักรหมุนไปทางใด แสงสว่างก็ฉายสู่โลกในทางทิศนั้น

TamjakA

( ภาพสลักหิน ประกาศธรรมจักรแบบพุทธคยา)

คำว่า ธรรมจักร ปรากฏเป็นครั้งแรกในพุทธศาสนาในปฐมเทศนาชื่อ ธัมจักรกัปปวัตตสูตร ที่พระพุทธองค์แสดงต่อปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

รูปธรรมจักรประกอบด้วยลักษณะสำคัญ ๒ ประการคือ

๑. รูปวงล้อ มีลักษณะกลม มีสองความหมายคือ กระแสแห่งการหมุนไปของพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ และวัฏฏสงสารของสรรพสัตว์

๒. รูปซี่ล้อ ในธรรมจักรจะมีซี่ล้อ หรือ กำ เป็นซี่ๆตรงกันอยู่ภายใน จำนวนกำภายในล้อธรรมนี้ มักพบว่ามีไม่เท่ากัน โดยปกติมักมีตั้งแต่ ๔ กำ หรือ ๔ ซี่ขึ้นไปแล้วแต่คติของการสร้าง จำนวนซี่ มีความหมายต่างๆดังนี้

ซี่ หมายถึง อริยสัจ ๔

ซี่ หมายถึง มรรคมีองค์ ๘

๑๒ ซี่ หมายถึง ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

๑๖ ซี่ หมายถึง ญาณ ๑๖

๒๔ ซี่ หมายถึง ปัจจัย ๒๔

๘๐ ซี่ หมายถึง พระชนมายุ ๘๐ พรรษา

หากท่านพุทธทาสกล่าวว่า ในธรรมจักรควรมี ๑๒ ซี่ อันหมายถึงการปริวัติ ๓ ของอริยสัจ ๔ จนมีอาการ ๑๒

TamjakB

(ภาพสลักหิน ประกาศธรรมจักรแบบพุทธคยาอีกแบบหนึ่ง)

ธรรมจักรแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ ประเภทที่หยุดนิ่ง และประเภทที่มีการหมุน ประเภทที่หยุดนิ่งมักทำเป็น ๔ ซี่ ส่วนธรรมจักรที่แสดงถึงการหมุนนั้น มีตั้งแต่ ๔ ซี่ขึ้นไป โดยในธรรมจักรที่มี ๔ ซี่ มีเติมเส้นที่ปลายแฉก (กากบาท) ให้เลี้ยวไปนิดหนึ่งในทางเดียวกัน เพื่อให้ดูเหมือนว่ามีการเคลื่อนที่ คือมีการหมุน ต่อมามีการสร้างซี่หลายๆซี่จนดูถี่ยิบจนดูลายตาเพื่อให้ดูเหมือนกำลังหมุนแทน และมักสร้างให้เกลี้ยงไม่มีลาย เพราะขณะหมุนจะไม่เห็นลวดลายบนล้อธรรมจักร

หากธรรมจักรที่ได้รับการรับรองให้เป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนานาๆชาติ คือธรรมจักรที่ล้อมี ๘ ซี่ อันหมายถึง อริยมรรคมีองค์ ๘

แต่ไม่ว่าล้อธรรมจะมีกี่กำ สิ่งที่เหมือนกันทุกโครงสร้างคือ จะต้องเป็นวงกลมแบบไม่มีจุดเริ่มและจุดจบ

.....................................................................

อ้างอิงเรื่องและรูป

พุทธทาสภิกขุ วิธีชนะความตาย ธรรมสภา ๑/๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ ๑๐๑๗๐

พุทธทาสภิกขุ ภาพพุทธประวัติหินสลัก ธรรมสภา ๑/๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ ๑๐๑๗๐

ดร.อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน พุทธศาสน์ แนวปฏิบัติเพื่อชีวิต สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ๔๔๑๕๐

หมายเลขบันทึก: 289642เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2009 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2013 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ธุค่ะ..

มาเก็บตวงเอาความรู้ "วงล้อธรรม" ค่ะ ^^

ขอบพระคุณนะคะ..

มาอ่านค่ะ

ได้ความรู้ ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ

*ชอบอาชีพ"แม่บ้าน" เหมือนกัน แต่ตัวเองไม่ค่อยทำเต็มที่นักค่ะ

ขออนุญาตฝาก ธรรมจักร บทกวีของคุณครูเผยแพร่ให้ได้อ่านกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

*ปล. คุณณัฐรดา อยู่ที่ส่วนไหนของชลบุรีนะคะ

ดิฉันเกิดชลบุรีค่ะ

ขอบคุณที่เผยแผ่ความรู้ทางธรรมครับ

-ขอบคุณความรู้ที่มอบให้และภาพที่ไม่ได้พบนะคะขอภาพไปด้วยนะคะอนุโมทนาด้วยค่ะ อิอิ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท