ครูติดแผ่นดินข้าว : ใส่ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดิน


        จากการที่ได้มีโอกาสไปร่วมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรครบทั้ง 9 เวที ใน 9 อำเภอ ของจังหวัดกำแพงเพชรแล้ว  สิ่งที่ได้พบเห็นและเรียนรู้จากโครงการขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าวในปี 2552 บางส่วนที่พอจะน่าเชื่อถือได้  จากการสังเกต  สอบถาม  และการบอกเล่าด้วยตัวเกษตรกรเองก็คือ  เกษตรกรส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด  เมื่อได้มาร่วมเวทีการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน  และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประเด็นการลดต้นทุนด้วยการใส่ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินแล้ว  ล้วนมีความยินดี  พอใจ  และเห็นว่ากิจกรรมนี้มีประโยชน์ต่อตนเองมาก

         บางพื้นที่ถึงกับจะขอนัดชาวนาทั้งหมู่บ้าน แล้วให้ผมไปช่วยแนะนำให้ด้วย  ผมก็ไม่ปฏิเสธ แต่ขอให้กลุ่มขยายผล 10 คนนี้นำข้อมูลและความรู้นี้ไปใช้ให้ได้ผลก่อนถึงน่าจะดีกว่า  เมื่อมีคนนำร่องและได้ผลแล้วในพื้นที่ จึงค่อยขยายผลอีกครั้ง  ทีนี้ละก็คงจะไม่ยากเย็นอะไร

         ในเวทีหลักวิชานี้  แม้จะดูว่าง่าย แต่ก็ไม่ง่าย  เพราะมีปัจจัย หรือตัวแปรต่างๆ ที่มาเกี่ยวข้องมากมาย  ที่ล้วนส่งผลต่อความสำเร็จของกิจกรรมนี้ เช่น

  • การวัดค่าพิกัดของแปลง  ซึ่งต้องฝ่าด่านของตัวเครื่องที่ไม่ได้มีอยู่ครบทุกอำเภอ 
  • เมื่อได้ค่ามาแล้วก็ต้องรอผลการตรวจสอบว่าเป็นดินชุดไหน อันนี้ก็ใช้เวลามากน้อยกำหนดไม่ได้  ผมต้องแก้ตัวในทุกพื้นที่ที่ไปจัดเวที
  • การเก็บตัวอย่างดิน  นอกจากเก็บไม่ถูกต้องแล้ว  ไม่เก็บนี่ก็เจอเยอะเหมือนกัน
  • ฯลฯ

        แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร  อย่าไปเครียดกับปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้  มองเชิงบวก  ทำเท่าที่ทำได้กันดีกว่านะครับ

       ผมก็พยายามออกแบบ เก็บและอธิบายข้อมูล-การปฏิบัติไปพร้อมกัน และก็เพิ่งจะได้ใช้กับกลุ่มแรกเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง คือกลุ่มของอำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี  ที่เราได้ข้อมูลเกือบครบและได้ใช้อธิบายในเวทีนี้ได้อย่างดี  และเกษตรต่างเข้าใจและเห็นข้อมูลของตนเองว่าหากจะใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมนั้นจะใส่ประมาณไหน (เกษตรกรต้องดูคู่มือประกอบ)  หน้าตาของข้อมูลที่ใช้อธิบายก็จะเป็นดังภาพด้านล่างนี้ครับ

 

บันทึกการวิเคราะห์ดินตามโครงการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าวปี 2552  
ขาณุวรลักษบุรี   จังหวัดกำแพงเพชร  
ที่ ชื่อ - สกุล ผลการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหาร พิกัดที่ตั้งแปลง ชื่อชุดดิน สูตรปุ๋ยแนะนำ
    pH N P K X Y   ตามคู่มือฯ
1 นายประหยัด  นันทา 5.4 ต่ำ ต่ำมาก ต่ำมาก 566097 1781836 ร้อยเอ็ด  8 - 2 - 5
2 นายเชน  อภัยเผื่อน 5.6 ต่ำ ต่ำ ต่ำมาก 568541 17811782 ร้อยเอ็ด  8 - 2 - 5
3 นายสมพร  โลโต 5.3 ต่ำ ต่ำมาก ต่ำมาก 569390 1872398   รอชุดดิน
4 นายเชาว์  อภัยเผื่อน 5.3 ปานกลาง ต่ำมาก สูง 568541 17811782 ร้อยเอ็ด  6 - 2 - 0
5 นายรวบ  อินทร์เยี่ยม 6.4 ต่ำ ปานกลาง ต่ำมาก 569328 1782408   รอชุดดิน
6 นายชา  อภัยเผื่อน 5.4 ต่ำ ต่ำมาก ต่ำมาก 568515 1782025 ร้อยเอ็ด  8 - 2 - 5
7 นายอุบล  พรหมชาติ 5.4 ต่ำ ต่ำมาก ต่ำมาก 570155 1782025 ร้อยเอ็ด  8 - 2 - 5
8 นายพล  จันทศร 6.1 ต่ำ ต่ำ ต่ำมาก 569536 1781487 ร้อยเอ็ด  8 - 2 - 5
9 นางนิลพรรณ  พาลุ้ง 4.9 ต่ำ ต่ำมาก ต่ำมาก 570251 1781418 ร้อยเอ็ด  8 - 2 - 5
10 นายจำนงค์  กิจการ 4.9 ต่ำมาก ต่ำมาก ต่ำมาก 568180 1780703 เพชรบุรี  10 - 3 - 4
11 นายสมศักดิ์         570251 1781418 ร้อยเอ็ด  
                   

( ดินของกลุ่มนี้วิเคราะห์โดยกรมพัฒนาที่ดิน)

     ผมกำลังนำข้อมูลลงบันทึกตามแบบฯ  เลยขอนำมาแลกเปลี่ยน  ท่านใดสนใจก็คลิกที่นี่ครับ http://gotoknow.org/file/yutkpp/soilkpp2.xls

 

หมายเลขบันทึก: 289268เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2009 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 09:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • น่าสนใจมาก
  • เป็นประโยชน์แก่เกษตรกร
  • แต่เกษตรฯ
  • ต้องทำงานหนักเป็นหลายเท่าเลยนะครับพี่
  • สบายดีไหมครับ

สวัสดีครับน้องสิงห์ อย่าทิ้งการสร้างความเข้าใจให้เกษตรกรรู้ถึงเล่ห์เหลี่ยมของนายทุน หุ้นส่วนข้ามชาติ ที่มากว้านซื้อที่นาจากชาวบ้านครับ 

  • สวัสดีครับพี่สิงห์ป่าสัก
  • แหมบันทึกนี้มาส่งท้ายปิดเล่มหนังสือรวมบันทึกเรื่องเล่าพอดี พรุ่งนี้ก็คงได้เห็นเล่มเต็มครับ
  • ขอบคุณมากเลยนะครับ สำหรับบันทึก "ครูติดแผ่นดินข้าว" ทุกบันทึกของพี่

สวสดีครับ พี่สิงห์ป่าสัก

เป็นกิจกรรมที่ดีมากครับ ดินเป็นหัวใจของการเพาะปลูก

ใส่ปุ๋ยตามความต้องการของดินและพืช ได้ประโยชน์ น่าส่งเสริมจริงๆครับ

  • สวัสดีค่ะ....พี่สิงห์ป่าสัก
  • กิจกรรมดีมากเลยค่ะ  การเพาะปลูกเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเกษตรกรอย่าเราค่ะ
  • ขอบคุณมากที่พี่ส่งหนังสือให้ ได้รับเรียบร้อยแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะท่านสิงห์สุดเท่ห์

ชื่นชมกิจกรรมนี้ค่ะ อมยิ้มและขอสนับสนุน

คห.พี่บังวอญ่าค่ะ จุดยืนชัดเจน:) เหมือนกันค่ะ

เกษตรกรคือปชช.รากหญ้าส่วนใหญ่ในประเทศ สำคัญหลายๆ ขอบคุณค่ะ

 

 

P 

  • สวัสดีครับ อ. ขจิต ฝอยทอง
  • ขออภัยที่ตอบความคิดเห็นช้า
  • ไป กทม.มาครับ
  • ไปสรุปผลและนำเสนอการทำงานโครงการนี้
  • อาจารย์สบายดีนะครับ
  • ขอบคุณครับ

P

  • สวัสดีครับท่าน วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
  • ชาวบ้านเขาเข้าใจและหนักใจเรื่องนี้
  • แต่ไม่รู้ว่านัก....ทั้งหลายเขาจะกลัวหรือเปล่าก็ไม่รู้
  • อิอิ

P

  • สวัสดีครับน้อง วิศรุต
  • ขออภัยที่สรุปให้ไม่ทัน
  • เอาเป็นว่าให้เก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุดก่อน
  • วันที่ 28 ไปกำแพงแน่นอนนะครับ
  • ขอบคุณครับ

P 

  • สวัสดีครับท่านเจษฎา
  • เสียดายที่หลายจังหวัดไม่ได้เข้าร่วมโครงการ
  • ปีต่อๆ ไปคงขยายผลไปนะครับ
  • เป็นกิจกรรมที่นักส่งเสริมยุคนี้ควรได้เรียนรู้เพิ่มเติม
  • ขอบคุณครับ

P

  • สวัสดีครับคุณสารินี ไกรพจน์
  • อ่านแล้วมีข้อเสนอแนะบ้างไหมครับ
  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนเสมอ

P

  • สวัสดีครับคุณ .poo
  • ผมทำงานโครงการนี้อย่างมีความสุขครับ
  • ชาวบ้านต่างได้เรียนรู้และรู้จักแปลงนาของตนเองมากยิ่งขึ้น
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท