ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ชาติไทย


ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ชาติไทย

ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ชาติไทย

ประวัติศิลปะไทย
         ศิลปะไทย เป็นศิลปะประจำชาติของชาวไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษสมัยอดีตกาลได้เปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลและสมัยนิยมของแต่ละยุค เช่น อิทธิพลของอินเดียที่เข้ามาพร้อมกับ พุทธศาสนาดินแดนนี้นามว่าสุวรรณภูมิเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์จนได้ชื่อว่าเมืองทองดังกล่าว จากหลักฐานการสร้างสรรค์ของมนุษย์ในดินแดนไทยแบ่งได้ 3 ยุค คือ
         1.1 ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานการศึกษาศิลปวัฒนธรรม ได้แก่
              1) ยุคหินเก่า ระยะเวลาประมาณห้าแสนปีถึงห้าหมื่นปี พบเครื่องมือหิน ที่จังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย น่าน และลพบุรี เครื่องมือหินที่พบได้แก่ ขวานหินกะเทาะจากก้อนหินอย่างหยาบๆ
              2) ยุคหินกลาง ระยะเวลาประมาณหนึ่งหมื่นปีถึงห้าพันปี พบเครื่องมือหินกะเทาะในท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลพบุรี สระบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี เครื่องมือมีความประณีตงดงามมากขึ้นกว่าเดิม
              3) ยุคหินใหม่ ระยะเวลาประมาณห้าหมื่นปีถึงห้าพันปี พบเครื่องมือหินอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยรวมกันเป็นหมู่บ้าน บนหินใกล้แหล่งน้ำ รู้จักทำขวานหินให้ประณีตงดงาม รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องประดับ เครื่องประกอบพิธีกรรมต่างๆ นักโบราณคดีบางท่านให้ความเห็นว่ามนุษย์ยุคหินใหม่ในประเทศไทย คือ บรรพบุรุษของคนไทยเราในปัจจุบัน เครื่องมือที่พบ ได้แก่ ปลายหอก กำไลทำด้วยหิน หม้อหุงข้าว ภาชนะใส่อาหาร มีลวดลายเชือก ลายเสื่อ และลายจักสาน เป็นต้น
              4) ยุคโลหะ ระยะเวลาประมาณแปดพันปีถึงสองพันปีพบเครื่องโลหะและเครื่องดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี มีอายุประมาณเจ็ดพันปีเศษ ที่พบมากในประเทศไทย ได้แก่ กลองมโหระทึก อาวุธ เครื่องใช้ และเครื่องประดับ
                                               
                          ภาพที่ 2.1 เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
            พบภาพเขียนสีและภาพแกะสลักผนังถ้ำ ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคนี้ เช่น ถ้ำเขาเขียว ภาคกลางพบที่จังหวัดกาญจนบุรี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุดรธานี และทางภาคใต้พบที่จังหวัดพังงาเป็นต้น
           ภาพเขียนและภาพแกะสลักบนผนังถ้ำ(Cave arts) ถือเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดเป็นวัฒนะธรรมการสร้างอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สีที่ใช้จะเป็นสีของดิน ได้แก่ สีแดง สีเหลือง และสีดำ เขียนเป็นภาพสัตว์ ลายเลขาคณิต และภาพคน
       1.2 ยุคก่อนประวัติศาสตร์ชาติไทย  แบ่งตามหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ดังนี้
               1) ศิลปะรุ่นเก่า จากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากอินเดียมายังดินแดนสุวรรณภูมิบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ศิลปะและวัฒนธรรมทางศาสนามีผู้นำเข้ามา เช่น พระพุทธรูปขนาดเล็กหล่อด้วยสำริด เป็นศิลปะอมราวดี และพระพุทธศิลปะคุปตะของอินเดีย จึงเข้าใจว่าเป็นตัวอย่างในการสร้างพระพุทธรูป
               2)  สมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๘)  ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 แว่นแคว้นในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะทั้งหมด ได้รวมเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน รู้จักกันในชื่ออาณาจักรศรีวิชัยอาณาจักรศรีวิชัยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ใดยังไม่มีข้อยุติ แต่เชื่อว่าคงจะอยู่บริเวณเมืองไชยา เพราะมีหลักฐานศิลปสมัยศรีวิชัยปรากฏอยู่ค่อนข้างชัดเจน แต่นักโบราณคดีบางท่านเห็นว่าศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัยอยู่เมืองปาเลมบัง ในเกาะสุมาตรา อย่างไรก็ตามอาณาจักรศรีวิชัย เป็นอาณาจักรที่มีอำนาจทางด้านการเมืองและการปกครองที่มั่นคง มีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่โตครอบคลุมหมู่เกาะต่าง ๆ และคาบสมุทรมลายูทางตอนใต้ถึงเมืองไชยา ศรีวิชัย คงเป็นคนกลางในทางการค้า โดยทำหน้าที่ดูแลควบคุมการขนถ่ายสินค้า จัดการเดินเรือเสียใหม่ให้ผ่านช่องแคบมะละกา เชื่อมโยงเส้นทางการเดินเรือจากมหาสมุทรอินเดีย (ทางตะวันตก) กับทะเลจีน (ทางตะวันออก) เส้นทางเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกามีความสะดวกมากกว่าการขนถ่านสินค้าข้ามคาบสมุทร ผลการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการค้าครั้งนี้ ทำให้คนกลางศรีวิชัย มีความมั่งคั่งมากขึ้น เป็นการผูกขาดการค้าทางทะเล จนกระทั่งกลายเป็นมหาอำนาจทางทะเลในแถบนี้ เมืองตะโกลาสมัยนั้นเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่งในความควบคุมดูแลของศรีวิชัย โดยทำหน้าที่เป็นเมืองพักเรือ สินค้าและศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้า ก่อนที่จะส่งไปยังตะวันออกคือจีน โดยผ่านช่องแคบมะละกา หรือส่งต่อไปยังตะวันตกคือ อินเดีย อาหรับ เป็นต้น

                 ศิลปะศรีวิชัย บริเวณหมู่เกาะชวา มาเลเซีย และตอนใต้ของไทย ปัจจุบันคือ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ศิลปวัตถุได้รับอิทธิพลต่อเนื่องจากชวาเป็นสำคัญ เช่น พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด เป็นต้น
             ศิลปะสมัยศรีวิชัยเป็นศิลปะที่พบทางภาคใต้
  ซึ่งในสมัยศรีวิชัยมีการนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานเป็นส่วนใหญ่  จึงพบงานประติมา-กรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาแบบมหายาน 
เช่น   การสร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร   พระพุทธรูปรุ่นแรกๆที่พบมีอิทธิพลของศิลปะ อมราวดีและศิลปะคุปตะจากอินเดียปะปนอยู่ ต่อมาจึงมีลักษณะพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น  และในตอนปลายช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑ ๘  ได้มี อิทธิพลของศิลปะเขมรเข้ามาปรากฏ เช่น  พระพุทธรูปนาคปรก  พบที่เมืองไชยา  หล่อขึ้น ใน พ.ศ. ๑๗๒๖ 
                 การแต่งกายของชาวศรีวิชัย ซึ่งอาศัยอยู่ในแหลมมาลายู เกาะสุมาตตราและชวา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-17 ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอินเดีย กรมศิลปกร ได้จัดเครื่องเเต่งกายเลียนเเบบประติมากรรม ที่พบในสมัยนี้สมมติ เป็นชาวศรีวิชัยฐานะ ต่างๆ ถือดอกไม้ ธูป เทียน เดินทักษิณาวัฏรอบองค์พระบรมธาตุไชยา อันเป็นปูชนียสถาน ที่สำคัญ ในสมัยนั้น                        
            การแต่งกายของสตรี นิยมเกล้าผมยาวทำเป็นรูปพุ่มทรงข้าวบิณฑ์สามกลีบ แล้วเกล้าผมสูงเป็นลำขึ้นไป รวบผมด้วยรัดเกล้า ปล่อยชายปรกลงมาด้านหน้า บางทีทำทรงผมมุ่นมวยเป็นทรงกลมเหนือศรีษะ แต่ใช้รัดเกล้า รัดเป็นชั้นๆ แล้วปล่อยชายผม ให้ประบ่าทั้งสองข้าง ผู้หญิงสมัยนี้ชอบตกแต่งด้วยต่างหูแผ่นกลม จำหลักเป็น กลีบดอกไม้ขนาดใหญ่บ้างทำเป็นลายเชิงกรวยหรือก้านต่อ ดอกบ้าง ตบแต่งลำคอด้วยกรองคอเส้นเกลี้ยง มีทับทรวงประบ่า ลำแขน ประดับด้วยทองกร หรือพาหุรัดทำด้วยโลหะลูกปัด ร้อยเป็นพวงอุบะ นุ่งผ้าครึ่งแข้ง มีปลายบาน ยกขอบก็มี ที่นุ่งผ้าผืนยาวบางแนบเนื้อ คล้ายของผู้ชายก็มี ขอบผ้าชั้นบนทำเป็นวงโค้ง เห็นส่วน ท้องบางทีมีเข็มขัดผ้า ปล่อยชายลงไปทางด้านขวา นิยมใส่กำไรมือและเท้า
            อิทธิพลของศิลปะศรีวิชัยที่ปรากฏในประเทศไทย คือการสร้างพระพุทธรูปและพุทธเจดีย์ เช่นพระมหาธาตุเมืองไชยา พระมหาธาตุเมืองนครศรีธรรมราช มรดกทางวัฒนธรรม ดินแดนประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมสมัยศรีวิชัยที่แผ่เข้ามาทางตอนใต้ สิ่งที่รับสืบทอดต่อมาคือ การนับถือพุทธศาสนาและการสร้างพระพุทธรูปศิลปะสมัยศรีวิชัยที่มีลักษณะสวยงาม
  ด้านเศรษฐกิจ มีรูปแบบการค้าแบบพ่อค้าคนกลางระหว่างชาวตะวันตกเช่น อินเดีย เปอร์เชียโรมันและอาหรับกับชาวตะวันออก เช่นจีน จามปา เขมร รวมทั้งอาณาจักรทวารวดี ในภาคกลางของไทยลักษณะพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย องค์พระมักอวบอ้วนกว่าสมัยทวารวดี คือคล้ายพระพุทธรูปอินเดียครั้งราชวงศ์ปาละมากกว่าราชวงศ์คุปตะ  พระเกตุมาลา เป็นต่อมสั้นคล้ายสมัยทวารวดีแต่ขมวดพระเกตุเล็กละเอียดกว่าสมัยทวารวดี โดยมากมีไรพระศกแต่ถ้าไม่มีไรพระศกมักมีอุณาโลมในระหว่างพระโขนง  และมีใบโพธิ์ติดที่พระเกตุมาลา พระนลาตเรียบ  พระโขนงโด่ง พระพักตร์แบนเหมือนสมัยทวารวดี แต่พระหนุไม่ป้านเหมือนสมัยทวารวดี พระโอษฐ์ไม่แบะ พระชายสังฆาฏิมีทั้งอย่างสั้นอยู่เหนือพระถันและยาวลงมาถึงพระนาภี บัวรองฐานกลีบใหญ่มีส่วนกว้างมากกว่าของสมัยทวารวดี กับมีกลีบเล็กแซมตั้งแต่ 1-3 กลีบ เกสรละเอียดพระหัตถ์และพระบาทมักทำได้ส่วนกับพระองค์ ไม่ใหญ่เหมือนสมัยทวารวดี ถ้าเป็นพระนั่งโดยมากมีเรือนแก้วด้วย แต่ต่างกับสมัยทวารวดี ซึ่งมักทำเป็นเก้าอี้ สมัยนี้มักทำเป็นรูปใบโพธิ์และมียอดเป็นฉัตร ถ้าเป็นพระยืนบางทีไม่มีชายจีวรเลย ที่มีชายจีวรสองข้างและข้างเดียวเหมือนสมัยทวารวดีก็มี

          ศิลปกรรมศรีวิชัยได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย สมัยราชวงศ์คุปตะ และราชวงศ์ปาละ-เสนะตามลำดับ ศิลปกรรมส่วนใหญ่พบแต่รูปเคารพทั้งในพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ส่วนอาคารโบราณสถานพบน้อย ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะสถูปเจดีย์ ซึ่งนิยมสร้างเป็นสถูปหินซ้อนเป็นชั้นๆ ตอนบนเป็นสถูปขนาดเล็ก สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถูปศรีวิชัยได้รับการสืบทอดบนเกาะชวาที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ พระมหาสถูปเจดีย์บุโรพุทโธ ศิลปวัตถุที่พบทางภาคใต้ของไทย  คล้ายของชวา ส่วนใหญ่นิยมสร้างแบบมหายาน ประติมากรรมส่วนใหญ่เป็นการปั้นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์สำคัญของลัทธินี้ องค์ที่พบที่ไชยานับว่าเป็นพุทธปฏิมากรชิ้นเอกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และมีพระพุทธรูปมารวิชัยนาคปรก พบที่วัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

            ลักษณะพระพุทธรูปได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะอินเดียคือ  ศิลปะอมราวดี  ศิลปะคุปตะ   ศิลปะหลังคุปตะ  และศิลปะปาละ ที่ มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่   ศิลปะคุปตะ   เช่น   การครองจีวรห่มคลุม  จีวรเรียบไม่มีริ้ว   การยืนเอียงตนแบบตริภังค์  คือ  การยืนเอียงตน  ทั้ง ๓ ส่วน ได้แก่  พระอังสา (ไหล่)  พระโสณี  (สะโพก)  และพระชงฆ์ (ขา)  ต่อมาได้พัฒนารูปแบบให้เป็นแบบพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น  เช่น  พระพักตร์กลมแป้น  พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา  พระนาสิกแบน   พระโอษฐ์หนาแบะ  พระพุทธรูปประทับยืนตรง  ไม่ทำตริภังค์   และนิยมแสดงปางวิตรรกะ (ทรงแสดงธรรม) ทั้ง ๒ พระหัตถ์   อันเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นในศิลปะทวารวดีโดยเฉพาะ นอกจากนั้น  ยังได้พบพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิที่นิยมขัดสมาธิราบอย่างหลวมๆ (พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย   เห็นฝ่าพระบาทเพียงด้านเดียว)     อันมีที่มาจากอิทธิพลของศิลปะอมราวดี  ต่อมามีอิทธิพลของศิลปะปาละเข้ามา  เช่น  การทำ พระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร (การนั่งขัดสมาธิที่เห็นฝ่าพระบาททั้ง ๒ ข้าง)  ในช่วงสุดท้ายของศิลปะทวารวดีมีอิทธิพลของศิลปะเขมรเข้ามาปะปนอยู่ด้วย  ก่อนที่ศิลปะทวารวดีจะค่อยๆ เสื่อมไป  และมีอิทธิพลของศิลปะเขมร เข้ามาแทนที่    

                อาณาจักรศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ในบริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฏศิลปะในพุทธศาสนาจำนวนมาก นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานการนับถือศาสนาพราหมณ์จากอินเดียเช่นเดียวกัน ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัย แผ่เข้ามาทางตอนใต้ของประเทศไทย ดังเช่น พระบรมธาตุไชยา เป็นเจดีย์เหลี่ยมทรงมณฑปและเจดีย์ศรีวิชัยที่วัดแก้ว ที่เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนตอนบนของประเทศไทยคือมณฑปเจดีย์วัดเจ็ดแถวที่สวรรคโลก เจดีย์ในวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัยและเจดีย์องค์เล็กในวัดพระธาตุหริภุญชัย ลักษณะเจดีย์เป็นครึ่งวงกลมหรือทรงระฆังตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมเตี้ยๆ มีรูปช้างที่ฐานโดยรอบ ตามความเชื่อของลัทธิลังกาเชื่อว่าช้างเป็นผู้ค้ำจุนจักรวาล   
          ด้านประติมากรรม มีพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียง คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พบที่วัดมหาธาตุ อำเเภอไชยา
                          
                                           ภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

             มีพระพิมพ์ดินดิบปางต่างๆ พระพิมพ์ติดแผ่นเงินแผ่นทอง ทางด้านศาสนาพราหมณ์ได้แก่ เทวรูปพระอิศวร พระอุมา เทวรูปทรงพระมาลาแขก เทวรูป พระนารายณ์ทรงครุฑ เครื่องมือเครื่องใช้มีเครื่องปั้นดินเผาทำเป็นภาชนะหม้อไหใช้สีเขียนลวดลายและทำเป็นแบบลูกจันทน์นูนขึ้นประดับลวดลายอื่นๆ มีลูกปัดทำเครื่องประดับ มีเงินกลมใช้เรียกว่า นะโม และเงินเหรียญชนิดหนาใช้แลกเปลี่ยน ซึ่งมีตราดอกจันทน์อยู่ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งมีตัวอักษรสันสกฤตเขียนว่า วรประดับอยู่

            3) ศิลปะทวารวดี  อาณาจักรทวารวดี เจริญรุ่งเรืองขึ้นในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 และได้แผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่รับมาจากอินเดียไปทั่วทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะความเชื่อทางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท  คำว่า ทวารวดี ปรากฏในบันทึกการเดินทางของภิกษุจีนรูปหนึ่ง และได้เทียบคำว่า อาณาจักร โต-โล-โป-ตี้ หรือ ตว้อ-หลอ-ปอ-ตี้ ตามสำเนียงจีน ว่า ตรงกับคำว่า  อาณาจักร ท-วา-ร-ว-ดี บันทึกการเดินทางของภิกษุจีน ซึ่งบันทึกไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 13 หรือเมื่อประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว กล่าวว่า เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร
(ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า)และอาณาจักรอิศานปุระ  อยู่ในประเทศกัมพูชา ดังนั้นอาณาจักรทวารวดีจึงตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันจากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ประชาชนของทวารวดีเป็นชาวมอญ อพยพมาจากแถบตะวันตกของจีนลงมาทางใต้ตามลำน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน เข้าสู่พม่าตอนล่าง และดินแดนลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 6
          อาณาจักรทวารวดี อยู่พุทธศตวรรษที่
11 – 16  ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดที่พบศิลปวัตถุ ได้แก่ สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี ราชบุรี และนครปฐม ราชธานีของอาณาจักรทวารวดีไม่ทราบแน่ชัดแต่สันนิษฐานจากหลักฐานทางโบราณคดีเชื่อว่าน่าจะเป็นนครปฐม
        การแต่งกาย   ของบุคคลสมัยทวารวดี พิจารณาจากภาพประติมากรรมตกแต่ง โบราณสถานต่างๆ ซึ่งกรมศิลปกร ขุดได้จากตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรีและ อำเภอ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมของทวารวดี มีลักษณะคล้ายคลึง กับวัฒนธรรมของชาวอินเดีย
                             
               การแต่งกายที่กรมศิลปกรจัดทำขึ้นจาก แบบอย่างประติมากรรมในชุดนี้ แสดงให้เห็น ตอนนำเครื่องสักการะ ไปบูชาพระพุทธรูป สตรีชาวทวารวดีส่วนใหญ่ทำผมเกล้ามวย หรือถักเปียเป็นจอมสูงขึ้นไปเหนือศรีษะ รัดตรงกลาง ให้ตอนบนสยายออก เป็นแฉกๆ อย่างน่าชม บางครั้งก็พบว่าถักเปียจัดเรียงเป็นเส้นลงมา เป็นกรอบวงหน้า นิยมประดับ ด้วยต่างห ูทำเป็นแผ่นกลมหรือห่วงกลม ตกแต่งส่วนคอด้วย สายสร้อย ทำเป็น แผ่นทับทรวง เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูน จำหลักเป็นลวดลายนก ไม่นิยม การสวมเสื้อ ใช้ผ้าสะพายเฉียงบางๆ เฉวียงบ่าซ้ายไพล่ มาข้างขวา ประดับต้นแขน ด้วยกำไรเล็กๆ ซึ่งทำด้วยทองคำสำริดและลูกปัดมีค่าสีต่างๆ ไม่สวมรองเท้า นุ่งผ้าผืนเดียวทับซ้อนกัน ข้างหน้า แล้วทิ้งชายแนบลำตัว      
                  ศิลปกรรมประติมากรรมระยะแรกเลียนแบบศิลปะอินเดีย ต่อมาจึงดัดแปลงเป็นฝีมือช่างพื้นเมือง ส่วนใหญ่เป็นศิลาจำหลักและลายปูนปั้น มีทั้งพระพุทธรูป เสมาธรรมจักร รอยพระพุทธบาท พระพิมพ์ และลายปูนปั้นแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ส่วนอาคารสร้างด้วยอิฐนาดใหญ่ และศิลาแลงประดับลายปูนปั้น ชาวทวารวดีเป็นพุทธมามกะที่เคร่งครัด มีการสร้างพระพุทธรูปเพื่อการเคารพ
บูชาเป็นจำนวนมาก ลักษณะพระพุทธรูปสมัยนี้ คือรูปร่างองค์พระสะโอดสะองพระอังสะใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก จีวรบางแนบติดองค์  พระพักตร์แบนบ่งความเป็นท้องถิ่น คือขมวดพระเกศาใหญ่
พระพักตร์กว้าง พระขนงโค้งติดกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์หนา พระพุทธรูปมักเป็นท่าประทับยืนตรง พระหัตถ์มักอยู่ในกิริยาแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์ 

                แบบประทับนั่งสมาธิและแบบนั่งห้อยพระบาททั้งสองข้างคล้ายนั่งเก้าอี้  ส่วนใหญ่มักสร้างด้วยศิลา มีชิน (หมายถึง โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก นิยมใช้ทำพระเครื่อง) บ้างก็มีแต่องค์เล็ก นอกนั้นที่พบมักเป็นรูปธรรมจักรมีกวางหมอบอยู่ข้างล่างด้านหน้า พระพุทธรูป มีทั้งสลักจากหินทำด้วยดินเผา และหล่อด้วยสำริด สมัยแรกทำตามอย่างอินเดียอย่างมาก  ต่อมาผสมผสานอิทธิพลพื้นเมืองจนเป็นแบบเฉพาะของทวารวดี ธรรมจักรและกวางหมอบ  สลักจากหิน แสดงถึงปฐมเทศนาพระพิมพ์ พบมากเช่นกัน  สร้างขึ้นเพื่อสืบอายุพระศาสนา พบคล้ายคลึงกันในเมืองโบราณทุกแห่ง ทุกภาคของประเทศ ประติมากรรมสมัยนี้ได้รับอิทธิพลอินเดียสมัยคุปตะ ซึ่งเจริญแพร่หลายทางภาคกลางและตะวันตกของอินเดียระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10-11  จนถึงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-13  ซึ่งสมัยคุปตะเป็นสมัยที่เจริญสูงสุด เรียกว่า คลาสสิกของอินเดีย
          ด้านสถาปัตยกรรมยังไม่รู้ลักษณะที่แน่นอนเนื่องจากหลักฐานที่เหลืออยู่น้อย คือ มักจะเหลือ
แต่บริเวณฐานหรือถูซ่อมแซมมาหลายสมัย เช่น เจดีย์วัดจามเทวี(วัดกู่กุด) จังหวัดลำพูนที่อาจจะเป็น
เจดีย์ปลายสมัยทวารวดีแต่มีหลักฐานเกี่ยวกับรูปแบบเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่ในรูปเจดีย์จำลอง หรือ
สลักอยู่ในประติมากรรมนูนสูงสถูปเจดีย์ เหลือแต่ฐาน ส่วนบนพังทลายหมด แผนผังฐานรูปสี่เหลี่ยม
จัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดยื่นเป็นทางขึ้นลงทั้งสี่ด้าน ที่ผนังฐานทั้งสี่จะใช้ปูนปั้นหรือดินเผา
หุ้มประดับเป็นภาพเล่าเรื่องนิทานชาดกในพระพุทธศาสนา บางครั้งมีรูปเทวดาหรือคนแคระแบก
จากองค์สถูปจำลองที่พบสันนิษฐานว่า 

           โบราณสถานจริงนั้นเหนือฐานขึ้นไปคงก่ออิฐเป็นห้องสี่เหลี่ยมหรือมีองค์ระฆังทรงกลมอยู่ตอนบนเหนือขึ้นไปเป็นแผ่นวงกลมซ้อนขึ้นไปเป็นรูปเรียวสอบ สถูปเจดีย์สร้างด้วยอิฐแผ่นขนาดใหญ่ เนื้ออิฐมีแกลบปนอยู่มากเป็นเอกลักษณ์ การสร้างไม่ใช้ปูนเชื่อมอิฐแต่ละแผ่น  แต่จะใช้ดินเนื้อละเอียดบาง ๆ  ที่ผสมยางไม้เชื่อมแทนรูปแบบสถาปัตยกรรมและประติมากรรมอาณาจักรทวารวดีล่มสลายลงประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 16  เนื่องจากเขมรได้ขยายอำนาจการปกครองเข้ามายังบริเวณภาคกลางของประเทศไทย  มรดกทางวัฒนธรรม ด้านวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ได้แก่ การทำบุญในโอกาสต่างๆ การบวช คติความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ การสร้างพระพิมพ์และพระพุทธรูป วัฒนธรรมสมัยทวารวดี ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นและทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการหลอมรวมและผสมผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมของชนแต่ละกลุ่มให้มีแกนกลางในการหลอมรวมและผสมผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมของชนแต่ละกลุ่มให้มีวัฒนธรรมเดียวกันคือ วัฒนธรรมทางพุทธศาสนา ”  

 

        เช่น ธรรมเนียมการบูชาพระบรมธาตุแพร่หลายมากในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานจากการสร้างเสมา อันเป็นศิลปะสมัยทวารวดี แสดงการสลักภาพสถูป ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การบูชาพระธาตุ การสร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน การสร้างเจดีย์โดยใช้อิฐดินเผาเป็นวัสดุก่อสร้างและฉาบด้วยปูนซีเมนต์ นอกจากนั้นศิลปะด้านประติมากรรมยังมีการสืบทอดการสร้างพระพุทธรูป และการทำลวดลายปูนปั้นเป็นรูปคน ยักษ์ และสัตว์ต่างๆ เพื่อประดับตกแต่ง ศาสนสถานให้ดูสวยงาม

                  4)  ศิลปะสมัยลพบุรี  สมัยลพบุรีเป็นชื่อสมมุติเพื่อใช้เรียกสมัยทางวัฒนธรรมสมัยหนึ่งที่วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะคล้ายวัฒนธรรมขอมหรือเขมรในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ จนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ "สมัยลพบุรี"จัดว่าเกิดขึ้นร่วมสมัยและสืบต่อจากวัฒนธรรมทวารวดี ปัจจุบันอาจเรียกชื่อได้ต่างๆกันตามเหตุผลของนักวิชาการซึ่งส่วนมากมักใช้รูปแบบศิลปกรรมที่เกิดขึ้นเป็นตัวกำหนด ดังนี้
       ศิลปะเขมรพันตรีลูเนต์ เดอ ลาจองกิเยอร์ ( Lunet De Lajonquiere) ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้เรียกเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ ด้วยเหตุผลว่าศิลปโบราณวัตถุสถานที่พบนั้นมีลักษณะที่คล้ายหรือเหมือนกับศิลปะเขมรในประเทศกัมพูชามาก ต่อมาคำนี้ได้ถูกนำมาเรียกใช้อีกครั้งโดยด.ร.พิริยะ ไกรฤกษ์ (พ.ศ. ๒๕๒๐ ) เพื่อคัดค้านคำเรียกศิลปะสมัยนี้โดยนักวิชาการบางท่านว่าศิลปะสมัยลพบุรี
        ศิลปะสมัยลพบุรีกำหนดขึ้นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. ๒๔๖๗ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและศ.ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) ผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรจารึกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวฝรั่งเศส ที่เชื่อว่าเมืองลพบุรีเป็นเมืองสำคัญในระยะเวลาที่เขมรแพร่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนไทย และเพื่อต้องการหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงเชื้อชาติเพื่อขจัดปัญหาทางการเมืองในยุคแสวงหาอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกในระยะนั้น คำว่า"ศิลปะสมัยลพบุรี" เป็นที่ยอมรับและถูกนำเผยแพร่ต่อมาอย่างกว้างขวางโดยหม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ผู้เป็นโอรส (พ.ศ. ๒๕๑๐) โดยทรงนิยามคำเพิ่มเติมด้วยว่า "ศิลปะสมัยลพบุรี" หมายถึงโบราณวัตถุสถานขอมที่ค้นพบในประเทศไทย รวมทั้งโบราณวัตถุสถานที่ทำขึ้นในประเทศไทย แต่ทำเลียนแบบศิลปะขอมในประเทศกัมพูชา กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๒๐ หรือตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๒๐
        ศิลปะลพบุรี" และ "ศิลปะขอมหรือเขมรในประเทศไทยเมื่อมีผู้คัดค้านเรื่องเมืองลพบุรี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ยังเป็นเมืองในสมัยวัฒนธรรมทวารวดีอยู่ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเสนอว่า หากไม่เรียกว่า "ศิลปะลพบุรี" โดยตัดคำว่า"สมัย"ออก ก็ควรใช้คำว่า"ศิลปะขอม(หรือเขมร)ในประเทศไทย"แทน เพราะศิลปกรรมแบบเขมรที่พบในประเทศไทยบางแห่งหรือบางชิ้นนั้นแตกต่างและสวยงามกว่าที่พบในประเทศกัมพูชาในสมัยเดียวกัน จึงอาจสร้างขึ้นเลียนแบบโดยคนท้องถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย มิใช่ชาวเขมรทำ
         

หมายเลขบันทึก: 288849เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2009 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

แวะมาอ่านประวัติศาสตร์ ขอบคุณที่ให้ความรู้

ดีมากเลยค่ะ เนื้อหาของคุณนั้นมีสาระมาก ๆ เลย และยังจะนำมาใช้ในการดำรงชีวิตอีกด้วย ดิฉันได้อ่านแล้วรู้สึกว่ามีประโยชน์มากเลยทีเดียว ขอชื่นชมว่าบทความนี้มีประโยชน์มาก (เขียนให้อ่านอีกนะค่ะ)

ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้

ขออนุญาตนำไปประกอบทำสื่อการสอนนะค่ะ

 

แวะมาอ่านเช่นกัน ค่ะ น่าสนใจดีเป็นประโยชน์ ครูมีหนังสือประวัติศาสตร์ดี ๆหลายเล่ม เช่นเรื่องของเพชรบูรณ์น่าสนใจนะคะ

ได้ความรู้ค่ะ

น่าอ่านมากมาย

น่าอ่านมากๆๆๆๆๆๆ ค่ะ

 

ขอเนื้อหาละเอี

ยดกว่านี้นะค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากๆเลยนะคะ

ชอบมากๆๆนำไปใช้ในการเรียนได้ด้วยอ่า

ขอนุญาตินำข้อมูลความรู้ไปใช้จัดกิจกรรมการสอนกับนักเรียนนะครับ

ธีรภัทร 2/14 เลขที่9 วาปีปทุม

ธีรภัทร หลาบมาอ้วน แงง 2/4 โรงเรียนวาปีปทุม

ธีรภัทร หลาบมาอ้วน ชอบyes

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท