ผู้นำชุมชน คนต้นเเบบ


ผู้นำชุมชน

ผมรู้จักผู้นำชุมชน คนหนึ่งที่มีฝันมีไฟในการพัฒนาเเละรักงานศิลปเป็นชีวิตจิตใจ ผมเลยสกัดเป็นความรู้เล็กๆเรื่องประวัติของผู้นำชุมชนคนต้นแบบมาฝากครับ

 

1.           ประวัติ

ชื่อ นายอำนวย  สุทธัง
ชื่อคู่สมรส : นางวรรณา จำนวนบุตร : 2  คน
วันเกิด : 14 ก.พ. 2499
ที่อยู่ : 20 หมู่ที่ 3 บ้าน ปลาขาว ต. ยาง อ. น้ำยืน จ. อุบลราชธานี
รหัสไปรษณีย์ 34260  
การศึกษา :

             การอบรม/ประสบการณ์ : -มหาวิทยาลัยศิลปากร ดูงานด้านศิลปะ

             -เป็นวิทยากรที่ราชภัฏอุบลราชธานี,วิทยาลัยอาชีวอุบลราชธานี

              -ตามสถานที่จัดงาน ด้านศิลปะ ทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด
              ผลงานที่ผ่านมา

               -ผู้นำอาชีพก้าวหน้าดีเด่น ประจำปี 2543

             -2547 เกียรติบัตร เป็นกรรมการตัดสิน การประกวดแห่เทียนพรรษา เทิดไท้ 72 พรรษา มหาราชินี ของจังหวัด อุบลฯ

         2.   การเรียนรู้การผลิต

                                         นายอำนวย   สุทธัง   ประธานศูนย์ศิลปกรรมไทย   ต.ยาง   อ.น้ำยืน   จ.อุบลราชธานี    เปิดเผยถึงแนวคิดการเขียนภาพไทยลงบนผืนผ้าใบกับศูนย์ข่าวประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี   ว่า      เป็นแนวคิดที่ตนเองอยากทำมานานแล้วเพราะเป็นการอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย    โดยแนวคิดภาพไทยที่ได้บรรจงวาดลงบนผืนผ้าใบนั้น   เป็นภาพที่เกี่ยวกับเรื่องราวในวรรณคดีและประเพณีไทย     

           3. กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์

                                 นอกจากนั้นทางกลุ่มยังมีการพัฒนาการเขียนภาพไทยเป็นแบบสมัยใหม่    และแบบย้อนยุค   อาทิ     ภาพไทยในแบบของวิถีชีวิตของชาวนา     การละเล่นต่าง      รวมทั้งภาพไทยในทางพระพุทธศาสนาด้วย   เพื่อให้มีความหลากหลายมากขึ้น    ปัจจุบันตลาดส่งออกภาพไทยของชุมชนบ้านปลาขาวส่วนใหญ่อยู่ในต่างประเทศ    โดยจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อที่กลุ่มแล้วนำไปจำหน่ายให้แก่พ่อค้าชาวต่างชาติต่อไป    ซึ่งราคาของภาพไทยนั้นจะมีราคาตั้งแต่   300   บาทขึ้นไป     จนถึงประมาณ   50,000   -  70,000  บาท   ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเรื่องราวของภาพไทยและความยากง่ายที่วาดลงไปบนผืนผ้าใบด้วย    

สำหรับระบบการทำงานของกลุ่มวาดภาพไทยที่บ้านปลาขาวนั้น   จะแยกเป็นแผนกเพื่อให้คล่องต่อการทำงานและเพื่อความเป็นระบบ     เริ่มตั้งแต่แผนกลงสีพื้นผ้าใบ    แผนกร่างตัวละคร    แผนกลงสีเสื้อผ้า    แผนกลงเครื่องประดับ    และแผนกเก็บรายละเอียด    พนักงานส่วนใหญ่ที่มาวาดภาพไทยที่ศูนย์ศิลปกรรมไทยปัจจุบันมีจำนวนประมาณ   50  คน    ส่วนใหญ่เป็นพนักงานหญิงซึ่งมีความชำนาญและเก็บรายละเอียดได้ดี     โดยมีเวลาทำงานตั้งแต่   08.00  น.  17.00  น.    แต่ในช่วงหน้านาพนักงานเริ่มขาดแคลน  เนื่องจากส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร      ทำให้ในบางช่วงส่งงานไม่ทันตามความต้องการของลูกค้า       

อย่างไรก็ตามในเรื่องของรายได้ของศูนย์ศิลปกรรมไทยนั้นโดยประมาณแล้วจะอยู่ที่    300,000  -  400,000  บาท/เดือน      แต่ในช่วงหลังมีการปฏิรูปการปกครองกำลังการสั่งซื้อภาพไทยจากลูกค้าลดลงประมาณ  40  %   ทำให้ที่ศูนย์ต้องลดจำนวนพนักงานลงด้วย  

 

หมายเลขบันทึก: 287698เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2009 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ผู้นำที่มีผลงานดีเด่นมีมากมายในเมืองไทย จะพยายามนำมาเเลกเปลี่ยนเป็นคลังความรู้ร่วมกันครับ

  • สวัสดีอาจารย์
  • เห็นด้วยที่นำเอาปราชญ์ท้องถิ่นมาเผยแพร่ เพราะนับวันแต่จะหาคนสืบสานต่อยาก
  • ขอบคุณ
  • เชิญชวนทุกคนประกาศให้ทั่วโลกรู้
  • เมื่องไทยมิสิ้นคนดี

สวัสดีครับอาจารย์ศรีกมล ท่านให้เกียรติผมเสมอเลยครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • คนดี มีฝีมือ ที่ควรยกย่อง
  • และเป็นต้นแบบแห่งการเรียนรู้นะคะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

  ฝากไว้ในแผ่นดินอีกท่านหนึ่งครับ

         นายสงวน   บัวเกตุ

            อายุ     62   ปี

            ระดับการศึกษา    มัธยมศึกษาปีที่  6 

            ภูมิหลัง   นายสงวน  บัวเกตุ  เป็นชาวบ้านท่าหลักดินโดยกำเนิด  หมู่ที่  4  ตำบลนาบัว  อำเภอเพ็ญ  จังหวัดอุดรธานี  เดิมชาวบ้านท่าหลักดิน  มีอาชีพทำนาเป็นหลักอาชีพรองคือการทอผ้า  การทอผ้ามัดหมี่ย้อมคราม ชาวบ้านท่าหลักดินได้รับการถ่ายทอดมรดกทางภูมิปัญญา  จากบรรพบุรุษ ราว  150  ปี  โดยประมาณและมีการอนุรักษ์ภูมิปัญญามาจนถึงปัจจุบัน  นายสงวน  บัวเกตุในฐานะผู้นำทางธรรมชาติและผู้นำสังคมโดยตำแหน่งได้มีส่วนสืบทอดสืบสานมรดกทางปัญญาด้านการทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามของบ้านท่าหลักดินร่วมกับคนในชุมชนจนก่อเกิดรายได้และการมีชื่อเสียงและเอกลักษณ์ของบ้านท่าหลักดิน  มาจนถึงปัจจุบัน

การเรียนรู้การผลิต  ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น

            แรงบันดาลใจในการเริ่มเรียนรู้  ด้วยวิถีชีวิตของคุณ  บ้านท่าหลักดินมีความผูกพันกับการทอผ้ามาตลอดกับคนทุกรุ่น  การทอผ้าเดิมเป็นการทอผ้าย้อมครามและทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามไว้ใช้ในครัวเรือน  เหลือใช้เก็บไว้เป็นของฝาก  และทำบุญตามประเพณี  ด้วยความงดงามและการทอผ้าที่มีฝีมือประณีตบรรจง  จึงเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็นจึงขอซื้อเก็บไปไว้ใช้  เป็นจุดเริ่มต้นของการตลาด  เมื่อผ้าในุชุมชนได้ขาย  คนในชุมชนจึงมีแนวคิดในการสืบค้นเรียนรู้ลวดลายดั้งเดิมมาทอใหม่อีกครั้งจนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน

            กระบวนการเรียนรู้การถ่ายทอดเดิมการเรียนรู้ด้านการทอผ้า  การเก็บขิด  การมัดหมี่  การย้อมคราม  มีการสอนกันในครัวเรือนสืบทอดกันต่อมาประมาณปี  2536  ได้มีส่วนราชการ(สำนักงานพัฒนาชุมชน)เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมสนับสนุนด้านการจัดตั้งกลุ่ม  การบริหารจัดการด้านวิชาการ  จึงมีการรวมกลุ่มถ่ายทอดการเรียนรู้แบบภูมิปัญญาดั้งเดิมสอนกันภายในกลุ่มภายในหมู่บ้าน  ต่อมาปี  2542  นายสงวน  บัวเกตุ  โดยช่อกลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามบ้านหลักดิน  โดยมีสมาชิก  ก่อตั้งเริ่มแรก  45  คน  ปัจจุบันมีสมาชิก  252  คน  กับอีก 5  เครือข่ายตำบล  มีที่ทำการกลุ่มอยู่บ้านเลขที่  45  เป็นอาคารไม้  เป็นที่ทำการกลุ่มเป็นจุดศูนย์กลางการเรียนรู้และเป็นจุดแสดงและจำหน่ายสินค้าของกลุ่ม  ต่อมาในปี  2549  ได้ใช้สถานที่อาคารบ้าน  นายสงวน  บัวเกตุ  เป็นอาคารที่ทำการกลุ่มแบบถาวร  มาจนถึงปัจจุบัน  เป็นจุดศึกษาดูงาน/จุดศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมของอำเภอเพ็ญและจังหวัดต่างๆ  มีความสนใจเรื่องผ้าและการทอผ้ามัดหมี่ย้อมคราม 

กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลิตชุมชนและท้องถิ่น

            เดิมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีการทอผ้าบ้านสมาชิกแต่ละคนและต่อมาการจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม  ฝ่ายต่างๆเช่น  ฝ่ายผลิต  ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ  และคณะกรรมการด้านการตลาดการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์เดิมตรวจสอบคุณภาพกันเองภายในกลุ่มโดยใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมและได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดหมี่ย้อมครามมาเป็นผ้ามัดหมี่โคลนสีได้มีการพัฒนาด้านคุณภาพและกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์  โดยได้ส่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเข้าส่งตรวจสอบคุณภาพ  เพื่อขอมาตรฐานการผลิต  (มผช.)  ได้ผ่าน  มผช.  เมื่อปี  2546  ของอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี

            ปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหา

ปัญหาด้านการผลิต/การแก้ไขปัญหา

            ด้วยการต้องการของตลาดช่วงปี  25545  ถึงปัจจุบันผ้าบ้านท่าหลักดินเป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของตลาดมีมากจึงมีปัญหาด้านการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ  ในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มคือ  ขยายการผลิตไปสู่หมู่บ้านอื่นหรือตำบลอื่นที่ใกล้เคียง  เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์  ที่มีความเป็นมาตรฐานของบ้านท่าหลักดิน  ด้านสีสัน  ลวดลายคณะกรรมการกลุ่มที่ควบคุมคุณภาพการผลิตจะต้องมีการสอนงานให้กับกลุ่มเครือข่ายที่จะรับงานไปทำที่บ้าน

ปัญหาด้านการทุน/การแก้ไขปัญหา

            ด้วยอัตราคำสั่งการผลิต  และความต้องการด้านการตลาดมีสูง  กลุ่มจึงมีปัญหาด้านทุนดำเนินการ  การแก้ไขปัญหาของกลุ่มได้มีการระดมทุน/หุ้นจากสมาชิกเพิ่มและได้ประสานของบประมาณในการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว  และมีส่วนราชการอื่น  ในการบริหารจัดการกลุ่มมีการจัดทำแผนการดำเนินงาน/แผนธุรกิจ

 

เกียรติประวัติ/ผลงานดีเด่น

ปี  พ.ศ.2548  ได้รับรางวัลหมู่บ้านหัตกรรมดีเด่น   หม่อมงานจิตบุระฉัตร

ปี  พ.ศ.  2546  ถึงปัจจุบันได้รับมาตรฐาน  ผลิตภัณฑ์ชุมชน  (มผช.)

ข้อมูลผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

ชื่อ      ผ้ามัดหมี่ย้อมครามลายพุ่มโคมไฟ

สถานที่ผลิต  กลุ่มทอผ้าบ้านท่าหลักดิน หมู่ที่ 4 ตำบลนาบัว  อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

ผลงาน  ได้รับรางวัลประกวด ได้รับการคัดสรรเป็นสินค้า otop  ปี 2546-2550

เรื่องราวของผลิตภัณฑ์

            ลายพุ่มโคมไฟ เป็นลายผ้าที่สืบทอดกันมาของบ้านท่าหลักดิน หลายช่วงอายุคน เป็นลายโบราณ มาจากแนวคิดสมัยก่อนคนในชนบทไม่มีไฟฟ้าใช้ จะใช้แสงสว่างจากไฟตะเกียง โคมไฟ จากของใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้เฒ่าสมัยก่อนจึงคิดนำรูปแบบโคมไฟมาประยุกต์ลงในผืนผ้า โดยการเก็บขิดทอเป็นลวดลาย มาใช้ลูกหลานได้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน จึงถือว่าเป็นลายผ้าดั้งเดิมของบ้านท่าหลักดิน

 

  • เช้าๆมาอ่านเรื่องดีๆ
  • แล้วรู้สึกกระชุ่มกระชวย
  • พร้อมไปทำงาน
  • ขอบคุณนะคะ

ขอบคุณอาจารย์ที่นำ"คนดี"ที่น่ารู้จักมาให้เรียนรู้

  • กว่าจะได้รับการยอมรับในวันนี้ เบื้องหลัง คือ การลงมือทำอย่างหนัก อย่างจริงจัง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา..ผู้นำชุมชน ผู้นำตามธรรมชาติ
  • ขอบคุณตัวอย่างดีๆ ให้ได้เรียนรู้ครับ

มีผู้นำชุมชนหลายคนที่ถูกลืมไปจากใจ คนรุ่นใหม่ เราจึงน่าจะช่วยกันเผยแพร่คนเหล่านี้ให้ตรึงใจคนไทยไว้ครับ

  • เรื่องชาวบ้านถูกลืม ผู้นำถูกทิ้ง พบเห็นเยอะค่ะในสังคมนี้
  • น่าปลาบปลื้มแทนผู้นำที่อาจารย์บอกเล่า
  • ขอบคุณสำหรับสิ่งดี ๆ ที่นำมาบอกต่อค่ะ

ผมมีบทเรียนของคนของแผ่นดินอีกมากเลย ผมใช้กิจกรรมการเรียนของนักศึกษาให้ทุกคนได้สืบค้นชีวิตรคนเก่งของแผ่นดินเหล่าน้แล้วนำมาเผยเเพร่

คนส่วนใหญ่ในชุมชนไม่ค่อยยอมรับคนที่เป็นผู้นำที่อยู่ในหมู่บ้านตนเองเนื่องจากค่านิยมที่ว่าหรือ ความคิดส่วนตัว ความคิดที่ว่าเกิดที่เดียวกันแล้วเก่งกว่าจะมาสอนคนในชุมชนไม่ได้ ความอิจฉา ริษยา เก่งกว่าได้อยางไร แต่ถ้าเป็นคนต่างถิ่นมาจะให้การยอมรับเป็นอย่างดี

กาลเวลาผ่านไปรวดเร็วเหมือนโกหกช่วงเวลาที่ดิฉันทำงานในแวดวงข้าราชการเป็นระยะอันสั้นแต่ก็ค้มค่ายิ่งนักได้ทั้งบทเรียนราคาแพงที่หาไม่ได้ แต่ก็ไม่ทำให้ดิฉันท้อแท้แต่อย่างใด กลับพัฒนาศักยภาพตนเองและครอบครัว ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ถ้าตนเองไม่พัฒนาตัวเองก่อนก็ไม่รู้จะสอนใครได้

บางชุมชนมีผุ้นำที่ดี แต่บางชุมชนไม่รู้ว่าผู้นำพช มีที่มาที่ไปจากใหน ประวัติส่วนตัวก็แสนจะไม่ดี มาเป็นผู้นำพช ในชุมชนของตนเอง และได้รับรางวัลผู้นำดีเด่น ชาวบ้านก็ไม่รุ้ว่าเป็นอย่างไร จะให้เขายอมรับได้อย่างอย่างไร รางวัลของกรมพันาชุมชน มีแต่เส้น มาดูที่อ.เมืองปาน จ.ลำปาง เราไม่รู้ว่าผู้นำที่ได้มาจากใหน เอางานที่ตัวเองทำในงานประจำมาโชว์ เพื่อนำเสนอเอารางวัลทุเรศ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท