มองต่างในงานสัมมนาการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดฯ ของ สกว.ท้องถิ่น


ทำไมหลายคนถึงมองภาพลบของการศึกษาในพื้นที่

หลังจากกลับจากการสัมมนาที่สตูล ก็มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน "เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ประเด็นการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้" เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ จัดโดยฝ่ายวิจัย สกว.ท้องถิ่น ณ โรแรมเซาเทิร์นวิว ปัตตานี

 

      งานนี้มีหลายภาคส่วนเข้าร่วมไม่ว่าจะเป็น สช. อบจ. สพฐ คณะครูโรงเรียนในพื้นที่ ตลอดจนอาจารย์มหาวิทยาลัย (เห็นจะมากสุดก็มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เพราะมีงานวิจัยที่ไปนำเสนอกับเขาด้วย ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนทีมวิจัย ชุดหนังสือพหุภาษา ของ อาจารย์สุนทร ปิยะวสันต์ ท่านรองอธิการบดีฯ)

 


      เวที่แลกเปลี่ยนในวันนี้ถือได้ว่าน่าสนใจสำหรับแวดวงการศึกษามาก คนเข้าร่วมงานเต็มห้องครับเกินเป้าที่วางไว้ (ผู้จัดเขาว่าอะนะครับ) ก็อัลฮัมดุลิลละฮฺ โดยส่วนตัวแล้วมองว่างานวิจัยและวิทยากรที่พูดได้ชัดเจนถึงประเด็นการศึกษามากที่สุดคือ งานชุดพหุภาษาของ อ.สุนทร ปิยะวสันต์ ครับท่านมองการศึกษาในค่อนข้างแตกฉานในระดับนึงเมื่อเทียบกับคนอื่น แต่ประเด็นที่ผมค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับวิทยากรทั้ง ๕ ท่านรวมทั้งผู้ดำเนินรายการที่มองว่าการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดย่ำแย่ พูดง่ายๆคือทุกคนนำเสนอแต่ภาพด้านลบในพื้นที่แม้กระทั่งในเรื่องการศึกษา ซึ่งตรงนี้ผมมองว่ายังมีอีกหลายด้านที่หลายคนไม่เห็ยและไม่เข้าใจ อีกทั้งไม่เคยสัมผัส ถ้าไม่ผิดกติกา ผมอยากนำเสนองานวิจัยล่าสุดที่ทำให้ทาง สทศ. ถึงปัญหาสาเหตุที่แท้จริงของการศึกษาในพื้นที่มันต่ำจังเลย แต่ขอเวลาหาช่องทางอีกสักหน่อยในการเผยแพร่

 

       ผมมองอย่างนี้ครับว่าจริงอยู่ว่าการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดฯ อยู่ในอันดับรั้งท้ายของประเทศ แต่หากเรามองเจาะลึกลงไปอย่าืลืมนะครับว่า เมื่อปีที่แล้ว ผลของการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ(อังกฤษ) และ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ที่ ๑ อยู่ที่นราธิวาสเขต ๒ ตรงนี้แหละครับที่ผมมองต่างในงานสัมมนาทางด้านการศึกษาเวทีนี้ที่จะใช้ฐานของปัญหาเชิงลบอย่างเดียวในการทำวิจัยด้านการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดต่อไป ใจจริงๆอยากสะท้อนให้เห็นว่าทำไมเราไม่ใช้การถอดบทเรียนความสำเร็จของเขตพื้นที่การศึกษาของจังหวัดนราธิวาส ในการจัดการเรื่องระบบการศึกษาดูบ้างว่าได้ที่ ๑ ได้อย่างไร ซึ่งผมเชื่อว่ามันมีปัจจัยที่มาเกื้อหนุนกัน

          เพราะฉะนั้นเราควรที่จะนำเอาความสำเร็จมาต่อยอดอีกด้านหนึ่งก็ได้ ไม่ใช่อะไรก็มองที่ภาพเชิงลบในพื้นที่แล้วค่อยคิดทำวิจัยอันนี้ผมไม่เห็นด้วย ฟังงานสัมมนาแล้วรู้สึกหดหู่แทนการศึกษาในพื้นที่ทั้งๆที่ผมหละคนนึงที่มีความสุขกับการได้สัมผัสกับการศึกษาในพื้นที่ที่หลายคนไม่ได้เดินทางไปสัมผัส

           เรามองการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร งานวิจัยให้อะไรแก่พื้นที่นี้บ้าง และคำตอบของงานวิจัยมันสะท้อนภาพพื้นที่จริงหรือ เมื่อคนทำงานวิจัยไม่เข้าใจบริบทในพื้นที่ ใคร ใคร ใครช่วยตอบผมที

            วัลลอฮฺอะลัม...


อัลฮัมดุลิลละฮฺ...เสร็จสิ้นซะทีสำหรับโครงการวิจัยประเด็นการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัด กับ ทาง สทศ.(สำนักทดสอบทางศึกษาแห่งชาติ) ท้าทายและทายท้ามากกับท่าน ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ขอบคุณทุกคำแนะนำครับ

 


  พรุ่งนี้ (เอะวันนี้แล้วซิเพราะนี่ก็เข้าวันใหม่แล้ว อิอิ) มีงานสัมมนา “คนหนุ่มสาวกับโลกมุสลิมสมัยใหม่” งานนี้พลาดไม่ได้ครับ เพราะเท่าที่ดูกำหนดการ จัด ๒ วันแล้วบอกได้คำเดียวครับพลาดไม่ได้จริงๆ เพราะดูผู้เข้าร่วมนำเสนอบทความทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ตลอดจนผู้คอมเม้นท์แล้ว หลายท่านชุดเดียวกับงานสัมมนา “โลกอิสลามกับความท้าทาย” รอบที่แล้วที่จัดเพียงวันเดียว สงสัยงานนี้คงได้บทเรียนเพราะผู้เข้าร่วมงานรอบที่แล้วบ่นอุบว่าน่าจะจัดสักสองวันเพื่อจะได้เข้าทุกกลุ่ม งานนี้เลยจัดเต็มที่เลยครับ ๒ วันที่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี…ไม่ควรพลาดประการทั้งปวงครับ

หมายเลขบันทึก: 287403เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2009 01:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เมื่อก่อน(และทุกวันนี้ก็ยังได้ยิน)เขาว่า การศึกษาตกต่ำที่ภาคใต้บ้านเราเพราะเผ่าพันธุ์ ... ผมมีญาติห่างครอบครัวหนึ่ง ตอนเรียนประถมกับผมไม่ได้เรื่องเลย.. แต่ตอนนี้เป็นถึงคณบดีแล้วครับ .. และอยู่มหาวิทยาลัยระดับมาตรฐานของมาเลเซียด้วย ..ผมจึงสรุปง่ายๆ และง่ายๆ ว่า โอกาส..โอกาส.. เพราะถ้าเขายังอยู่เมืองไทยอย่างมากก็เป็นครูประถม ครูปอเนาะ หรือไม่ก็กรีดยาง แต่ด้วยความจำเป็นพ่อแม่ต้องระเหเร่ร่อนไปอยู่มาเลย์ เลยทำให้โอกาศของพวกเขาดีมาก สามารถไต่เต้าจากคนกรีกยางเป็นคณบดี ... อ๋อ ไม่ใช่ ดร.จากโลกอาหรับหรือโลกมุสลิมอย่างที่บางคนชอบเข้าใจว่ามันถึงง่าย(จริงๆไม่ง่ายเลย) ..แต่นี่ จบจากสก็อตแลนด์ บ้านเมืองฝั่งที่พวกเราชอบตีตราว่าแหล่งวิชาการ 
  • ระยะหลังๆนี้ ได้ยินบ่อยเหมือนก้นที่เขาชอบว่า เพราะหลายภาษาการศึกษาถึงเป็นแบบนี้ เด็กไม่เข้าใจภาษาไทย อ่านเขียนภาษาไทยไม่ดี เลยทำให้การศึกษาตกต่ำ ... แต่ทำไม มอย. มีนโยบายแต่แรกให้แตกต่างจากมหาวิทยาลัยทั่วๆไป ภาษามลายูเป็นฐาน และภาษาอื่นๆให้เข้มแข็งในแต่สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง แต่ทุกวันนี้ อะไรๆ ก็ภาษาไทยหมด แม้แต่เอกภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ก็ยังติดแผ่นป้ายประกาศแก่นักศึกษาตัวเองด้วยภาษาไทย .. ทวิภาษา หรือ พหุภาษาจะแก้ได้จริงหรือ ???
  • เมื่อวานผมนั่งคุยกับอาจารย์จรุวัจน์ อีกอย่างหนึ่งที่พวกเราชาว(อาจารย์) มอย. ไม่เคยเล่นอย่างจริงจัง คือ การเอาอิสลามนำในองค์ความรู้ต่างๆ (ที่บางคนเรียกว่าบูรณาการ) .. น่าทำวิจัย "การสอนโดยใช้อิสลามนำกับการสอนปกติ อย่างไรจะให้การตอบสนองจากผู้เรียนมากกว่า" เพราะเท่าที่คุยๆมา ทุกคน(อาจารย์เองก็เคย)บอกว่า ถ้าเอาอิสลามนำแล้วผู้เรียนจะตอบสนองได้ดีมาก
  • ...อิอิอิ..อาจารย์ตั้งใจหรือยังครับว่า จะเขียนตำราเรียนภาษาไทยที่เป็นอิสลาม  
  • ยาวไปแล้ว...ขอหยุดดีกว่า (ยิ่งพูดยิ่งยาว)

ขอบคุณมากๆๆๆๆครับอาจารย์

P 1. Ibm ครูปอเนาะڬوروفوندق

 

 

  • ผมมองว่ายิ่งอาจารย์พูดยิ่งชัดครับสำหรับการศึกษาในพื้นที่ ผมอยากให้อาจารย์สะท้อนภาพออกมาอีกครับ 
  • การเอาอิสลามนำในการจัดการศึกษาในพื้นที่อันนี้เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ และมั่นใจว่าทุกกระบวนรายวิชาเด็กจะตอบสนองได้ดีกว่าการเรียนปกติโดยทั่วไป
  • เรื่องการเขียนตำราเรียนภาษาไทยแบบ(บูรณาการ)อิสลาม ผมคิดเมื่อ ๒ ปีที่แล้วครับอยากทำเหมือนกันครับ อินชาอัลลอฮฺครับถ้าทุกอย่างลงตัวผมคิดว่าเราทำได้
  • ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองและตอบแทนคุณงามความดีครับ ดูแลสุขภาพด้วยครับ

 

สวัสดีค่ะ

  • งานสัมมนา "คนหนุ่มสาวกับโลกมุสลิมสมัยใหม่
  • น่าสนใจนะคะ  พี่คิมยังไม่ทราบและไม่เข้าใจเกี่ยวกับมุสลิมมากเท่าไร 
  • ได้เรียนรู้จากบล็อกนี้เพิ่มขึ้นค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ  สมัยเก่าสมัยใหม่ก็ขอให้เป็นคนดีของชาวโลก..ก็สุดยอดแล้วนะคะ

ขอบคุณมากครับพี่

P 3. ครูคิม

 

  • งานสัมมนาวันนี้น่าสนใจจริงๆครับ ถ้ายังไง อินชาอัลลอฮฺ(ถ้าพระเจ้าทรงประสงค์) จะนำเรื่องราวเล่าสู่กันฟังผ่านบล๊อกครับ
  • ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังที่มีให้กันตลอดเรื่อยมาครับครู
  • จะจดจำมิตรภาพนี้ไว้ครับ
  • เป็นกำลังใจให้เช่นกันครับ
  • ในบางกรณี ก็จำเป็นต้องมีการหยิบยกเอาเฉพาะปัญหามาคุยกันครับ เพื่อมองหาประเด็นในการพัฒนา
  • การที่มองแต่จุดแข็งของตนเอง และให้ข้อสรุปว่า ดีแล้ว ก็จะแสวงหาจุดเพื่อการพัฒนาลำบากครับ
  • ต้องยอมรับครับว่า จุดแข็งนะมี แต่จุดอ่อนก็ยก ดังนั้นเพื่อการพัฒนาก็ต้องหยิบจุดอ่อนมาคุยกันเยอะๆ หน่อย
  • การคุยในเวทีแบบนี้ไม่ใช่คุยเพื่อหาคนผิด ดังนั้นการหยิบปัญหามาคุย เพื่อการหาทางออกครับ

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

P 5. จารุวัจน์ شافعى

เห็นด้วยที่ว่าในบางกรณีเราควรหยิบเอาปัญหามาคุยครับ อันนี้ชัดครับแต่เวทีเมื่อวานมันตอกย้ำการศึกษามากเกินไปไม่ใช่มองเรื่องปัญหาที่ควรแก้ไขสำหรับบางท่าน อิอิ

ขอบคุณสำหรับมุมมองอีกด้านครับ...ดูแลสุขภาพด้วยครับ

ความจริงอยากนำเสนอเวทีสัมมนา "คนหนุ่มสาวมุสลิมในโลกสมัยใหม่" ซึ่งมีอาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัยได้แสดงข้อคิดเห็นมากมายอย่างน่าสนใจ แต่ดูท่าทางไม่ไหวครับคืนนี้ เพราะดึกมาหลายคืนแล้วกับงานวิจัยที่เร่งส่งต้นฉบับ(สมบูรณ์) ไว้โอกาสหน้า อินชาอัลลอฮฺจะเล่าสู่กันฟังครับ

นำความสำเร็จที่นราธิวาส มาต่อยอด

ขอยกมือเชียร์อีกแรงครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P 7. small man

ที่ร่วมเป็นกำลังใจและแรงเชียร์ ขอแสดงความยินดีกับตำแหน่งบล๊อกเกอร์สุดคะนึงประจำเดือนสิงหาคมด้วยครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท