ระบบกระดูก


ถ้าไม่มีกระดูก ร่างกายของเราจะอ่อนปวกเปียกหรือล้มครืนลงมา

ระบบกระดูก(Skeletal system)

                                กระดูก(Bone)ในร่างกายของคนที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีจำนวน 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1.    กระดูกแกน(Axial skeleton) มีจำนวน 80 ชิ้น เป็นแกนหลักที่ยึดร่างกายเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกอก กระดูกเหล่านี้ยังทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับสมอง ตา หัวใจ และปอด

2.   กระดูกระยาง (Appendicular skeleton) มีจำนวน 126 ชิ้น ประกอบด้วย กระดูกขาและกระดูกแขน ทำหน้าที่สำคัญในการเคลื่อนไหวของร่างกาย

โครงกระดูก

                   ถ้าไม่มีกระดูก ร่างกายของเราจะอ่อนปวกเปียกหรือล้มครืนลงมา กระดูกให้รูปทรงแก่ร่างกายและพยุงร่างกายเอาไว้ กระดูกทั้งหลายประกอบเป็นโครงกระดูก(skeleton)

โครงกระดูกประกอบด้วยกระดูก 206 ชิ้น

                  เด็กทารกมีกระดูกราว 300 ชิ้น บางส่วนของกระดูกบางชิ้นของเด็กทารกเป็นพังผืดหรือกระดูกอ่อน ในวัยเด็ก ส่วนนี้จะค่อยๆเปลี่ยนแปลงเป็นกระดูกแข็งและกระดูกบางชิ้นจะเชื่อมต่อกัน ทำให้ผู้ใหญ่มีกระดูก 206 ชิ้น ซึ่งมีขนาดและรูปทรงแตกต่างกันมาก

กระดูกแยกชนิดตามรูปร่างที่ปรากฏได้ 4 ชนิด คือ

1.   กระดูกยาว(Long bones) มีจำนวน 90 ชิ้น พบได้ที่กระดูกต้นแขน แขนท่อนปลาย ต้นขาและขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้านิ้วมือและนิ้วเท้า ภายในเป็นชิ้นเล็กๆ ติดต่อกันคล้ายฟองน้ำเรียกว่า กระดูกพรุน

2.   กระดูกสั้น(Short bones) มีจำนวน 30 ชิ้น ได้แก่ กระดูกข้อมือและข้อเท้า

3.   กระดูกแบน(Flat bones) มีจำนวน 40 ชิ้น ได้แก่ กระดูกกระโหลกศีรษะ กระดูกซี่โครง กระดูกสะบัก กระดูกหน้าอก และกระดูกเชิงกราน

4.    กระดูกรูปร่างไม่แน่นอน(Irrigular bones) มีจำนวน 46 ชิ้น ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกก้นกบ กระดูกขากรรไกร กระดูกหู ฯลฯ

ลักษณะกระดูก กระดูกเกือบทุกชิ้นในสัตว์หรือในคน มีลักษณะดังนี้

1.  ส่วนที่ถูไถกับกระดูกอื่นจะเป็นที่เรียกว่า ข้อต่อ(Joint) ซึ่งมีกระดูกอ่อนเคลือบอยู่ และระหว่างกระดูกอ่อนจะมีน้ำไขข้อ ทั้งกระดูกอ่อนและน้ำไขข้อจะช่วยลดการเสียดสีของกระดูกขณะเคลื่อนไหว

2. ภายในท่อนกระดูกหรือส่วนลำกระดูก จะปรากฏลักษณะเนื้อเยื่อ 2 ชนิด คือ กระดูกทึบ(Compact bone) และกระดูกพรุน(Spongy bone) ภายในกระดูกพรุนมีช่องว่างจำนวนมากคล้ายฟองน้ำ เรียกช่องว่างนี้ว่า โพรงกระดูก(Medullary cavity) และภายในโพรงกระดูกจะมี ไขกระดูก(Marrow) บรรจุอยู่ ซึ่งไขกระดูกนี้จะทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดต่างๆ รวมทั้งเกร็ดเลือดให้กับร่างกาย

3.  ส่วนของกระดูกทั้งหมด ยกเว้นข้อต่อ จะมีเยื่อบางๆห่อหุ้มเรียกว่า เยื่อหุ้มกระดูกซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์กระดูกใหม่เพื่อทดแทนเซลล์กระดูกส่วนที่ตายไป และเพิ่มเซลล์กระดูกใหม่มากขึ้นเพื่อการเจริญเติบโตของกระดูก

 ที่มา : สรุปความคิดรวบยอด ม.4-5-6 ฉบับพิชิต O-NET ม.6 (HI-ED)

หมายเลขบันทึก: 287345เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณงับขาเจ้าค่า

วะฮะฮะฮาฮ่าฮ้า ซอสเซจิ อิอิ :D

ขอบคุณมากๆค่ะได้ความรู้แยะเลยแต่ขอข้อความมากกว่านื้ได้เปล่าคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท