54. การฝึกซ้อมประกอบและเขียนโปรแกรม "หุ่นยนต์อัตโนมัติ"


"ทำไมต้องเตรียมพร้อม" วนิษา เรช เขียนไว้ในหนังสือ "อัจฉริยะ...เรียนสนุก" ว่า "...เคยได้ยินไหมคะที่ว่า การเตรียมงานสนุกกว่าวันงานจริงๆ เพราะวันงานนั้นแป็บเดียวก็จบ แต่ตอนเตรียมงานนี่สิ แสนจะสนุก เป็นช่วงเวลาที่เราได้แบ่งปัน หัวเราะ ร้องไห้ ทั้งคาดหวัง กังวล ปลอบใจ หรือทำอะไรเฉิ่มๆ สารพัด หนูดีว่าช่วงเตรียมงานนี่แหละที่เราได้รู้จักกันอย่างลึกซื้งผูกพัน มองย้อนกลับไปครั้งไหนก็อมยิ้ม มีความสุขทุกครั้ง..."

     ช่วงนี้ ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ต้องไปร่วมงานอบรม สัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้เยอะมาก จนมีคำถามจากเด็กๆ ว่า คุณครูไปไหนคะ? ไม่ค่อยได้อยู่โรงเรียนเลย...ฟังแล้วก็ได้แต่ยิ้มรับและตอบเสียงอ่อยๆ ว่า "ครูไปราชการ" คะ 

    ก้อเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับ"ครู" ที่ต้องได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพ ซึ่งก็อาจต้องส่งผลกระทบต่อนักเรียนบ้าง จริงๆ ถ้างานที่ได้รับมอบหมายให้ไปร่วมประชุมสัมมนานั้น เกิดความรู้ที่นำมาพัฒนาวิชาชีพได้ ก็น่าจะคุ้มค่า เพราะครูหนึ่งคนสามารถให้ความรู้ที่ถอดทอดสู่ศิษย์ได้อีกหลายๆ คน แต่...บางครั้ง บางงานที่ไปแล้ว ผู้เขียนก็รู้สึกว่า ผู้จัดงานนี่...ช่างคิดกำหนดการได้แบบละลายงบประมาณมาก ความรู้ที่ได้ไม่ค่อยจะคุ้มค่าเลย... (คิดมากไปหรือเปล่าเนี่ย)

    แต่บันทึกนี้ อยากเขียนเกี่ยวกับการฝึกซ้อมการประกอบและเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ ระดับม.ต้น ที่โรงเรียนเราได้เป็นตัวแทนจังหวัดเลย ไปร่วมการแข่งขัน หุ่นยนต์ สพฐ.ระดับประเทศ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 22-23 สิงหาคม 2552 ที่จะมาถึง และจะได้นำบรรยากาศมาเล่าในบันทึกต่อๆ ไป

    การฝึกซ้อมของทีมหุ่นยนต์อัตโนมัติ ระดับ ม.ต้น ของโรงเรียนเรา มีสมาชิก 3 คน เป็นนักเรียนระดับ ม.2 ทั้งหมด แต่ละคน ก็เพิ่งรู้จักหุ่นอัตโนมัติกันเมื่อต้นปีที่ผ่านมา (พร้อมๆ กับครู) แต่ด้วยความสนใจ ใส่ใจ และอยากที่จะเรียนรู้ ก็ได้พัฒนาฝีมือในทุกๆด้าน แบบค่อยเป็นค่อยไป อาศัยการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างครูกับศิษย์ ครูสอนลูกศิษย์ ลูกศิษย์ก็สอนครู ด้วยการลงมือทำและพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

    หลังจากที่มีโอกาสได้ทดลองสนามโดยการแสดงความสามารถของหุ่นยนต์ อัตโนมัติ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ให้นักเรียนทั้งโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่เข้ามาร่วมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียนแล้ว...

     วันนี้เราก็มาฝึกซ้อมกันอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ ก่อนลงมือทำ เราก็ได้นั่งคุยกันถึง ปัญหาอุปสรรคที่เจอในการแสดงครั้งก่อน เด็กๆ ช่วยกันเสนอความคิดเห็นแล้วก็ข้อคิดที่แต่ละคนได้รับ ผู้เขียนก็ถามว่าวันนี้เราจะแก้ปัญหากันอย่างไร เด็กๆ ก็ตอบมา...และเริ่มลงมือปฏิบัติกัน...

     เหตุผลที่ต้องมานั่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันก่อน เพราะวันที่แสดงนั้น... ผู้เขียนไม่ได้อยู่ด้วย เด็กๆ ต้องทำงานและแก้ปัญหากันเอง...แต่เมื่อเห็นรอยยิ้ม และฟังเรื่องเล่า ผู้เขียนก็เกิดความสบายใจ...เด็กสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดัวยตัวของเขาเอง...นี่คือสิ่งที่น่าจะเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการทำงานของหุ่นยนต์ นั่นคือ "เด็กสามารถเรียนรู้ เกิดกระบวนการคิด และลงมือทำงานที่ได้รับมอบหมาย และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เพื่อบรรลุสู่เป้าหมายที่กำหนด...อันหมายถึง สามารถควบคุมหุ่นยนต์ให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้อง...

    ...ผู้เขียนเลยเก็บภาพบรรยากาศการฝึกซ้อม...อย่างตั้งใจของเด็กๆ มาฝาก...การเรียนรู้เกิดจากการลงมือปฏิบัติ และเมื่อปฏิบัติมากๆ ความชำนาญก็จะเกิดขึ้น...ปัญหาอุปสรรคระหว่างการปฏิบัติงาน...จะทำให้เราเรียนรู้ในการแก้ปัญหา อันนำไปสู่กระบวนการคิดที่เราจะสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตต่อไป

    ...การแข่งขัน อาจใช้เวลานิดเดียว เกมก็จบ... สิ่งที่ได้เรียนรู้สำหรับผู้ที่เข้าแข่งขัน...คือช่วงเวลาของการฝึกซ้อม...อันหมายถึง "ประสบการณ์ล้ำค่า..น่าจดจำ"..

   

หมายเลขบันทึก: 287250เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดี ครับ คุณครู

P itom

อดชื่นชม คุณครูไม่ได้ จริง ๆ กับการนำความรู้มาจัดการ การเรียนการสอนในการพัฒนาวิชาชีพ ของนักเรียน

ขอชื่นชม ความสำเร็จด้วยคน ครับ

ขอบคุณ ครับ

  • ขอบคุณ P
    แสงแห่งความดี
    เมื่อ ศ. 14 ส.ค. 2552 @ 15:33 ที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยเรียนรู้คะ
  • เป็นกำลังใจเล็กๆ ที่ผู้เขียนคิดว่ามันยิ่งใหญ่มากๆ
  • รางวัลสำหรับ"ครู" คงไม่ใช่แค่เงินทองที่ได้รับในแต่ละเดือน (ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับครูในประเทศอื่นๆ) แต่ความสำเร็จของลูกศิษย์ และรอยยิ้ม การทักทาย การยกมือไหว้ของเขาเหล่านั้น เป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่ หาใดเปรียบคะ
  • *_*

เก่งจริงนะครับ เด็กโรงเรียนบ้านนอกอย่างโรงเรียนผม ไม่มีเงินซื้อมาเล่นเลย

  • ขอบคุณคุณ กั้งที่เข้ามาร่วมชื่นชมผลงานของเด็กๆ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ
  • การประดิษฐ์หุ่นยนต์มีหลายๆ แบบคะ
  • ที่เขียนในบันทึก เป็นการประกอบหุ่นยนต์อัตโนมัติและเขียนโปรแกรมควบคุม ลงทุนสูงพอสมควร เราก็ได้รับการสนับสนุนงบฯ จาก สพฐ. บ้าง โรงเรียนบ้าง เท่าที่พอจะหาและจัดสรรได้
  • การทำ "หุ่นยนต์ทำมือ" ก็มีคะ ใช้อุปกรณ์ที่หาได้ในบ้านเรา และสร้างสรรค์งานได้เยอะมาก
  • การจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ทำมือในประเทศไทย ก็เริ่มมีให้เห็นมากแล้ว
  • เอาภาพ "หุ่นยนต์ทำมือ" บางส่วนมาฝากคะ
  • หุ่นยนต์สำรวจดาวนพเคราะห์ รุ่นแรกคะ
  • หุ่นยนต์ชักเย่อ คะ
  • เด็กของเราก็อยู่ห่างไกล (บ้านนอก) เช่นกันคะ
  • แต่โอกาสจะมาหา คนที่ไขว่คว้าค้นหาโอกาสด้วย... จริงไหมคะ *_*
  • เป็นกำลังใจให้ทุกคน รวมทั้งผู้เข้ามาเยี่ยมชม โรงเรียนนี้บ้านอกจริง ๆ อยู่ตำบล มีนักเรียนไม่ถึง 600 คน แต่เราให้โอกาสเด็ก ๆ มากมาย จนชื่อโรงเรียนเราเป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งในและต่างประเมศ
  • เมื่อคืน 20 ส.ค. พึ่งส่งทีมหุ่นบยต์ 5 ทีม ไปแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ.2552 ที่เซียร์ รังสิต
  • ขอให้ประสบความสำเร็จทุกทีม
  • ขอบคุณ ท่าน ผอ. ที่เข้ามาร่วมให้กำลังใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ
  • วันนี้ (21 สิงหาคม) เด็กๆ และคุณครูก็ต่างตื่นเต้นกับการแข่งขัน หุ่นยนต์ สพฐ. ปี 2552 กันมากเลยคะ  แม้ว่าจะเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทางมากๆ ก็ตาม
  • ติดตามอ่านในบันทึก 62. การแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ.ปี 2552 : 1 นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท