น้ำมันมะพร้าว...ของดีที่น่าสนใจของไทยเราเอง


ต้องขอบคุณคุณป้อมแห่งคณะทันตแพทยศาสตร์ ม.อ.ของเรา ที่นอกจากจะเป็นกัลยาณมิตรคนแรกใน GotoKnow ของโอ๋-อโณแล้ว ยังเป็นคนที่คอยกระตุ้นเตือนให้ผู้คนรอบข้างตระหนักถึงอะไรหลายๆเรื่องที่มีประโยชน์ทั้งต่อตัวเราและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นคนที่กระตุ้นให้พี่โอ๋อยากรู้ว่า น้ำมันมะพร้าวมีดีอย่างไร

คุณป้อมเขียนมาถามว่า จะเริ่มทำงานวิจัยยังไง พี่โอ๋ก็ตอบไปว่า

"ก่อนอื่นก็ต้องลองตั้งคำถามจากงานของเรานี่แหละค่ะ ว่าเราสงสัยอะไรไหมที่เราอยากได้คำตอบ แล้วก็คิดวิธีพิสูจน์คำตอบหรือวิธีค้นหาคำตอบ แล้วมันก็จะเป็นแนวทางวิจัยว่าเราจะหาวิธีตอบคำถามที่เราสงสัยยังไงให้เป็นไปตามหลักการที่น่าเชื่อถือน่ะค่ะ คุณป้อมลองยกตัวอย่างความสงสัยในงานมาดูก็ได้ค่ะ พี่โอ๋จะได้ช่วยออกไอเดียว่าอันไหนที่ทำเป็นงานวิจัยได้ "

คำตอบที่คุณป้อมตอบกลับมาว่า

"ผมสนใจ เรื่อง น้ำมันมะพร้าว กับ สุขภาพช่องปากครับ อยากรู้ว่า ใน น้ำมันมะพร้าว มีสารอะไร ที่จะช่วยป้องกัน โรคฟันผุ ฆ่าเชื้อโรค ในช่องปาก เช่นโรคฟันผุ เจอบ่อยมาก (จริง ๆ ก็ต้องโทษคนนั้นกินไม่ดี 55;) แต่ถ้าคนฟันผุ รู้จักวิธีรักษาด้วยตัวเอง โดยใช้น้ำมันมะพร้าวได้ ก็จะประหยัดเงิน ประหยัดเวลาในการเดินทางมาพบหมอฟันหรือ คนสุขภาพฟันดี แต่ต้องการป้องกันฟันผุ โดยใช้ น้ำมันมะพร้าว
หรือส่วนอื่น ๆ ในช่องปาก อยากรู้ว่า น้ำมันมะพร้าว จะช่วยให้สุขภาพช่องปากดีได้อย่างไร ประมาณนั้นครับ จุดประสงค์ คือต้องการ คนยากจน คนที่เบี้ยน้อยหอยน้อย สามารถดูแลตัวเองได้ ไม่ใช่พบแต่หมออย่างเดียว คือจริง ๆ แล้วอาจจะลามไปถึงคณะแพทย์ ด้วยครับ (หมายถึง ถ้ามีการทำวิจัยกันต่อไป แต่อาจจะมีคนทำอยู่แล้วก็ได้ครับ) ถ้าน้ำมันมะพร้าว ช่วยเรื่องสุขภาพได้จริง หมอ ก็เหนื่อยน้อยลง (แต่คงไม่ตกงาน)"

เล่นเอาพี่โอ๋งงไปเลยว่านักวิชาการคอมพิวเตอร์นี่ เขาจะมาทำวิจัยเรื่องนี้กันยังไงดี แต่ก็จุดประกายให้ไปหาความรู้เรื่องเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ได้รู้จัก ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย ได้รู้ว่าน้ำมันมะพร้าวนี่ช่างมีประโยชน์มหาศาลจริงๆ สมควรที่เราจะช่วยกันเผยแพร่และใช้ประโยชน์กันให้มีหลักฐานมากๆ

ความรู้จากเว็บไซต์ของชมรมฯทำให้ได้รู้ว่า ที่เคยหลีกเลี่ยงกะทินั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด และกำลังคิดว่าจะลองใช้กะทิแทนนมแล้วตรวจวัดระดับไขมันดี ไม่ดีของตัวเองดูก่อน ถ้าเห็นผลอาจจะลองทำวิจัยดูก็ได้นะคะ ใครจะร่วมขบวนการหรือมีหลักฐานดีๆมาเผยแพร่ด้วยก็จะขอบคุณเป็นอย่างสูงค่ะ  

หมายเลขบันทึก: 285515เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณข้อมูล เอ แล้วคนที่ไม่มีถุงน้ำดีจะรับประทานกระทิได้ไหมเนี่ย สงสัย

ดูจากลักษณะที่ว่ากะทิเป็น medium chain fatty acid ซึ่งตามเอกสารของดร.ณรงค์ โฉมเฉลา อธิบายไว้แล้ว น่าจะไม่มีปัญหากับคนไม่มีถุงน้ำดีนะคะ เพราะดูเหมือนกะทิจะไม่ต้องใช้น้ำดีในการย่อยเลยค่ะ คุณ ใบบุญ

ขอบคุณอ.กู้เกียรติค่ะ มาอ่านเร็วจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท