การวิจัยแบบผสม (Mixed Method)


Mixed Method วิจัยเชิงปริมาณ + วิจัยเชิงคุณภาพ

วิทยานิพนธ์ทางการอุดมศึกษาที่ผ่านมามีทั้งระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ  วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  บางเล่มก็บอกว่าใช้ทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ    แต่ตนเองยังหาไม่เจอว่ามีวิทยานิพนธ์ทางการอุดมศึกษาของนิสิตนักศึกษาโดยเฉพาะระดับปริญญาเอกเล่มใด    ที่บอกว่าใช้ระเบียบวิธีวิจัยหรือรูปแบบการวิจัยแบบผสม (Mixed Method)   อาจเป็นเพราะรู้ว่าวิธีดำเนินการวิจัยยังไม่เข้าข่ายรูปแบบการวิจัยแบบผสม หรือเป็นเพราะยังไม่รู้จักว่าการวิจัยแบบผสมเป็นอย่างไร ?          ตนเองเป็นแบบหลังคือ ยังไม่รู้จักดีว่า Mixed Method  ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร   คิดแต่ว่า ถ้าใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพรวมกันในงานวิจัยเล่มเดียวกันแล้ว ก็เรียกว่าเป็น Mixed Method ได้      จนกระทั่งได้มีโอกาสฟังการบรรยายพิเศษในรายวิชาของนิสิตปริญญาเอก วิชา วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา 2  ซึ่งอาจารย์ผู้สอนเชิญ รศ.ดร. โยธิน  แสวงดี  จาก ม. มหิดล ต้นตำรับและผู้เชี่ยวชาญในการทำ Mixed Method  มาบรรยายให้ฟัง ~ 2 ชม. จึงเกิดความกระจ่างขึ้นบ้าง ว่า
         
Mixed Method  นั้นเป็นเทคนิควิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์แบบผสม  ผสมทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  ซึ่งรูปแบบที่นิยมทำทั้งไทยและต่างประเทศ คือ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเป็นตัวตั้งก่อนแล้วตามด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ    ยกเว้นกรณีที่เป็นอุบัติการณ์ หรือเหตุการณ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น จึงจะใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นตัวตั้งแล้วค่อยมาตรวจสอบสมมติฐานหรือทฤษฎีด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ   ความแตกต่างจากงานวิจัยทั่วไป  คือ   ในการวิจัยเชิงปริมาณต้องใช้สถิติขั้นสูงที่เรียกว่า    Multi-level Analysis   เพราะจะให้ภาพความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง ความเป็นเหตุเป็นผลของตัวแปรปัจจัยหลายๆ ตัวที่เกี่ยวข้องในแต่ละระดับของข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับบริบททางสังคม และเมื่อวิเคราะห์ด้วยกระบวนการเชิงปริมาณเสร็จแล้วก็จะนำปัจจัยที่มีผลชัดเจนนั้นๆ  (เลือกปัจจัยที่น่าศึกษาด้วยวิธีเชิงคุณภาพจริงๆ) เข้ามาศึกษาให้ลึกซึ้งด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพต่อไป        ดังนั้น   ถ้าเรื่องที่วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Bivariate Analysis  พวก Basic Statistics  หรือ  Univariate Analysis  เช่น  Descriptive Statistics แล้วมาทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพภายหลัง  แบบนี้ไม่เรียกว่าเป็น Mixed Method

             จุดเน้นที่สำคัญยิ่ง คือ  เป็นเทคนิควิธีที่เน้นการวิจัยระดับจุลภาคคือ ให้ความสำคัญกับ Unit of Analysis แบบ Individual   เชื่อว่า    Behavior   =    Individual Factors   +  Social Context  
                           
จึง           Focus    :    Social Context  ไปสู่   Behavior  

     นับว่าเป็นเทคนิควิธีการวิจัยที่น่าสนใจยิ่ง   ถ้ามีนิสิตปริญญาเอกท่านใดได้นำเทคนิควิธีนี้ไปใช้ได้   ประเด็นทางการอุดมศึกษาคงจะได้มุมมองที่ครอบคลุมและลึกซึ้งมากขึ้น  ใครสนใจเทคนิคนี้  สมาคมส่งเสริมการวิจัย เขาจัดฝึกอบรมในหลักสูตร เทคนิควิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์แบบผสม (Mixed Method)” วันที่ 22 – 23 กันยายน 2552  ที่ รร. กานต์มณี สะพานควาย กรุงเทพฯ ค่าลงทะเบียนคนละ 3,900 บาท  วิทยากร คือ   รศ.ดร. โยธิน  แสวงดี ม.มหิดล  ค่ะ  ... แต่เสียดายที่ผู้เขียนติดเรียนหนังสือ เลยไปไม่ได้ ใครไปได้หรือมีข้อมูลเพิ่มเติมมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

หมายเลขบันทึก: 285216เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เป็นบทความที่มีประโยชน์อย่างมากค่ะ น่าเสียดายที่วันที่ 22-23 กันยายน 2552 ติดเรียนเหมือนกันค่ะ มีข่าวมาประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมค่ะ ในวันที่ 26-30 สิงหาคม 2552 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ หน่วยงานในระบบวิจัยทั่วประเทศ ได้จัดงาน "เปิดโลกงานวิจัยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้" ขึ้น ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งภายในงานมีการประชุมวิชาการ และมีการบรรยายพิเศษที่น่าสนใจมากมาย เพื่อนๆ ท่านใดสนใจเข้าร่วมงาน ดูรายละเอียดได้ที่นี่เลยนะคะ http://www.nrct.go.th

ได้อ่าน ความรู้เรื่อง การวิจัยผสม ของอาจารย์อาทิตยา แล้ว ขอแชร์ ประสบการณ์ ในการทำวิจัย สมัยเรียน ป.โท (นิเทศศาสตร์) ซึ่งเป็นสายสังคมสาสตร์ ได้มีโอกาสใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบผสม คือ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นตัวตั้งก่อนในการศึกษากลยุทธ์ แล้วตามด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ในการรับรู้ข่าวสารทางการแพทย์ของประชาชน

(วิทยานิพนธ์ เรื่อง กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ การรับรู้ข่าวสาร และภาพลักษณ์ ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ) 

มีการหาค่าความสัมพันธ์ ระหว่างกลยุทธ์ ซึ่งเป็น(เชิงคุณภาพ) กับ การรับรู้ข่าวสารทางการแพทย์ของประชาชนทั่วไป (เชิงปริมาณ)ซึ่ง ทำให้ได้ Model ใหม่ ในการทำงาน PR (Public Relation) in Medical school ให้กับสถาบันการศึกษาแพทย์ ทั่วประเทศ  เพราะจะให้ภาพความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง ความเป็นเหตุเป็นผลของตัวแปรปัจจัยหลายๆ ตัวที่เกี่ยวข้องในแต่ละระดับของข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับ กลยุทธ์การดำเนินงาน PR.บริบททางสังคม

การทำงานวิจัย ประเภทนี้ จัดว่า ต้องใช้ความวิริยะ อุตสาหะ อยู่มากทีเดียว ค่ะ แต่ก็ส่งผลให้เห็นถึง ล่องรอยแห่งคุณภาพ ให้ภาคภูมิใจ ด้วย รางวัล ผลงานวิทยานิพนธ์ดีเด่น ของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และได้เผยแพร่เป็น Poster Presentation ในงาน Chula Medical EXPO 2007ที่ปราบปลื้มมากกว่านั้นคือ ได้ถวายสรุปรายงานวิจัย ต่อหน้าพระภักต์ (พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ) 

...อย่างไรก็ตาม ... ก็หวังใจว่า พวกเราชาวอุดมศึกษา ...คงจะได้สร้างสรรค์ ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ อย่างสมเกียรติสมศักดิ์ศรี แห่งชาวจุฬาฯ ให้เลื่องลือ ต่อไป ค่ะ

บทความของคุณอาทิตยา ทำให้เข้าใจมากขึ้น เกี่ยวกับวิธีการทำวิจัยแบบผสม และสถิติที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณต้องใช้สถิติขั้นสูงที่เรียกว่า Multi-level Analysis ซึ่งตนเองคิดว่าในทางอุดมศึกษาถ้าจะนำวิจัยแบบผสมมาใช้ต้องพิจารณา เพราะ การวิจัยแบบผสมที่ได้อ่านจากบทความข้างต้น เป็นการศึกษารายบุคคลภายใต้บริบทสังคมทีี่เขาอยู่ ส่งผลให้เกิดเป็นพฤติกรรมของแต่ละรายบุคคล ดังนั้นถ้าเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมศาสตร์ ก็น่าจะนำไปใช้ได้

สวัสดีครับ

แวะมาเยี่ยม มาเรียนรู้ การวิจัยทางสังคม เพราะส่วนใหญ่แล้ว ผมจะทำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ ครับ

สวัสดีค่ะ ได้มีโอกาสฟังเรื่อง Mixed Method มาบ้างค่ะ แต่ในส่วนตัวมีความเห็นว่างานวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่แล้วใช้ใช้วิธีที่ว่านี้ทั้งนั้น แต่ไม่นิยมเขียนรูปแบบชัดเจนว่าเป็นวิธีนี้ คงจะเป็นเพราะวิทยานิพนธ์เล่มต้นแบบไม่ได้เขียนเอาไว้...(555) เนื่องจากส่วนใหญ่จะมีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อหาทิศทางว่าจะเจาะลึกในประเด็นสำคัญของงานวิจัยในปัจจัยใด แล้วจึงดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหาข้อสรุปให้กับปัญหาที่ตนเองสงสัย

ประเด็นที่อาจารย์อาทิตยากล่าวถึง น่าสนใจในประเด็นของการเลือกใช้สถิติในการวิเคระห์ข้อมูลค่ะ เนื่องจากตัวเองเคยอ่านงานวิจัยมาบ้าง แต่พบว่าสถิติที่เลือกใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณส่วนใหญ๋จะใช้ LESREL หรือถ้าใครพอทราบข้อมูลเพิ่มเติม ชวยบอกต่อกันนะคะ...

เห็นด้วยค่ะว่างานวิจัยปัจจุบัน ส่วนใหญ่นิยมและบอกว่าเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยพยายามเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์บ้าง การสังเกตบ้าง แล้ววิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อสรุปข้อมูลมาสนับสนุนการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ซึ่งจะมีการเสนอข้อมูลออกมาในรูปร้อยละด้วยว่าส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอย่างไร ทั้งนี้ อาจเกิดจากความยังไม่เข้าใจในเรื่อง Mixed Method อย่างชัดเจน ถ่องแท้ ซึ่งจะว่าไปก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะทำให้ได้อย่างสมบูรณ์ แต่หากงานวิจัยใดคิดจะใช้วิธีการ Mixed Method ก็ขอแลกเปลี่ยนว่าควรศึกษาและพิจารณาในเรื่องเหล่านี้เพิ่มเติม เพื่อให้ผลการวิจัยมีคุณค่าอย่างแท้จริงค่ะ

บทความของ อ.อาทิตยา มีประโยชน์มากเลยนะคะ เพราะโดยปกติก็คงจะเหมือนกับคนอื่น ๆ ที่ไม่ค่อยได้พบว่ามีงานวิจัยเล่มไหนที่บอกว่าใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ส่วนใหญ่จะพบว่าใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ หรือเชิงปริมาณ และตัวเองก็ยังไม่มีความรู้ว่าการวิจัยแบบผสม จะเป็นการวิจัยที่ใช้แบบใดผสมกันบ้าง แต่พอได้อ่านบทความของ อ.อาทิตยา ก็เข้าใจมากขึ้นค่ะ และคิดว่าการทำวิจัยที่ดีก็คงจะไม่ได้ใช้แค่วิธีเดียวเท่านั้น คงจะต้องใช้ทั้ง 2 แบบมาผสมกันด้วย จึงจะได้งานวิจัยที่ดีและมีประสิทธิภาพค่ะ ขอบคุณนะคะที่ให้ความรู้ดีและมีประโยชน์ค่ะ

--คำรำพึงของนักวิชาการนอกกะลา---

ยึดค่า ตีกรอบ กีดกัน

ยึดมั่น แบ่งชนชั้น

มานะที่ไม่อาจละทิ้ง

ของคนที่ยังถูกลากจูง

ถูก - ผิด ใครมีอำนาจกำหนด

และใครอนุญาตให้กำหนด

เมื่อมันเป็น มันก็เป็นของมัน

เมื่อมันไม่เป็น มันก็เป็นของมันอย่างนั้น

ขอบคุณมากค่ะ

เป็นบทความที่เข้าใจง่ายและเปนประโยชน์จริงๆๆๆๆ

เวงกำจริงๆ

ไปสอบมาเจอคำถามนี้ การวิจัยแบบผสมผสาน คืออะไร จงอธิบาย

ส่งกระดาษเปล่าไปเลย

แสดงว่าถ้าเป็น mixed methods เมื่อมีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ร่วมกับเชิงคุณภาพ ถ้าเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลแบบ Descriptive Statistics ก็ไม่ใช่ mixed methods ใช่ไหมค่ะ ถึงแม้ว่าวิธีอื่นๆจะเหมือนmixed ก็ตาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท