การประชุมวิชาการ Monday Meeting ครั้งที่ 3 หัวข้อ "สิทธิในทรัพย์สิน (Right to property) ของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ศึกษากรณีสิทธิทางการเงินและการใช้บริการธนาณัติของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กำหนดการการประชุมวิชาการ Monday Meeting ครั้งที่ 3
หัวข้อ “สิทธิในทรัพย์สิน (Right to property) ของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ
ศึกษากรณีสิทธิทางการเงินและการใช้บริการธนาณัติของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ
วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม 2552 เวลา 13.15-16.20 น. ณ ห้อง 221 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์)

13.15-13.30 น.

ลงทะเบียน

13.30-13.40 น. 

กล่าวต้อนรับ และชี้แจงวัตถุประสงค์ โดย อาจารย์กิติวรญา รัตนมณี 

13.40-13.50 น. 

กล่าวเปิดการเสวนา 

โดย คุณสินี จักรธรานนท์ ผู้อำนวยการมูลนิธิอโชกา

13.50-14.10 น.

นำเสนอปัญหาสิทธิทางการเงินและการใช้บริการธนาณัติของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ และรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการ

โดย คุณกิตติประภา จิวะสันติการ 

คุณวิริยา วิจิตรวาทการ

คุณชนปทิน ไพบูลย์พลาย้อย

คณะทำงานโครงการช่วยเหลือบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติในการใช้ธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบไปรษณีย์ไทย

14.10-14.40 น.

 

สิทธิในทรัพย์สิน :แนวคิด และข้อเสนอแนะในการรับรองและคุ้มครองสิทธิ(ท่านละประมาณ 15 นาที)

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ผศ.ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ 

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.40-15.10 น.

แนวทางในการจัดการปัญหาการใช้บริการธนาณัติของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

(ท่านละประมาณ 10 นาที)

1.    นำเสนอแนวคิดในการเปิดบัญชีเงินฝาก ของธนาคารแห่งประเทศไทย

จากอาจารย์จิรานุวัฒน์ ธัญญะเจริญ

โดย   รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2.    นำเสนอแนวคิดของส่วนการทะเบียนราษฎร ว่าด้วยสิทธิของบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนกรณีใช้เป็นหลักฐานประจำตัวในการทำธุรกรรม จากอาจารย์วีนัส สีสุข

โดย   อาจารย์กิติวรญา รัตนมณี  

ผู้ช่วยทางวิชาการ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ฯ

3.    นำเสนอแนวคิดในการให้บริการธนาณัติ

โดย   คุณสำราญ  เดชอรุณ  

หัวหน้างานบริการธนาณัติในประเทศและบริการตั๋วแลกเงินไปรษณีย์

 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

4.    นำเสนอแนวคิดจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

โดย   คุณอำนวย ทองอนันต์

ผู้แทนสำนักความมั่นคงกิจการภายในประเทศ

15.10-16.10 น.

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

16.10-16.20 น.

กล่าวปิดการเสวนา

     โดย ผศ.ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ 

รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดำเนินรายการโดย อาจารย์ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT)

 

 2. 

การประชุมวิชาการ Monday Meeting  ครั้งที่ 3[1] หัวข้อ “สิทธิในทรัพย์สิน (Right to property) ของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ
ศึกษากรณีสิทธิทางการเงินและการใช้บริการธนาณัติของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

 หลักการและเหตุผล

จนถึงปัจจุบัน ยังปรากฎว่ามีชาวไทยภูเขาจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทย รวมถึงยังไม่มีสัญชาติไทย หรือเป็นคนไร้สัญชาติ โดยสมาชิกในครอบครัวของคนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามาทำงานในเมืองเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว และทำให้เกิดความจำเป็นต้องพึ่งพาบริการระบบส่งเงินของไปรษณีย์ เพื่อส่งเงินกลับไปยังครอบครัว

อย่างไรก็ดี ระบบส่งเงินที่เป็นอยู่กลับไม่เอื้อต่อการส่งเงินกลับบ้านของคนไร้สัญชาติกลุ่มดังกล่าว เพราะแม้ว่าพวกเขาจะถือบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ซึ่งออกโดยกรมการปกครอง แต่กลับไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้บริการระบบส่งเงินที่ที่ทำการไปรษณีย์บางสาขา ปัญหานี้ได้กลายเป็นช่องทางให้แก่ผู้แสวงหาผลประโยชน์ โดยคนไทยบางกลุ่มบางคน ที่ทำเสนอตัวเป็น “ตัวแทน” ไปรับเงินให้ โดยคิดค่าตอบแทนการดำเนินการดังกล่าวในอัตราที่สูง ส่งผลให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบต่อกลุ่มชาวไทยภูเขาที่ยังไร้สัญชาติ

ปัญหาดังกล่าวเป็นที่มาของ โครงการช่วยเหลือบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติในการใช้ธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบไปรษณีย์ไทย[2] โดยนักศึกษาไทยที่ไปศึกษาระดับปริญญาตรีที่ต่างประเทศ ได้แก่ กิตติประภา จิวะสันติการ และวิริยา วิจิตรวาทการ แห่งStanford University, USA และชนปทิน ไพบูลย์พลาย้อย จาก The University of Texas at Austin, USA โดยทั้งสามคน ได้พัฒนาโครงการดังกล่าวขึ้นด้วยมุ่งหวังว่า ที่จะสร้างและพัฒนาความร่วมมือกับไปรษณีย์ไทย เพื่อผลักดันนโยบายอนุญาตให้ใช้บัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน แทนบัตรประจำตัวประชาชน ในการรับเงินผ่านระบบธนาณัติ

ทางคณะทำงาน Monday Meeting เห็นว่า หัวข้อและประเด็นดังกล่าวมีความน่าสนใจในเชิงการตอบโจทย์ของสังคม (social need) จึงนำมาสู่การพัฒนาเป็นความร่วมมือและเป็นหัวข้อหนึ่งของ Monday meeting ประจำวันที่ 10 สิงหาคม 2552

องค์กรรับผิดชอบ

·       ประชาคมนักศึกษาปริญญาโทและเอกเพื่อวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการประชากร

·       โครงการบางกอกคลีนิกเพื่อการให้คำปรึกษาด้านสถานะและสิทธิของบุคคล (BKK legal clinic) (ภายใต้กองทุนศาตราจารย์ คนึง ฦาไชย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

·       สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT)

·        Stanford HAAS Center for Public Service (Stanford University)

เครือข่าย/ภาคี: ต้นเรื่อง

·       Stanford HAAS Center for Public Service (Summer Fellowship Program)

ที่ปรึกษา

·         รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

·         คุณสินี จักรธรานนท์  ·         Mr. Jeffrey Hawthorne  ·         Mr. Nicholas Hope 

·         Mrs. Melanie Edwards ·  Mr. Patrick Windham ·         Mrs. Angini Kochar

·         Mrs. Therese Caouette ·         Mr. David Feingold

วัตถุประสงค์

1.      เพื่อนำเสนอ และศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและนโยบายต่อระบบการส่งเงินไปรษณีย์ที่เป็นอยู่

2.      เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนถึงกฎหมายและนโยบายในประเด็นสิทธิในทรัพย์สินของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

3.      เพื่อเป็นเวทีร่วมกันระหว่างภาควิชาการและเครือข่าย/ภาคี ในการพัฒนาองค์ความรู้ที่ชัดเจน ต่อประเด็นสิทธิในทรัพย์สินของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ อันไปสู่การกำหนดแนวทางในการขยายโอกาสให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติสามารถดำเนินธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบไปรษณีย์ไทยได้

4.      เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายการทำงานระหว่างภาควิชาการ ภาคราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิดังกล่าว

ผู้เข้าร่วมการประชุม

            ประมาณ 20-25 คน อันประกอบด้วย (1) ภาควิชาการ (2) ภาคราชการ (3) ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน (4) ภาคสื่อสารมวลชน (5) ผู้สนใจทั่วไป

สถานที่

ห้อง 221 คณะนิติศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 284040เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2009 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ไหมคะ

อ.แหววขอโต้แย้งค่ะว่า โครงการเสวนานี้เป็นโครงที่เกิดจากความริเริ่มของ อ.แหวว ที่ชื่อว่า Monday Meeting นะคะ

มิใช่ของทางทีมจ๊อบเท่านั้น

โครงการคลินิคบางกอกมาเกี่ยวข้องด้วย ก็คงในนามผู้สนับสนุนมังคะ

อ.ดูเหมือนจะบอกทุกคนแล้วว่า Monday Meeting เป็นเรื่องการเชื่อมนักศึกษาปริญญาโทเอกและนักวิจัยของ อ.แหววกับสังคม

ขอให้แก้ไขด้วย โครงการเสวนานี้ เป็นเรื่องระหว่าง ทีมจ๊อบกับ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขอให้แก้ไขด้วยค่ะ

และคณะทำงานที่ระบุมานั้นเป็นคณะทำงานวิจัย หรือคณะทำงานเสวนา

ที่ไม่กล้าระบุตัวเองเป็นคณะทำงาน เพราะอะไร ? แม้จะทำงานตกๆ หล่นๆ ก็ได้ทำงาน แต่ระบุคนที่ทำงานจากคณะนิติศาสตร์ มธ. ลงไปด้วย อย่าใส่ชื่อคนไม่ทำงานลงไปนะคะ

กรุณาจัดการให้ถูกต้องนะคะ

ขอบคุณไหม ขอบใจด๋าว

สำหรับการปรับโครงการให้สะท้อนความจริงของการทำงาน

 

ยังไม่ update เลยค่ะไหม

มีเวลาทำเสียนะคะ

 

สารบัญ

 

 

หน้า

1. กำหนดการ

1

2. เอกสารแนะนำโครงการประชุมวิชาการ Monday Meeting ครั้งที่ 3 หัวข้อ “สิทธิในทรัพย์สิน (Right to property) ของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ศึกษากรณีสิทธิทางการเงินและการใช้บริการธนาณัติของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

4

3. เอกสารแนะนำโครงการเสวนาวิชาการ Monday Meeting

8

4. เอกสารแนะนำโครงการช่วยเหลือบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติในการใช้ธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบไปรษณีย์ไทย

12

5. รายชื่อผู้ได้รับเชิญเข้าร่วมโครงการประชุมวิชาการ Monday Meeting ครั้งที่ 3

15

6. เอกสารประกอบการประชุม

 

6.1  

กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในทรัพย์สินของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

20

6.2  

กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในทรัพย์สินของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

23

6.3  

คู่มือการใช้บริการไปรษณีย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสดงตนเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

26

6.4  

หนังสือตอบจากกรมไปรษณีย์ไทย

ที่ ปณท รบ. (รง.4)/1862 ลว 13 กรกฎาคม 2552

เรื่อง ขอตรวจสอบสิทธิของบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย/บัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน กรณีใช้เป็นหลักฐานประจำตัวในการทำธุรกรรมการเงินกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

32

6.5  

หนังสือ มท.0309.1/8511 ลว 28 กรกฎาคม 2552

เรื่อง สิทธิของบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนกรณีใช้เป็นหลักฐานประจำตัวในการทำธุรกรรม

33

6.6  

หนังสือ มท.0309.1/ว 14 ลว 24 มกราคม 2551

เรื่อง ประเภทของบุคคลซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยที่ปรากฎตามเอกสารการทะเบียนราษฎร

36

6.7  

ตัวอย่างบัตรแสดงตนของคนต่างด้าวตามกฎหมายไทย

44

ไหมคะ

ในกำหนดการ อ.แหววเสนอให้ลงชื่อของคนที่มาจริงๆ

  1. เสนอให้ลงว่า ไหม เสนอความเห็นของ อ.วีนัส
  2. เสนอให้ลงว่า อ.แหววเสนอความเห็นของ อ.จิรานุวัฒน์
  3. เสนอให้ลงชื่อ คุณ อำนวย ซึ่งเป็นผู้ทำ สมช.
  4. เสนอให้ลงชื่อ คุณสำราญ ซึ่งเป็นผู้แทน บริษัทไปรษณีย์

เราควรให้เกียรติ์ ผู้ร่วมงานค่ะไหม โปรดแก้ไข และส่งใหม่นะคะ

ไหมคะ

ในเรื่องรายชื่อผู้เข้าร่วมนะคะ

เขาทำกันอย่างนี้ ในช่วงที่ประชาสัมพันธ์เชิญคนมาประชุม เราจะเผยแพร่ชื่อแขกที่เชิญค่ะ เพื่อให้คนที่คิดจะมา เห็นภาพของวงเสวนาที่น่าจะเกิดขึ้น

แต่เมื่อเสวนาเสร็จ เราทราบว่า ใครมาหรือไม่มา เราก็ลงชื่อที่เป็นจริงได้ค่ะ เอาคนที่ไม่มาออก ค่ะ

ในกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง

อ.สมเกียรติเน้น ม.๑๕ แห่ง ป.พ.พ. ด้วย

ควรใส่ด้วยนะคะ

สามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับพีดีเอฟได้ที่นี่ค่ะ

(คลิกดาวน์โหลด)

ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน2553

บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด

ได้อำนวยความสะดวกให้แก่

บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

หรือต่างด้าว

สามารถใช้บัตรดังกล่าวรับเงินธนาณัติได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท