การเขียนโครงการแบบใหม่


โครงการเชิงยุทธศาสตร์

แผนพันธกิจ                         พัฒนารูปแบบและวิธีการจัดบริการสวัสดิการ

ผลผลิต/โครงการ               ความสำเร็จของการดำเนินการสร้างศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบในการเลี้ยงดูเด็ก

1.ชื่อโครงการ                       โครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบในการเลี้ยงดูเด็กในรูปแบบสถาบัน

หน่วยงานรับผิดชอบ         สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท

ผู้อำนวยการโครงการ        ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท

2.หลักการและเหตุผล

                นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 กระแสการปฏิรูประบบราชการของประเทศต่างๆ ทั่วโลก การพัฒนาการบริหารงานในองค์กรภาครัฐในปัจจุบัน อยู่ในช่วงปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้องค์กรภาครัฐสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน  สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีภาระกิจหลักในการอุปการะเลี้ยงดูเด็กที่ประสบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่นับวันจะมีจำนวนเด็กเพิ่มมากขึ้น  โดยสถานสงเคราะห์ฯ ได้ดำเนินงานอุปการะเลี้ยงดู สั่งสอน อบรมและการจัดหาครอบครัวทดแทนทั้งครอบครัวอุปการะชั่วคราว และครอบครัวบุญธรรม  รวมทั้งการส่งคืนสู่ครอบครัวเดิมของเด็กด้วย  กลไกการขับเคลื่อนนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546  ที่ต้องสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในกฎกระทรวง  เพื่อให้เด็กได้รับการอุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอนและมีพัฒนาการที่เหมาะสม  อันเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันครอบครัว  รวมทั้งการปกป้องมิใช่เด็กถูกทารุณกรรม  ตกเป็นเครื่องมือในกานแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ  หรือถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม  รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือในการคุ้มครองเด็กระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้มีความเหมาะสม  เช่น  การร่วมกันดำเนินโครงการครอบครัวอุปการะและโครงการอื่นๆ ในอนาคต  นอกจากนี้ยังบัญญัติให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  มาตรา 49 วรรค 3  ส่งเสริมการศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมาตรา 52  เด็กและเยาวชนสตรีได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญาได้รับการคุ้มครองจากความรุนแรงและมีสิทธิได้รับการฟื้นฟูจากความรุนแรง และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  นอกจากนี้มีการกำหนดให้มีการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก

                ดังนั้นเพื่อให้สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท  เป็นกลไกสำคัญเพื่อบรรลุในการปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่และการส่งเสริมการเรียนรู้  ความเข้าใจแก่ภาคประชาชน เครือข่ายและกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อการสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชน  การมีสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชน  เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท ได้ตระหนักถึงปัญหาเรื่ององค์ความรู้ในการเลี้ยงดูเด็ก  อีกทั้งปัญหาความรุนแรงในครอบครัวต่างๆ ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะที่ช่วยเหลืออยู่ในสังคม  การที่หน่วยงานภาครัฐเพียงลำพังไม่สามารถบรรเทาปัญหาเหล่านี้ให้ลดลงได้  จำต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหา  โดยสังคมควรได้รับการกระตุ้นและสร้างสำนึกที่ดีในการปฏิบัติต่อเด็ก  ตั้งแต่ในระดับครอบครัวชุมชน ไปจนถึงระดับสังคม  เพื่อให้เด็กมีศักยภาพและดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข  สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไทที่เป็นหน่วยงานหลัก คือ หน่วยงานที่สำคัญในการสร้างศูนย์การเรียนรู้ และเป็นสถานสงเคราะห์ต้นแบบในการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน  โดยมีศูนย์การเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงดูเด็กเป็นสื่อในการดำเนินการร่วมกัน

3.วัตถุประสงค์ของโครงการ

                1. เพื่อสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท  เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้เรื่องเด็ก และเป็นสถานสงเคราะห์ต้นแบบในการเลี้ยงดูเด็กในรูปแบบสถาบัน

                2. เพื่อส่งเสริมสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  โดยสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท  ให้ชุมชน เครือข่าย แกนนำ มีองค์ความรู้เรื่องเด็กและสามารถถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมายได้

 

4. ขอบเขตและกระบวนการที่สำคัญ

                4.1 ขอบเขต               

ประชาชน

ขอบเขตโครงการ

 
กลุ่มผู้รับบริการเป้าหมาย

 

1.ประชาชนในเขตอำเภอปากเกร็ด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. เทศบาลในเขตอำเภอปากเกร็ด

2.นักศึกษา ประชาชน ที่เข้ามาศึกษาดูงานจากทั่วประเทศ

 

 
พื้นที่ทางภูมิศาสตร์เป้าหมาย

 

 

เขตอำเภอปากเกร็ด/และทั้งประเทศไทย

4.2  ขั้นตอนและกระบวนการในการดำเนินโครงการ

 

ขั้นเตรียมการ

 ขั้นเตรียมการ

                                                                                                                - ขออนุมัติดำเนินโครงการ

                                                                                                                - กำหนดแนวทางการดำเนินการ

                                                                                                                - แต่งตั้งคณะทำงานร่วมกับภาคประชาชน

                                                                                                                - จัดหาแผนปฏิบัติการ

ขั้นดำเนินการพัฒนา

                                                                                                                - สร้างศักยภาพเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง

                                               

                                                                                                                                ดำเนินการพัฒนา

ติดตามประเมินผล

                                                                                                - รวบรวมองค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงดูเด็ก

                                                                                                - ปรับปรุงสร้างและพัฒนาสถานที่

                                                                                                - พัฒนาเครือข่ายให้เข้มแข็ง

                                                                                                - สร้างคลังความรู้

พัฒนาขยายผลต่อเด็ก

                                                                                                - บูรณาการองค์ความรู้เรื่องเด็ก

                                                                                                - การเตรียมวิทยากร

 

เครือข่ายและท้องถิ่นมีองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงดูเด็กและการพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้มีองค์ความรู้

เรื่องเด็ก

 

                                                                                                       ติดตามประเมินผล

                                                                                                - จัดตั้งทีมงานติดตามประเมินผล 

 

5.  ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ

               

ผลผลิต

ผลลัพธ์

 

1.มีศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบในการเลี้ยงดูเด็ก

 

2.มีชุดความรู้ต่างๆ ในเรื่องการเลี้ยงดูเด็ก           ที่สามารถถ่ายทอดไปสู่กลุ่มเป้าหมาย

 

 

ประชาชน/เครือข่ายแกนนำนักศึกษา

สามารถเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวได้อย่างพึ่งตนเอง

 

  การเขียนมีทั้งหมด 15 หัวข้อหากมีผู้สนใจฝากเมลล์ไว้ทีเหลือมี                                             

                                             6.  ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

                                             7. ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์

                                             8. ผู้รับผิดชอบ                      

                                             9.  ทรัพยากรที่ต้องใช้                                            

                                           10. งบประมาณและประมาณการกระแสเงินสด                                         

                                           11. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ  (Stakeholder)                                          

                                          12. ประโยชน์ที่จะได้รับ               ด้านความคุ้มค่าในการลงทุน (ถ้ามี)

                                                                                                    ด้านผลประโยชน์ของโครงการ

                    

                                          13. โครงการอื่นที่เกี่ยวข้อง                                   

                                         14. ความเสี่ยงของโครงการ               

                                                      14.1 การระบุความเสี่ยง

                                                      14.2 วิเคราะห์ความเสี่ยง                                         

                                    15. ระยะเวลาดำเนินงานตามโครงการ

 

 

หมายเลขบันทึก: 283488เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ชลครับผม ขอบคุณล่วงหน้าน้าคาฟ

ขอรูปแบบเต็มเลยนะคาฟ

การเขียนมีทั้งหมด 15 หัวข้อหากมีผู้สนใจฝากเมลล์ไว้ทีเหลือมี

6. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

7. ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์

8. ผู้รับผิดชอบ

9. ทรัพยากรที่ต้อใช้

10. งบประมาณและประมาณการกระแสเงินสด

11. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ(Stakeholder)

12. ประโยชน์ที่จะได้รับ ด้านความคุ้มค่าในการลงทุน (ถ้ามี)

ด้านผลประโยชน์ของโครงการ

13. โครงการอื่นที่เกี่ยวข้อง

14. ความเสี่ยงของโครงการ

14.1 การระบุความเสี่ยง

14.2 วิเคราะห์ความเสี่ยง

15. ระยะเวลาดำเนินงานตามโครงการ

ขอรูปแบบเต็มเลยนะฮะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท