แพทยศาสตรศึกษา การบริบาลสุขภาพโดยมุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง


ระบบสุขภาพ และบริการสาธารณสุขที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง ต้องให้การบริบาลสุขภาพแบบเป็นองค์รวมที่มีคุณภาพ เน้นถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ การเข้าถึงระบบบริการอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม

             ได้ไปประชุม   หลักสูตรเวชศาสตร์ชุมชน ของศิริราช   ได้เห็น สรุปข้อเสนอแนะการประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 8   จัด 20- 22 กรกฎาคม  2552 ณ อาคาร แพทยสมาคม      แล้ว   ในนามผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ก็ชื่นใจ ถ้าการพัฒนาทำไปในแนวทางนี้ ระบบสาธารณสุข ของประเทศไทย น่าจะมีทิศทางในการส่งเสริมสุขภาพ ปฐมภูมิ การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ การกระจายทรัพยากรสุขภาพ   ระบบสาธารณสุขคงสมส่วนกว่านี้ที่ส่วนหัวโต ส่วนเท้าลีบ จึงอยากนำมาถ่ายทอดต่อ
              การประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ
.. 2499  ต่อจากนั้นได้มีการจัดประชุมทุก 7 ถึง 8 ปี  ต่อเนื่องกันมาอีก 7 ครั้ง  ครั้งสุดท้าย คือครั้งที่ 8   วัตถุประสงค์หลักของการจัดประชุมคือเพื่อปรับปรุงการจัดการศึกษาแพทยศาสตร์ของประเทศให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้ได้บัณฑิตแพทย์ที่มีคุณภาพและคุณธรรม  สามารถรับใช้ประเทศชาติได้ตรงตามความต้องการของสังคม และสอดคล้องกับนโยบายด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 
            เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพปฐมภูมิค่อนข้างมาก  เช่นในข้อ 1-7 ,11 และอีกหลายข้อ   และตรงกับในส่วนของกลุ่มที่ต้องการปฏิรูประบบสุขภาพ  อ่านแล้วตรงใจ  คิดได้ครอบคลุม   อยากขยายคลื่นความดีนี้ อย่าได้เป็นแต่ข้อเสนอแนะ 


สรุปข้อเสนอแนะการประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 8

การบริบาลสุขภาพโดยมุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง  (People – Centered Health Care)

วันที่ 20- 22 กรกฎาคม  2552 ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี แพทยสมาคม

             
1) ระบบสุขภาพ และบริการสาธารณสุขที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง ต้องให้การบริบาลสุขภาพแบบเป็นองค์รวมที่มีคุณภาพ เน้นถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ การเข้าถึงระบบบริการอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม ควบคู่ไปกับการเสริมพลังในภาพประชาสังคม และการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพโดยให้ความสำคัญในประเด็นต่อไปนี้

·       การแพทย์ด้วยจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์

·       การให้ประชาชน/ชุมชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดูแล สร้างเสริมสุขภาพ

·       การใช้ยา ผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม คุ้มค่า

2)      การจัดโครงสร้างระบบสุขภาพ ฯ ต้องมีความครอบคลุม มีการกระจายทรัพยากร

สุขภาพ อย่างเหมาะสม และเป็นธรรม โดยคำนึงถึงบทบาท หน้าที่ และศักยภาพของกำลังคนในทุกระดับ

3) ระบบสุขภาพ ฯ ต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาชนและชุมชนให้มีสำนึกในการส่งเสริมและการดูแลสุขภาพ (health consciousness)  ทั้งของบุคคล ครอบครัว และสังคม โดยเน้นการมีส่วนร่วม เพื่อเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนกำลังคนด้านสุขภาพ ภายใต้วามร่วมมือขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยบริการปฐมภูมิ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการจัดบริการ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่สำคัญในระดับภูมิภาคและประเทศ

4)      ระบบสุขภาพ ฯ ต้องเน้นการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะผู้สูงอายุและคนพิการที่เข้าถึงบริการได้ยาก

5)      ระบบสุขภาพฯ จะต้องเป็นระบบที่บูรณาการทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ) โดยมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละระดับอย่างชัดเจน และมีความเชื่อมโยงโดยตรงและต่อเนื่อง ผ่านระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริการสุขภาพในอนาคต

6)      ระบบสุขภาพ ฯ ต้องให้ความสำคัญกับการจัดบริการที่ระดับปฐมภูมิ ซึ่งใกล้ชิดกับชุมชนและเข้าถึงได้ จัดบริการเชิงรุก ผสมผสานทั้งการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและ ฟื้นฟูสภาพ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

7)      ระบบสุขภาพ ฯ รวมทั้งการจัดการศึกษาแพทยศาสตร์ ควรคำนึงถึงทิศทางการพัฒนา

ระบบบริการที่จะใช้ยุทธศาสตร์การกระจายบริการผู้ป่วยนอก และการรวมศูนย์การบริหารจัดการทรัพย์ยากรเพื่อบริการผู้ป่วยใน

                8)  แพทย์ต้องมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มุ่งถึงประโยชน์ส่วนรวม มีความรู้ ความสามารถ และ ทักษาที่สำคัญต่อการให้การบริบาลสุขภาพที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง สามารถน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในเวชปฏิบัติ

                9)  ในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้าศึกษาหลังสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต  นอกจากการพิจารณาความรู้ ความสามารถทางด้านวิชาการ สถาบันต้องให้ความสำคัญต่อคุณธรรมจริยธรรม เจตคติที่ดีต่อการศึกษาและวิชาชีพ วุฒิภาวะทางอารมณ์ การสื่อสาร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น

10)   ระบบสุขภาพ ๆ / สถาบัน / องค์กร ต้องให้ความสำคัญในการดูแลแพทย์และบุคลากร

ในระบบบริการสุขภาพ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถปฏิบัติการกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข โดยจัดระบบการตอบแทนทั้ง financial และ non-financial  ให้สมดุลและสอดคล้องกับการแพทย์ด้วยจิตวิญญาณของการเป็นมนุษย์

                11)  ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมให้มีแพทย์ผู้ให้บริการปฐมภูมิในจำนวนที่เหมาะสมกับปริมาณงาน และมีความรู้ ทักษะและเจตคติ ด้านเวชศาสตร์ครอบครัว

                12)  แพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องกำหนดสัดส่วนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ ให้เหมาะสม เป็นธรรม และสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละพื้นที่

                13)  สถาบันฯ ควรแสดงให้เห็นว่าได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในการปรับปรุงวัตถุประสงค์และสัดส่วนที่เหมาะสมของเนื่องหาของหลักสูตรในการผลิดบัณฑิตแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้ได้แพทย์ซึ่งสามารถให้การบริบาลสุขภาพที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลางและสอดคล้องกับแนวดน้อมความต้องการด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธภาพ ทั้งนี้ ควรเน้นหรือเพิ่มเติมเนื้อหาที่สำคัญ ต่อไปนี้

                1.  การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตลอดจนการจัดการให้ภาวะวิกฤต

                2.  การแพทย์ด้วยจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม มี ความรับผิดชอบ เมตตาธรรม มีจิตบริการ ดูแลผู้ป่วยด้วยความรักและเอาใจใส่เสมือนญาติพี่น้อง

                3.  การเลือกใช้ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีด้านสุขภาพเพื่อการวินิจฉัย และการตรวจรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม และคุ้มค่า ตามหลีกฐานเชิงประจักษ์

                4.  เวชปฏิบัติเชิงรุก และการร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ และการฟื้นฟูสภาพ

5.       การดูแล และสร้างเสริมสุขภาพตนเอง

6.       การวิเคราะห์วิจัยปัญหาสุขภาพชุมชน โดยประยุกต์และผสมผสานความรู้สาขาต่าง ๆ

อย่างเหมาะสม

7.       การตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน

8.       การถ่ายทอดความรู้ และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์ ในบรรยากาศที่

ให้เกียรติ รับฟัง และเข้าใจผู้อื่น

                9.  การทำงานกับชุมชน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี การระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน และผู้ให้บริการในภาคส่วนอื่นในกิจกรรมด้านสุขภาพต่าง ๆ ตลอดจนการเสริมพลังจิตอาสาในชุมชน

10.     ภาวะผู้นำ สามารถสร้างทีมสหวิชาชีพได้

11.    การให้บริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีคุณธรรม

12.    บทบาท คุณประโยชน์ และแนวทางการบูรณาการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์

ทางเลือกเข้ากรับระบบสุขภาพของประเทศ เพื่อเลือกให้หรือส่งต่อได้อย่างเหมาะสม

13.    การพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

14.    สุนทรียศาสตร์ ชีวิตและความตาย วัฒนธรรม สังคม กฎหมาย เศรษฐศาสตร์และ

สิ่งแวดล้อมของชุมชน เพื่อเชื่อมโยงกับการบริบาลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

        14)   แพทยสภา ราชวิทยาลัย และหส่วยงานที่เกี่ยวข้องควรัดให้มีการทบทวนข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติในโรคงการเพิ่มพูนทักษะสำหรับบัณฑิตแพทย์จบใหม่ เพื่อให้พร้อมที่จะปฏิบัติงานในระบบบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกำหนดกิจกรรมและช่วง เวลาของการปฏิบัติงานในช่วงชดให้ทุนให้เหมาะสมสำหรับการเข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทาง หรือเพื่อเพิ่มพูนทักษะวิชาชีพที่ต้องการไปพร้อม ๆ กันด้วย

         15)  สถาบันการศึกษาแพทยศาสตร์ ต้องบูรณาการเนื้อหาวิชาอย่างต่อเนื่องหลอดหลักสูตรและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วม ความต้องการและความถนัดของผู้เรียน การลงมือปฏิบัติจริง เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถบริบาลสุขภาพที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง รวมทังจัดสรรทรพัยากรการเรียนรู้ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          16)  สถาบันการศึกษาฯ ต้องพัฒนาระบบการประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมทุมิติ อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการประเมินเจตคติในการบริบาลสุขภาพที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการประเมินความก้าวหน้า และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้สอน และผู้เรียนเป็นระยะ ๆตลอดจนติดตามผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์     

                 17)   สถาบันการศึกษา ๆ ต้องแสดงให้เห็นว่า มีการประกันคุณภาพในการผลิตบัณฑิตแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างเป็นระบบ และครบวงจร เพื่อแสดงว่าผู้สำเร็จการศึกษาสามารถให้การบริบาลสุขภาพโดยมุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง

                18)   สถาบันการศึกษาฯ ควรสนับสนุนให้มีการนำแนวปฏิบัติในการบริบาลสุขภาพที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลางมาใช้พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกสาขา และสนับสนุนให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบสหวิชาชีพ

                19)  สถาบันการศึกษาฯ ต้องพัฒนาระบบสนับสนุน ให้แพทย์ที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการ และมีเจตคติทีดีในการพัฒนาตนเอง มีความต้องการเป็นครูแพทย์เพิ่มขึ้น พร้อมสร้างแรงจูงใจ แลกำหนดมาตรการเพื่อธำรงไว้ซึ่งอาจารย์ที่เป็นแบบอย่างในการบริบาลสุขภาพที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง

                20)  ระบบสุขภาพ ฯ ควรเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงการควบคุมคุณภาพให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

                21)  ระบบการเงินการคลังของระบบสุขภาพของประเทศ ควรให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมและประสิทธิภาพในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรตามความจำเป็นและความต้องการด้านสุขภาพรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพผ่านการให้กลไกการจ่ายเงินแก่ผู้ให้บริการเป้นสำคัญ

                22)  ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนควรดำเนินการอย่าเป็นรูปธรรม ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของประเทศ เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพ และบริการสาธารณสุข ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 โดยมีเป้าหมายให้การบริบาลสุขภาพที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ระบบการศึกษาและการวิจัยจะต้องได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพฯ

                23)  สถาบันการศึกษา ฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในการบริการจัดการศึกษา เพื่อสร้างแพทย์และบุคลากรในระบบบริการสาธารณสุขที่พึงประสงค์ และพัฒนารูปแบบการบริบาลสุขภาพที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลางที่เหมาะสมในประเทศทั้งในแบบสหสถาบันและสหสาขาวิชาชีพ ควรจัดระบบให้สามารถนำผลงานวิจัยเหล่านี้ไปใช้ในการบิการสาธารณสุขของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงมีผลต่อความก้าวหน้าทางวิชาการด้วย

                24)  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีกลไกประเมินยา ผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และกำหนดนโยบายให้มีการใช้ที่เหมาะสม รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการใช้ยาจากบัญชียาหลักแห่งชาติ รัฐต้องจัดให้มีการเข้าถึงยา ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีด้านสุขภาพโดยถ้วนหน้ารวมถึงการส่งเสริมการใช้การแพทย์แผนไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม

 

 

               

หมายเลขบันทึก: 283484เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จิตวิญญาณความเป็นมนุษย์

วันนี้เรายังเป็นมนุษย์อยู่หรือ?

อ่านไม่หมด แต่ขอเดาว่าดีมากๆ

ขอบคุณที่กรุณาแบ่งปันค่ะ

ทราบว่าได้มีคณะผู้รับข้อเสนอแนะ 24 ประเด็นดังกล่าวไปวางแผนและดำเนินการ

เข้าใจว่าคงกระจายอยู่ในภารกิจขององค์กร/หน่วยงานที่รับผิดชอบตรง...ซึ่งยังค้นไม่พบว่าได้มีการ ป.ช.ส.ผ่านแหล่งใด

ปีนี้ 2556 แล้ว..ทราบว่า กสพท.เตรียมจะจัดประชุมทบทวนการดำเนินงานเร็วๆนี้..

ท่านผู้เกี่ยวข้องคงจะได้กรุณาแบ่งปันในโอกาสต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท