บ้านครู...กับการเปลี่ยนแปลง ภายใต้เทคโนโลยีที่เป็นใจ


" เราจะไม่ยอมให้เพื่อนครู และนักเรียน อยู่ในโรงเรียนที่ด้อยโอกาสและต่ำกว่ามาตรฐานนานเกินความจำเป็น โดยเด็ดขาด "ความเป็นผู้นำ......ตราบใดที่เราไม่ได้อยู่ในสูญญากาศ.....การบริหารการเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะในยุคดิจิตอล ยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ ภายใต้สถานการณ์ของเทคโนโลยี ที่เป็นใจเช่นนี้ นี่คือ " ภาพความคิดพื้นฐาน

ความเป็นผู้นำ......ตราบใดที่เราไม่ได้อยู่ในสูญญากาศ.....การบริหารการเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะในยุคดิจิตอล ยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ ภายใต้สถานการณ์ของเทคโนโลยี  ที่เป็นใจเช่นนี้   นี่คือ " ภาพความคิดพื้นฐาน  ในการทำงาน  บนพื้นที่ 57ไร่ 2งาน 70 ตารางวา  โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา อำเภอบ้านแท่น  จังหวัดชัยภูมิ   ได้จัดบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ช่วงชั้นที่ 3-4 สำหรับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย 1430 คนในปี 2549 ที่ผ่านมา บุคลากร ครูประจำการ 50คน พนักงานราชการ 6 คน ครูพิเศษ 4 คน นักการภารโรง 5 คน และลูกจ้างทำความสะอาด2 คน ทั้งนี้มีงบประมาณเฉลี่ยปีละประมาณ 15,300,000 บาท โดยจำแนกเป็นเงินเดือนปีละประมาณ 11,406,760 บาทและงบอุดหนุนรายหัวปีละประมาณ 3,893,240 บาท โดยมีภารกิจภายใต้นโยบายเฉพาะ เร่งด่วน ในช่วงปี 2545-2550 คือ  เป็นโรงเรียนแกนนำการใชหลักสูตรสถานศึกษา ปี 2545   เป็นโรงเรียนผู้ใช้หลักสูตร ปวช.ต่อเนื่องมาตั้งแต่กรมสามัญศึกษารับผิดชอบ  .ในปี 2546 ร่วมเป้นสมาชิก "ร่วมคิด ร่วมใจพัฒนาระบบราชการไทย ของ ก.พ.ร."  และ  ปี 2547 เข้าร่วมโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ( ปี 2550 ยังไม่ได้รับการประเมิน )  เข้าร่วมโครงการวิธีปฎิบัติที่เป็นเลิศ ( BEST  PRACTICES ) ของกระทรวงศึกษาธิการในปี 2549-2550 และได้รับประกาศยกย่องให้เป็นโรงเรียนที่มีวิธีปฎิบัติที่เป็นเลิศ ( BEST  PRACTICES ) ด้านการประเมินผลการปฎิบัติงานรายบุคคล ประจำปี 2550 จากสถาบันพัฒนาครู  คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา  และจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ 

                         ภายใต้ภาวะ และสถานการณ์ที่ต้องเผชิญโดยไม่มีทางเลี่ยงกับเปลี่ยนแปลง ในระบบและวงการ การศึกษา เมืองไทยบ้านเรา มีมาตลอด ทั้งที่เลือกได้  เลือกไม่ได้ ทั้งผ่านนโยบาย และภาวะอุดมการณ์แห่งการตัดสินใจ เพื่อสร้างเสริมพลังการเปลี่ยนแปลงที่มีความสุข ในการทำงานเพื่อการศึกษาและเพื่อนครู โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา เจอทั้ง"รับและรุก "มาตลอด ด้วยความคิอปิดท้ายที่ว่า " เราจะไม่ยอมให้เพื่อนครู และนักเรียน อยู่ในโรงเรียนที่ด้อยโอกาสและต่ำกว่ามาตรฐานนานเกินความจำเป็น โดยเด็ดขาด "นโยบายขับเคลื่อนการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ของ สพฐ. มาเดินเคลื่อนด้วยความเร็วสูง ในปีปลาย  2549  ด้วยหวังว่าจะกระจายอำนาจจากส่วนกลางกระทรวงศึกษาธิการ สู่ฐานโรงเรียน ให้เห็นดอกเห็นผล และแนวทางชัดเจน ในปี 2550 ทั้งด้านวิชาการ  งบประมาณ  บุคลากรและบริหารงานทั่วไป  ภายใต้แผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบราชการไทย ของก.พ.ร. เป็นแรงผลัก  โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา ดำเนินชีวิตในบ้านครูอย่างไร ?ขอเก็บมาเล่าสู่ฟัง...เพื่อการสะสมประสบการณ์ (กันลืม) และแลกเปลี่ยนมุมมอง กับหลายๆคน ในหลายๆโรงเรียนที่มีโอกาสผ่านถนนคนเรียน สายนี้...ร้านนี้ที่ชื่อ  "บ้านครูกับการเปลี่ยนแปลง  สู่.... ยุคปฎิวัติความรู้ภายใต้เทคโนโลยีที่เป็นใจ"

                      ก่อนอื่นขอนำมองประเด็น" ข้อจำกัด กับแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อน : รองรับการกระจายอำนาจ "

                      เพื่อนครูและผู้ใส่ใจในงานการศึกษา  ที่รักทุกคน ถ้าเรามองย้อนหลังในปี 2545-2546  เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นมากมายในแวดวงการศึกษาเมืองไทย  ปี 2545 เราต้องเผชิญกับหลักสูตรสถานศึกษาที่ต้องเร่งรัดจัดทำและประกาศใช้ให้ทันตามเงื่อนไขกฎหมายการศึกษา พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ2545 เราต้องเผชิญกับ พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 และทุกคนต้องรับกับยุค IT เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เดินหน้ารุกเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างรวดเร็ว ในปี 2546  ระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ มีผลบังคับใช้ ที่หลายประเด็นเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับโรงเรียน ทั้งในบทบาทผู้บริหารโรงเรียน และบทบทองค์คณะบุคคลที่ผู้บริหาร ต้องประสานงานและสร้างเสริมความเข้มแข็งให้เกิดเคียงบ่าเคียงไหล่ กับการขับเคลื่อนงานอื่นๆ

                              ประเด็นสำคัญในปี 2546   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.) ได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ( พ.ศ. 2546-2550) และประกาศโครงการพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีเป้าหมายขับเคลื่อนด้วยความเร็วที่ปลอดภัยสู่ กระทรวง  ทบวงกรมต่างๆ ทุกแห่งอย่างชัดเจน หลายคนคงจำได้ "บัตรข้าราชการ ของเรา ได้จัดทำภายใต้สลักหลัง ด้วยข้อความว่า ....บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ..... ตั้งแต่ปี 2547 เรื่อยมา " นั่นคือเงาการเปลี่ยนแปลง คนทำงานราชการ เริ่มได้รับแต่หลายๆคน ก็ไม่ได้คิดอะไรในช่วงนั้น เพราะยังเป็นวิถีปกติทำงานได้ ได้เงินเดือน ไม่มีผลกระทบด้านปากท้องและความเป็นอยู่ ระดับครัวเรือน  แต่เราในฐานะผู้นำ....เมื่อหลายๆอย่างปรากฎและเผชิญ จึงเกิดคำถามกับต้วเอง ตามมาว่า.......

                              1. " เรากำลังอยู่  ณ  จุดไหน? ".....พร้อมที่จะร่วมรองรับการพัฒนาระบบราชการไทย  หรือยัง? .....

                              2. " แล้ว...เราจะก้าวต่อไปอย่างไร ? " ....... ตัวเรา และทีมงาน จึงจะมีความสุขในการทำงาน ในปี 2550..

                              3. " ที่อื่นๆ...เขาทำอย่างไร ? "....... ทำอย่างไร? .....เราจะได้เทียบเคียง 

                                คำถามเหล่านี้ ...ล้วนต้องเร่งหาคำตอบทั้งสิ้น ........

                                " นับเป็นจุดเริ่มต้น  บนจุดเปลี่ยนที่กำลังจะขับเคลื่อน แห่งแรงบันดาลใจ ภายใต้แผนพัฒนาระบบราชการไทย ของก.พ.ร."  โรงเรียนบ้านแท่นวิทยาจึงเข้าร่วมเป็นสมาชิก " กลุ่มร่วมคิดร่วมใจพัฒนาระบบราชการไทย"กับก.พ.ร. ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา  ทำให่เห็นภาพการขับเคลื่อนที่แทรกเข้าสู่กระทรวงต่างๆอย่างต่อเนื่อง ในหลากหลายกิจกรรม และทำให้เห็นความจำเป็นของการสรรหากลยุทธ์  ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง จากผู้นำที่มีประสบการณ์เพื่อสะสมไว้ให้ได้มากๆ ด้วยคิดว่า " เราคงจะรอให้เขตพื้นที่เข้มแข็งก่อน จึงวางกรอบกลยุทธ์ บริหารการเปลี่ยนแปลง คงไม่ทันการณ์แน่ๆ " เนื่องจากบริบทโรงเรียนแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน ย่อมใช้เวลาเท่ากันในการจัดการความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงไม่ได้  ที่สำคัญ อีกประการ  คือ เราให้ความสำคัญและเน้นระบบบุคคล ก่อนสิ่งอื่น ในช่วงมีการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการมากมายขนาดนี้  และคิดเสมอว่า " เราจะไม่ยอมให้เพื่อนครู และนักเรียนอยู่ในโรงเรียนที่ด้อยโอกาส นานเกินความจำเป็น " โดยเด็ดขาด

                                  นั่นคือ  ปี 2546   จึงเรียนรู้สิ่งที่กำลังขับเคลื่อนในวงการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในหลากหลายรูปแบบทั้งเป็นทางการไม่เป็นทางการ   ในปี 2547 การร่วมคิดร่วมใจกับทีมงาน ปรับโครงสร้างระบบงาน เพื่อกำหนดขอบเขตการทำงาน กำหนดขอบเขตการประสานงาน อย่างจริงจังเพื่อรองรับการกระจายอำจานจึงเกิดขึ้น  โดยนำ ระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2546 เป็นแกนการพิจารณาและมองกรอบลู่วิ่ง ในขอบเขตงาน จึงสรุปขอบเขตงานไว้ 4 กลุ่ม คือ

                                    1.กลุ่มอำนายการและนโยบาย

                                    2.กลุ่มบุคลากรและมาตรฐานการศึกษา

                                    3. กลุ่มสร้างเสริมคุณภาพผู้เรียน

                                    4. กล่มส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษา 

                                  ทั้งนี้โครงสร้าง ที่ปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ  มากที่สุด คือ การนำงานบุคลากร  งานรับนักเรียน  จากงานบริหารทั่วไป มารวมกับงานวิชาการ  เพื่อให้ส่งผลต่อการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขับเคลื่อนได้คล่องตัวมากขึ้น และการนำงานกิจการนักเรียน จากงานบริหารทั่วไป มาวิเคราะห์ขอบข่ายในกลุ่มสร้างเสริมคุณภาพผู้เรียน  ตามบริบทโรงเรียนโดยเน้น ระบบดูแลนักเรียนเป็นแกนเชื่อมงาน

                                  กลุ่มอำนวยการและนโยบาย  เป็นการนำขอบข่ายงานงบประมาณ  งานบริหารทั่วไปบางเรื่อง และงานบุคลากรบางส่วน  มารวมเพื่อลดขั้นตอนการทำงาน และเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน โดยเน้น การนำกลยุทธ์สู่แผนปฎิบัติการ ทำงานที่เน้นผลงาน และเป้าหมาย  และมีการนำ IT เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบ เพื่อช่วยเสริมคุณภาพการตรวจสอบและลดขั้นตอนการทำงาน

                                  ส่วนกลุ่มส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษา  เป็นการนำงานบริหารทั่วไป มาวิเคราะห์ขอบข่ายงานให้เหมาะสมกับบริบท และเน้นลดขั้นตอนการทำงานให้มากที่สุดเพื่อความสะดวก  ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ทันการใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง

                                 คำถาม...ตามมา ว่า ....ทำไปทำไม ? ...ทำเพื่ออะไร? ........เป้าหมายการขับเคลื่อน  คืออะไร ?.......ทั้งที่ยังไม่สั่งการ

                                คำตอบ  คือ  " เพื่อจะนำไปสู่การกระจายอำนาจการทำงาน และกระจายการตัดสินใจ ในระดับโรงเรียน "ซึ่งส่งผลต่อการลดขั้นตอนการทำงาน และการเปลี่ยนวิธีทำงาน  เปลี่ยนบุคคลทำงาน เปลี่ยนจุดทำงานของบุคคลได้  อย่างเป็นที่พึงพอใจของทุกคน "

                                ในปี 2547 เสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อขออนุมัติใช้โครงสร้าง และได้รับการอนุมัติให้ใช้โครงสร้างในปี 2548  เราจึงมีเวลาทดลองบริหารจัดการภายใต้โครงสร้างระบบงาน ในปี 2547 และ บริหารจัดการภายใต้โครงสร้างระบบงาน อย่างเต็มที่ ในปี 2548 เป็นต้นมา

                                ระบบบริหารโรงเรียนบ้านแท่นวิทยา :เตรียมรองรับการกระจายอำนาจ จากข้อจำกัดแห่งปัจจัยบุคคล  เวลา และอุดมการณ์ ภายใต้นโยบายและภารกิจเฉพาะ ทีมงานบริหารจึงนำหลักการบริหารกิจการภาครัฐที่ดี (PMQA)  หลักการเทียบเคียงสมรรถนะ ( BM ) และการมองความสำเร็จแบบสมดุลรอบด้าน (BSC)  มาใช้ในการขับเคลื่อนการบริหารภายใต้โครงสร้างที่กำหนด โดยเน้น  การนำองค์กร  การทำแผนกลยุทธ์  เน้นครูและนักเรียน  ระบบบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินผลการปฎิบัติงาน การสื่อสาร การจัดการความรู้ และเน้นผลลัพธ์

                             ปี 2548  การขับเคลื่อนภายใต้กลยุทธ์ ยังไม่จูงใจได้มากนัก  จึงกระโดดเข้าร่วมโครงการ Best Practices ของกระทรวงศึกษาธิการ โดย สคบศ.และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เป็นผู้ประสานงานรับผิดชอบโครงการ  ในช่วงนั้น ดเพียงว่า " เราคงจะได้รับกลยุทธ์  กระบวนการ  เกณฑ์การบริหารกิจการภาครัฐที่ดี (PMQA) และกระบวนการเทียบเคียง(BM) มาสู่การพัฒนาโรงเรียน แบบก้าวกระโดด  ให้ทันต่อการปรับการทำงานของตัวเอง และทีมงาน  ในปี 2550" เท่านั้น

                             นับเป็นแรงบันดาลใจ ช่วงที่ 2  ที่ทำให้ผู้นำแถว 1 และ ผู้นำแถว 2  ต้องมองหาปัจจัยแห่งความสำเร็จ มาช่วยเป็นตัวเร่งในการขับเคลื่อนการเดินทางแต่ละครั้งของการทำงาน      และการบริหารการเปลี่ยนแปลงในหลายๆประเด็น และพบว่า  ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่น่าจับตามอง และต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือ

                             1. ระบบงาน        

                             2. ความเป็นโรงเรียนอิเลคทรอนิกส์ ( E-School )

                            3. เกณฑ์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

                            4. การเรียนรู้และการมีส่วนร่วม

                            5. การสื่อสารและสร้างความเข้าใจ

                            6. ความเชื่อมั่นและการยอมรับผู้นำของทีมงาน

                           7. การประเมินผลการปฎิบัติงาน  ตามเกณฑ์ตัวชี้วัด

                      ในปี 2550  กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศหลักเกณฑ์และขั้นตอนการกระจายอำนาจ  ประกาศรายชื่อสถานศึกษาประเภทที่ 1 และ ประเภทที่ 2    โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา เป็นโรงเรียนในประเภทที่ 1  เพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับประกาศหลักเกณฑ์และขั้นตอนการกระจายอำนาจ มากขึ้น  จึงได้ร่วมคิดร่วมใจ ปรับงานภายใต้โครงสร้างระบบงาน อีกครั้ง  โดยนำหลักการปฎิบัติบริหารการเปลี่ยนแปลงง่ายๆ " ECRS" ของก.พ.ร. มาสู่การวิเคราะห์งาน  คือ

                             1. หลักขจัด  ( Eliminate)  ร่วมพิจารณาว่างานใดในโครงสร้างระบบงาน ที่ควรตัดทอนออกไป เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และสอดคล้องกับการกระจายอำนาจ มากยิ่งขึ้น

                            2. หลักรวม  ( Combine)  ร่วมพิจารณาว่างานที่เหลือจากการตัดทอน  สิ่งใดจะรวมกันได้  เพื่อให้ลดขั้นตอนการทำงาน 

                           3. หลักลำดับใหม่ ( Rearrange) ร่วมจัดขั้นตอนการทำงานใหม่ (พรรณนางานใหม่) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนหน้าที่รับผิดชอบของคน หรือเปลี่ยนจุดที่ทำงานด้วย เพื่อให้งานเร็วขึ้น

                           4. หลักทำให้ง่ายขึ้น ( Simplicity)  ร่วมทำให้การทำงานง่ายขึ้น  แต่ผลงานเท่าเดิมหรือมากขึ้นกว่าเดิม

                             การขับเคลื่อนกาบริหารและจัดการศึกษา โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา  จึงได้นำปัจจัยแห่งความสำเร็จ  กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลง  มาประกอบเป็นพันธกิจ และกลยุทธ์ในการปรับการทำงาน  ชัดเจนยิ่งขึ้นในปี 2550

                       ผลสำเร็จที่พึ่งพอใจ:ภายใต้โครงสร้างระบบงาน:รองรับการกระจายอำนาจ 

                         1.บุคลากรทำงานเป็นระบบ  มีขอบข่ายงานที่ชัดเจน เกิดความคล่องตัวในการทำงาน และลดขั้นตอนการทำงาน ได้มากขึ้น

                         2. บุคลากรมีขั้นตอนกระบวนการพัฒนาตนเอง จากฐานข้อมูลการประเมินผลการปฎิบัติงานมากขึ้น

                         3. บุคลากรมีความเข้าใจ  มีความตระหนัก มีความพร้อม และมีความมั่นใจ  ในการรองรับการกระจายอำนาจ ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง โดยโรงเรียนเป็นฐาน  กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น  ในปี 2550 มากยิ่งขึ้น

                         4. บุคลากรทุกคนใช้ IT คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนางาน  เพื่อการสื่อสาร เพื่อการสืบค้น เพื่อการสร้างองค์ความรู้และเพื่อการบริหารจัดการ ได้เหมาะสมมากขึ้น  ทุกคนสะวกใช้ และใช้อย่างปลอดภัย ในการใช้งานอย่างไม่จำกัด พื้นที่และเวลา ประหยัดเวลา  ประหยัดคน และลดขั้นตอนการทำงานได้อย่างดียิ่ง

                         5. โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา  เป็นที่ยอมรับของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายองค์กรต่างๆมากขึ้น เช่น เป็นแหล่งศึกษาดูงาน เป็นแหล่งฝึกงาน เป็นวิทยากรขยายประสบการณ์การพัฒนาองค์กรเพื่อองรับการกระจายอำนาจ อย่างต่อเนื่อง 

                           สิ่งที่ได้เตรียมใจ  เตรียมพื้นฐานประสบการณ์ชีวิตครู  เตรียมทักษะชีวิตการทำงานครู ไว้อย่างต่อเนื่อง 3 ปี     ปี 2550 เรามั่นใจทีมงาน ในการร่วมตัดสินใจ  เมื่อการกระจายอำนาจบริหารจัดการศึกษา มาสู่โรงเรียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้การบริหารฐานโดยฐานโรงเรียน เป็นไปอย่างคล่องตัว ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสม่ำเสมอ อันจะนำไปสู่ความปลอดภัยในร่างกาย และวิถีชีวิตของทุกคน ชาวบ.ท.ได้ ในปี 2550 ........เพียงอยากเห็นดอกไม้บาน  กลางใจครู ....เพื่อสู่เด็ก..ทีแววตา..รอคอยความหวังและกำลังใจ จากครู.....ทุกคน

                            เล็กๆน้อย  ฝากไว้เพื่อเตือนความจำ ในการร่วมคิด ร่วมใจ ในรั้ว  บ.ท.  ไว้ที่หน้าจอถนนคนเรียน ฉบับเสาร์นี้ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 

                          วันนี้คงไม่มีหากไม่มี ผู้นำแถวสอง คือรองผู้อำนวยการทุกกลุ่ม และผู้นำแถวสาม คือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ทุกกลุ่มสาระฯ ที่เข้มแข็ง ทุกคน คือพลังช่วยผลัก เพื่อสร้างความเชื่อมั่น  สร้างแรงจูงใจ สู่การยอมรับและการสนับสนุน ในทีมครูผู้นำห้องเรียนอย่างดียิ่ง 

หมายเลขบันทึก: 283422เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท