สอน SCIENCE ให้...ถึง แก่นแท้


" หากท่านสอนความรู้ ท่านมั่นใจเพียงใดว่า ผู้เรียนจะได้เนื้อหาและกระบวนการด้วยหรือไม่....หากท่านสอนกระบวนการ ...ท่านมั่นใจว่าผู้เรียนได้ทั้งกระบวนการและความรู้ด้วยหรือไม่ ??? แต่krusiriwan พบว่า ...หากสอนเน้นความรู้...ผู้เรียนได้ความรู้แต่ไม่ได้กระบวนการ....หากสินเน้นกระบวนการผู้เรียนจะได้ทั้งกระบวนการและความรู้ "

...." สอนวิทยาศาสตร์อย่างไร? ...ให้ถึงแก่นแท้วิทยาศาสตร์....เพื่อหล่อหลอมผู้เรียนให้ครบส่วน ของ SCIENCE  วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่สำคัญของชีวิตมนุษย์จริงหรือไม่ ? หากเราต้องเป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์จะทำอย่างไร?....อะไรบ้างที่วิทยาศาสตร์ส่งผลกระทบ ?....อะไรบ้างที่วิทยาศาสตร์จะช่วยค้ำจุนโลกได้??.......อีกมากมาย...แล้วสุดท้ายจึงถามว่า...." แล้วเราจะสอนวิทยาศาสตร์ ...กันอย่างไร ? ........"

                            ช่วงวันที่ ๑๙ - ๒๑ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๒  มีโอกาสที่ได้มานั่งคิด  นั่งวิเคราะห์  นั่งวางกรอบแนวทางพัฒนาครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ กับสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาของ สพฐ. ที่ห้องประชุมนานาภิรมย์  ของโรงแรม NEW WORLD  CITY  HOTEL ย่านบางลำพู  กรุงเทพฯ วันแรกที่ก้าวถึงห้องประชุม ดร.อรทัย   มูลคำ  ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  เปิดนำด้านนโยบายและแนวคิดการพัฒนายกระดับมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ รศ.เย็นใจ  สมวิเชียร    ผู้แทนจาก  สอวน. ( มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ” ) เป็นผู้จุดประเด็นแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเรียนเพื่อยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่สากล ในการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม  ๒๑ คน ดังนี้

 ๑. ดร.อรทัย  มูลคำ   ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

๒.รศ.เย็นใจ  สมวิเชียร    ผู้แทน  มูลนิธิ สอวน.

๓. นางรุจิเรข  แสงจิตต์พันธุ์   รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

๔. นางจันทร์เพ็ญ   พรมจันทร์    ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ  สพท.เชียงราย  เขต ๑

๕. นายอดุลย์  วงษ์ใหญ่   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ  ช่วยราชการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

๖. ดร.ศิริวรรณ  อาจศรี   ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแท่นวิทยา  สพท.ชัยภูมิ เขต ๒

๗. นายชูชัย  ประดับสุข   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพท.สุรินทร์  เขต ๑

๘.นางอัญชลี  เพชรนารายณ์    ครูโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม  สพท.อ่างทอง เขต ๑

๙.นางสาววิภาพร  นิธิปรีชานนท์  นักวิชาการศึกษา  สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

๑๐.นางอรนุช  มั่งมีสุขศิริ  นักวิชาการศึกษา  สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

๑๑. นางสาวดุจดาว   แทนมาตรย์  นักวิชาการศึกษา  สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

๑๒. นางจันทรา  ชูชาติ    นักวิชาการศึกษา  สำนักวิการและมาตรฐานการศึกษา

๑๓. นางบรรเจอดพร  สู่แสนสุข  นักวิชาการศึกษา  สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

๑๔. นายศิลปชัย  บูรณะพานิช    ครูโรงเรียนสาธฺตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ฝ่ายมัธยม

๑๕. นางสาวอัญชลี  เพชรนารายณ์   ครูโรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย  สพท.สมุทรสงคราม เขต ๑

๑๖. นายชูเกียรติ  ชัยชนะดารา   ครูโรงเรียนสตรีวิทยา  สพท.กรุงเทพมหานคร เขต ๑

๑๗.นายนิพนธ์  ศรีนฤมล    ครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  สพท. กรุงเทพมหานคร เขต ๑

๑๘.นางจารุวรรณ  แก่นทรัพย์   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ  สพท.ลพบุรี  เขต ๒

๑๙. นายธีรวุฒิ  กฤตยานวัช    ครูโรงเรียนเมืองนครนายก  สพท.นครนายก เขต ๑

๒๐. นางบุญญรัตน์  คนที   ครูโรงเรียนองครักษ์  สพท.นครนายก  เขต ๑

๒๑. นางสาวอัมพร  หุคะสิทธิ์   นักวิชาการศึกษา  สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

ในช่วงการได้มีโอกาสทำหน้าที่ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ และมีโอกาสบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตลอดทั้งมีโอกาสได้สัมผัสการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในกลุ่มเพื่อนครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ krusiriwan  มองว่าวิทยาศาสตร์  เป็นพื้นฐานที่สำคัญของชีวิตมากทีเดียว หากวิทยาศาสตร์ได้รับการปลูกฝังที่ถึงแก่นแท้และครบส่วนอย่างแท้จริง  

คำถามจึงมีว่า.....อะไร?คือแก่นแท้SCIENCE.....ที่ครบส่วนในมุมมองของkrusiriwan   และแก่นแท้SCIENCE นั้น  ครูจะสอนได้อย่างไร?จึงจะครบส่วน .....วันนี้ ขอเล่าสู่ฟังเป็นสาระที่ฝากให้คิดก็แล้วกัน ...วันนี้บางทีอาจจะเล่าไม่ครบส่วนนะ เนื่องจากใช้เวลาช่วงเช้าก่อนเข้าห้องประชุมเขียนผ่านจอ เล่าสู่ฟังบนถนนคนเรียน

                          แก่นแท้ SCIENCE  ที่เอ่ย...ก็คือสอน ๔  ส่วนไปพร้อมๆกัน นั่นคือ 

                         ๑.สอนเนื้อหา/ความคิดรวบยอด  

                         ๒.สอนหลักการ/ทฤษฎี   

                         ๓.สอนกระบวนการ  

                         ๔.สอนคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ 

การออกแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    การจัดการห้องเรียนวิทยาศาสตร์  ของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์   คือปัจจัยเอื้อความสำเร็จที่สำคัญ .....ที่จะเป็นเครื่องชี้วัดว่า  จะจัดวางแก่นแท้ SCIENCE ในการออกแบบจัดการเรียนรู้อย่างไร?  ในแต่ละครั้ง  แต่ละเรื่อง  แต่ละหน่วย  แต่ละกิจกรรม   ........  การประชุมครั้งนี้เป็นโชคดีที่ได้มีโอกาสเสนอมุมมอง ข้อคิด ในเรื่องการยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยการมุ่งร่วมกันยกระดับมาตรฐานการสอน  การจัดการห้องเรียนของคุณครู และkrusiriwan ได้นำเสนอ การยกระดับการสอนครบส่วน...ที่ถึงแก่นแท้ของ SCIENCE ที่แยกส่วนไม่ได้ใน ๔ ส่วนที่ครูผู้สอนต้องมุ่งเน้นควบคู่กันไปในการออกแบบการเรียนรู้และการจัดการห้องเรียน

คำถาม....จุดประกาย..ขายความคิด  อยู่ที่ว่า  " หากท่านสอนความรู้  ท่านมั่นใจเพียงใดว่า  ผู้เรียนจะได้เนื้อหาและกระบวนการด้วยหรือไม่....หากท่านสอนกระบวนการ  ...ท่านมั่นใจว่าผู้เรียนได้ทั้งกระบวนการและความรู้ด้วยหรือไม่ ??? แต่krusiriwan พบว่า ...หากสอนเน้นความรู้...ผู้เรียนได้ความรู้แต่ไม่ได้กระบวนการ....หากสินเน้นกระบวนการผู้เรียนจะได้ทั้งกระบวนการและความรู้ " ลองทดลองแบบ R&D ดูนะ จะพบเช่น krusiriwan หรือไม่ ?  สิ่งเหล่านี้ได้นำเสนอที่ประชุมเพื่อทำกรอบพัฒนาครูผู้สอนวิทยาศาสตร์อันมุ่งหวังว่า  คุณครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ คือ ผู้ทรงพลังที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้ผู้เรียน ลูกหลานไทยได้ในระยะเวลาอันไม่ไกลนักนี้แน่นอน

งานนี้จะมีโรงเรียนในฝัน รุ่นที่ ๑  ได้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า  ๓๐ โรง กระจายอยู่ทั่วประเทศ  โดยสุ่มจากโรงเรียนในฝันที่เป็นที่ตั้งศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนในฝันที่มีความโดดเด่น หรือมีแววทางการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ในการช่วยกันยกระดับมาตรฐานครูผู้สอน และมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ส่วนจะเป็นโรงเรียนใดบ้าง ท่าน ดร.อรนุช  มั่งมีสุขศิริ  จะเป็นผู้โทรศัพท์  ประสานงานท่านผู้บริหารในเร้ววันนี้

               ขอขอบคุณ สำนักพัฒนานัวตกรรมการจัดการศึกษา  ที่ให้ความสนใจและมุ่งยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอน  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในครั้งนี้

รายอื่นๆ  มีโอกาส  จะเล่าสู่ฟังอีกครั้ง ติดตามต่อไปนะคะ

หมายเลขบันทึก: 283417เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท