ตัวอย่างนวัตกรรม


ตัวอย่างนวัตกรรม

3.  จงยกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา  ที่ท่านเห็นว่าควรได้รับ

การเผยแพร่ โดยอธิบายให้เข้าใจว่านวัตกรรมคืออะไร  มีหลักการอย่างไร มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร

       

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation)  หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

http://senarak.tripod.com/inno2.html

รองศาสตราจารย์ทองแดงได้ให้ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาว่า  นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง สิ่งที่ประยุกต์สร้างสรรค์ ดัดแปลง และคิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งครอบคลุม แนวคิด หลักปฏิบัติ ระบบ กระบวนการ ที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ หรือใช้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการบริหาร วิชาการ และการบริการทางการศึกษา

 

ที่มา :    http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page10004.as

เกณฑ์ของนวัตกรรมไว้ว่าประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการคือ

1)      เป็นวิธีการใหม่ทั้งหมดหรือเกิดจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการเดิม

2)      มีการนำเอาระบบ (System) พิจารณาองค์ประกอบของกระบวนการดำเนินการ นั้น ๆ

3)      มีการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า ทำให้กระบวนการดำเนินงานนั้น ๆ มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม

4)      ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน กล่าวคือหากวิธีการนั้น ๆ ได้รับการนำเอา ไปใช้อย่างกว้างขวางโดยทั่วไปแล้ว และวิธีการนั้นมีประสิทธิภาพก็จะถือว่าวิธีการนั้น ๆ นับเป็นเทคโนโลยี

ที่มา :    http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page10004.asp

ลักษณะเด่นที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา (สุมาลี ชัยเจริญ, 2551:10)

                1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจใช้เป็นของเก่าที่ใช้ในอดีตแล้วนำมาปรับปรุง ใหม่ให้ดียิ่งขึ้น

                2. มีการ ศึกษา ทดลอง โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี มาใช้อย่างเป็นระบบ

                3. มีการพิสูจน์ด้วยการทดลองหรือวิจัย

                4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากว่าสิ่งใหม่นั้นได้มีการเผยแพร่จนกลายเป็น สิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แล้วจะกลายเป็นเทคโนโลยี

ที่มา :    สุมาลี  ชัยเจริญ. (2551). เทคโนโลยีการศึกษา : หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม

1.       เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน 

2.       มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง 

3.       มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

4.       ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน

ที่มา :    http://senarak.tripod.com/inno2.html

ตัวอย่างนวัตกรรมการเรียนการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา

     นวัตกรรมการเรียนการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา6 นวัตกรรม

   1. หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี สำหรับส่งเสริมการอ่านภาษาไทย
   2. การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL
   3. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนแผนจัดประสบการณ์
   4. การเรียนแบบ มิติมิเดีย วิชา ชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
   5. การใช้เกมส์คอมพิวเตอร์ในการสอน
   6. บทเรียนบนเครือค่ายอินเตอร์เน็ต วิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
  นวัตกรรมที่  1  หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี  สำหรับส่งเสริมอ่านภาษาไทย
วัตถุประสงค์
  1.เพื่อดึงดูดความสนใจในการอ่านภาษาไทย
  2.เพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินในการอ่าน
  3.เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จินตนาการให้มากขึ้น
  4.เพื่อเป็นสื่อในการฝึกทักษะในการอ่าน
  5.เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านและรู้จักการมีส่วนร่วมในกิจกรรม และส่งผลให้เกิดความพร้อมในการเรียน
  6.เพื่อให้นักเรียนได้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ลักษณะ
   หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรีนี้จะเป็นแบบ  มีเนื้อหาน้อย สั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย  มีการบรรยายโดยใช้ภาพการ์ตูน  และที่สำคัญเวลาเปิดไปหน้าต่อไปจะมีเสียงดนตรี เช่น  เรียนเรื่อง สัตว์ ก็จะมีเสียงสัตว์ต่างๆในหนังสือการ์ตูน  เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง
   เพชรจันทร์  ภูทะวัง,วิทยานิพนธ์ เรื่อง การสร้างหนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี  สำหรับส่งเสริมการอ่านภาษาไทย, ๒๕๔๗
นวัตกรรมที่  2  การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL
วัตถุประสงค์
  1.ผู้เรียนสามารคิดแก้ปัญหาได้คิดอย่างวิจารณญาณ                                         
  2.ใช้ภาษาในการสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะ
     
       แหล่งเรียนรู้ในที่นี้อาจเป็นแหล่งสารสนเทศใดๆ ที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ และบุคคลที่เป็นผู้รู้ในเรื่องนั้นๆ โดยที่สารสนเทศอาจบันทึกอยู่ในรูปหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และ    อินเทอร์เน็ต สำหรับในปัจจุบันสารสนเทศบนเว็บนับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและทันสมัย เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก
แหล่งอ้างอิงvdo.kku.ac.th/mediacenter/library/document/viewdocument.php?library_id=1311&lang=en&pid=922

กิดานันท์  มลิทอง (2543) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่าเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ อันสื่อเนื่องจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา

ที่มา :    กิดานันท์  มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ดังกล่าวแล้วว่า เทคโนโลยีการศึกษา เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ หรือใช้ ร่วมกับกระบวนการทางจิตวิทยา และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีมิได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพคงที่เสมอไป ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใด ๆ ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเปลี่ยนแปลงสถานที่ เปลี่ยนแปลงเวลา เปลี่ยนบุคคลที่ใช้และบุคคลที่ถูกนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงสถานที่แวดล้อม ก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้ ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น เทคโนโลยีนั้นก็จะยังคงใช้ต่อไป แต่เมื่อประสิทธิภาพลดลง เทคโนโลยีนั้น ๆ จึงต้องมีการปรับปรุงจุดบกพร่องบางส่วน หรือนำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ ซึ่งวิธีการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่หรือวิธีการใหม่ที่นำมาใช้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) ทอมัส ฮิวซ์ (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรมว่า "เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำมาปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา" มอตัน (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) กล่าวว่า "นวัตกรรม หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ" ไชยยศ เรืองสุวรรณ (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) กล่าวว่า "นวัตกรรม หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น" ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้โดยสรุปว่า "นวัตกรรม เป็นการปรับปรุงดัดแปลงวิธีการเดิม หรือนำเอาวิธีการใหม่มาใช้ในกระบวนการดำเนินงานใดๆ แล้วทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม"

หมายเลขบันทึก: 283189เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

ดิฉันเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ค่ะ จึงอยากขออนุญาตแนะนำให้สมาชิกที่ต้องการใช้งานเพื่อการส่งการบ้าน สมัครใช้งานเว็บไซต์ Learners.in.th แทนการใช้งานบล็อกที่ GotoKnow.org ค่ะ

เนื่องจาก Learners.in.th นั้นเป็นระบบที่มีการใช้งานเหมือน GotoKnow.org แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้งานเพื่อการเรียนการสอน

ทั้งนี้ดิฉันฝากเรียนอาจารย์ผู้สอนให้แจ้งให้นักศึกษาที่ต้องการส่งการบ้านทุกท่านให้ย้ายไปยังเว็บไซต์ http://Learners.in.th ด้วยนะคะ

ทั้งนี้ทางทีมงานต้องขออภัยในความไม่สะดวกด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท