คุยกับหมอประกิต


บันทึกการเยี่ยมกัลยาณมิตร

โครงการวิจัยและพัฒนาเกณฑ์การปรากฏตัวภาพบุหรี่ในสื่อภาพยนตร์

ตามระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์

ครั้งที่ ๕/๒๕๕๒  วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ห้องประชุมชั้น ๕ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

ผู้ที่เข้าพบ                      :        ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

คณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม     :        อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ หัวหน้าโครงการ ฯ

:        คุณ สุรวดี รักดี

:        คุณสาวิตรี อริยชัยเดช

:        คุณอารยา ชินวรโกมล

:        คุณสถาพร จิรัตนานนท์

:        คุณนคร

                                                    

ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ผู้ทำหน้าที่รณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมของการไม่สูบบุหรี่ในสังคมไทยมายาวนาน ได้ให้โอกาสแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการปรากฎตัวของภาพบุหรี่ สิ่งที่มูลนิธิต้องการเห็นคือการที่สังคมเคยชินกับการไม่สูบบุหรี่ เป็นค่านิยมหลักมากกว่า...

คุณหมอได้สอบถามเกี่ยวกับพรบ.ภาพยนตร์ฯที่กำลังจัดทำกฎกระทรวงว่าด้วยเรื่องของเรตติ้งว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนนี้จะจัดเรื่องบุหรี่เข้าไปเป็นกติกาหนี่งในการจัดระดับความเหมาะสม  เมื่อทราบว่า ระบุเกี่ยวกับเรื่องสิ่งเสพติดให้โทษ ว่าห้ามให้เห็นการใช้ หรือการสาธิตขั้นตอนการใช้หรือเสพ จึงแนะนำให้ทีมงานไปทำการศึกษากฎหมายอีก ๓ ฉบับ คือ พรบ.ภาพยนตร์ ฯ พรบ.ยาเสพติด และ พรบ.วัตถุออกฤทธิ์ทางประสาท เพื่อหาแนวทางในการผลักดันเชิงนโยบายต่อไป

โดยคุณหมอได้เล่าว่ามีงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อเยาวชนโดยเฉพาะที่ต่ำกว่า ๑๘ ปี โดยภาพยนตร์จะทำให้เกิดความอยากลองที่จะสูบบุหรี่ ๑ใน ๓  และมีผลการวิจัยอีกตัวหนึ่งที่ไปสำรวจเด็กไทยว่าคิดว่ามีคนสูบบุหรี่อยู่เป็นจำนวนเท่าไร เด็กจะตอบสูงกว่าความเป็นจริงๆทุกคน  เกิดจากการที่ในสิ่งแวดล้อมนั้นทุกที่การแสดงให้เห็นภาพของการสูบบุหรี่มากมาย ดังนั้นจึงเป็นการสร้างค่านิยมว่า “ใครก็สูบกัน” เมื่อถึงวัยหนึ่งเด็กก็จะอยากทดลองเนื่องจากเป็นค่านิยม 

คุณหมอแสดงให้เห็นความสำคัญของการพยายามนำภาพของบุหรี่ออกจากภาพยนตร์สำหรับเด็ก แต่ไม่ได้ต้องการขัดแย้งต่องานศิลปะซึ่ งโดยส่วนตัว การมีบุหรี่ในหนังนั้น มีได้เท่าที่จำเป็นตามเนื้อเรื่อง เพื่อความสมจริงหากจำเป็น แต่ไม่ใช่ว่ามีพร่ำเพรื่อประเภทคิดอะไรไม่ออกก็ให้สูบบุหรี่ไว้ก่อน อย่างนี้ก็ดูว่าไม่เหมาะสม เพราะการที่เด็กๆได้เห็นการสูบบุหรี่บ่อยๆ ในหนัง ทำให้เกิดความรู้สึกว่าใครๆก็ทำกัน จริงอยู่แม้ว่าในชีวิตจริงเราอาจเห็นคนสูบบุหรี่ทั่วไป แต่การสูบบุหรี่ของนักแสดงโดยเฉพาะนักแสดงนำในหนังมีอิทธิพลมากพอที่จะกระตุ้นให้ผู้ชมที่เป็นเยาวชนเกิดความอยากลองขึ้นได้

ในช่วงท้ายคุณหมอแนะนำให้ติดตามคดีความเกี่ยวการร้องเรียนเรื่องบุหรี่ในภาพยนตร์ของประเทศอินเดียซึ่งยังไม่สิ้นสุด

หมายเลขบันทึก: 282935เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท