จากรุ่นสู่รุ่นสู่ครูพันธุ์ใหม่ใจเกินรัอย


ผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

       บทความเรื่องครูพันธุ์ใหม่กับแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์จากหนังสือสยามรัฐ รายสัปดาห์ ได้กล่าวถึงโครงการเออลี่รีไทน์  จนเกิดปรากฏการณ์ สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อวงการครูไม่น้อย เนื่องจากในขณะนี้ได้มีครูขอเข้าร่วมโครงการนับหมื่นคน  ทำให้เกิดวิกฤติในด้านการขาดแคลนครูอยู่เป็นจำนวนมากมีผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว

    เมื่อมามองดูนโยบายของรัฐบาลในด้านการศึกษาข้อที่3.   ที่กล่าวไว้ว่า  "การพัฒนาครู  อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา  เพื่อให้ได้ครูดี  ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพและมีวิทยฐานะสูงขึ้น " สอดคล้องกับโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด  ซึ่งมุ่งหวังที่จะพัฒนาคุณภาพครู ต้องการครูเก่ง  ครูดีมีคุณธรรม  แต่เมื่อรัฐบาลนำนโยบายไปปฏิบัติได้ส่งผลกระทบต่อครูในหลายด้าน เช่นผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้ไม่ตรงตามเป้าประสงค์ที่วางไว้  หลายประเด็น จากกรณีตัวอย่างที่สรุปได้จากเหตุผลส่วนใหญ่ของครูที่เข้าร่วมโครงการมีประเด็นหลักๆ คือ

    1. เนื่องจากความไม่ก้าวหน้าในอาชีพ

    2.หมดขวัญ และกำลังใจในการทำงาน

   3.หมดไฟในการทำงานเพราะ ส.พ.ฐ.  ต้องการพัฒนาครูให้มีคุณภาพมากขึ้น

     จากเหตุผลของการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดจึงทำให้เกิดปัญหาตามมาดังนี้

   1. การขาดแคลนครูที่เก่งและดี

   2.ขาดแคลนกำลังครูในพื้นที่ที่ห่างไกล

       เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลเพื่อต้องการโละครูเก่าที่หมดไฟหรือขาดคุณธรรมจริยธรรม  แต่ปรากฎว่าครูที่ขาดคุณภาพเหล่านี้ กลับยึดติดอยู่กับตำแหน่งอย่างเหนียวแน่นครูที่เก่งๆทั้งหลายกลับเข้าสู่โครงการแทบทั้งหมด 

        เมื่อดูจากเหตุผลการเกษียณก่อนกำหนดจะไม่มีเรื่องปัญหาตัวเงินเข้ามาเกี่ยวข้องผลกระทบที่ตามมาคือครูดีๆกลับสูญพันธุ์ครูไม่ดียังคงมีอยู่เต็ม แนวนโยบายเพื่อต้องการลดภาระหนี้สินครูที่ทุกรัฐบาลนำมาเป็นประเด็นในการหาเสียง จึงยังไม่ใช่การพัฒนาคุณภาพครูที่ตรงประเด็น จึงเกิดภาวะที่เรียกว่า แก้ปัญหาไม่ตรงจุด

        การพัฒนาคุณภาพ ครูในด้านต่อไปที่รัฐบาลต้องเร่งจัดการก็คือการเร่งผลิตครู เช่นการนำโครงการคุรุทายาท กลับมาพิจารณาเพราะที่ผ่านมายังไม่ประสบคววามสำเร็จเท่าที่ควร เช่นบางส่วน ยังไม่ได้รับการบรรจุก็จะกลายเป็นสาหตุให้เยาวชนรุ่นใหม่ไม่อยากเข้ามาเป็นครู รวมทั้งหลักประกันในเรื่องความมั่นคงในชีวิต  การพัฒนาคุณภาพครูในบางครั้งจึงเป็นเหมือนดาบสองคม ความเก่ง  หรือดี มีคุณภาพ ทางด้านวิชาการหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย  เพียงอย่างเดียวไม่ได้ช่วยให้การศึกษาของไทยมีคุณภาพทั้งหมด หากครูผู้ถ่ายทอดวิชายังขาดวิญญาณของความเป็นครู  หากครูรุ่นใหม่จะได้นำสองสิ่งนี้มาหลอมรวมกัน โดยการนำต้นแบบที่ดีของครูรุ่นเก่ามารวมกับความเก่งทันสมัยที่มีอยู่ก็จะกลายเป็นครูพันธุ์ใหม่ที่มีความสมบูรณ์แบบ ในด้านคุณภาพ และคุณสมบัติของความเป็นครูในยุคปฏิรูปเหมือนที่รัฐบาลต้องการให้เกิด

หมายเลขบันทึก: 282774เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2009 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แวะมาอ่านแล้วเศร้าใจเหมือนกัน

ครูดีมีคุณธรรมต้องออกจากระบบ

ความสามารถทางวิชาการดี เก่ง ทันสมัยเทคโนโลยี

อาจยังไม่เพียงพอสำหรับสังคมไทย

ทำไงให้เกิดความสมดุลย์ และสมบรูณ์ในความเป็นครูยุคนี้

รู้สึกเป็นห่วงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในยุคนี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ผมขอเลยไปในระบอบมหาลัยหน่อยนะครับผมเคยได้ยินท่านอธิการพูดในงานเกษียณอาจารย์เมื่อปีที่แล้วท่านบอกว่าต่อไปจะไม่มีข้าราชการในมหาวิทยาลัยอีกแล้วผมไม่รู้ว่าผมจะอยู่ส่งข้าราชการได้กี่รุ่นผมก็คงเป็นอีกคนหนึ่งที่เป็นข้าราชการที่จะต้องหมดวาระไปตามกาลเวลาอนาตคจะมีแต่พนักงานเขาอาจจะทำงานอย่างแข่งขันกันมากเขาคงเหนื่อยแบบไม่มีกำลังใจเขาคงท้ออย่างไม่สู้เขาคงต้องต่อสู้กับคนที่เก่งกว่าเพราะต้องแย้งชิงกันและผู้นำก็จะมีอายุและประสบการณืที่น้อยมากๆเพราะมันไม่เป็นไปตามระบบ

ผมกลัวว่าระบอบนี้จะเลยเข้ามาถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้ามาทุกทีแล้วหละครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท