15 วิธีป้องกันฟันสึก+เสียวฟัน


 

...

ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ระวังเครื่องดื่มที่ทำให้ฟันผุได้แก่ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มเติมน้ำตาล [ CNN ]

ศ.ดร.โมฮัมเม็ด บาสซิเอานี ผู้เชี่ยวชาญสาขาทันตกรรมฟื้นฟู (restorativ dentistry) และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยเทมเพิล (Temple U) ทำการศึกษาพบว่า เครื่องดื่มหลายชนิดได้แก่ น้ำผลไม้ ชา เครื่องดื่มกระตุ้นกำลังงานเพิ่มเสี่ยงฟันสึก เสียวฟัน ฟันผุได้ ทั้งจากน้ำตาล และกรด

...

ปัญหาที่พบบ่อยเพิ่มขึ้น คือ ฟันสึก (tooth erosion; tooth = ฟัน; erode = ทำให้สึก; erosion = การสึกกร่อน) ซึ่งเพิ่มเสี่ยงอาการเสียวฟัน (hypersensitivity; hyper- = มากเกิน; sensitive = ไวต่อความรู้สึก; sensititivity = ความรู้สึก การรับสัมผัส) และอาจทำให้ครอบฟัน หรือฟันปลอมหลวมหลุดได้

สาเหตุของฟันสึกส่วนใหญ่มาจากการกินอาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มกระตุ้นกำลัง น้ำผลไม้ ฯลฯ

...

ส่วนน้อยมาจากภาวะกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease / GERD / เกิร์ด) หรือโรคบูลิเมีย (bulimia = โรคอยากผอม ทำให้กินเข้ามากๆ แล้วล้วงคอให้อาเจียน พบบ่อยในคนตะวันตกหรือฝรั่งอายุน้อย)

อ.ดร.คลาร์ค สแตนฟอร์ด และคณะ แห่งวิทยาลัยทันตกรรม มหาวิทยาลัยไอโอวา พบว่า เครื่องดื่มกระตุ้นกำลัง (energy drinks; energy = กำลังงาน; drinks = เครื่องดื่ม) และเครื่องดื่มสำหรับการเล่นกีฬานานๆ (sports drinks; sports = กีฬา) เช่น เกเตอเรด, เรดบูล (กระทิงแดงเป็นหุ้นส่วน) ฯลฯ ทำให้เคลือบฟันชั้นนอก หรืออีนาเมล (enamel) สึกกร่อนได้มากกว่าน้ำอัดลม และน้ำผลไม้

...

เรื่องสำคัญ คือ น้ำอัดลม ไม่ว่าจะเป็นชนิดมีน้ำตาลหรือไม่ มีฤทธิ์เป็นกรด และทำให้ฟันสึกได้ทั้งนั้น

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Dentistry (ทันตกรรม) รายงานว่า น้ำส้มทำให้เคลือบฟันชั้นนอก (enamel) อ่อนลง 84%, น้ำผลไม้อื่นๆ ก็ทำให้เคลือบฟันชั้นนอกอ่อนลง 1/2-1 ชั่วโมงได้คล้ายๆ กัน

...

วิธีป้องกันฟันสึกจากการกินผลไม้ น้ำผลไม้ เครื่องดื่มกระตุ้นกำลัง และน้ำอัดลม คือ อย่าให้อาหาร-เครื่องดื่มเหล่านี้สัมผัสฟันนาน

ตัวอย่างเช่น ใช้หลอดดูดช่วย ดื่มแล้วบ้วนปากหลายๆ ครั้งทันที ไม่แปรงฟันหลังอาหาร-เครื่องดื่มเหล่านี้ 30-60 นาที บ้วนปากบ่อยๆ รอให้ความแข็งแรงของฟันกลับคืนก่อนค่อยแปรงฟัน (หลัง 30-60 นาที)

...

ชาเป็น 1 ในเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ทว่า... การศึกษาทำโดยอาจารย์บาสซิเอานิ (Bassiouny) และคณะ ตีพิมพ์ในวารสารทันตกรรมทั่วไป (General Dentistry, May-June 2009) พบว่า

การดื่มชา ไม่ว่าจะเป็นชาเขียวหรือชาดำ (ได้แก่ ชาฝรั่ง ชาจีน) ชนิดไม่เติมน้ำตาล (unsweetened; un- = ไม่; sweeten = ทำให้หวาน เติมน้ำตาล) ทำให้ฟันสึกได้หลังดื่มไปจนถึงสัปดาห์ที่ 16, ชาดำทำให้ฟันสึกได้เร็วกว่าชาเขียว

...

เรื่องชาทำให้ฟันสึกนั้น... ผลการศึกษายังไม่แน่นอน ชาบางชนิดทำให้ฟันแข็งแรงขึ้น บางชนิดทำให้ฟันสึก ขึ้นกับความเป็นกรดด่าง ซึ่งชาแต่ละชนิดมีความเป็นกรดไม่เท่ากัน ทางที่ดีคือ ดื่มชาแล้วบ้วนปากตาม

ส่วนน้ำมะนาว น้ำส้มสายชู และน้ำอัดลมทำให้ฟันสึกตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2

...

อ.บาสซิเอานิแนะนำว่า ทางที่ดีคือ เดินสายกลาง ('The key is to practice moderation; practice = ปฏิบัติ ฝึกฝน; moderate = ปานกลาง; moderation = การอยู่ในทางสายกลาง)

ตัวอย่างเช่น ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กรดเกินสัปดาห์ละ 5 ส่วนบริโภค (1 ส่วนบริโภค = 120 มิลลิลิตร; 5 ส่วน = 600 มล.) และไม่ควรดื่มชาบรรจุกระป๋อง ชาที่ชงเองมีคุณค่าสูงกว่าและปลอดภัยกว่าชาที่คนอื่นชงหรือชาบรรจุกระป๋อง

...

กลไกที่ช่วยป้องกันฟันสึกที่สำคัญ คือ น้ำลาย (saliva) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ และมีแคลเซียม, วิธีป้องกันไม่ให้น้ำลายน้อยลง คือ ดื่มน้ำให้มากพอทั้งวัน

เคล็ดลับ (tips) ในการป้องกันฟันสึก (tooth erosion) ได้แก่

  • (1). ดื่มเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มกระตุ้นกำลัง ฯลฯ รวดเดียว ไม่ดื่มแบบจิบ (sip) ทั้งวัน
  • (2). ใช้หลอดดูด (straw) แทนการดื่มจากขวดหรือแก้ว
  • (3). ดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มเติมน้ำตาลหรือน้ำอัดลม
  • (4). กินผลไม้ทั้งผลหรือน้ำผลไม้ปั่นรวมกาก แทนน้ำผลไม้กรองกาก
  • (5). กินข้าวกล้องแทนข้าวขาว หรือขนมปังโฮลวีท(เติมรำ)แทนขนมปังขาว

...

  • (6). บ้วนปากทันทีหลังดื่มเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด และบ้วนปากตามเป็นระยะๆ อีกหลายๆ ครั้ง
  • (7). ไม่แปรงฟันทันทีหลังกินผลไม้ เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด อาหารที่มีฤทธิ์กรด เช่น น้ำส้มสายชู อาหารประเภทยำ น้ำมะนาว ฯลฯ > บ้วนปาก แล้วรอเวลาให้ผ่านไป 1/2-1 ชั่วโมงก่อนแปรงฟัน
  • (8). แปรงฟันด้วยแปรงขนอ่อน แปรงให้ถูกวิธี แปรงเบาๆ และใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ นาน 2-3 นาที วันละ 2-3 ครั้ง [ แปรงฟันระวังเหงือก ]
  • (9). ตรวจช่องปากกับอาจารย์ทันตแพทย์ทุกๆ 6-12 เดือน
  • (10). ใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่มีโพแทสเซียมหรือสตรอนเทียม เช่น เซนโซดายน์, ฟลูโอคาริลบางรุ่น, คอลเกตบางรุ่น ฯลฯ เพื่อลดอาการเสียวฟัน ยาสีฟันที่ช่วยลดเสียวฟันมักจะมีคำว่า 'sensitive' = เซนซิทีฟ หรือไวต่อความรู้สึกพิมพ์อยู่ในฉลาก

...

... 

 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

 > Thank CNN

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 30 กรกฎาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 281784เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2009 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

Thanks Ajarn ka;P

ถึงตรงนี้... ขอขอขอบคุณพวกเราทุกท่าน ทุกคนครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท