ThaiLivingWill
โครงการ ส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

การฆ่าตัวตาย ไม่ใช่การตายอย่างมีศักดิ์ศรี - สับสนกันไปใหญ่แล้ว


สื่อสารแบบนักเศรษฐศาสตร์ ด้วยการใช้ตัวเลข ใช้เรื่องเงินมาอธิบาย เรื่ื่องความหมายของการตายดีและตายอย่างมีศักด์ศรีมันเพี้ยนยิ่งกว่าเพี้ยนจริง-จริง

เพิ่งเห็นบทความในมติชนฉบับวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ หัวข้อ "การตายอย่างมีศักดิ์ศรี" โดย วรากรณ์ สามโกเศส มีเนื้อความสนับสนุนเรื่องการทำข้อกฎหมายอนุญาตให้มี euthanasia แบบสมัครใจล่วงหน้า - ทั้งที่ปัจจุบันกำลังมีการผลักดันให้มีข้อกฎหมายอนุญาตให้ทำ Living Will

อ่านแล้วปวดใจ เหมือนจะส่งเสริม แต่กลับเป็นการขัดขวางข้อกฎหมาย Living Will เสียมากกว่า -- ใครอ่านแล้วเข้าใจได้บ้างว่า euthanasia คือการตายอย่างมีศักดิ์ศรี?

ใครก็ได้ บอกเฮียวรากรณ์ฯ ที คิดแบบนักเศรษฐศาสตร์ สื่อสารแบบนักเศรษฐศาสตร์ ด้วยการใช้ตัวเลข ใช้เรื่องเงินมาอธิบาย เรื่ื่องความหมายของการตายดีและตายอย่างมีศักด์ศรีมันเพี้ยนยิ่งกว่าเพี้ยนจริง-จริง

 

 

ตายอย่างมีศักดิ์ศรี

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ



การ ตายของ Sir Edward Downes วาทยกรมีชื่อเสียงคนหนึ่งของอังกฤษ และภรรยา Lady Joan เมื่อเร็วๆ นี้ในสวิตเซอร์แลนด์ ท่ามกลางการเฝ้าดูของลูกชายและลูกสาว ปลุกให้มีการถกเถียงกันในเรื่องความตายขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในโลก

Sir Edward มีอายุ 85 ปี ตาบอดเกือบสนิทและหูแทบไม่ได้ยิน ส่วน Lady Joan อายุ 75 ปี อยู่ในขั้นสุดท้ายของโรคมะเร็ง ทั้งสองจับมือกันและดื่มยากล่อมประสาทอย่างแรงเพื่อให้ตายตามความปรารถนา หรือที่เรียกว่า euthanasia ชนิด voluntary (สมัครใจ)

euthanasia มีรากมาจากภาษากรีก คือ eu หมายถึง good, well ส่วน thanatos หมายถึง death รวมกันจึงหมายถึง good death หรือวิธีการทำให้ชีวิตจบลงอย่างไม่เจ็บปวด

Sir Edward และ Lady Joan ได้แสดงความปรารถนาที่จะจากโลกนี้ไป แต่ไม่อาจทำในอังกฤษได้เพราะคนรู้เห็นอาจถูกตั้งข้อหาว่าร่วมประกอบ อาชญากรรม จึงเดินทางไปยังคลีนิคฆ่าตัวตายชื่อ Dignitas ในเมืองซูริค ซึ่งมีคนจากทั่วโลกประมาณ 100 คน ในแต่ละปีเดินทางไป และจ่ายเงินคนละ 9,300 เหรียญ (350,000 บาท) สำหรับค่าความช่วยเหลือให้ตายสมใจ

กฎ หมายสวิตเซอร์แลนด์ไม่เอาผิดผู้ช่วยให้เกิดการฆ่าตัวตายตราบที่ผู้ช่วยมิได้ ผลประโยชน์จากการตายนั้น ส่วนการฆ่าตัวตายนั้นในโลกตะวันตกส่วนใหญ่ถือว่าไม่ใช่คดีอาญา หากแต่ผิดศีลธรรมตามคำสอนของทุกศาสนาในโลก

นับถึงปัจจุบัน euthanasia หรือการฆ่าเพื่อลดความเจ็บปวดทั้งสมัครใจและไม่สมัครใจ (อยู่ในสภาพที่บุคคลอื่นเห็นว่าควรจบชีวิตลง) ในบางลักษณะถูกต้องตามกฎหมายในเบลเยียม ลักซัมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ รัฐโอเรกอน รัฐวอชิงตันในสหรัฐอเมริกา และประเทศไทย (ดูพระราชบัญญัติสาธารณสุขแห่งชาติ 2550 ซึ่งมีน้อยคนรู้และหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพูด)

euthanasia อาจกระทำในรูปแบบของ passive หรือ non-active หรือ active รูปแบบของ passive euthanasia นั้นกระทำกันอยู่ทุกวันในโรงพยาบาล เช่น เลิกให้ยาฆ่าเชื้อ หรือเลิก chemotherapy สำหรับคนป่วยโรคมะเร็ง หรือเลิกยาลดการปวด ฯลฯ ซึ่งรู้ว่าจะนำไปสู่การเสียชีวิต

non-active euthanasia ได้แก่ การถอดการใช้เครื่องมือสนับสนุนการมีชีวิต เช่น เครื่องช่วยหายใจหรือเครื่องมือสนับสนุนชีวิตอื่นๆ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากและอื้อฉาวที่สุดว่าจะตัดสินใจ อย่างไร ใครเป็นคนตัดสินใจ

เคยมีคดี Quinlan ในสหรัฐอเมริกาในยุคทศวรรษ 1970 ที่พ่อแม่ขอให้หมอถอดเครื่องช่วยหายใจออกเพราะอยู่ในสภาพ "เป็นผัก" (persistent vegetative state) และชนะคดีในศาล เมื่อถอดออกเธอก็มีชีวิตอยู่ต่อมาถึง 9 ปี

ประเภทสุดท้ายของ euthanasia คือ active ซึ่งก็คือกรณีของ Sir Edward และ Lady Joan ซึ่งเป็นเรื่องของการมีผู้ช่วยทำให้ตนเองตาย (assisted suicide) ส่วนการฆ่าตัวตายนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปตามที่เกิดขึ้นกันอยู่ทุกวัน

ประเด็น ของกฎหมายอังกฤษในเรื่อง euthanasia แบบตั้งใจหรือ assisted suicide อยู่ตรงที่ว่าผู้รู้เห็นและผู้ร่วมมือด้วย เช่น ลูก หรือญาติ ต้องรับโทษในคดีอาญาร่วมฆ่าคนตายหรือไม่ ตำรวจอังกฤษได้ไต่สวนคดีเช่นนี้จำนวนมากและไม่เคยส่งฟ้องใครถึงแม้จะร่วม เดินทางไปด้วยก็ตาม เสมือนเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ รัฐสภาอังกฤษพยายามออกกฎหมายเพื่อให้บุคคลผู้รู้เห็นและติดตามเดินทางไปด้วย เหล่านี้ได้รับการยกเว้นจากการเป็นผู้ร่วมกระทำคดีอาญาอย่างชัดแจ้งเสีย แต่กฎหมายไม่ผ่านสภาขุนนาง (สภาสูง)

มีผู้เสนอว่าถ้าปรารถนาจะให้ เกิด assisted suicide เขาก็ควรกระทำได้โดยประกาศว่าไม่ได้ถูกกดดันให้จบสิ้นชีวิตตนเองลง มีหมอ 2 คนยืนยันว่ามีสติสัมปชัญญะและป่วยในขั้นถึงตายแน่นอน จากนั้นก็ให้ระยะเวลาสักพักเพื่อไม่ให้เปลี่ยนใจ แล้วจึงให้มีผู้ช่วยทำให้ตายอย่างไม่เจ็บปวด

ข้อถกเถียงเรื่อง euthanasia ไม่ว่าสมัครใจหรือไม่สมัครใจมีมานานแล้วทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในปี 1828 มีการออกกฎหมายห้าม euthanasia ในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกา แต่หลังสงครามกลางเมืองในทศวรรษ 1860 หมอจำนวนหนึ่งและประชาชนจำนวนไม่น้อยเริ่มคล้อยตามเรื่อง euthanasia แบบสมัครใจจนเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเป็นลำดับ แต่ถึงกระนั้นก็ตามก็มีกฎหมายอนุญาตในไม่กี่ประเทศในโลกในปัจจุบัน

ใน ปี 1995 กฎหมายสำคัญเกี่ยวกับ euthanasia อีกซีกหนึ่งของโลกก็ผ่านสภาออกใช้ใน Northern Territory (ดินแดนทางเหนือที่ยังไม่ได้เป็นรัฐ) ของออสเตรเลีย มีคนไข้ 4 คน หาประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้ อย่างไรก็ดี อีก 2 ปีต่อมา Federal Parliament ของประเทศก็ให้ยกเลิกกฎหมายนี้

กฎหมายลักษณะเดียวกันมาเกิดแทนใน ยุโรป เช่น ในปี 2002 เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียมก็ออกกฎหมายผ่อนปรนให้หมอผู้ช่วยให้เกิดการฆ่าตัวตายไม่มีโทษทาง อาญา สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่ออกกฎหมายไม่เอาผิดหมอที่ช่วยให้เกิดการสิ้น ชีวิตตามความประสงค์ของคนไข้ตราบที่หมอไม่ได้ประโยชน์ตั้งแต่ ค.ศ.1937

ประชาชนในประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของโลกยังตะขิดตะขวงใจในเรื่อง euthanasia แม้แต่ในกรณีสมัครใจด้วยเหตุผล

(ก) จะทำให้มาตรฐานการรักษาพยาบาลของบุคลากรทางการแพทย์ลดต่ำลงโดยเฉพาะแพทย์ เนื่องจากถึงรักษาไม่ดีเต็มที่ในที่สุดคนไข้ก็สมัครใจตายไปเองอย่างไม่ก่อ ปัญหามากมาย ซึ่งในกรณีปกติแพทย์ต้องรักษาอย่างสุดชีวิตจนนาทีสุดท้าย ดังนั้น จึงอาจตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่มากกว่า

(ข) กลุ่มศาสนาบอกว่าเป็นสิ่งผิดศีลธรรมและรับไม่ได้ euthanasia ก็คือฆาตกรรม ถึงแม้สมัครใจก็คือการฆ่าตัวตายชนิดหนึ่งที่ทางศาสนารับไม่ได้

(ค) การตัดสินใจว่าจะยอมให้ชีวิตของตนเองจบลงเป็นของคนไข้ ภายใต้ความมีสติสัมปชัญญะ การประเมินว่าผู้ป่วยอยู่ในสภาพนี้หรือไม่เป็นเรื่องยากโดยเฉพาะในยามที่ ป่วยไข้

(ง) คนไข้อาจถูกกดดันให้เกิด euthanasia แบบสมัครใจ เนื่องจากเกรงภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับครอบครัว และโรงพยาบาลเองอาจมีส่วนกดดันคนไข้เพื่อประโยชน์ด้านธุรกิจของตน

euthanasia ทั้งสองลักษณะยังไม่ไปไหนในโลกปัจจุบันถึงแม้ว่ามีสถิติชัดเจนว่าในเวลาอัน ใกล้โลกจะเผชิญกับสภาวะ "คนแก่ล้นโลก" ก็ตาม ในเวลาจากนี้ไป 40 ปี ประเทศพัฒนาแล้วจะมีประชาชนอายุสูงกว่า 60 ปีถึงหนึ่งในสามประเทศกำลังพัฒนาจะมีสัดส่วนนี้ร้อยละ 20 สำหรับประเทศไทยปัจจุบันมีประชากรวัย 60 ปีขึ้นไปอยู่ร้อยละ 12 ในเวลาอีก 25 ปี (พ.ศ.2578)สัดส่วนนี้จะพุ่งขึ้นไปถึงร้อยละ 25

โลกต้อง ตัดสินใจเร็วๆ ว่าจะทำอย่างไรกับ euthanasia ทั้ง 2 ลักษณะมีคนไม่น้อยปรารถนาจะตายอย่างมีศักดิ์ศรี ในลักษณะที่ตนเองต้องการ ไม่ต้องการตายแบบมีสายท่อระโยงระยางรอบตัวแถมมีหน้ากากออกซิเจนปิดหน้าปิด จมูก และถึงอย่างไรอีกไม่นานก็ตายแน่ ลูกหลานก็ไม่ต้องการตัดสินใจที่ลำบาก

ถ้ามีข้อกฎหมายอนุญาต euthanasia แบบสมัครใจอย่างชนิดระบุไว้ล่วงหน้า ทุกคนก็จะ win-win

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #euthanasia#living will
หมายเลขบันทึก: 281563เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2009 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์คงเข้าใจผิดนะคะ

เพิ่งจะอ่านหนังสือของสช. เรื่องliving will ค่ะ

ขอบคุณค่ะ บทความของ อ.วรากรณ์ ในมติชน ฉบับ 10 ก.พ. 2554
ได้ระบุแก้ไว้แล้วว่า "แพทย์สมาคมโลก หรือ The World Medical Association และในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เดนมาร์ก เป็นต้น ได้ให้การยอมรับคำแถลง หรือเอกสารแสดงเจตจำนงล่วงหน้าเกี่ยวกับ "สิทธิปฏิเสธการรักษา" เพื่อให้ผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตได้ตัดสินใจด้วยตนเองที่จะตายอย่างสงบตามวิถีธรรมชาติโดยไม่ต้องการให้มีการยืดการตายออกไปอีก ซึ่งต่างจากการช่วยเหลือผู้ป่วยในการฆ่าตัวตาย หรือการุณยฆาต ซึ่งอาจขัดต่อความรู้สึกของบุคคลทั่วไป และขัดต่อจริยธรรมของแพทย์ " ###
เรื่องนี้ช่วยให้เห็นถึงความสำคัญของ มองต่างมุม ความเข้าใจ การสื่อสาร
เป็นสิ่งดีที่หลายวิชาชีพเข้ามาเกี่ยวข้องและให้ความสำคัญกับ Palliative care
เป็นเรื่องปกติที่ต่างมีนิยาม กระบวนทัศน์แตกต่างกัน
สำคัญที่ เป้าหมาย ให้ตรงกันก็ OK ค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท