ThaiLivingWill
โครงการ ส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

ThaiLivingWill


Username
thailivingwill
สมาชิกเลขที่
71873
เป็นสมาชิกเมื่อ
เข้าระบบเมื่อ
-
(ไม่มีตั้งแต่ พ.ศ. 2564)
ประวัติย่อ

จากการศึกษาของ นายแพทย์ ธนา นิลชัยโกวิทย์  และคณะในโครงการวิจัยทบทวนกระบวนทัศน์เรื่องความตายและมิติแห่งสุขภาวะ พบว่า ตัวเลขค่าใช้จ่ายในวาระสุดท้ายของชีวิตที่ต้องจ่ายมีถึง 1,300,000 บาท เพื่อแลกกับการมีชีวิตอีก 48 วัน (ตายอย่างมรีศักดิ์ศรี ร่างพ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ 2545) 

สถานการณ์ เช่นนี้ประกอบกับแนวคิดเรื่อง “สิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตตนอง” อันเป็นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน จึงเป็นปัจจัยให้เกิด “สิทธิปฏิเสธการรักษาที่เป็นไปเพียงเพื่อยื้อชีวิตฯ” ของผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายที่แทบจะไม่มีหวังจะกลับฟื้นคืนดีเป็นปรกติ ได้ คือสิทธิตามธรรมชาติที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะตัดสินใจด้วยตนเอง

มาตรา ๑๒ ของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับรองสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิเสธการรักษาเมื่ออยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ที่การรักษาเยียวใด ๆ ไม่อาจฟื้นคืนสภาพร่างกายได้ โดยการ “ทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืด การตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย” อันเป็นเครื่องมือหนึ่งที่กฎหมายมอบให้สำหรับเป็นปัจจัยให้ความปรารถนาใน วาระสุดท้ายของเพื่อนมนุษย์ได้รับการยอมรับและปฏิบัติตาม

ในเรื่อง นี้ แพทยสมาคมโลก (World Medical Association) และนานาประเทศต่างให้การยอมรับในเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ทำหนังสือแสดงเจตนาเมื่ออยู่ในวาระสุดท้าย  ยังคงได้รับการดูแลรักษาตามความจำเป็น มิได้ถูกทอดทิ้งจากแพทย์ พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล (โรงพยาบาล) แต่อย่างใด  ไม่ว่าจะเป็นการดูแลให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย การบรรเทาอาการปวด หรือที่เรียกว่า “การดูแลแบบประคับประคอง” (palliative care)

ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพตามพระราชบัญญัติ สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550  ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางกฎหมายสุขภาพ ประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องในระบบสุขภาพ และผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะ สมและเป็นธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1.  จัดทำร่างกฎกระทรวงตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
2.  จัดประชุมรับฟังความเห็นและและให้คำปรึกษาแนะนำในระหว่างขั้นตอนการยกร่างกฎ กระทรวงตามมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติตามความเหมาะสม
3. จัดทำคำอธิบายหรือชุดความรู้ประกอบสาระสำคัญตามมาตรา 12

โดยมีผู้รับผิดชอบโครงการ คือ
- ศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส  ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศาสตราจารย์ นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์  ที่ปรึกษาศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์
- รองศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ  ที่ปรึกษาศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์
- นายไพศาล ลิ้มสถิตย์  นักวิชาการศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท