ทำไมต้องคณะศึกษาศาสตร์


มัวยุ่งๆกับการรวบรวมงานเขียนทั้งที่เขียนในบล็อกและที่เคยนำเสนอทางเว็บไซต์ของคณะวิทย์ฯ เลยทำให้สิ่งที่ตั้งใจจะเขียนเรื่อยๆ ให้กับตัวเองและให้ผู้สนใจทั่วไปได้อ่านเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นกัน หยุดชะงักไป

เมื่อวานมีงานเปิดตึก ย้ำ เปิดเฉพาะตึกคณะศึกษาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และมีการสัมมนาระดับนานาชาติเกี่ยวกับการศึกษาในอิสลาม

คำถามที่เคยเกิดขึ้นในใจผม ที่ถามตัวเองและตอบเองมานานแล้ว วันนี้ก็อยากเสนอคำถามทำนองนั้นอีก

คำถามแรก...ทำไมต้องเป็นตึกคณะศึกษาศาสตร์ ??? ทั้งๆที่ยังไม่มีคณะ

อันนี้ผมก็เดาๆ คิดว่าคำตอบจริงคงไม่ห่างจากนี้มากนัก ... กลจักรใหญ่ในการสร้างคนให้เป็นคน สร้างมนุษย์ให้เป็นคนที่เพรียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรมที่ดี ก็ต้องเริ่มที่การให้การศึกษา.. คณะศึกษาศาสตร์จึงจำเป็น ...

... ที่อื่นมีแล้ว เช่น ราชภัฏฯ มอ. หรือทักษิณ และเท่าที่เคยได้ยินมา มอ.ปัตตานี แรกเริ่มที่คณะศึกษาศาสตร์ เป้าหมายสวยหรู่มาก คือ พัฒนาการศึกษาในพื้นที่

... แต่ทุกวันนี้ เป็นที่รู้กันทั่วประเทศว่า คุณภาพการศึกษาที่ต่ำที่สุดของประเทศไทย ก็ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้แหละครับ

มันเป็นเพราะเหตุใด..? เรามีสถาบันที่ผลิตเพื่อเป้าหมายเฉพาะแล้ว แต่ผลทางการศึกษาในพื้นที่ก็เป็นอย่างที่กล่าวมา

เท่าที่ได้พูดคุยกับผู้เกี่ยวข้อง เช่น ครู ศึกษานิเทศ และนักบริหารการศึกษาในพื้นที่... เขาว่า ประชาชนในพื้นที่ บางพื้นที่ไม่ตอบสนองระบบการศึกษาที่รัฐจัดให้เท่าที่ควร บางแห่งไม่สนใจเลย..?

ตัวอย่างเช่น ...

  • โรงเรียนระดับมัธยมประจำอำเภอ บางแห่งเกือบปิดตัวเองเพราะไม่มีคนไปเรียน 
  • โรงเรียเอกชน ที่มีความจำกัดมากๆ ทั้งอาคารสถานที่ ทั้งครูผู้สอน ทั้งอุปกรณ์ สื่อช่วยสอนต่างๆ แต่กลับมีนักเรียนมาสมัครเรียนล้นอย่างไม่คาดฝัน โรงเรียนที่ลูกชายผมเรียนอยู่ทางฝ่ายบริหารบอกว่า เขาสามารถรับนักเรียนทั้งหมด(ในช่วงแรกๆนี้) ประมาณ 300 คน แต่มีคนมาสมัครเรียนมากกว่า 500 คน

ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะอะไร ???

บางคนตอบว่า เพราะโรงเรียนของรัฐไม่ค่อยตอบสนองความต้องการของชุมชน ...ผมว่าก็น่าคิด อย่างโรงเรียนใกล้บ้านผม บางครั้งเลือกกรรมการโรงเรียนเฉพาะคนที่ว่าตาม ผอ. หรือคนที่สามารถเรียกชาวบ้านมากินน้ำชาช่วยหาเงินแก่โรงเรียนได้ คนที่เข้าใจระบบการศึกษา เข้าใจศาสนาที่ชาวบ้านเชื่อและยึดมั่นอย่างแน่นหนา น้อยคนนักจะไปมีปากเสียงในการจัดการศึกษาในหมู่บ้าน

แล้วชาวบ้านต้องการการจัดการศึกษาแบบใด ที่เขาจะสนองตอบโดยส่งลูกหลานเรียนอย่างจริงๆจังๆ

บางครั้งเราไปหวังพึ่งงานวิจัยที่ทำขึ้นเพื่อให้เป็นเล่ม ตามแบบสอบถามที่ส่งต่อๆ ไปเรื่อยๆ และสรุปผลจากคำตอบในแบบสอบถามนั้น จะมีสักกี่กลุ่มที่ทำวิจัยแล้วไปนั่งพูดคุยกับชาวบ้านอย่างที่ อ.จรุวัจน์ ทำ

เรา.. ผม อ.จรุวัจน์ และ อ.มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาคนอื่นๆ ทุกคนมีลูก ทุกคนอยากสอนลูกเรื่องใดบ้าง ก็เลยหาโรงเรียนที่เหมาะ ที่ตรงตามที่ตัวเองอยากได้ แต่บางครั้งหายากมาก เจอโรงเรียนที่บอกกล่าวอย่างทีพูดถึงแล้วแต่เวลาไปทำจริง กลับทำไม่ได้ เป็นเพราะอะไร???

ผลสรุป..เท่าที่ผมสรุป ครูแบบบูรณาการกับสิ่งที่ชาวบ้านศรัทธานั้นหายากมาก ถ้าจะมีต้องสร้างเอง ...ก็เป็นที่มาของคณะศึกษาศาสตร์ ...

คนอาหรับรวยๆ มาเที่ยวภาคใต้ เห็นความจำเป็นทางการศึกษา ก็ได้บริจากเงินให้สร้างตึก และเจาะจงด้วยว่า ตึกศึกษาศาสตร์ ก็เลยทำให้เกิดตึกคณะศึกษาศาสตร์ทั้งที่ยังไม่มีคณะ

...เมื่อวานได้ฟังวิทยากรระดับอธิการบดีของมหาวิทยาลัยในระดับอาเซียน มีหลายเรื่องอยากนำมาพูดคุยในบล็อก.. ไว้โอกาสหน้า อินชาอัลลอฮฺ

หมายเลขบันทึก: 281066เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2009 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

"ครูแบบบูรณาการกับสิ่งที่ชาวบ้านศรัทธานั้นหายากมาก ถ้าจะมีต้องสร้างเอง ...ก็เป็นที่มาของคณะศึกษาศาสตร์ ..."

  • อินชาอัลลอฮฺค่ะ จะรอดูความสำเร็จและอยากเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จด้วยอีกคนค่ะ

ผมว่าอาจารย์จะดูอย่างเดียวไม่ได้แล้วครับ เพราะมันไม่ง่ายเลย อาจารย์จะต้องร่วมทั้งกายและใจแล้วนะครับ

และคิดว่าเพราะมันไม่ง่าย ทางผู้ใหญ่เขาเลยไม่ยอมให้เกิดสักที

ตอนแรกๆที่ได้รับข่าวว่าคณะศึกษาศาสตร์จะเกิด ผมกลัวมาก กลัวเกิดอย่างคำถามที่อาจารย์ท่านหนึ่งได้ถามในงานอภิปรายวันนั้น

...เราอิสลามก็จริง แต่ระบบบริหาร การทำงานยังแยกส่วนระหว่างทางโลกและทางธรรม เราเริ่มต้นด้วยคณะอิสลามศึกษาแต่ไปพัฒนาอย่างรวดเร็วที่คณะอื่น...???

...เราบอกว่าศึกษาศาสตร์อิสลาม แต่เป็นอิสลามมาแปะ เอาหะดีษสองสามหะดีษมาอ้างอิง แล้วระบบทุกอย่างไปเล่นตามกลุ่มญาฮีลิยะฮฺ

ที่ว่าจะรอดูนั้น  เพราะไม่ทราบว่าตัวเองจะมีความสามารถช่วยได้ตรงไหนบ้าง  ยังอ่อนด้อยนักทั้งความรู้และประสบการณ์

อย่างไรก็ตาม  ก็ยังอยากเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จตามที่บอกไว้  หากอาจารย์มีอะไรให้ร่วมด้วยช่วยกันก็ยินดีมากๆ ค่ะ ทั้งแรงกายและแรงใจ  แนะนำได้เสมอค่ะ

ครับ... P ครูต่างถิ่น
ถ้าเรียกใช้อะไร อย่าบ่นว่าชอบรบกวนก็แล้วกัน

ตอนนี้กำลังรบกวน อ.ฟูอาด อยู่ ถ้า อาจารย์สนใจฝากบอก อ.ฟูอาดก็ได้ ครับ

ผมชอบที่จะฟังมากกว่าที่จะพูดครับเวลาได้นั่งพูดคุยกับอาจารย์ และสำหรับวันนี้ข้อคิดหลายอย่างในบทสนทนามันทำให้ผมต้องขบคิดหลายเรื่องครับ...และเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการที่จะเปิดคณะศึกษาศาสตร์อย่างที่อาจารย์พูด

ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจและข้อคิดที่ดีตลอดเรื่อยมาครับ ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนคุณงามความดีทุกๆการงานที่อาจารย์ทำ เห็นแล้วอยากบอกคนที่ไม่เคยเห็นคนทำงานมาดูจังเลยครับว่า "คนป่วยทำอะไรได้มากกว่าคนอย่างเราซะอีก...มันก็น่าคิดนะครับ"

เราต้องช่วยๆกันครับอ. Pเสียงเล็กๆ

เพื่อให้เกิดตามที่คิดว่าทุกคนคาดหวัง

แอบเห็นหน้าปกหนังสือของอาจารย์

ดีใจมากค่ะ หากได้เห็นทั้งสามเล่มในงานฯ เร็วๆ นี้ ^^

ก็ตั้งใจจะให้ตรวจเหมือนกัน แต่ด้วยข้อจำกัด เลยต้องทำแบบรีบๆ

อินชาอัลลอฮฺ จะให้วางขายได้(ฉบับเฉพาะกาล)ในวันงาน

ที่แยกเล่มเพราะอยากให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

ผมเห็นด้วยคับ ที่จะเปิดคณะศึกษาศาสตร์ เเต่ทั้งนี้เราก็ต้องคำนึงถถึงบุคลากรที่จะทำการเรียนกรสอนด้วยคับ ศึกษาศาสตร์นั้นจำเป็นต้องมีบุคลากรที่เก่งคับ เก่งทั้งศาสตรืในด้าานศึกษาศาสตร์และเเนวคิดอุดมการณ์อิสลาม ตอนนี้ผมเรียนศึกษาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คับ เท่าที่ได้สัมผัสมาหลักสูตรของที่นี่เราสามารถบูรณาการและเปลี่ยนเเปลงให้เป็นเเนวคิดและอุดมการณ์อิสลามได้ไม่ยากคับ เเต่คณาจารย์ที่นี่มีดอกเตอร์เยอะมาก แต่อาจารย์เกือบทุกคนกพูดภาษาอังกฤษได้คับ ร้อยละ 90เลย

อาจารย์ครับ ผมเห็นด้วยคับ The right is time

สลาม

คณะนี้ต้องเน้นการตัรบียะฮฺอิสลามียะฮฺทั้งระบบ

ไม่งั้นไม่ต่างจากคณะศึก.....ทั่วไป

วัสสลาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท