การอบรมภาษาญี่ปุ่น โครงการภาษาญี่ปุ่นสัญจร ของเจแปนฟาวน์เดชั่น 25 กรกฎาคม 2552 ณ จังหวัดกำแพงเพชร ตอนที่ 1 เทคนิคการนำเข้าสู่เนื้อหา


เทคนิคการนำเข้าสู่เนื้อหา

โครงการภาษาญี่ปุ่นสัญจร เป็นโครงการ
จัดอบรมภาษาญี่ปุ่นให้กับครูผู้สอนภาษาญี่ปุ่นทั่วประเทศ  จัดขึ้นทั้งภาคเหนือ /
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ / ภาคกลางและภาคใต้  โดยสลับเปลี่ยนสถานที่จัดอบรมไปตาม
ความเหมาะสมและให้ผู้เข้าอบรมเสนอหัวข้อเรื่องที่ต้องการอบรมไปล่วงหน้า  เพื่อวิทยากร
จะได้ตระเตรียมเอกสารให้ครอบคลุมเนื้อหาและเพียงพอต่อจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
 ครั้งนี้มี
ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 9 ท่านจากจังหวัดสุโขทัย นครสวรรค์ เชียงใหม่และกำแพงเพชร
วิทยากรคืออาจารย์
みうらประจำอยู่ศูนย์ภาษาญี่ปุ่นกรุงเทพฯ

                   

                   

                     

        しえき                 うけみ
การอบรมครั้งนี้เป็นเรื่อง  使役 กริยารูปให้กระทำ และ  受身กริยารูป
ถูกกระทำ    
อาจารย์เปิดฉากด้วยการแนะนำตนเองโดยเขียนชื่อบนกระดานว่า
しりとりのみうらและเล่าประวัติของตน ว่ามีภรรยา 1 และลูกสาว 3 คน
เคยพำนักอยู่ประเทศไทยเมื่อปี 2006-2008   สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร
ส่วนครอบครัวพักอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่  อาจารย์ต้องเดินทางโดยรถไฟไปหา
ครอบครัวทุกสัปดาห์  ต่อจากนั้นก็กลับไปประเทศญี่ปุ่น   แต่ปัจจุบันได้มา
ประจำอยู่ศูนย์ภาษาญี่ปุ่นกรุงเทพฯ
 อาจารย์นำผู้เข้ารับการอบรมกลับไปสู่เรื่อง
ชื่อบนกระดานที่เขียนว่า
しりとりのみうら แล้วย้อนถามว่ารู้จักคำว่า
しりとりไหม    เป็นเกมเกี่ยวกับการบอกคำศัพท์โดยใช้ตัวอักษรสุดท้าย
ของคำเก่ามาใช้ในคำศัพท์ใหม่ (เกมนี้ครูทั่วไปโดยเฉพาะครูสอนภาษาคงเคย
นำมาให้เด็กๆ เล่นกัน)  อาจารย์นำวิธีการนี้มาตั้งชื่อให้ลูกสาวทั้ง 3 คน  คือ
   คนที่ 1 ชื่อ     ひな            อายุ 18 ปี
   คนที่ 2 ชื่อ      อายุ 18 ปี
  คนที่ 3 ชื่อ    つき  อายุ 9 ปี
    จึงเป็นที่มา-ที่ไป ของชื่อของอาจารย์ที่ว่า  しりとりみうら
ปัจจุบันลูกสาว  2 คนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น  แต่นำลูกสาวคนเล็กมาอยู่ด้วยกัน
ที่
กรุงเทพฯ คงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมต้องแนะนำประวัติกันละเอียดขนาดนั้น
ผู้เขียนขอนำประสบการณ์ในการเป็นครูมาวิเคราะห์และชี้แจงดังนี้
1.  เพื่อสร้างความคุ้นเคยและความรู้สึกเป็นกันเอง
2. 
เพื่อให้ชินกับสำเนียงภาษาญี่ปุ่น
3.  เพื่อเชื่อมโยงบทสนทนาไปสู่เนื้อหา (นำเข้าสู่บทเรียน)
 การใช้กระบวนการเทคนิคแบบนี้จะนำไปสู่เนื้อหาโดยไม่สะดุด  อาจารย์ให้
ผู้เข้าร่วมอบรมเขียนชื่อแนะนำตนเองโดยใส่.....สิ่งที่ตนชอบ / สิ่งที่เป็นตัวตน
หรือบุคลิกลักษณะของตนไว้ด้านหน้าเชื่อมด้วยคำว่า มาขยายชื่อของตน
เพื่อ
ง่ายต่อการจดจำชื่อของแต่ละบุคคล  何とかの なまえ แล้วให้
อธิบายด้วยว่าทำไมถึงใช้คำนี้     "  นี่ไง......ชัดเจนเลย "   แถมด้วยการขยาย
เนื้อหา
ขึ้นไปอีกหลายชั้นทีเดียว  ผู้เข้าอบรมได้ชื่อแปลกๆ ตามนิสัยของตน เช่น
おかしのウォララック  ใช้คำว่า おかし เพราะชอบกินขนม
ねこのルンラット    ใช้คำว่าねこ เพราะชอบแมว เลี้ยงแมวไว้ 5 ตัว
さかなの……             ใช้คำว่า  さかなเพราะชอบปลา.........
くろの………              ใช้คำว่า くろ เพราะนักเรียนให้นิยามคำนี้ไว้
                            เนื่องจาก.......
そうじのうちだ          ใช้คำว่า そうじเพราะเป็นคนที่ขี้ลืม  จึงต้อง
                            การลบความขี้ลืมทิ้ง  การลบคือการทำความ
                                                 สะอาด
ファッションの ....... ใช้คำว่า ファッションเพราะชอบแฟชั่นฯลฯ 

 

                    

                    

            

  การแนะนำตนเองด้วยวิธีการนี้ น่าสนใจมากทีเดียว  ผู้เข้าร่วมอบรมได้ใช้ทักษะทั้งการเขียน -
การพูด- การฟัง
ภาษาญี่ปุ่น ข้อดีอีกเรื่องหนึ่งก็คือมี Guideline ในการแนะนำตนเอง
ที่ไม่ออกนอกกรอบอีกด้วย  โดยมีอาจารย์คอยช่วยเสริมถามนำในกรณีที่อธิบายไม่ละเอียด
หรือช่วยถามรายละเอียดปลีกย่อยที่ช่วยเพิ่มสีสันให้กับเนื้อหา
ฯลฯ
 

หมายเลขบันทึก: 280186เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท