เผยแพร่ผลงานวิชาการสู่เพื่อนครูไทย


ครูภาษาไทยสร้างเด็กไทยอ่านออกเขียนคล่อง

ชื่อเรื่อง             รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน 

                        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย    ชั้นประถมศึกษาปีที่  3 โรงเรียนวัดโพธิ์รัตนาราม  

ผู้ศึกษา              นางบุญเรือน   สายทอง      

ปีที่วิจัย               ปีการศึกษา  2551

บทคัดย่อ

                   ภาษาไทยเน้นความสำคัญของการออกเสียงภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง การส่งเสริมให้รักการอ่าน  การเขียน  ภาษาไทยให้ถูกต้องตามอักขรวิธี  และรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมด้วยความสำคัญความจำเป็น  และเหตุผลที่สอดคล้องกันว่า ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย ดังนั้นการรายงานครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2. เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน 3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน   กลุ่มที่ได้รับการพัฒนาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2551  โรงเรียนวัดโพธิ์รัตนาราม จำนวน 41 คน ใช้เวลาทดลอง  32 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาคือแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน จำนวน 8 ชุด ชุดละ  8  กิจกรรม  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์   เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ  4 ตัวเลือก จำนวน  30  ข้อ   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

                   ผลการดำเนินการ

                  1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ  89.05/85.93 

                  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                  3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64,S.D. = 0.57)

                 

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาไทย ป.๓
หมายเลขบันทึก: 280183เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
                            บทคัดย่อ ชื่อวิจัย การบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ผู้วิจัย นายอุดม ยกพล  หน่วยงาน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา อ าเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ปีที่วิจัย 2563 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2) การบริหาร จัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ3) ทดลองใช้การบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 4) ประเมินการบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จ านวน 74คน ประกอบด้วยผู้อ านวยการสถานศึกษา รองผู้อ านวยการสถานศึกษา ครูผู้สอนโรงเรียนด่านอุดมศึกษา ผู้ปกครองเครือข่าย 2) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย บุคลากร จ านวน 74 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจ านวน 74คน ประกอบด้วย1)ผู้อ านวยการโรงเรียน จ านวน 1คน 2) รองผู้อ านวยการโรงเรียนจ านวน 1 คน 3) หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จ านวน 2คน 3)ครูที่ปรึกษา จ านวน 12คน 4)ผู้ปกครองเครือข่าย จ านวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต ประเด็นสนทนากลุ่มแบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบคัดกรองนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย(X)ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)ค่า Wilcoxon Signed Ranks Testและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ปรากฏผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้1. การบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีชื่อว่า กระบวนการโรงเรียนร่วมกัน (CPOEB) มีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ คือ การจัดท าการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ที่เป็นระบบสัมพันธ์กัน โดยค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความรู้ความสามารถ และทักษะที่ส าคัญ ที่ต้องพัฒนาโดยใช้วิธีการฝึกอบรมและการลงมือปฏิบัติโดยมีผู้บริหารให้ค าแนะน าอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อให้ครูกลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพในการส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน และสามารถน าไปพัฒนาประกอบการดูแลนักเรียน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษและกระบวนการของรูปแบบมี 6 ขั้นตอนโดยมีการก ากับ ติดตามอย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอนเพื่อให้การปฏิบัติการวิจัยเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อันจะส่งผลให้การบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมขสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด2. ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของการบริหาร จัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษมีชื่อว่า ซีทีเออีอาร์เอ (CTAERA Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 -1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อระหว่าง 0.80 –1.00 และความสอดคล้องของรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80–1.00ทั้งนี้เนื่องมาจากขั้นตอนการบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีกระบวนการที่เป็นระบบมีความเกี ่ยวเนื ่องสัมพันธ์กัน ทุกองค์ประกอบ ซึ่งก็คือ ปัจจัยน าเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง3. ผลการใช้การบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ สรุปได้ดังนี้3.1 สมรรถนะผู้เรียน หลังการใช้รูปแบบโดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ก าหนดไว้ และเมื่อพิจารณาการประเมินผลผู้เรียนเป็นรายด้านโดยเรียงล าดับจากมากไปน้อย 3.2 การบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05โดยหลังการใช้การบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีคะแนนสูงกว่า ก่อนการใช้การบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนโรงเรียนด่านอุดมศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ3.3ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ครูผู้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ก าหนดไว้โดยหลังการใช้การบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีคะแนนสูงกว่าก่อนการใช้การบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนโรงเรียนด่านอุดมศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ3.4 สมรรถนะการบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่าครูผู้รับการอบรมมีสมรรถนะในการบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัด ศรีสะเกษ อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ที่ก าหนดไว้ 3.5 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวม พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อ การบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษอยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ก าหนดไว้

นางกาญจนา จันทร์ประโคน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์ประกอบชุดกิจกรรมกิจกรรมตามกระบวนการคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (Think Pair Share) ที่มีต่อความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปรือพวงสำราญ จังหวัดบุรีรัมย์ 2)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปรือพวงสำราญ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมตามกระบวนการคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (Think Pair Share) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็ก 3 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปรือพวงสำราญ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการจัดประสบการณ์ตามกระบวนการคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (Think Pair Share) ดำเนินการโดยใช้กลุ่มเป้าหมายคือเด็กที่มีอายุ 3 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปรือพวงสำราญ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 6 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดกิจกรรมตามกระบวนการคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (Think Pair Share) แบบวัดความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ แบบวัดความพึงพอใจของเด็ก 3 ปี ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามกระบวนการคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (Think Pair Share) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t –test) ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมตามกระบวนการคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (Think Pair Share) ที่มีต่อความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพ 91.53/91.67 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ผลการเปรียบเทียบความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามกระบวนการคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (Think Pair Share) พบว่าหลังการจัดประสบการณ์เด็กมีความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เด็กมีความพึงพอใจในการจัดประสบการณ์ตามกระบวนการคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (Think Pair Share) ในระดับมาก

ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

ชื่อผู้ประเมิน นางสาวนันทรัตน์ คงทน รองผู้อำานวยการโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบซิปป์โมเดล ของ

สตัฟเฟิลบีม ในการประเมินโครงการโดยมีวิธีดำเนินการประเมิน ดังนี้ แบ่งการประเมินออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 ก่อนการดำเนินโครงการ ประเมินด้านบริบท โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ และความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ และประเมินด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ และกิจกรรม

ระยะที่ 2 ระหว่างการดำเนินโครงการ ผู้ประเมินได้ประเมินด้านกระบวนการเกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการ ได้แก่ การวางแผน การดำเนินงาน การติดตามและประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงและพัฒนา และ

ระยะที่ 3 หลังสิ้นสุดโครงการ ผู้ประเมินได้ประเมินพฤติกรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง จำนวน 517 คน ใช้เครื่องมือประเภทแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ตามรูปแบบของลิเคิร์ท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมิน พบว่า

  1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ

มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ของโครงการ

มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

  1. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของผู้อำานวยการสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ความเหมาะสมและความเพียงพอของกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ความเหมาะสมและความเพียงพอของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และความเหมาะสมและความเพียงพอของอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

  2. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำาหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ การดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การวางแผน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ การติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

  3. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช มี2 ตัวชี้วัด ดังนี้

4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตัวชี้วัด พฤติกรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ตามความคิดเห็นของครู ในภาพรวม อยู่ในระดับ คุณภาพ ดี– ดีเยี่ยม 99.36% ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีระดับคุณภาพ ดี– ดีเยี่ยม 100% จำนวน 3 ข้อ คือ ข้อที่ 1 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ข้อที่ 5 อยู่อย่างพอเพียง และข้อที่ 7 รักความเป็นไทย

4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตัวชี้วัด ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำาหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ โรงเรียนมีความพร้อมในการดำเนินโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ โรงเรียนดำเนินโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระบบกลไกหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานีชื่อผู้วิจัย นางเรณู บุบผะเรณูตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานีปีการศึกษา 2564บทคัดย่อการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระบบกลไกหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี โดยใช้วิธีการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 5 กลุ่มตามรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีครูในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรฝึกอบรมระบบกลไกหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยวิธีการของ KJ. Method ออกแบบเครื่องมือและพัฒนางานวิจัย และหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม นำผลการวิจัยที่ได้ไปประเมินหลักสูตรตามแบบจำลองของซิป (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) การประเมินสภาวะแวดล้อม โดยผู้วิจัยเป็นการรวบรวมข้อมูลความต้องการของครูในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา งานวิจัย และการวิเคราะห์หลักสูตรและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยมีวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม คือ การเพิ่มความรู้ ทักษะทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งเจตคติของครูในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี เนื้อหาของหลักสูตรประกอบด้วย 5 หัวข้อเรื่อง ดังนี้ ความหมายและความสำคัญของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC : Professional Learning Community) แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) ระบบกลไกหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) การนำกระบวนการ PLC สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC โดยกำหนดให้ผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 20 คน/รุ่น จำนวน 2 วัน

การประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation)โดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้ององค์ประกอบของหลักสูตร ได้แก่ ความสอดคล้องของหัวข้อฝึกอบรมกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม และความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมกับแบบทดสอบ ผลปรากฏว่า ดัชนีความสอดคล้องมีค่าเท่า 0.96 และ 0.92  ตามลำดับ   ซึ่งความสอดคล้องกันสูง สำหรับการประเมินความคิดเห็นของแบบสอบถาม และแบบประเมินของผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ที่มีความรู้ความชำนาญในการนิเทศ การพัฒนาหลักสูตร และประสบการณ์ในกระบวนการวิขัย พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด นำหลักสูตรฝึกอบรมพร้อมทั้งเครื่องมือในการวิจัยต่าง ๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยหาค่าประสิทธิภาพของหลักสูตรระบบกลไกหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี ในขั้นตอนนี้ปรากฏว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ในการทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ จำนวน 20  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 85.60 และ 88.83 และผลการประเมินการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ (การเขียนแผนการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC) มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละมา 80.50 ส่วนค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้ง 5 หัวข้อเรื่อง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 88.50  ส่วนค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้ง 5 หัวข้อเรื่อง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.86 แสดงว่าแบบทดสอบมีค่าความเชื่อมั่นสูงมาก สรุปได้ว่า หลักสูตรนี้สามารถนำไปใช้ฝึกอบรมได้ สำหรับผลการประเมินการฝึกอบรม และวิทยากรฝึกอบรม พบว่า โดยรวมความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation)ผลการนำหลักสูตรไปเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นขั้นตอนในการฝึกอบรมจริงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 80 คน พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมระบบกลไกหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี มีประสิทธิภาพด้านทฤษฎี มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 96 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และผลการประเมินภาคปฏิบัติของผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 87.16/89.30  มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 75 สำหรับผลการประเมินวิทยากรฝึกอบรมโดยผู้วิจัยเป็นผู้ประเมิน พบว่า วิทยากรฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมระบบกลไกหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และการประเมินความคิดเห็นของการฝึกอบรมในด้านความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมในขั้นตอนนี้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการประเมินความคิดเห็นที่มีภาพรวมของการฝึกอบรมในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดการประเมินผลผลิต (Product Evaluation)การประเมินผลการสอนของครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มอบหมายเข้ารับการอบรมโดยผู้บังคับบัญชา ในระดับปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามกลุ่มเป้าหมายที่ผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้สอน และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยผลการประเมินการสอน พัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู โดยรวมอยู่ในระดับดีเลิศ และมีความพึงพอใจผลการสอนภาคปฏิบัติอยู่ในระดับดี สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจในการสอนของครูผู้สอนโดยผู้เรียน พบว่า ผลคะแนนผลสัมฤทธิ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของผู้เรียนทั้งหมดที่เรียนกับครูผู้สอนที่ได้รับการอบรมหลักสูตรระบบกลไกหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.69
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท