beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เทศกาลและตำนาน "บ๊ะจ่าง"


เทศกาล"บ๊ะจ่าง 肉粽" หรือเทศกาลไหว้ "ขนมจ้าง" เป็นเทศกาลของชาวจีน ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินของจีน เรียกชื่อตามตำราว่า "โหงวเหว่ยโจ่ย"

    คุณนุช เจ้าเก่า อยากให้ผมเขียนบันทึกเรื่องของ  粽子 หรือ  ที่คนไทยเรียก บ๊ะจ่าง 肉粽  ซึ่งปีนี้เทศกาลตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ซึ่งผมก็ได้ไปค้นเรื่องราวมาเล่าให้ฟังดังต่อไปนี้

    เทศกาล "บ๊ะจ่าง 肉粽" หรือ หรือเทศกาลไหว้ "ขนมจ้าง" เป็นเทศกาลของชาวจีน ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามของปฏิทินจีน เรียกชื่อตามตำราว่า "โหงวเหว่ยโจ่ย" บ๊ะจ่างนี้คนจีนจะเรียกว่า "จั่ง" แม่บ้านที่มีฝีมือจะลงมือทําขนมจ้างเอง เรียกว่า "ปักจั่ง
    เทศกาลบ๊ะจ่างเป็น 1 ใน 3 เทศกาลสำคัญของชาวจีน คือเทศกาลตรุษจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลบ๊ะจ่าง ซึ่งชาวจีนทั้งแผ่นดินใหญ่แล้วชาวจีนในประเทศต่างๆ ต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

    ตํานานเทศกาลไหว้ขนมจ้าง เป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๖๘  ในรัชสมัยของกษัตริย์ก๊กฉู่ มีขุนนางผู้หนึ่งนามว่า "คุกง้วน"  ซึ่งเป็นขุนนางตงฉิน รับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  ถือเอาประโยชน์ของราษฎรเป็นที่ตั้ง  คุกง้วนจึงเป็นที่รักใคร่ของประชาชน แต่ก็ถูกขุนนางกังฉินคอยใส่ร้ายป้ายสีต่อองค์ฮ่องเต้เสมอๆ

   จนในที่สุดฮ่องเต้หูเบาก็หลงเชื่อ สั่งให้เนรเทศคุกง้วน ออกจากเมืองไป ระหว่างที่ร่อนเร่พเนจรอยู่นั้น คุกง้วน ก็ได้แต่งบทกลอนเล่าถึงชีวิตที่รันทดและความอยุติธรรมของฮ่องเต้ไว้มากมาย พอความทราบถึงฮ่องเต้ ก็ยิ่งทรงพิโรธหนักเข้าไปอีก ส่วนคุกง้วนก็ยังอดรนทนไม่ได้ ที่จะกราบทูลเสนอแนะข้อราชการที่เป็นประโยชน์กับทางราชการให้กับองค์ฮ่องเต้ แต่ฮ่องเต้ก็ไม่ทรงสนพระทัยคุกง้วนเลยแม้แต่น้อย

   ขุนนางคุกง้วน น้อยอกน้อยใจมาก เลยไปกระโดดน้ำตายที่แม่น้ำไหม่โหลย ในมณฑลยูนนาน ซึ่งตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 นั่นเอง

   พอพวกชาวบ้านรู้ข่าว  ก็พากันไปช่วยงมหาศพ แต่หาศพเท่าไหร่ก็หาไม่พบ ชาวบ้านเลยเอาข้าวโปรยลงไปในน้ำพร้อมกับอธิฐาน ขออย่าให้ พวกปูปลามากัดกินศพของคุกง้วนเลย กินแต่ข้าวที่โปรยไว้ให้ก็พอ

   จากนั้นเป็นต้นมา ในแต่ละปีชาวเมืองเสฉวนซึ่งอยู่ติดกับมณฑลยูนนาน ที่ซึ่งคุกง้วนไปกระโดดน้ำตาย ก็จะมาร่วมกันระลึกถึงขุนนางผู้ซื่อสัตย์คนนี้ ด้วยการเอาใบจ่างมาห่อข้าวและกับ เมื่อห่อเรียบร้อยแล้วจึงเอาไปโยนลงน้ำ และนี่เองจึงเป็นที่มาของ เทศกาลไหว้ขนมจ้าง ที่ยังคงความศักดิ์สิทธิ์มาจนถึงปัจจุบัน

   ในเมืองจีนยังคงความขลังตามประเพณีดั้งเดิมอยู่ โดยเขาจะเอาของไปไหว้ที่ริมแม่น้ำแล้วโยนขนมจ้างลงน้ำไปด้วย แต่ถ้าเป็นการไหว้ในไทย ช่วงเช้าก็จะไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ แต่ที่พิเศษหน่อยก็ตรงที่มี "บ๊ะจ่าง" เพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งก็แล้วแต่ว่าบ้านไหนจะทำเอง หรือซื้อหามาจากร้านค้า

   บ๊ะจ่างเป็นขนมหรืออาหารชนิดหนึ่งของจีน ทำด้วยข้าวเหนียว แล้วใช้ใบไผ่ห่อเป็นรูปทรงกรวยหรือรูปสามเหลี่ยมแล้วใช้เชือกเส้นเล็ก ๆ มัด  เมื่อห่อเสร็จแล้ว  ก็นำไปต้มให้สุก แล้วรับประทานได้ (อันนี้เป็นสูตรที่ ๑ เป็นสูตรแบบไม่มีเครื่อง) ถ้าจะให้อร่อยก็ต้องจิ้มกับน้ำตาลทรายขาว

   เนื่องจากประชาชนในท้องที่ต่าง ๆ ของจีนมีรสนิยมที่แตกต่างกัน ไส้และรสชาติของบ๊ะจ่างในท้องที่ต่าง ๆ ของจีน จึงมีรสชาติที่แตกต่างกัน เช่น เมืองซูโจว เจียซิงและหนิงโป ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแยงซี เป็นเขตที่เรียกได้ว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"  ด้วยเหตุนี้  บ๊ะจ่างที่ผลิตจากที่นี่ จึงเป็นตัวแทนของบ๊ะจ่างทางภาคใต้ของจีน  ส่วนประกอบที่สำคัญของไส้ มีถัวเขียวสุกที่บดละเอียด เนื้อหมู และลูกจ๊อที่บดละเอียด เป็นต้น (อันนี้เป็นสูตรที่ ๒ เป็นสูตรแบบมีเครื่อง)

   สำหรับสูตร ๒ ที่ผมชอบรับประทานนั้น ทำด้วยข้าวเหนียว เผือก ถั่วลิสง (สูตรเจ) แต่ถ้าเป็นสูตรแบบ "ชอ" ใส่เนื้อสัตว์ เช่น เนี้อหมู หมูสามชั้น หรือหมูแดง และมีกุ้งแห้งผสมด้วยก็อร่อยไปอีกแบบ แต่อย่าลืมใส่พริกไทยลงไปด้วยนะครับ..

ชมภาพบ๊ะจ่างกันนะครับ

 

ภาพที่ ๑ บ๊ะจ่าง น่ากินจัง
คลิกภาพใหญ่
ภาพที่ ๒ บ๊ะจ่างอันร้อนแรง
คลิกภาพใหญ่

************************

หมายเหตุท้ายบันทึก : เรื่องนี้ค้นมาจาก Google ครับ (ภาพด้วย) มีประมาณ 4 สำนวน ผมนำมายำๆ กัน และปรับสำนวนเล็กน้อยครับ จึงไม่ได้อ้างอิงที่มา แต่ก็ขอขอบคุณต้นฉบับทุกฉบับนะครับ และหากคุณนุชเข้ามาอ่าน อย่าลืมอธิบายและบอกคำอ่านภาษาจีนคำนี้ "粽子"นะครับ

หมายเลขบันทึก: 27984เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
beeman คงจำได้ว่า ตอนออก mobile unit ด้วยกันครั้งหนึ่ง ผมจำได้ว่ามีชาวบ้านที่มีความรู้เกี่ยวกับผึ้งมากมาเล่าว่าน้ำผึ้งเดือนห้า (ขึ้น 5 ค่ำเดือน 5) เป็นน้ำผึ้งที่ดีที่สุดในรอบปี ใช้ทำยาได้ดี จึงอยากถาม beeman ว่ามีความสัมพันธ์อะไรกับบันทึกนี้หรือไม่

เรียนท่านอาจารย์วิบูลย์

  • ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันเลยครับ

เรียนอาจารย์สมลักษณ์ค่ะ

พอดีต้องการซื้อน้ำผึ้งเพิ่มเติมค่ะ

เนื่องจากเดิมทาง ม.นเรศวรเคยจัดงานให้ความรู้ที่เมืองทองเมื่อหลายเดือนก่อน และทางบุ๋มได้ซื้อน้ำผึ้งกับทางบูทของม.นเรศวร แต่ไม่แน่ใจว่าว่าเป็นอาจารย์หรือเปล่าหนะค่ะ

พอดีติดต่อไปที่มือถืออาจารย์ ไม่มีผู้รับสาย ส่งข้อความสั้นให้กับอาจารย์แล้วค่ะ พอดีกำลังจะเดินทางไปพิษณุโลกพรุ่งนี้ค่ะ ก็เลยจะติดต่อขอซื้อน้ำผึ้งจากอาจารย์หนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ ที่ช่วยไปค้นมาให้อ่านกัน 

คำว่า  粽子  อ่านว่า  zong4  zi3  จ้งจื่อ

จ้ง  หมายถึง  ข้าวเหนียวห่อด้วยใบไม้ไผ่ใบใหญ่  ในคำว่าจ้งมีคำว่า  米  ที่แปลว่าข้าว  อยู่ในคำด้วย

จื่อ  เป็นคำบอกถึงลักษณนามของสิ่งของ 

คำว่า  โหงวเหว่ยโจ่ย  ส่วนมากจะออกเสียงเป็น  โหงวหง่วยโจ่ย   五月节  น่าจะถูกต้องกว่า 

คุกง้วน=屈原  qu1  yuan2 

แม่น้ำไหม่โหลยคือ  มี่หล้วเจียง  汨罗江  mi4  luo2  jiang1  

屈原  เป็นกวีเอกคนหนึ่ง  วันคล้ายวันตายของเขาถือเป็นวันกวี

诗人节  shi1 ren2  jie2 

เวลาเทศกาลมาถึงที่ประเทศจีนมีการแข่งเรือ  ถือเป็นงานใหญ่

ทาง  cctv คงจะถ่ายทอดให้ชมกัน 

โอกาสหน้าคงได้รบกวนคุณอีกนะคะ

  • ขอขอบคุณ คุณนุชที่เข้ามา ลปรร.ครับ
  • นับว่าเป็นความรุ้ใหม่ครับ สำหรับภาษาจีน
  • ได้ความรุ้มากมายครับ
  • สงสัยว่าทำไม ต้องมีเลข 1,2,3,4 ต่อท้ายคำอ่าน
  • ต้องให้ลูกๆ มาเรียนภาษาจีนในบันทึกนี้แล้ว
  • ข้อสุดท้ายไม่ถือว่าเป็นการรบกวนครับ เป็นการลปรร.มาก กว่า
  • ต่อไปคงต้องไปหาภาพ "บ๊ะจ่าง" มาลงให้ชมบ้างครับ

เลข  1 2 3 4  ใช้กำกับเสียงค่ะ  เพราะการเรียนจีนสมัยนี้เป็นระบบพินอิน PIN  YIN  เทียบภาษาไทย 

เสียง 1 คือ เสียงสามัญ  2  คือเสียงจัตวา

3  คือเสียงเอก   4  คือเสียงโท 

ยกตัวอย่างเช่น  DA 1  = ตา   DA 2 = ต๋า

DA3= ต่า   DA 4 = ต้า   

คิดว่าลูกของคุณสมลักษณ์คงได้เรียนมาแล้วและเข้าใจ

แต่ถ้าเขียนกันจริงๆ  จะต้องเขียนขีดกำกับด้านบนของคำค่ะ 

ไม่ทราบเคยรับประทานบะจ่างของคนจีนกวางตุ้งบ้างไหม

อร่อยมากแต่เดี๋ยวนี้หาทานยากค่ะ 

ยินดีที่จะแบ่งปันความรู้ค่ะ 

เรียนคุณนุช

  • ขอบคุณที่ช่วยอธิบายครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากเลย
  • คุณนุชได้เคยซื้อหรือเคยดู VCD เรื่อง "ฮั่นจื้อกง" (ถ้าจำไม่ผิด แต่อาจผิดก็ได้) หรือเปล่า ราคาชุดละ 7,900 บาท มีการสอนภาษาแมนดาริน หรือจีนกลางด้วย ไม่ทราบว่าดีหรือเปล่า แต่ผมยังไม่เคยดูครับ
  • ถ้าดีก็จะซื้อให้ลูกได้เรียนครับ

พูดถึง ฮั่นจื้อกง  เคยได้ชมจากดาวเทียม ช่อง TCTV

คิดว่าเหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานมาบ้างเพราะสอนศัพท์ให้จำ  เป็นคำๆ ไม่สามารถผูกเป็นประโยคสนทนา 

ในความคิดเห็นของนุชเองคิดว่าเรียนกับครูผู้สอนจะได้ประโยชน์และเข้าใจง่ายกว่า 

ปัจจุบัน รร. ต่างๆก็เริ่มจะนำภาษาจีนเข้าในหลักสูตร  ส่วนที่นุชทำอยู่คือ  สอนใน ชม.ชุมนุมใน รร.มัธยมแห่งหนึ่งเป็นวิทยาทาน  เพื่อเป็นพื้นฐานให้เด็กไปต่อยอดในอนาคต 

การจะจำตัวจีนได้ต้องหมั่นเขียน  เพราะถ้าเขียนน้อยหรือมากไปขีด ความหมายก็เปลี่ยนไป  ดูหนังจีนที่มีตัวจีน และถ้ามีดาวเทียมรับจากจีนโดยตรงก็จะได้ฝึกฟังไปด้วย  เพลงจีนก็มีประโยชน์เหมือนกัน  เวลาสอนก็จะใช้เพลงเป็นสื่อด้วยเพราะเด็กจะได้ไม่เบื่อ

ภาษาจีนไม่ยากสำหรับผู้ที่ตั้งใจจริง

  • ขอบคุณ คุณนุชที่มาให้ความรู้อีกแล้วครับ
  • ว่างๆ เอาเรื่องภาษาจีนมาเล่าอีกครับ สนุกดี
  • เอาคำง่ายๆ  มาบอกก็ได้เช่นคำว่า น้ำ
  • หรือ คำว่าไข่เจียว
  • ผมเคยไปปักกิ่ง จะไปทานอาหาร ถามเขาว่าไข่เจียวนี่ เวลาจะสั่งมาทานเรียกว่าอะไร
  • เขาบอกว่า "ไหล่เจียว" อะไรทำนองนี้นะครับ

ทางเมืองจีนสมัยก่อนมักจะทำเป็นแต่ไข่ตุ๋น  ออมเลต  เมื่อคนไทยไปเที่ยวไม่ชินกับอาหารบางอย่างจึงนึกถึงไข่  คิดว่าคนไทยไปสอนให้เขาเจียวแบบคนไทยรับประทาน  ระยะหลังไปเที่ยวจึงเห็นไข่เจียวขึ้นโต๊ะ  ไข่เจียวในภาษาจีนเรียกว่า

摊蛋  tan1 dan4  ทานต้าน  หรือ

炒蛋  chao3  dan4  ฉ่าวต้าน  ใช้ได้ทั้งสองคำ

คนไทยมักจะขาดน้ำแข็งไม่ได้แม้อากาศหนาว  ไปจีนทีไรมักเรียกหาแต่   冰块  bing1  kuai4  ปิงไคว่

水   shui3   สุ่ย    น้ำ 

茶  cha2  ฉา  น้ำชา  คล้ายภาษาไทย 

咖啡  ka 1  fei 1   คาเฟย   กาแฟ

开水  kai1  shui3   คายสุ่ย   น้ำร้อนหรือน้ำอุ่น 

果子汁   guo3  zi3  zhi2  กั่ว จื่อ จือ  น้ำผลไม้ 

ไปจีนคราวหน้าคงไม่อดไข่เจียวและน้ำสารพัดแล้วนะคะ

 

  • ขอบคุณ คุณนุชครับ
  • เปลี่ยนมาเรื่องราชวงศ์ของจีนบ้าง เช่น ราชวงศ์ฮั่น, ซ่ง, เหม็ง, เชง
  • ภาษาจีนเขาเขียนและออกเสียงกันอย่างไรบ้างครับ

ยินดีค่ะ   เริ่มจาก

ราชวงศ์เซี่ย    夏朝  xia4  chao2   เซี่ยฉาว

ราชวงศ์ซาง   商朝   shang1  chao2  ซางฉาว

ราชวงศ์โจวตะวันตก   西周  xi1  zhou1   ซีโจว

ราชวงศ์โจวตะวันออก  东周  dong1  zhou1   ตงโจว 

ราชวงศ์ฉิน  秦朝   qin2  chao2  ฉินฉาว

ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก   西汉  xi1  han4   ซีฮั่น 

ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก  东汉   dong1  han4   ตงฮั่น 

สมัยสามก๊ก    三国时期   san1  guo2  shi2  qi2 

                   ซานกั๋วสือฉี  

ราชวงศ์จิ้นตะวันตก    西晋   xi1  jin4   ซีจิ้น 

ราชวงศ์จิ้นตะวันออก   东晋   dong1  jin4   ตงจิ้น  

สมัยหนานเป่ยฉาว     南北朝  nan2  bei3  chao2  

                            หนานเป่ยฉาว  

ราชวงศ์สุย         隋朝  sui2   chao2  สุยฉาว  

ราชวงศ์ถัง         唐朝  tang2  chao2   ถังฉาว 

ยุคอู่ต้ายสือกว๋อ(ห้าสมัยสิบแคว้น)   五代十国   

                      wu3  dai4  shi2  guo2  อู้ต้ายสือกว๋อ

ราชวงศ์ซ่งเหนือ    北宋   bei3  song4   เป่ยซ่ง 

ราชวงศ์ซ่งใต้        南宋   nan2  song4   หนานซ่ง 

ราชวงศ์หยวน       元朝   yuan2  chao2   หยวนฉาว  

ราชวงศ์หมิง        明朝    ming2  chao2   หมิงฉาว 

ราชวงศ์ชิง          清朝    qing1   chao2   ชิงฉาว 

เป็นราชวงศ์สุดท้าย

เรียนคุณนุช

  • ได้เข้ามาอ่านเมื่อ 2-3 วันมาแล้วครับ แต่ยังยุ่งๆ อยู่ เลยยังไม่ได้ตอบครับ
  • มีประโยชน์มากครับ ทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้น
  • อยากทราบลำดับกษัตริย์ ที่เป็นชาวต่างชาติ ที่ไม่ใช่ราชวงศ์ของจีน รู้สึกว่าจะเป็นราชวงศ์หยวนกับชิงนะครับ
  • ไม่ทราบว่าคุณนุชพอจะค้นคว้ามาตอบได้ไหมครับ
  • ถ้าตอบได้อยากให้ตอบแบบราชวงศ์นะครับ คือมีคำเขียนคำอ่านครับ
เพิ่งเข้ามาอ่าน  จะลองไปค้นมาให้ค่ะ

โทษนะครับ

ขอรบกวนถามหน่อยว่า....

ฮั่นจื้อกงเนี่ย เค้าสอนเป็นคำๆแค่นั้นเหรอครับ

ไม่สอนการแต่งประโยคกับไวยากรณ์เหรอ

พอดีผมจะลองหักเรียนด้วยตนเอง

แล้วถ้าเรียนเองมันจะได้ผลไหมครับ

ผมเคยเรียนในมหาลัย ตัว Beginning Chinese มาแล้ว

รบกวนหน่อยครับ

ตอบ yukimurasan

  • พอดีผมไม่ใช่ผู้รู้ภาษาจีน
  • เท่าที่ดูโฆษณา "ฮั่นจื้อกง"
  • น่าจะคล้ายๆ การสอนรากศัพท์ภาษาจีน ซึ่งไทยเราเรียกนิรุกติศาสตร์ ส่วนอังกฤษเรียน Etymology
  • ส่วนนี้มีประโยชน์ในการนำไปแต่งประโยค
  • เข้าใจว่าคงมีการแต่งประโยคบ้างแต่ง่ายๆ
  • ผมไม่ได้ซื้อ VCD ชุดนี้มา จึงไม่ทราบรายละเอียดลึกๆ ครับ
  • ขอบคุณครับ

ยอดเยื่อม

ขอบคุณมากๆ ครับ เห็นครูถามมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท