โครงการส่งเสริมบริการนักศึกษาพิการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


DSS- ข่าวดีสำหรับนักศึกษาผู้บกพร่องในด้านต่างๆ...สำหรับการเรียนในสถาบันอุดมศึกษา

    ต้นเดือนมิถุนายนของแต่ละปี จะเป็นช่วงเวลาในการชื่มชมยินดีสำหรับนักศึกษาใหม่ที่เข้าสุ่รั้วสถาบัน  ในกลุ่มนั้นจะมีนักศึกษาที่บกพร่องในด้านต่างๆ เข้ามาร่วมเป็นน้องใหม่เสมอ...ซึ่งนอกจากความชื่นชมยินดีแล้ว สิ่งที่นักศึกษาเหล่านี้คือ การชื่นชมในความพยายามอุตสาหะ และกำลังที่ส่งมอบให้

ตามนโยบายรัฐบาลที่ว่า "รัฐพึงจัดและสนับสนุนผู้ยากไร้ที่มีความผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ หรือสังคม และผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาให้ได้รับการศึกษาโดยทั่วถึงกัน" นั้น ทำให้สถาบันต่างๆ ได้รับการสนับสนุนให้จัดทำโครงการส่งเสริมบริการต่างๆ สำหรับนักศึกษาพิการขึ้น โดยงบประมาณสนับสนุนนั้นมากการ สกอ.

  • ปัจจุบันนักศึกษาพิการของมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีจำนวนประมาณ 50 คน ในปีงบประมาณ 2553 สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการโครงการส่งเสริมบริการนักศึกษาพิการมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ DSS- Disability Support Services เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนักศึกษาพิการในด้านต่างๆ เช่น ผู้ที่บกพร่องทางการมองเห็น บกพร่องทางด้านร่างกายหรือความเคลื่อนไหว บกพร่องทางการได้ยิน และพิการซ้ำซ้อน ได้รับบริการสื่อทางการศึกษาที่สอดคล้องตามความจำเป็นและเหมาะสมกับสภาพความพิการ มีการจัดหาสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม นักศึกษาที่พิการทางสายตาได้รับเอกสารสิ่งพิมพ์ที่เป็นอักษรเบลล์ในเนื้อหาวิชาที่เรียน  มีการจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือโดยเฉพาะ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง เพื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อนักศึกษาพิการในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศและแหล่งการเรียนรู้ได้เช่นเดียวกับนักศึกษาทั่วไป

นับเป็นข่าวดีสำหรับนักศึกษาเหล่านั้น

เอ๋ แล้วห้องสมุดหล่ะคะ น่าจะมีกิจกรรมอะไรบ้างที่ Support โครงการนี้

- สถานที่...มีทางลาดสำหรับวีลล์แชร์ มีห้องน้ำสำหรับคนพิการ มีลิฟต์รับ-ส่ง มีสารสนเทศในระบบเสียง เป็นต้น

- มีจุดบริการเฉพาะที่เข้าใช้บริการได้อย่างสะดวก ไม่รบกวนผู้ใช้อื่นๆ  เช่น จุดบริการคอมพิวเตอร์ที่สามารถสอดวีลล์แชร์เข้าไปได้ เป็นต้น

- มีสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น หนังสือเสียง เอกสารที่จัดทำเป็นอักษรเบลล์

- มีบุคลากรในการแนะนำบริการและการสืบค้นสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

-เป็นศูนย์กลางในการประสานงานอาสาสมัครต่างๆ เช่น  อาสาสมัครในการอ่านหนังสือเสียง อาสาสมัครในการใช้ภาษามือ

- มีการอบรมและให้ความรู้บุคลากรห้องสมุด สำหรับการดูแลผู้ใช้กลุ่มนี้ ซึ่งต้องการดูแลและให้บริการได้อย่างบูรณาการ

แล้วท่านหล่ะคะเห็นว่า ห้องสมุดควรมีกิจกรรมอะไรบ้าง?

- บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery)

  •  สงวนลิขสิทธิ์โดยสิริพร ทิวะสิงห์ ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 10 สิงหาคม 2552

 

หมายเลขบันทึก: 279689เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2009 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

ที่ มมส..มีนิสิตพิการเข้ามาเรียนเยอะมาก
ที่กองกิจการนิสิต ก็ตั้งงานนี้มาดูแลโดยตรง

เป็นการให้บริการอย่างเท่าเทียม...แต่ไม่ถึงกับประกาศนโยบายเป็นกรณีพิเศษเกี่ยวกับการรับเข้ามาเป็นโควตาพิเศษ ..ทุกคน ยังต้องสอบแข่งขันเข้ามาเรียนเหมือนคนอื่นๆ

ที่กองฯ ก็ผลิตหนังสือเสียงเอง...

ขอบคุณครับ

วันหน้าอาจจ้องรบกวนขอศึกษาดูงานเรื่องหนังสือเสียงซะแล้ว

เป็นเรื่องใหม่สำหรับเราจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท