ตาเหลิม
นาย วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์

เด็กดื้อ ... ต้องสร้างวินัยเชิงบวก


การลงไม้ลงมือ ทำโทษลูกตลอดเวลา เป็นเหตุให้เด็กมีปัญหา

.

.

.

ผมนำบทความอันนี้ ไปออกอากาศที่รายการวิทยุมา

พร้อมกันนี้ ก็วิเคราะห์ และเพิ่มเติมเรื่องราวซะจนบทความเกือบจะกลายเป็นเรื่องเล่าตลกๆ

ไหนๆ ก้เอาไปออกอากาศแล้ว เลยอยากเอามาแบ่งปันไว้ด้วย อ้อ

จะมีที่ผมเขียนเพิ่มเติมไว้ด้วยนะครับ แหะๆ

แม้ว่าที่ผ่านมา เด็กๆชอบจะทำอะไรก็ตามด้วยความไร้เดียงสา ในขณะที่ผู้ใหญ่ก็มักพูดกันว่า เด็กไม่รู้...ไม่ผิด

แต่ในความไม่รู้นั้น มันเกิดความถามตามมาว่า พ่อแม่ควรสอนให้เขารู้หรือไม่ว่า การร้องไห้งอแงจะเอาของเล่นโดยไม่ฟังเหตุผลของพ่อแม่ การเอาแต่ใจตนเองอยากไปไหนมาไหนแล้วแสดงออกเพื่อเรียกร้องความสนใจจาก ผู้ใหญ่ หรือการที่พ่อแม่สอนให้ช่วยเหลืองานบ้าน แต่เขากลับไม่อยากทำเพียงเพราะห่วงเล่นอย่างเดียวนั้นมันเป็นสิ่งที่ทำให้ เขาไม่น่ารัก
       
และแน่นอนว่า หลายครอบครัวที่ประสบกับปัญหาเหล่านี้ บางคนหาทางออกโดยการตามใจลูกเสียทุกอย่างเพียงเพราะไม่อยากได้ยินเสียง ร้องไห้งอแง หรือเบื่อที่จะฟัง รำคาญที่จะพูด ขณะที่บางคนอาจหาทางออกด้วยการลงไม้ลงมือ ทำโทษลูกตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้เขากลายเป็นเด็กมีปัญหามากที่สุด
       

ทั้งนี้ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้แนะวิธีที่พ่อแม่ควรปฏิบัติกับลูกอย่างถูกวิธีดังนี้

1.  เรียกลูกเรียกให้เด็กสนใจฟังคุณ และหันมามองคุณก่อนจะบอกให้เด็กทำอะไร เช่น ต้อม...มองหน้าแม่ ซิ... แม่จะบอกอะไรหน่อยครับ" เวลาเรียกเค้า ต้องให้ความสำคัญในการ เรียกด้วย ไม่ใช่สักแต่ว่าเรียกเค้าเฉยๆ แล้วการเรียก ก็ไม่ใช่การแหกปาก การตะคอก หรือการส่งเสียงดูถูกเหยียดหยามเค้าจนทำให้เค้ารู้สึกล่ะ   น้ำเสียงเวลาเรียก ให้แสดงความจริงใจด้วยนะ

2.  ชมลูก ชมเด็กทันทีที่เด็กหันมาให้ความสนใจที่คุณ เช่น ดีมากครับ...ที่หันมามองแม่" อย่าชมจนตอแหลล่ะครับ ให้ชมด้วยความจริงใจ อะไรที่ออกมาจากใจ ความจริงใจเด็ก สัมผัสได้ ดังนั้น อย่าตอแหล ฝึกจริงใจไว้ด้วยนะครับ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย 

3.  พูดดี ให้ใช้คำพูดที่  ง่าย สั้น และชัดเจน  ทีละคำสั่ง เช่น เอาล่ะ...ช่วยเอาผ้านี่ไปใส่ตะกร้าให้แม่ทีครับ

เรียกลูก  นี่สำคัญนะครับ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล่นๆ ผมมีเรื่องเล่าตลกๆ ในเคสจิตวิทยามาแบ่งปันไว้เรื่องหนึ่ง ดังนี้ 

มีคุณพ่ออยู่คนนึง แกมีลูกชายน่ารักน่าชัง ลูกแกจะเป็นคนช้าๆ แต่ไม่ได้ผิดปกติอะไร

ทีนี้ อีตาพ่อนี่ก็บ้าจี้ ไปรู้เรื่อง เด็กออทิสติก มา ...เรียกว่าได้ความรู้มาใหม่ เลยอยากเอามาทดสอบกับลูกตัวเอง

ก็คือ การสังเกตเด็กออทิสติกเนี่ยอาการหนึ่งคือการสังเกตเด็ก ว่ามีการสบตา(Eye contact) มั้ย มีการรับรู้และสนใจเวลาเรียกลูกรึเปล่า

เรื่องมันเกิดตรงนี้แหละ ตาพ่อนี่ก็จะเรียกชื่อลูกตัวเอง สมมุติว่า ลูกชื่อ ที ละกันนะครับ

พ่อก็จะเรียก "ที" พอ เจ้าที หันมา สบตาพ่อ พ่อก็จะบอกว่าไม่มีอะไร ก็จะเรียกแบบนี้บ่อยๆ

พ่อก็สบายใจ อ้อ ลูกกูไม่ได้เป็นออทิสติก เอาละ พ่อก็เริ่มเรียกบ่อยๆ ในแต่ละวัน

วันนึงเรียกสองสามครั้ง และมักจะบอกว่า ไม่มีอะไร ... พอบ่อยๆ เข้า เจ้าที ชักเบื่อ และชิน

เริ่มไม่สบตา ไม่หันมาหา ไม่สนใจ...   พ่อก็ เอ๊ะ ลูกเป็นออทิสติกรึเปล่าเนี่ย 

พาลูกไปหาจิตแพทย์ ... พอคุยกับหมอ หมอถาม ที ... ที ก็บอกหมอไปว่า 

"ผมไม่รู้จะหันไปทำไม พ่อเรียกบ่อย พอหันไป พ่อก็จะบอกว่า ไม่มีอะไร ผมก็ไม่รู้จะหันไปทำไม" 

สรุป หมอต้องตรวจพ่อแทน ... เพราะพ่อวิตกจริต ฮ่าๆๆๆ  

ก็นี่แหละครับ ไม่มีอะไร ก็อย่าไปเรียกลูกมาก เดี๋ยวเค้าจะเบื่อเราเอาซะก่อน

เรียกมากๆ ไม่ได้หมายความจะดีนะ เค้าจะเบื่อเอาได้ แล้วเราเองนั่นแหละ จะบ้าไปก่อน ...

 

ส่วนสิ่งที่พ่อแม่ควรระลึกไว้เสมอเพื่อทำความเข้าใจธรรมชาติของลูกนั้นมีดังนี้

1. “อย่าสั่ง-คาดหวัง สิ่งที่คุณต้องการให้เด็กทำต้องเป็นสิ่งที่เด็กทำได้ อย่าสั่งหรือคาดหวังให้เด็กทำในสิ่งที่เกินความสามารถของเด็ก พ่อแม่มักจะคาดหวังว่า ลูกต้องทำตามทันที พอทีนี้ละ ลูกกำลังทำอะไรอยู่ ไม่ได้ให้เวลาเค้าจัดการตัวเองเลย อย่าไปสั่งครับ คุยกันดีๆ เรื่องคำสั่งนี่มันจี๊ดใจคนฟัง ค่อยๆบอกกัน ถ้าลูกเล่นเกมส์อยู่ หรือทำกิจกรรมของเค้าอยู่ อาจจะถามเค้าหน่อยว่า "อีกกี่นาทีลูกจะมาช่วยแม่ล้างจานจ๊ะ" เป็นต้น  (ลองอ่านได้ที่ 8 เทคนิคป้องกันพ่อแม่ปะทะอารมณ์ลูก)

2. “อย่าพูดซ้ำ ควรบอกให้เด็กทำงานทีละชิ้นเพียงครั้งเดียว ให้เวลา 5-10 วินาที สำหรับเด็กในการทำตามที่คุณบอก อย่าพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 หรือ 3  พ่อแม่นี่ไม่รู้เป็นอะไร มักจะชอบลืมว่าตัวเองเคยเป็นเด็ก อะไรไม่ได้ดังใจนี่ บ่นๆๆๆๆ ไม่รู้ว่าใช้ถ่านรุ่นไหน "พลังบ่นเหลือล้น พลังพ่นเหลือเฟือ ลูกเบื่อไม่สนใจ ขอให้กูได้บ่น" ลูกมันก็จะด่ากลับมาว่า พ่อแม่ ชอบพูดอะไรซ้ำซาก วนไปวนมา น่าเบื่อ ... แล้วสะบัดตูดจากไป เคยมั้ยล่ะ   

3. “อย่ายัดเยียดหลีกเลี่ยงการบอกให้เด็กทำงานชิ้นที่ 2 ในขณะที่เขากำลังทำงานชิ้นแรกอยู่  อันนี้ก็เจอกันบ่อย ลูกกำลังล้างจานอยู่ เดี๋ยวได้ยินเสียง อย่าลืมเทขยะนะ , อย่าลืมถูบ้านนะ อ๊าว เป็นใครใครก็จี๊ด นี่มันจิ้มกลางใจเลยนะ ลูกจะคิดในใจ โอ๊ะ นี่ยังทำอันเก่าไม่เสร็จ มาเพิ่มภาระอีกทำไมเนี่ย ทำไมไม่ให้เสร็จเป็นอย่างๆ ไปล่ะ พ่อกับแม่ นี่ขี้ใช้ ชอบใช้คนอื่นจริงๆ พอเบื่อๆ ลูกก็จะพาลไม่ทำงานบ้านซะเลย ฮ่าๆ  

4. “อย่าโลเล ถ้าคุณยังไม่พร้อมที่จะเด็ดขาดเอาจริงกับเด็กเวลาเด็กต่อต้านคุณ คุณก็ยังไม่พร้อมที่จะบอกให้เด็กทำอะไร ถ้าลูกไม่ยอมทำตาม และพ่อแม่ ไม่พร้อมจะทำโทษ อยาไปไปคิดต่อกรกับลูก เพราะไม่อย่างนั้น ลูกจะเคยชิน คิดว่า พ่อแม่ เป็นไก่อ่อน กระดูกอ่อน เคี้ยวง่าย ปล่อยให้บ่นไป เดี๋ยวพ่อแม่ก็เหนื่อยและทำเอง ... เมื่อลูกกลายเป็นผู้ชนะบ่อยๆ ก็อย่าหวังจะไปให้เค้าหยิบจับ ช่วยเหลืออะไร ทีนี้ พ่อแม่นั่นแหละจะน้ำตาตกใน ... จำไว้ว่า เราต้องเด็ดเดี่ยว เด็ดขาด ในกรณีที่เกิดการต่อต้าน อย่างไม่สมเหตุผล และไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราบอก จะเดินไปปิดเกมส์ ปิดทีวี ก็ต้องทำละ ลูกจะร้องไห้ก็ปล่อยร้องไป ให้เค้าร้องไห้ไปด้วยล้างจานไปด้วยก็ต้องยอม เพื่อตัวเค้าเอง และเป็นการฝึกวินัยให้ลูกด้วย ... นะจ๊ะ   
       
และเมื่อเด็กเชื่อฟัง ทำตามที่พ่อแม่บอกแล้ว สิ่งที่พ่อแม่ควรปฏิบัติมีดังนี้

1. “ชมทันที ควรให้คำชมทันทีที่เด็กเริ่มทำตามที่คุณบอก เช่นดีมากครับ...ที่น้องโจลุกมาเก็บของเล่นทันทีที่แม่เรียก...แม่พอใจมากเลย ดีมากเลยลูก

2. “ชมอีกครั้ง และให้คำชมอีกครั้งเมื่อเด็กทำงานที่คุณสั่งสำเร็จ เช่น เยี่ยมจริงๆ...แม่เห็นเลยว่าหนูตั้งใจล้างจานพวกนี้จนสะอาด...เก่งมากคะ

3. “ภาษากาย อย่าลืมภาษากาย!!...แสดงความชื่นชมโดยการหอม กอด ลูบหัว ฯลฯ

ชมลูกบ่อยได้เท่าที่ต้องการ ขนาดหมายังชอบให้ชม แล้วประสาอะไรกับลูกเราถ้าทำดี

ปากไม่ต้องหนักหรอกครับ เก็บคำด่าไว้ดีกว่า ไอ้เรื่องดีๆ ที่เค้าทำชื่นชมด้วยใจจริง

การสัมผัสของพ่อแม่ เพียงแค่การตบไหล่ ลูบหลังเบาๆ แค่นี้หัวใจลูกก็พองโตเต้นเร็วแล้ว

ถ้าได้การกอด การหอม ในกรณีที่ทำดีจริงๆ ลูกมีหรือจะอยากไปกอดไอ้หนุ่ม-อีสาวที่ไหน ให้เราเหนื่อยใจ

ฮ่าๆๆ  จำไว้

 แต่ทว่า หากลูกดื้อเกินกว่าที่คาดไว้ เมื่อเขายังไม่ทำตามสั่งภายใน 5 วินาที...พ่อแม่ควรทำดังนี้

1. “นับ 1...” พ่อแม่ควรเริ่มนับ “1...2...3” (ต้องมีการคุยกับเด็กเอาไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า หากนับถึง 3 แล้วเด็กยังไม่ทำตามที่ คุณบอกจะเกิดอะไรตามมา)

2. “ถึง 3...งานเข้า!! หากนับถึง 3 แล้วเด็กยังไม่ทำตามที่คุณบอก ต้องเอาจริง เด็ดขาดในการลงโทษตามกฎที่ตกลงกันไว้ เช่น ริบของเล่น หักค่าขนม ปิดทีวี ปิดเกม ตัดสิทธิในที่เด็กชอบ ฯลฯ อย่าดีแต่บ่น...ขู่ หรือใจอ่อน

3. “เงียบสงบ สยบความเคลื่อนไหว เพิกเฉยหากเด็กทำท่าทางไม่เหมาะสม เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือแสดงความหงุดหงิดไม่พอใจ เช่น บ่น งอน ปึงปัง โวยวาย ฯลฯ


ของผมนี่อ่านได้ที่  8 เทคนิคป้องกันพ่อแม่ปะทะอารมณ์ลูก   ข้อ 7 ครับ     (คลิกเลย)   


       ทั้ง หมดนี้เป็นกลเม็ดที่พ่อแม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งเด็กที่ดื้ออาจเชื่อฟังมากขึ้นอีก เมื่อพ่อแม่พูดกับเขาด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบ นุ่มนวล ไม่ใช้อารมณ์ ให้โอกาสเขาได้เลือกสิ่งที่พ่อแม่ต้องการให้ทำ (แต่สิ่งที่พ่อแม่กำหนดต้องเป็นสิ่งที่ยอมรับได้) เช่น
       
       
หากคุณต้องการให้เด็กอาบน้ำและแปรงฟัน คุณอาจจะพูดกับเด็กว่าโอ๋...ได้เวลาอาบน้ำ แปรงฟันแล้วครับ...แม่ให้เลือกเอาว่าโอ๋จะอาบน้ำก่อน หรือแปรงฟันก่อนดีครับหากเด็กไม่ยอมเลือกอะไรเลย เตือนเด็กอีกครั้งว่าบทลงโทษของเราสำหรับเด็กที่ไม่เชื่อฟัง คืออะไรโดยใช้คำพูดทำนองนี้ แม่ก็จำเป็นต้องทำตามกฎที่เราคุยกันไว้.............

หมายเลขบันทึก: 279220เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • เป็นแง่คิดที่ดีมากๆค่ะคุณ ตาเหลิม
  • โดยเฉพาะเด็กนักเรียนวัยรุ่นมัธยมศึกษา
  • การกระทำทุกอย่างต้องสามารถบอกได้
  • อธิบายเขาได้ ต้องทำอย่างมีเหตุผลค่ะ
  • อย่าตระหนกเกินไปแต่ต้องอยู่กับสติให้มาก
  • เด็กเขาก็เกิดมาอายุสิบกว่าปีเท่านั้นพึงสังวรณ์
  • จะให้เขามาคิดได้ทำเป็นเห็นเองโดยเอาตัวเรา
  • เป็นมาตรฐานเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
  • จงอดทนหากวันนี้เขายังไม่เข้าใจ...หวังไว้..
  • วันหน้า..หากเขาถามจงบอกเขาตามความเป็นจริง..
  • เด็กวันนี้เก่ง..เข้าใจได้เร็ว..เพียงขอให้เราชัดเจน
  • ในการกระทำ..ทำเพื่อเขาอย่างจริงใจ...เชื่อค่ะ
  • ว่าสักวันเขาจะรู้ว่าใครกันแน่..ที่หวังดีต่อเขา..อย่างแท้จริงค่ะ..
  • ถูกต้องนะคร๊าบบบบบ ครูแป๋ม
  • ดีใจจริง ๆ มีคนเข้าใจ และร่วมทางเดียวกัน
  • มีสติ ก็เอาตัวรอดได้ เย๊ๆ
  • เด็กเก่ง และทันสมัย เราก็ต้องปรับตัวให้ทันครับ
  • ขอบคุณสำหรับข้อความดีๆ ครับ

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบพระคุณมากค่ะสำหรับบันทึกนี้
  • พี่คิมกำลังศึกษาและเรียนรู้..วิธีการแบบนี้อยู่ค่ะ
  • จะได้นำไปใช้กับนักเรียนค่ะ

สรุป หมอต้องตรวจพ่อแทน ... เพราะพ่อวิตกจริต ฮ่าๆๆๆ  

ก็นี่แหละครับ ไม่มีอะไร ก็อย่าไปเรียกลูกมาก เดี๋ยวเค้าจะเบื่อเราเอาซะก่อน

เรียกมากๆ ไม่ได้หมายความจะดีนะ เค้าจะเบื่อเอาได้ แล้วเราเองนั่นแหละ จะบ้าไปก่อน ...

อิอิ สงสารพ่อจังค่ะ พ่อมีความพยายามจริงๆ

  • ขอบพระคุณ พี่ ครูคิม มากนะครับ
  • ถ้าหากข้อมูลจะเกิดประโยชน์บ้าง ก็ยินดีอย่างยิ่งครับ
  • มีกำลังใจเขียนขึ้นอีกเป็นกอง (สองกอง)
  • ผมก็ติดตามเรื่องราวของพี่อยู่เสมอครับ
  • ^_^
  • ผมก็สงสารพ่อคนนั้นครับ สุดสายป่าน
  • แต่สิ่งที่เกิดก็คือ ตกลงไปในกับดักความห่วงของตัวเอง
  • ตอนนี้พ่อคนนี้เลิกเรียกลูกแล้วครับ หันไปทำกิจกรรมกับลูกแทน
  • และสบายใจดี เนื่องจากรู้แล้วว่าลูกตัวเองปกติ ฮ่าๆ
  • สุดสายป่าน อย่าไปเรียกใครบ่อยๆ แบบนั้นนะครับ เดี๋ยวเค้าจะไม่สนใจ (อันนี้แซว)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท