การสร้างชุมชนปลอดภัย กับการบูรณาการชุมชนจัดการความเสี่ยง


ชุมชนปลอดภัย

 

การสร้างชุมชนปลอดภัย กับการบูรณาการชุมชนจัดการความเสี่ยง

5 ปีหลังพิบัติภัยสึนามิ หลายชุมชน หลายองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างให้ความสนใจงานด้านการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ โดยมีแนวทางร่วมกันอย่างชัดเจนว่าชุมชนจะต้องเป็นฐานที่สำคัญในการดำเนินการในการสร้างให้เกิดแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติโดยชุมชน โดยชุมชนเป็นผู้ลงมือกระทำเองในทุกๆขั้นตอน องค์การที่เกี่ยวข้องเป็นแต่เพียงผู้เอื้อให้เกิดกระบวนการในการประชุม อย่างไรก็ตามการดำเนินงานดังกล่าวถูกมองเป็นเรื่องไกลตัว ว่าภัยพิบัตินานๆถึงจะเกิดขึ้นได้ครั้งหนึ่งจึงไม่ได้รับความสนใจ และร่วมมือเท่าที่ควร แต่หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน  การทำงาน อาชีพ รายได้ ชุมชนจะตระหนักและให้ความสำคัญ การมองเรื่องความเสี่ยงภัยของชุมชนจึงเป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์กันอย่างรอบด้าน ไม่ได้มองเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทางธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ความเสี่ยงที่เกิดจากภาวะทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สุขภาพอนามัย แม้กระทั่ง การเมืองการปกครอง จำเป็นที่จะต้องถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และลดผลกระทบที่จะเกิดจากภัยต่างๆเหล่านั้นได้

การบูรณาการชุมชนจัดการความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทุกภาคส่วนในชุมชนจะต้องเชื่อมโยงและประสานให้เกิดการทำงานไปพร้อมกันโดยไม่แยกส่วน ตย.ที่สำคัญ ทำอย่างไรกองทุนหมุนเวียน จะข้ามพ้นกิจกรรมให้กู้ยืมเงินเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเชื่อมโยงกับการดูแลความเป็นอยู่ของคนในชุมชนและการจัดการทรัพยากร และจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก   คิดร่วมกันว่าจะทำอย่างไรให้กองทุนเข้มแข็ง วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกองทุนจะทำอย่างไรเพื่อบรรเทาปัญหา ไม่รวมเรื่องไกลตัวเช่นความเสี่ยงจากการที่ต้องไปกู้ยืมเงินนอกระบบ  หรือต้องอพยบแรงงานเข้าเมือง ในส่วนของการจัดการสิ่งแวดล้อมจะมีส่วนช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและอาชีพของคนในชุมชนได้อย่างไร ที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ที่รวมไปถึงการไม่ทำลายระบบการป้องกันภัยทางธรรมชาติ การส่งเสริม และจัดสรรการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าของกลุ่มอาชีพในชุมชน การเฝ้าระวังอย่างเข้มแข็ง การสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน เหล่านี้จะทำให้เรื่องของการจัดการความเสี่ยงของชุมชนถูกมองเป็นเรื่องใกล้และต้องลงมือทำ

ประเด็นที่สำคัญที่เรามองในเรื่องการเตรียมความพร้อมคือภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เราควบคุมไม่ได้ แต่สามารถที่จะลกผลกะทบที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้นการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทั้งกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ฯลฯ ที่ต้องมีความสอดคล้องกันเป็นอย่างยิ่งในการจัดทำแผน  และประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานระดับท้องถิ่น รวมทั้งการเรียนรู้ประสบการณ์และรูปแบบการทำงานที่ดีมาปรับใช้ อย่างไรก็ตามชุมชนที่มองว่าเป็นฐานที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมนั้นก็จะต้องวิเคราะห์ให้เห็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเป็นประจำเพื่อที่จะสามารถวางแผนและกำหนดมาตรการรองรับได้อย่างทันท่วงที่ เหนือสิ่งอื่นใดหากมีการวางแผน การจัดการที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นความเสี่ยงของชุมชน และเกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ก็จะสามารถป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากเกิดขึ้นก็จะสามารถบรรเทาผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

หมายเลขบันทึก: 279210เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท