ปัญหาและประเด็นความสนใจ ของเทคโนโลยีการศึกษา ตามกรอบแนวคิดต่างๆ


ตามกรอบแนวคิดต่างๆ

1. การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

                ด้วยเหตุที่สังคมแคบลงด้วยเทคโนโลยีแต่ท่วมท้นไปด้วยแหล่งความรู้ต่างๆ ทำให้ต้องมีการจัดการความรู้เหล่านั้นให้เป็นระบบ สามารถเข้าถึงและเลือกใช้ได้ตรงความความต้องการมากที่สุด

ความหมายของการจัดการความรู้

                การจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการ (process) ที่ดำเนินการร่วมกัน โดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือหน่วยงานย่อยขององค์กร เพื่อสร้าง และใช้ความรู้ในการทำงาน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิม

กระบวนการจัดการเรียนรู้

                กระบวนการจัดการเรียนรู้มีหลายขั้นตอนและหลายรูปแบบแต่พอสรุปจากนายแพทย์ชาตรี เจริญศิริ ดังนี้

                กระบวนการการค้นข้อมูลและรวบรวมความรู้ คัดเลือกเอาไว้เฉพาะความรู้ที่จำเป็นสำหรับการใช้ประโยชน์ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร มีการจัดหมวดหมู่ความรู้ จัดเก็บสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ จัดกิจกรรมกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้าง ประยุกต์ และการใช้ความรู้ แนวคิดเพื่อจัดการความรู้ในองค์กร การดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร ควรใช้หลักการดังนี้ คือ

-ใช้ ระบบงานประจำ   ซึ่งมีการทำงานตามกฎระเบียบมีรูปแบบที่ชัดเจน

                -ใช้ ระบบแห่งความสร้างสรรค์ มีการทดลองรูปแบบใหม่ ๆ ของการทำงาน

                - ระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว

ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้กับการศึกษา

                 แนวคิด การจัดการความรู้ของ ProbstProbst (2000)  การจัดการความรู้เป็นการกำหนดความรู้ที่ต้องการ การจัดหาความรู้ที่ต้องการ การสร้างพัฒนาความรู้ได้มีการนำความรู้มาใช้

                โดยสรุปแล้วกระบวนการจัดการความรู้ มีการจำแนกที่แตกต่างกันแล้วแต่องคืกรใดจะเห็นความสำคัญของขั้นตอนใดในแต่ละกระบวนการเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาบุคคลและองค์กรให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกันเพื่อให้ได้เปรียบคุ่แข่งขันมากที่สุด      

                ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้กับการศึกษา

                การเรียนรุ้ทำให้เกิดความรู้ การเรียนรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่จึงเป็นการเรียนที่สามารถนำมาใช้พัฒนางาน พัฒนาชีวิต เป็นความรู้ที่สมารถสัมผัสได้ จึงเป็นความรู้ที่มีความเกี่ยวพันธ์กับปัญหา การดำรงชีวิตและงาน

                การเรียนรู้มีคุณค่าในตัวอยู่ 5 ประการ

1.    ยิ่งเรียนมาก ยิ่งรู้มาก

2.      ยิ่งเรียนมาก ยิ่งทันคน

3.   ยิ่งเรียนมาก ยิ่งฉลาด

4.   ยิ่งเรียนมาก ยิ่งก้าวหน้า

5.    ยิ่งเรียนมาก ยิ่งพัฒนาสังคม

การเรียนรู้เกิดจากหลักการ 3 ประการ

1.   การจำ

2.    เข้าใจ

3.    การกระทำ

การเรียนรู้เกิดแต่จากละบุคคลมีความเข้าใจ ความต้องการที่จะเรียนแตกต่างกัน ตามวิธีการ ทักษะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแต่ละคนตามความแตกต่างของแนวทางที่จะเลือกในการเรียนรู้

องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ได้แก่ เวลา เวที และไมตรี

                โดยสรุปแล้ว การจัดการเรียนรู้ในการเรียนของผู้เรียน ครูจึงเป็นผู้มีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ดังกล่าวให้มากที่สุด โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการรกระทำ รู้จักการประยุกต์ใช้และให้เกิดเจตคติที่ดีต่อตนเอง ซึ่งจะเป็นผลให้ความรู้ฝังแน่นอยู้กับผู้เรียน

2. ระบบการเรียนแบบยืดหยุ่น (Flexible Learning System)

                ระบบการเรียนแบบยืดหยุ่น เป็นรูปแบบ หรือวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนมีอิสระ มีโอกาสรับผิดชอบในการแสวงหาความรู้ ปละเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้นสนองความต้องการส่วนบุคคล โยใช้เทคโนดลยีสารสนเทศเป็นฐาน ระบบการเรียนแบบยืดหยุ่นเริ่มมีการใชและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในประเทศออสเตรเลียตั้งแต่ปี 1991 เป็นต้นมา

ประโยชน์ของ Flexible learning System : ระบบการเรียนแบบยืดหยุ่น

1.     เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซึ่งอาจเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้หรือสามารถเลือกทางเลือกในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

2.    งานที่มอบหมาย มีทั้งงานที่ผู้สอนกำหนด งานที่ผู้เรียนทำตามความสนใจและเป็นผู้ออกแบบการศึกษาเอง

3.      การประเมินผล เป็นการประเมินความสำเร็จของผู้เรียนตามวิตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้

สาระและขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาตามแนวคิด Flexible Learning System

                สาระและขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาตามแนวคิดต่างๆ ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะคล้าย ๆกัน คือ การให้ความสำคัญของผุ้เรียนเป็นสำคัญ แล้วนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการจัดการศึกษาโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต สรุปแนวคิดที่นำมาใช้ได้ ดังนี้

1.    หลักการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

2.    หลักการสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ

3.    หลักการยืดหยุ่นตามความะร้อมและความต้องการของผู้เรียน

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ระบบการเรียนแบบยืดหย่นประสบความสำเร็จดังนี้

1.    ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์

2.    ครูผู้สอนจะต้องเปลี่ยนแนวคิดจากเดิม

3.    จะต้องจัดบริการต่างๆ

 

3.การจัดการศึกษาโดยครอบครัว

3.1 ความหมายของการจัดการศึกษาโดยครอบครัว

                 การจัดการศึกษาโดยครอบครัว หมายความว่า การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง เป็นผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาด้วยตนเอง โดยเป็นผู้สอนด้วยตนเองหรือเป็นผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้

ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการศึกษาโดยครอบครัว

                - ความเสื่อมศรัทธาในระบบการศึกษา ประสบปัญหาในระบบ

                - ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างหลากหลาย และกำกับวิถีการเรียนของตนได้

                - ปัญหาเด็กและเยาวชน ตลอดจนความรุนแรงในโรงเรียนที่เพิทมขึ้น ทำให้ผู้ปกครองไม่มั่นใจในความปลอดภัยในโรงเรียน

พัฒนาการของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทย

              ระยะแรกก่อนปี พ.ศ.2530 ครอบครัวภุณพิภพ-รัชนี ธงชัยและครอบครัวนายแพทย์ โชติช่วง ชุตินธร ระยะที่สองหลังปี พ.ศ. 2535 ได้แก่ครอบครัวนายแพทย์พร พันธ์โอสถ ครอบครัวคุณสมพร พึ่งอุดม ครอบครัวคุณนิภาพร เหลื่องแจ่ม ครอบครัวคุณสาทร สมพงษ์ ครอบครัวครูนา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ เป็นต้นระยะที่สาม ช่วงรอยต่อการประกาศใช้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

3.2   หลักสูตรการศึกษาของครอบครัว

1.    หลักสูตรยืดหยุ่นตามความถนัด ความสนใจ

2.    การผสมผสานหลักสูตรจากหลายที่

3.    การยึดถือหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ

3.3  แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ ของครอบครัวบ้านเรือนส่วนใหญ่จยึดให้เป็นธรรมชาติในชีวิตประจำวัน มาก

ที่สุด โดยผสมผสานกับ การใช้สื่อและอุปกรณ์ต่างๆ เข้าช่วย หลายครอบครัวจัดตารางเรียนอยู่บ้าง แต่ไม่เคร่งเครียดตายตัว บางครอบครัวเรียนกับโปรแกรมนานาชาติ

          3.4  แนวทางการวัดประเมินผล

                การวัดและประเมินผลส่วนใหญ่ใช้การสังเกตและบันทึกพัฒนาการเป็นหลัก ประกอบกับจัดให้มีการทดสอบด้วยเครื่อมือ ในระยะเวลาตามความเหมาะสมและเข้าร่วมในการทดสอบของสถานศึกษา ในขณะนี้ลงทะเบียนอยู่กับสถานศึกษา จึงต้องร่วมทดสอบกับสถานศึกษาที่ลงทะเบียนด้วย

           3.5ปัญหาอุปสรรค

1. วิธีการจัดการเรียนรู้ยังเป็นการลองผิดลองถูก

2. สังคมขาดแหล่งเรียนรู้ที่เพียงพอในการช่วยเสริมการเรียนรู้

3. ขาดข้อมู้เกี่ยวกับผู้จัดทำการเรียนรู้แบบนี้ ทำให้ขาดการแลกเปลี่ยนความรู้รวมทั้งขาดโอกาสในการร่วมมือ

4. ผู้สอนบางท่านอาจไม่มีเทคนิคการสอน

5. การกำหนดให้มีการประเมินผลตามสระและมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คาดว่าทำให้เกิดปัญหาต่อการจัดการเรียนรู้ตามความสนใจและลักษณะเฉพาะของลูก

 

4.    การศึกษาทางไกล (Distance Education)

          การศึกษาทางไกล คือ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ผ่านสื่อ โดยผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องพบกัน แต่ผู้สอนจะถ่ายทอดเนื้อหาวิชาความรู้ และประสบการณ์ไปทางสื่อ ซึ่งอาจจะเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เทปเสียง วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ และอื่น ๆ ทั้งนี้ผู้เรียนสามารถศึกษาในลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และบริหารการเรียนเอง และอาจพบปะกับผู้สอนตามโอกาส เพื่อทบทวนและซักถามประเด็นปัญหาในสิ่งที่เรียนหรือเป็นการสรุปเนื้อหาที่เรียน ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การศึกษาทางไกลเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันก็คือ การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งด้านการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคล โดยเริ่มนำ PC มาใช้กับการศึกษาทางไกลเมื่อ ค.ศ.1982 และด้านการใช้ระบบอินเทอร์เน็ต ยิ่งทำให้การจัดการศึกษาทางไกลมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น

 

รูปแบบการศึกษาทางไกล

1.     รูปแบบซิงโครนัส เป็นรูปแบบที่ต้องการการเข้าร่วมพร้อมกันในบรรดผู้เรียนและผู้สอนทั้งหมด

2.    รูปแบบอะซิงโครนัส เป็นรูปแบบที่ไม่ต้องการการเข้าร่วมพร้อมกันในบรรดานักเรียนและผู้สอน

ลักษณะการจัดการศึกษาทางไกล

1.   SP-ST (same-place, same-time education) เป็นการจัดการศึกษาแบบดั้งเดิม โดยจัดการเรียนในห้องเรียนและมีครู้เป็นศูนย์กลาง

2.    DP-SP (different-time same-place education) เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน ที่ผู้เรียนสามารถเลือกตามศูนย์ต่างๆ ได้แก่ ศูนย์สื่อการเรียน ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ซึ่งจัดสอนในเวลา

หมายเลขบันทึก: 279206เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากให้กรุณาบอกจุดอ่อนของแต่ละวิธีการเรียนด้วยครับ

การจัดการศึกษาโดยครอบครัว จุดอ่อน ตามขามเห็นของผม น่าจะ ยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนะครับ ในทำนองเดียวกัน พ่อแม่ ที่รับราชการเป็นครู ทำไมไม่สอนลูกของตัวเองกับบ้านล่ะครับ

ระบบการเรียนแบบยืดหยุ่น จุดอ่อนคือ ท่านักเรียนไม่สนใจในเนื้อหานั้นๆขึ้นมา อาจทำให้เด็กเสียผลประโยชน์ในตรงนั้นไปเลยก้ได้ครับ

การศึกษาทางไกล จุดอ่อนคือ นักเรียนนั่งเรียนอยู่หน้าจอคอมก็จริงแต่ผู้สอนไม่สามารถมองเห็นหน้าจอเด็กได้เลยว่าเด็กกำลัง เปิดอะรอยู่

ก็ประมาณเท่านี้แหละครับตามความคิดเห็นของผม ส่วนผู้ใดมาข้อเสนอแนะ ช่วยกันแนะนำได้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท