บทความเรื่อง พลังสร้างสรรค์หญิงฝากครรภ์ได้รับคุณค่า(Value Added)


พลังสร้างสรรค์หญิงฝากครรภ์ได้รับคุณค่า(Value Added)

บทความเรื่อง พลังสร้างสรรค์หญิงฝากครรภ์ได้รับคุณค่า(Value Added)

คำสำคัญ :

ANC :  Ante Natal Care , OF: Osmotic Fragility

DCIP : Dichlorophenolindophenol,  Hct : Hematocrit

HBs Ab : Hepatitis  B surface  antibody, TLC : Therapeutic Life -Style  Change, RCA : Root Cause Analysis, ABO: หมู่โลหิตชนิด A ,B ,AB,O  ,  Rh : หมู่โลหิตชนิด Rh, CQI : Continuous Quality Improvement ,  Lab : Laboratory ,  PPH. : Post Partum Hemorrhage,  R&D: Research and Development, AAR.: After Action Review , อสม : อาสาสมัครสาธารณสุข

สรุปผลงานโดยย่อ : ทีมงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนได้ปรับปรุงกระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ทั้งระบบ โดยแนวทางประเมินภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ 20 ข้อ ปรับปรุงการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ โดยมีค่า Hematocrit :Hct. ก่อนคลอดมากกว่า 33 %    หญิงตั้งครรภ์คลอดบุตรอย่างปลอดภัย   ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักมากกว่า2,500 กรัม แม่ไม่เกิดภาวะ Post Partum Hemorrhage : PPH และทารกแรกเกิดไม่มีภาวะ Birth Asphyxia

เป้าหมาย

เพื่อให้การป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดกับหญิงตั้งครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์ โดยเฉพาะเพิ่มค่า Haematocrit หญิงตั้งครรภ์ให้สูงกว่าค่าที่เป็นความเสี่ยง (33 %) ในช่วงเวลาที่ฝากครรภ์จนครบกำหนดคลอด อันจะนำไปสู่การป้องกันความเสี่ยงของแม่จากภาวะ Post Partum Hemorrhage : PPH และส่งเสริมสุขภาพทารกในครรภ์ให้มีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 2,500 กรัม และติดตามระบบ Refer เมื่อหญิงตั้งครรภ์มีภาวะครรภ์เป็นพิษจากภาวะความดันโลหิตสูง (140/90 mmHg.) และมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ หรือมีภาวะครรภ์แฝด หรือพบว่าแม่หรือพ่อเป็นพาหะของโรคThalassemia รวมถึงการประเมินและวิเคราะห์ความเครียดของหญิงตั้งครรภ์

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ : จากการทบทวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในกิจกรรมทบทวน 12 กิจกรรม ทำให้ทราบปัญหาความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ในคลินิก ANC ทำให้ต้องการแก้ไขปัญหาของหญิงตั้งครรภ์อย่างเป็นระบบ โดยการปรับปรุงพัฒนาศักยภาพหญิงตั้งครรภ์ โดยนำสามี ญาติ ครอบครัว (พ่อ แม่ ปู่ ยา ตา ยาย ของหญิงตั้งครรภ์) มีส่วนร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพให้การดูแลในลักษณะของพี่เลี้ยงและครูผู้ฝึก (Coaching) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และทารกแรกคลอด

มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

การเปลี่ยนแปลง : กระบวนการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างคุณค่า

1 จัดให้มีการเจาะหาค่า Hct. ครั้งที่ 1 เมื่อฝากครรภ์ครั้งแรกในคลินิก เมื่อพบว่าซีด Hct น้อยกว่าเกณฑ์ 33 % จะ Empowerment เรื่องการรับประทานอาหารที่เพิ่มค่า Hct. สอนแนะนำ สาธิตการรับประทานอาหารที่มีคุณค่า เพิ่มอาหารเสริมธาตุเหล็ก แพทย์แนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ให้ยาเสริมธาตุเหล็ก และมีการติดตามเฝ้าระวังให้เจาะ Hct. ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1 เดือน (กรณี Hct.ต่ำ) โดยให้ความสำคัญกับ Hct. ครั้งนี้มากเพราะหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มของ Hct. ลดต่ำลงทุกครั้ง   แต่กรณี Hct. อยู่ในเกณฑ์(33 %)  จะเจาะอีกครั้งในช่วงก่อนคลอด 1 เดือน

2 มีการตรวจคัดกรองโรค Thalassemia ของหญิงตั้งครรภ์และสามี โดยถ้าพบว่าหญิงตั้งครรภ์ได้ค่าที่คัดกรองให้ ผล Positive วิธีใดวิธีหนึ่ง จาก 2 วิธี คือ OF และ DCIP จะต้องตามสามีเพื่อมาตรวจคัดกรองThalassemia เนื่องจากถ้าพบว่าแม่(หญิงตั้งครรภ์)และสามีเป็นพาหะ จะส่งผลให้ลูกในครรภ์มีโอกาสเป็นโรคร้อยละ25 ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์และสามีจะได้รับคำแนะนำและคำปรึกษาจากทีมงาน

3 มีการประเมินความเครียดของหญิงตั้งครรภ์ทุกราย โดยให้หญิงตั้งครรภ์ประเมิน

ความเครียดตนเอง ทีมงานวิเคราะห์ผล ถ้าพบระดับความเครียดที่สูงกว่าปกติ ทีมงานจะส่งพบทีมสุขภาพจิตของโรงพยาบาลทุกครั้ง

4 มีการนำแนวทางการประเมินความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ 20 ข้อ มาวิเคราะห์ถ้าพบว่าประวัติครอบครัวมีการตั้งครรภ์แฝด จะมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษโดยแพทย์ และปรึกษา สูติแพทย์จากโรงพยาบาลพระจอมเกล้า และเป็นการลดความเสี่ยงให้ผู้ป่วย เนื่องจากโรงพยาบาลบ้านลาด เป็นโรงพยาบาลชุมชนไม่มีแพทย์เฉพาะทาง

    5 มีการเฝ้าระวังในเรื่องความดันโลหิตสูงของหญิงตั้งครรภ์ ถ้าพบค่าที่เกินเกณฑ์140/90 mmHg ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษและต้อง Refer ไปพบสูติแพทย์เช่นเดียวกับครรภ์แฝด

6 มีการเฝ้าระวังภาวะที่มีค่า BMI สูงอย่างรวดเร็ว และประวัติการตั้งครรภ์แรกและตรวจคัดกรองพบภาวะน้ำตาลสูง

7 มีการเฝ้าระวังในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ และอายุมากกว่าเกณฑ์ของหญิตั้งครรภ์ คืออายุ 17-35 ปี เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงสูงอาจเกิดอันตรายต่อแม่และลูกน้อยในครรภ์

8 กิจกรรม โรงเรียนพ่อแม่, กิจกรรม ธงโภชนาการ, กิจกรรม ß–Endorphinลูกดิ้นดี  แม่แข็งแรง, กิจกรรม คุยกับลูกในท้องน้องจะฉลาด

         9 กิจกรรมใน โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว  โดยแนะนำ สอนเรื่อง

- สอนนิทานให้ลูก นิทานทำให้เด็กฉลาด ไม่ขาดคุณธรรม

- แม่จ๋า หนูอยากมีน้ำหนักแรกเกิด 2,500 กรัม   

          - หนูดีใจจังที่ได้กินนมแม่

          - พ่อแม่ต้องมีส่วนร่วม ในการดูแลการเจริญเติบโตของเด็ก

          - โปรดมาตามนัดทุกครั้ง เพื่อประโยชน์ของลูก

          - วันนี้คุณกอดลูกหรือยัง

          - เดือนนี้ แม่ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองหรือยัง

          - แม่ควรตรวจ มะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง

          10 ประเมิน การสูบบุหรี่ ของหญิงตั้งครรภ์ สามี ครอบครัว และญาติ

          11 ติดตามผล การRefer ของหญิงตั้งครรภ์แต่ละรายโดยเน้นติดตามแบบรายบุคคล

          12 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจ อนามัยช่องปาก  ได้รับบริการตรวจฟัน บริการแนะนำการใช้ไหมขัดฟันให้บริการทำฟัน อุดฟัน ถอนฟัน  ในอายุครรภ์อยู่ในช่วง 4 - 6 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่เด็กทารกในครรภ์มีความเสี่ยงน้อยที่สุด(Low Risk) ขณะเดี่ยวกันแม่พ้นภาวะแพ้ท้องแล้ว

          13 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจหมู่โลหิต(Blood group) ทั้งระบบABOและRh

 การวัดผลและผลลัพธ์ (ขอยกตัวอย่างหญิงตั้งครรภ์จำนวน 31 คน)

1. ผลการตรวจ Hct. ครั้งแรก มีภาวะซีดค่า Hct. ต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 2 คน คือคนแรก Hct.ได้ 33% คนที่ 2 Hct.ได้ 31% หลังจากได้ใช้กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Therapeutic Life -Style Change : TLC) การเจาะ Hct. ครั้งที่ 2 พบว่าหญิงตั้งครรภ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31 คน พบผลลัพธ์ว่า

- Hct. ครั้งที่ 2 มีค่าเท่าเดิม จำนวน 6 คน คิดเป็น 19.4%

- Hct. ครั้งที่ 2 มีค่าลดลงกว่าครั้งที่ 1 จำนวน 17 คน คิดเป็น 54.9%

- Hct. ครั้งที่ 2 มีค่าเพิ่มขึ้นกว่าครั้งที่ 1 จำนวน 7 คน คิดเป็น 22.5 %

- Hct. ครั้งที่ 2มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน33% จำนวน 1คน คิดเป็น 3.2 %

2. ค่า Hct.ครั้งที่ 2 ที่ลดลงน้อยที่สุดคือ 1% ค่าลดลงมากที่สุด 6 % จากจำนวน 18 คน

- ค่า Hct. ลดลง 1 % มีจำนวน 2 คน คิดเป็น 11.1 %

- ค่า Hct. ลดลง 2 % มีจำนวน 5 คน คิดเป็น 27.7 %

- ค่า Hct. ลดลง 3 % มีจำนวน 2 คน คิดเป็น 11.1 %

- ค่า Hct. ลดลง 4 % มีจำนวน 4 คน คิดเป็น 22.2 %

- ค่า Hct. ลดลง 5 % มีจำนวน 3 คน คิดเป็น 16.8 %

- ค่า Hct. ลดลง 6 % มีจำนวน 2 คน คิดเป็น 11.1 %

3. ผลการตรวจคัดกรองโรค Thalassemia ในหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 31 คน พบหญิงตั้งครรภ์ให้ผล Positive ในการตรวจ OF และ DCIP รวม 6 คน คือ

          (1)  พบว่าหญิงตั้งครรภ์ให้ผลลัพธ์

          - Positive ในการตรวจ OF test จำนวน 1 คน คิดเป็น 3.2%

           - Positive ในการตรวจ DCIP test จำนวน 5 คน คิดเป็น 16.1%

          (2)มีการติดตามสามีของหญิงตั้งครรภ์ที่พบผล Positiveในข้อ (1)  มาตรวจเลือดค้นหาความเสี่ยงThalassemia ในสามีของหญิงตั้งครรภ์  จำนวน  6  คน  โดยตรวจเลือด  ชนิด OF test และ DCIP test  พบผลลัพธ์ว่า

          -  ผลการตรวจสามีจำนวน 6 คน พบ Positive ใน OF test จำนวน1คน คิดเป็น16.7%ให้ผลNegativeจำนวน 5 คนคิดเป็น 83.3 %

          -  สรุปผลคู่เสี่ยง  (หญิงตั้งครรภ์และสามี)  มีจำนวน  1  คู่

          -  ค้นหาชนิดของ Thalassemia ในสามีโดยการตรวจ Hb.typing เพื่อค้นหาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคกับทารกในครรภ์ พบผลตรวจของบิดาทารกในครรภ์จาก Hb.typing เป็นชนิด Hb.E-trait ซึ่งเป็นชนิดปกติ( Normal)

ผลการประเมินความเครียดของหญิงตั้งครรภ์  กลุ่มตัวอย่างจำนวน  31  คน พบว่า

-  ผลความเครียดอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติจำนวน 5 คน คิดเป็น16.1%

-  ผลความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ  จำนวน  24  คน  คิดเป็น  77.4%

-  ผลความเครียดอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ จำนวน 2คน คิดเป็น  6.5%

การส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มสูงกว่าปกติจำนวน  2  คน  คือการส่งไปพบแพทย์และพยาบาลจิตวิทยาเพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ  แนะนำ  ในเรื่อง ปัญหาชีวิตที่หาทางแก้ไม่ได้  ประสบปัญหาไม่สบายใจ  โดยจะช่วยค้นหาสาเหตุของปัญหา(RCA)  และช่วยในการหาแนวทางแก้ไข

-  การเผชิญภาวะวิกฤติในชีวิต   มีความเครียดสะสมมากและเป็นเวลานานพอสมควร ผลลัพธ์ การให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์ทั้ง  2  คน  สุขภาพจิตดีขึ้นโดยมีการประเมินอีก  1  เดือนต่อมา  ผลลัพธ์การประเมินระดับความเครียด ลดลงสู่ระดับปกติ สามารถจัดการความเครียดได้ด้วยตนเองใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น  ปรับตัวปรับใจเข้ากับสถานการณ์ต่าง   ได้อย่างเหมาะสมขึ้นกว่าเดิม

- การนอนหลับได้ดี  หลับสนิทมากขึ้น

- แนะนำให้คลายเครียดโดย  ต้องหยุดพักความคิด

- ยืดเส้นยืดสายให้ร่างกายผ่อนคลาย   ด้วยกิจกรรมการออกกำลังกายเรียกว่ากิจกรรม ß-endorphinลูกดิ้นดีแม่แข็งแรง  ซึ่งมี คู่มือ  สอน แนะนำ  สาธิตให้กับหญิงตั้งครรภ์ซึ่งกิจกรรมนี้จะมีสอนสาธิต  3  แห่ง  ได้แก่คลินิก ANC ห้องคลอด(ก่อนคลอด)และตึกผู้ป่วยใน(หลังคลอด)  เป็นกิจกรรมที่มีคู่มือปฏิบัติ/การสอนจากคู่มือการออกกำลังกายสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดจัดทำโดยสำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข  โดยมีการประเมินคัดเลือกหญิงตั้งครรภ์ที่ ไม่มี ความเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรม  แต่ถ้าเป็นโรคหัวใจ โรคครรภ์เป็นพิษ  ภาวะรกเกาะต่ำหรือมีความดันโลหิตสูง จะงดกิจกรรมนี้  ถ้าหญิงตั้งครรภ์แข็งแรงดี ภายใต้การดูแลของแพทย์กิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อหญิงตั้งครรภ์(Optimize) ในการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์

ผลลัพธ์จากการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในเวลา 10 เดือน เมื่อหญิงตั้งครรภ์ครบกำหนดคลอดคือ

-  ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า  2,500  กรัม  ซึ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดค่า Hct. ต่ำกว่า  33%(คือ  32%)  จำนวน  1  คน  คลอดบุตรน้ำหนัก  2,480  กรัม  คิดเป็น  3.2%

-  ไม่พบแม่เกิดภาวะ Post Partum Hemorrhage: PPH คิดเป็น 0%

-  ไม่เกิดภาวะ Birth Asphyxia คิดเป็น 0%

ในระบบส่งต่อ (Refer)  เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลที่ดีที่สุด  เนื่องจาก รพ.บ้านลาด ไม่มี สูติแพทย์

-  Referหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 5 คน(กรณีตัวอย่าง31คน)คิดเป็น 16.1%

- กรณีหญิงตั้งครรภ์มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง 2 คนคิดเป็น6.4 %

-  กรณีที่ต้องผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง(Previous Caesarian Section) จำนวน 1 คน  คิดเป็น 3.2%

- กรณีที่พยากรณ์(Predict) จากน้ำหนักแม่ไม่ขึ้นตามเกณฑ์คาดว่าเด็กทารกจะอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 gm ต้องRefer ไปพบแพทย์ จำนวน  2  คน  คิดเป็น  6.4% ซึ่งเป็นผลจากการเฝ้าระวังค่าBMIในหญิงตั้งครรภ์ ขณะมารับบริการในคลินิก ANC

หญิงตั้งครรภ์มีปัญหาเรื่องอายุต่ำกว่าเกณฑ์หรือมากเกินเกณฑ์ (ตัวอย่าง 31 คน)

-  หญิงตั้งครรภ์  มีอายุต่ำกว่า 17 ปี มีจำนวน 1 คน คืออายุขณะตั้งครรภ์อายุ  16  ปี  คิดเป็น  3.2%

-  หญิงตั้งครรภ์มีอายุมากกว่า 35 ปีมีจำนวน 1 คน คืออายุ 43 ปี 

คิดเป็น  3.2%

-  หญิงตั้งครรภ์มีอายุที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการตั้งครรภ์ปกติ(17-35ปี)  จำนวน 29  คน  คิดเป็น 93.6%

ประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ ที่พบได้แก่

-  มีประวัติครอบครัวมีการตั้งครรภ์แฝดจำนวน 2คนคิดเป็น6.4%

-  มีประวัติเคยคลอดแล้วเกิดภาวะรกค้าง จำนวน 1 คน คิดเป็น  3.1%

-  มีประวัติคลอดก่อนกำหนดจำนวน 1  คน  คิดเป็น  3.1%

- ประวัติหญิงตั้งครรภ์มี HBAgPositive จำนวน 1คน คิดเป็น3.1%

-  มีประวัติตั้งครรภ์ครั้งที่ 4 จำนวน 1 คน  คิดเป็น  3.1%

การประเมิน การสูบบุหรี่ ของหญิงตั้งครรภ์และสามีซึ่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยง  พบว่า

- ไม่พบหญิงตั้งครรภ์สูบบุหรี่ คิดเป็น  100 %

- พบสามีหญิงตั้งครรภ์สูบบุหรี่จำนวน 8 คน คิดเป็น 25.8 %

หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการตรวจอนามัยช่องปากทั้งจำนวน 31คนคิดเป็น 100 %

ผลลัพธ์ของการตรวจหมู่โลหิต (ตัวอย่างจำนวน 31 คน)พบว่า

- หมู่โลหิต A พบ จำนวน 9 คน  คิดเป็น  29.1 %

- หมู่โลหิต B พบ จำนวน 10 คน คิดเป็น  32.1 %

- หมู่โลหิต O พบ จำนวน 11 คน คิดเป็น  35.5 %

- หมู่โลหิต AB พบ จำนวน 1 คน คิดเป็น  3.3 %

บทเรียนที่ได้รับ :

      1) มีการทำงานในคลินิก ANC ในลักษณะทีมสหสาขาวิชาชีพ (Multi-disprinary) ทั้งแพทย์,พยาบาล,ห้อง Lab ,ระบบบันทึกข้อมูล(Management  Information System : MIS) ระบบเยี่ยมบ้าน HHC ร่วมกับ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ สามี ครอบครัว (พ่อแม่ของหญิงตั้งครรภ์หรือพ่อแม่ของสามี) รวมถึงการจัดตั้งชมรม สายใยรักแห่งครอบครัวซึ่งมีภาคประชาชนและผู้นำชุมชน อสม.ได้แก่ ประธาน อสม. และสมาชิกในตำบลท่าช้าง(นางเสย  ช้างน้ำ) รองนายก อบต.ท่าช้างและประธานชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว(นายมิ่ง ช้างน้ำ)

      2)ทีมงานสหสาขาวิชาชีพ รพ.บ้านลาด โดยมีทีมงานในคลินิก ANC เป็นแกนนำได้เกิดการเรียนรู้(Learning) ในเรื่องกระบวนการทำงานของทีมงานทั้ง ข้อดีที่เป็นจุดแข็ง(Strength) ข้อเสียหรือจุดอ่อน (Weakness) ได้เรียนรู้ถึงการ อดทน รอคอย เมื่อโอกาสการทำงานที่ได้ผลงานไม่ดีอย่างที่ทีมงานต้องการ  ตั้งตารอคอย โอกาส(Opportunities) เพื่อพัฒนาทีมงานในโอกาสต่อไปและค้นหาข้อจำจัดของทีมงานและแต่ละบุคคลซึ่งข้อจำกัด(Threats) ซึ่งแต่ละคนในทีมงานไม่เหมือนกัน ขณะเดียวกันข้อจำกัดของผู้ป่วย(หญิงตั้งครรภ์) และครอบครัวก็แตกต่างกันไป  ดังนั้น วงล้อPDCA/PDSA/DALI ก็ต้องหมุนไปตลอดกระบวนการทำงานในคลินิกANC เพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาเรื่อย ๆ  เพื่อลดความเสี่ยง(Risk)ในหญิงตั้งครรภ์) ให้เหลือเป็น ของเสีย(Waste)สูญเสียน้อยที่สุด เท่าทีมงานจะสามารถพัฒนาได้นั้นคือการทำงานที่นำเอา ระบบLearn” มาใช้ในกระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในคลินิกANCคือการปฏิบัติงาน(Act)ให้ดีที่สุดลดความเสี่ยง ความสูญเสีย ลดของเสีย โดยนำแนวคิดใหม่ ๆ (Rethinking)เข้ามาพัฒนากระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับงาน(Value Added)  ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผน(Plan)หรือการออกแบบ(Design)ให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์  การให้บริการ/ดูแล/ตลอดจนสภาพแวดล้อม ความเสี่ยงต่าง ๆ ของหญิงตั้งครรภ์ถูกขจัดออกไป   มีการปรับปรุงกระบวนการ(Process Improvement)  ให้บริการที่เติมเต็ม(Fulfillment)ไปด้วยการสร้างคุณค่า(Value)ในการปฏิบัติงานใหม่อีกครั้ง(Value creation action)          การทำงานก็จะลดช่องว่าง(Gap)กระบวนทำงาน  เกิดการเรียนรู้ในงาน เกิดการเรียนรู้ของทีมงานANC และเกิดการเรียนรู้ข้ามสายงาน(Cross Function)ในองค์กร

      3) ทีมงานสหสาขาวิชาชีพได้  หาความรู้และเรียนรู้(Learn) เข้าใจ(Comprehend) ใส่ใจ(Attention) ในการ เพิ่มคุณค่า(Value Added) ให้หญิงตั้งครรภ์ ญาติ อสม. ชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว เช่น ทีมงานได้เชิญคุณครูจากโรงเรียนบ้าน ท่ายาง มาสาธิต การเล่านิทาน ให้หญิงตั้งครรภ์ในชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว  ซึ่งทำให้เราต้องเรียนรู้ในเรื่องการประสานงาน (Co-ordination) ทั้งในโรงพยาบาลบ้านลาดกับองค์กรภายนอกที่

หมายเลขบันทึก: 279135เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีจังเลยค่ะ ได้ความรู้ใหม่ๆเพิ่ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท