วชช. ตาก (3): สภาวิชาการ


ทำหน้าที่กลั่นกรองเกี่ยวกับด้านวิชาการ คุณภาพการศึกษา การจัดการเรียนการสอนและกลั่นกรองการจัดหลักสูตรต่างๆของวิทยาลัยชุมชน

           วิทยาลัยชุมชนตาก จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2547 ก็ประมาณ 5 ปี ถ้าเป็นคนก็ถือได้ว่ายังอยู่ในระดับอนุบาล ที่ผู้มีส่วนร่วมต้องช่วยกันประคับประคองเพื่อให้เติบโตพัฒนาไปได้อย่างดี ประมาณปี 2548 พี่แบน (คุณชาติชาย เตชะกานนท์ เจ้าของร้านเบเกอรี่ฟ้าฟ้า ที่อร่อยขึ้นชื่อมากของจังหวัดตาก และเป็นเพื่อนที่เรียนนิด้าด้วยกันกับผม) ได้มาชวนและทาบทามให้ผมไปช่วยงานของวิทยาลัยชุมชนตากโดยเสนอชื่อผมเข้าไปเป็นกรรมการสภาวิชาการ ตอนนั้นผมไม่ค่อยรู้จักวิทยาลัยชุมชนมากนัก แต่ก็ตอบตกลงไป

           ตอนนั้น ผู้อำนวยการคืออาจารย์ณรงค์ แก้วแกมแข ที่ผ่านการคัดเลือกจากสภาวิทยาลัยชุมชนตาก ผมเข้าไปเป็นกรรมการได้สักพัก ก็ได้รับการคัดเลือกเป็นรองประธานกรรมการสภาวิชาการ โดยมีผู้อำนวยการวิทยาลัยเป็นประธาน

           หน้าที่ของกรรมการก็จะเป็นการกลั่นกรองผู้จบการศึกษา กลั่นกรองรายชื่ออาจารย์พิเศษ พิจารณาcourse syllabusของแต่ละวิชา พิจารณาผลการเรียนของนักศึกษาที่อาจารย์พิเศษส่งมาให้อนุมัติเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพการศึกษา

           สิ่งที่ผมได้เคยเสนอร่วมกับกรรมการสภาโดยเฉพาะพี่แบน อาจารย์โกญจนาท เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่น การจัดทำcourse syllabusกลาง การออกข้อสอบกลางในวิชาเดียวกัน การเทียบโอนรายวิชา การพิจารณาผลการเรียนที่อาจารย์ตัดเกรดนักศึกษาในแต่ละวิชาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

           ผมเป็นกรรมการสภาวิชาการจนครบวาระในปี 2550 แล้วก็ไม่ได้เป็นอีก แต่จากการประชุมสภาวิทยาลัยชุมชนครั้งล่าสุดเมื่อ 19 กรกฎาคม 2552 ที่โรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้ว แม่สอด ผมก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของสภาวิทยาลัยชุมชนตากให้มาร่วมเป็นกรรมการสภาวิชาการอีกครั้ง

           อีกสิ่งหนึ่งที่ผมอยากผลักดันให้สำเร็จคือ การเทียบโอนประสบการณ์ สำหรับคนที่มีความรู้ความสามารถประสบการณ์ทักษะในเรื่องต่างๆโดยเฉพาะภูมิปัญญาชาวบ้าน จะทำอย่างไรเมื่อเขามาเรียนในหลักสฦูตรแล้วจะสามารถเทียบโอนประสบการณ์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องได้ โดยไม่ใช่แค่การเทียบโอนรานวิชาที่เรียนจากสถาบันการศึกษาเท่านั้น ซึ่งเป็นการพยายามสะท้อนคุณค่าของความรู้ในคน (Tacit knowledge) ที่ปฏิบัติได้จริง ไม่ใช่การเห็นคุณค่าแค่ความรู้ในวัตถุ ในกระดาษหรือในใบแสดงเกรดเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 279057เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีครับที่ท่าน อาจารย์ได้เป็น กก ของ วชช เป็นประโยชน์ มากครับ

เรียนท่านอาจารย์เจเจที่นับถือ

สัปดาห์ก่อนไม่ได้ต้อนรับอาจารย์ที่ตาก น่าเสียดายมากครับ โอกาสหน้าหวังว่าจะได้เลี้ยงอาหารอาจารย์นะครับ

การเป็นกรรมการ วชช. ตาก เป็นประโยชน์กับผมมากเพราะได้เรียนรู้อะไรๆมากมายครับ

สนับสนุน เต็มที่ครับ

ได้ผลอย่างไร

เล่าอีกนะครับ

จะตามศึกษา

เพื่อขับเคลื่อนใน วชช.สงขลา ต่อไปครับ

ดีครับอาจารย์ ผมเคยเสนอท่าน ผอ.คราวสภาวิชาการประชุมสัญจรที่ วช.แม่สอด ว่า วชช.ตากเราน่าจะใช้ระบบคัลงข้อสอบเพื่อให้มีมาตราฐานในการเรียนการสอน และจากการไปสัมนาที่ วชช.ตาก ในเรื่องการจัดหลักสูตร และตำรา ผมเองได้มีโอกาศพูดคุยกับอาจารย์ที่สอนวิชาเดียวกันที่หน่วยจัดอุ้มผาง พร้อมทั้งได้ให้ไฟล์ตำราและเอกสารประหอบการสอน รวมทั้งคลังข้อสอบที่ผมออกไว้ประมาณ 12 ข้อ ให้อาจารย์ท่านนั้นไป คิดว่า วิชา ศศ ๐๒๐๗ หน่วยจัดอุ้มผาง กับ หน่วยจัดวิทยาลัยการอาชีพน่าจะคล้ายกัน

อาจารย์โกญจนาท เจริญสุข

สวัสดีครับอาจารย์ผมยังรู้สึกดีใจที่อาจารย์ได้สานงานของวิทยาลัยชุมชนต่อไป ถึงแม้ว่าอาจจะเป็นการยากในการที่จะพัฒนาให้หลายๆอย่างเข้ารูปเข้ารอย ระบบการศึกษาที่ต้องเริ่มต้นโดยไม่มีแม่แบบ แต่หากต้องเกิดโดยกระบวนการคิด และการตกผลึกของการศึกษาของตัวมันเองนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก ผมก็ทำงานให้กับวชช.ตากได้เท่าที่ผมเป็นกรรมการสภาวิชาการเท่านั้นครับ แต่ผมก็ยังติดตามผลอยู่เนืองๆ หากแต่ไม่มีโอกาสเข้าไปดูได้เหมือนก่อน ทั้งนี้ก็ได้ข้อมูลจากหน่วยจัดบ้างแต่รู้สึกว่าหลายตัวก็ยังไม่สามารถผลักดันได้ ทั้งนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าด้วยเหตุใด เรื่อง การศึกษาเชิงรุก ทางวชช.รู้สึกว่ายังไม่ได้ทำสักเท่าใดนัก การศึกษาค้นคว้า (เครื่องมือ หรือ สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมทั้งจากภายนอกท้องถิ่น หรือส่วนกลาง และจากภายในท้องถิ่นเอง การสร้างความรู้โดยปราชญ์ชาวบ้าน โดยผู้มีความรู้ภายในท้องถิ่นยังมีน้อยมาก ) เพราะเมื่อไม่นานมานี้ผมได้นำคณะจากนิติศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยเกริกไปทำห้องสมุดกฎหมาย ให้แก่ทางโรงเรียนท่าสองยางวิทยาคม (และหน่วยจัดรร.ทางสองยาง) เพราะผมยังตระหนักว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องการพัฒนาองค์ความรู้ของนักศึกษาของนักศึกษาของ วชช เป็นอย่างมาก ต้องพัฒนาแบบควบคู่กันไปน่ะคับ

ผมอยากให้วชช เปิดกว้างในการรับความร่วมมือทางวิชาการหรือเป็นเจ้าภาพในการรับโครงการดีๆจากหน่วยงานอื่นๆ ที่ให้ความร่วมมือ หรือเห็นความสำคัญของ วชช น่ะคับ อยากจะฝากอาจารย์ให้ช่วยผลักดัน วชช ต่อไป และมีอะไรให้ช่วยเหลือก็ยินดีเสมอครับ

อ.โกญจนาท เจริญสุข

ผช.คณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์

อดีตกรรมการสภาวิชาการ วชช.ตาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท