4 ปีหลังสึนามิ กับการสร้างชุมชนปลอดภัย


ชมชนปลอดภัย

 4 ปีหลังสึนามิ กับการสร้างชุมชนปลอดภัย

บทสรุปของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการสัมมนา เพื่อความยั่งยืน ชีวิตมั่นคง ชุมชนปลอดภัย

 

 

 

4 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิรักษ์ไทยได้มีโอกาสทำงานร่วมกับพี่น้องชุมชนที่ประสบภัยสึนามิ กว่า 130 ชุมชน ในจังหวัดพังงา ระนอง และกระบี่ ผ่านกิจกรรมการฟื้นฟู เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต มูลนิธิฯและชุมชนมีชุดประสบการณ์จากการทำงานร่วมกัน ซึ่งมีรูปแบบการทำงานที่ดีในหลายเรื่องจากการทำงานใน 4 ประเด็นหลัก คือ หนึ่งกองทุนฟื้นฟูอาชีพ สองการส่งเสริมกลุ่มอาชีพ สามการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สี่งานด้านชุมชนเตรียมความพร้อมจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ซึ่งจะเป็นบทเรียนที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานต่อไปในชุมชนของตนเองและชุมชนอื่นๆต่อไป  จึงได้มีการจัดสัมมนาในหัวข้อ เพื่อความยั่งยืน ชีวิตมั่นคง ชุมชนปลอดภัย   ขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 ธันวาคม 2551 ณ โรงแรมทินิดี จังหวัดระนอง เพื่อให้ชุมชน องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำงานกับชุมชนที่ประสบภัยสึนามิได้นำเสนอประสบการณ์การทำงาน รูปแบบการทำงานที่ดี พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

ผลจากการสัมมนาตลอดหนึ่งวันครึ่ง พบว่ามีหลากหลายความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ  แต่ทุกคนยอมรับว่าเหตุการณ์สึนามิเป็นบาดแผลหนักของคนในชุมชน เพราะต้องสูญเสียคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง อาชีพ วิถีของชุมชน และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ในทางกลับกันหลายคนมองเป็น “โอกาส”  ของชุมชนและองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะได้มาร่วมกันคิดทบทวนถึงแนวทางการพัฒนาทรัพยากรชายฝั่งอันดามันและการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน  รวมทั้ง หน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนเพื่อฟื้นฟูชุมชน  ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนในชุมชนหลายเรื่อง เช่น เกิดกองทุนหมุนเวียนในชุมชน  มีกลุ่มอาชีพ ทำให้ชุมชนฉุกคิดตระหนักและทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติร่วมกัน  และการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชุมชน   เพราะประจักษ์ว่า ป่าและภูเขาเป็นกันชนให้ชุมชนรอดพ้นจากการสูญเสียที่เกิดจากภัยพิบัติ  นอกจากนี้ ยังเกิดเครือข่ายกลุ่มอาชีพ และเครือข่ายกองทุน 3 จังหวัด และบางชุมชนมีพื้นที่ปรากฎในแผนที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลังจากเหตุการณ์สึนามิ   อย่างไรก็ตาม พบว่าชุมชนและองค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องยังร่วมมือ ร่วมแรงไม่มากพอที่จะใช้ “โอกาส”  ที่มีอยู่ในการคิดทบทวนแนวทางการพัฒนาชุมชน ทรัพยากรชายฝั่งอันดามันและการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน 

 

ระเด็นสำคัญในเรื่อง “แนวคิด” “เป้าหมาย”  และ “ความคาดหวัง”  จากการทำงานกองทุนหมุนเวียนหรือกองทุนฟื้นฟูอาชีพ คือ กองทุนต้องสามารถแก้ไขปัญหาของสมาชิกและชุมชน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันและทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้   ฉะนั้น กระบวนการหรือยุทธศาสตร์หลักต้องมุ่งสร้างและส่งเสริมให้กองทุนเติบโต เข้มแข็งและยั่งยืน โดยไม่ได้มองมิติเดียวคือ “ตัวเงิน”   เพื่อทำให้กองทุนหมุนเวียนเป็น  “กลไกทางสังคม”   ที่ใช้เป็นเครื่องมือสร้างและพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนได้จริง  ดังนั้น  บทบาทของกองทุนต้องไม่ทำเฉพาะการให้กู้ยืมเงิน เท่านั้น  และโครงสร้างหรือระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากกองทุนฯ  ต้องเป็นการสร้างโอกาสให้คนยากไร้ คนด้อยโอกาสในชุมชนได้เข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่ได้จริง  ชุมชนพึ่งตัวเองได้ทางเศรษฐกิจ  กองทุนฟื้นฟูอาชีพต้องเอื้อต่อการสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ของสมาชิกในชุมชน  การสร้างเศรษฐกิจที่ดี ทำให้ชุมชนมีทางเลือกมากขึ้นนั้น ต้องเป็นระบบเศรษฐกิจหรืออาชีพที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ  จึงจะทำให้คนในชุมชนมีอาชีพที่ยั่งยืน  ครอบครัวอยู่รอด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการดูแล   สิ่งเหล่านี้สามารถนำไปสู่ความมั่นคง  ยั่งยืน และปลอดภัยของชุมชนได้จริง 

ลังจากเหตุการณ์สึนามิ ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เข้าไปสนับสนุน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน   เนื่องด้วยพี่น้องตระหนักว่า ทรัพยากร ป่าไม้และภูเขาได้ป้องกันชุมชนให้ปลอดภัยจากภัยสึนามิ  ไม่ให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของคนในชุมชน  การทำงานจึงทำให้เกิดรูปธรรมดีดีมากมาย ได้แก่ การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า  การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่ประสบความสำเร็จ  การบริหารจัดการองค์กรชุมชนและองค์ความรู้ที่ดี  นอกจากนี้ ยังเกิดการทำงานเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ รณรงค์และมีพลังในการขับเคลื่อนเพื่อการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของพี่น้องและมีส่วนร่วมในการผลักดันกฎหมาย นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   ชุมชนมีบทเรียนสำคัญ ๆ ที่สามารถเรียนรู้และเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของชุมชนเองและชุมชนอื่น ๆ   จากรูปธรรมตัวอย่างดีดี  เช่น  การประกอบอาชีพที่ดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน เช่น  ธนาคารปู  โครงการรับบริจาคแม่พันธุ์ปูไข่  กำหนดอาณาเขตอนุบาลสัตว์น้ำ  การเพิ่มมูลค่าของผลผลิต  เอาขยะของเหลือจากการทำอาชีพประมง เช่น เศษกุ้ง ปู ขี้กุ้ง มาทำปุ๋ยใช้ในงานเกษตรกรรม ลดต้นทุนการผลิตของครัวเรือนและทำให้มีสุขภาพดีขึ้น    การอนุรักษ์ เช่น ปลูกป่าชายเลน  ปลูกป่าทดแทน  ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ไม่ใช้สารเคมี  ปลูกต้นไม้ในพื้นที่เสื่อมโทรมและฟื้นฟูพื้นที่ที่เสีย เกิดกลไกและเครื่องมือการจัดการทรัพยากรในชุมชน เช่น  ทีมอาสาสมัครเฝ้าระวังป่าชายเลน เครือข่าย  กฎกติกาชุมชน  และศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน เป็นเครื่องมือสร้างการเรียนรู้ของเยาวชน และคนในชุมชน  รวมทั้ง มีหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องนิเวศน์ป่าชายเลน วิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนในโรงเรียน  ถือเป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้และจิตสำนึกของคนในชุมชนและคนรุ่นใหม่

 

ย่างไรก็ตาม  การทำงานกับชุมชนที่ประสบภัยพิบัติสึนามิ ทั้ง 4 ประเด็น ได้พบว่า งานสำคัญที่ชุมชนต้องทำ คือ การสร้างให้เกิดความรู้ ความเข้าใจแก่ทุกคนและทุกองค์กรในชุมชนได้เกิดความตระหนัก มีจิตสำนึกถึงความเป็นเจ้าของ หวงแหน คิดว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนต้องทำงานร่วมกัน จึงทำให้เกิด “การมีส่วนร่วม” โดยเฉพาะความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะเป็นองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดและอยู่กับพี่น้องตลอดไป ทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทำงานกันเป็นเครือข่ายทุกระดับ เพื่อการเรียนรู้ หนุนเสริมกันและแก้ไขปัญหาของชุมชน และชุมชนต้องร่วมกันทบทวนและสังเคราะห์สิ่งที่มีอยู่ ณ. วันนี้  เพื่อให้รู้จักตนเองและนำมากำหนดจังหวะก้าวของชุมชนด้วยตนเองอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับที่หลายคนในเวทีสัมมนาเห็นด้วย ก็คือ  ชุมชนต้องกำหนดชีวิตของตนเอง เพื่อการพึ่งตนเอง 

 

 

 

หมายเหตุ ผู้สนใจขอรับเอกสารสรุปผลการประชุม ได้ที่มูลนิธิรักษ์ไทย

หมายเลขบันทึก: 279025เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท