ดีใจจังเด็กกลับมาเรียน


ความอบอุ่นจากครอบครัว และจากครูจะเป็นพลังให้เด็กมีความเชื่อมั่น

     วันนี้ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจมาก  เพราะเห็นการกลับมา กลับมาเรียนเหมือนเดิมของเด็กนักเรียนคนหนึ่ง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ก่อนหน้านั้นเธอเจอปัญหาที่หาทางแก้ไม่ออก  เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้วเด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่งเข้ามาที่ห้องวิชาการ สีหน้าเศร้า มีน้ำตาอาบแก้ม ดูสับสนในตัวเอง ข้าพเจ้าก็สงสัยแต่ยังไม่ได้ซักถามเด็กคนนี้โดยตรง แต่จำได้ว่าเด็กคนนี้เขาเป็นเด็กดี ร่าเริง ที่จำแม่นก็เพราะว่า เวลาข้าพเจ้าเดินผ่านทีไรเขาจะบอกว่า อยากเรียนกับอาจารย์จัง  ทำไมอาจารย์ไม่สอนห้องหนู ข้าพเจ้าก็ได้แต่ตอบว่าเอาไว้เทอมหน้าก่อน

    ...ข้าพเจ้าเดินเข้าออกวิชาการและได้ทราบความว่าเด็กคนนี้มาขอลาออก    ผมกลับอึ้ง เพราะคิดไม่ถึงว่าเด็กที่ร่าเริง สนใจเรียนคนนั้นจะลาออก ตกใจ แต่ต้องรีบทำธุระยังไม่ได้พูดคุยกับเด็ก แต่ได้ฝากน้องที่เป็นครูแนวจิตตปัญญาว่าให้ช่วยเด้กคนนี้ด้วยนะ ทั้งๆ ที่ใจอยากเข้าไปช่วย แต่ขณะนั้นมีรูปแบบที่เป็นทางการในการว่า สืบสวนสอบสวน ว่ากล่าวตักเตือน จัดโต๊ะเป็นรูปแบบ มีผู้ปกครอง (พ่อ) ครูที่ปรึกษา หน.วิชาการ ผู้บริหาร และนักเรียน ช่างเป็นการเผชิญหน้าที่ข้าพเจ้าฟังอยู่ใกล้แล้วกดดันเด็กมากเกินไป ไม่ผ่อนคลาย ขณะนั้นข้าพเจ้าก็อดไม่ได้ที่อยากจะช่วยเด็กคนนี้จึงเขียนจดหมายน้อยส่งให้ครูที่ปรึกษาว่า อยากให้พูดคุยกับผู้ปกครองและเด็กแบบส่วนตัวอีกครั้งก่อนกลับ  เมื่อ หน.วิชาการท่านไปสอน และครูที่ปรึกษาและเด็กออกไปพูดคุยนอกห้อง  ข้าพเจ้าก็ขออนุญาตให้ข้อมูลเด็กคนนี้กับพ่อ (พ่อน้า) ที่ดุเพราะท่านแตะและไล่เด็กออกจากบ้าน ว่าจริงๆ แล้วเด็กคนนี้เป็นเด็กดี ตั้งใจเรียนนะ ผมจะเสียใจมากที่พ่อให้เขาออกโรงเรียนเพียงเหตุผลแค่นั้น ให้อภัยเขาได้ไหม เพราะเขายังเด็ก ให้ความอบอุ่นเขา ถ้าบ้านไม่อบอุ่นเสียแล้วเด็กคงไม่รู้จะไปอยู่ไหน ตอนนี้เด็กเขาสับสน ปล่อยให้เขานิ่งคิด และให้แม่โอบกอดเขาบ้าง  เพราะหากเขาได้เรียนต่อนั่นคือเราได้ให้ชีวิตเขาไปต่อข้างหน้า

    จากนั้นผมก็รีบออกไปถ่ายเอกสาร เดินผ่านเด็กหญิงคนนั้นอยู่กับครูที่ปรึกษา ผมก็ได้เข้าไปพูดคุยให้แง่คิด และให้กำลังใจเขา จากนั้นก็รอดูว่าเขาจะกลับใจมาเรียนหรือไม่ วันศุกร์ไม่มา แต่ผมมีความมั่นใจลึกๆ ว่าเด็กคนนี้จะต้องเปลี่ยนใจกลับมาเรียน

     วันจันทร์ (วันนี้) ผมยังรอการกลับมาของเด็กคนนั้น และก็เป็นวันที่ผมดีใจที่เพื่อนเขาบอกว่าเด็กคนนั้นมาเรียนแล้ว  ตอนเย็นเพื่อความแน่ใจผมไปเดินดูที่แถวพบว่าเขามาเข้าแถวกลับบ้าน  สีหน้ายังหม่นอยู่พอควร และได้ข่าวว่าจะย้ายห้องเรียนไปอีกห้อง

     ข้าพเจ้าอยากจะสะท้อนคิดว่า การช่วยแก้ปัญหานักเรียนที่มีปัญหาท้อแท้ หมดกำลังใจ สับสน ที่บ้านไม่อบอุ่น จึงคิดจะไปพึ่งคนรัก แล้วคิดตัดสินใจจะลาออกจากโรงเรียน หรือปัญหาต่างๆ ของนักเรียนในโรงเรียน นั้น ไม่ควรยึดรูปแบบที่เป็นทางการ เพราะยิ่งจะสร้างบรรยากาศที่ตึงเครียด กดดัน ก่อให้เด็กเกิดปม ยิครูที่ทำหน้าที่ตรงนี้ หากไม่มีศิลปะแล้วก็จะกลายเป็นการซ้ำมากกว่าช่วย

      ควรใช้บรรยากาศที่เป็นกันเอง อบอุ่น อย่าคาดคั้นกดดัน ให้ครูที่ปรึกษาพูดคุยแบบเป็นธรรมชาติ อย่าจัดฉากเสมือนว่าเป็นการลงโทษ ซึ่งน่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ดีกว่าการใช้รูปแบบการลงโทษที่เป็นทางการนะครับ

        

หมายเลขบันทึก: 278431เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิมต่อต้านมาก ๆ กับการลงโทษค่ะ
  • แต่ถ้าหากอยากจะลงโทษ..ต้องควรให้เด็กยอมรับ  สร้างกฏระเบียบขึ้นมาเอง
  • ว่า...การลงโทษนั้นได้แก่อะไรบ้าง  การลงโทษแบบเจ็บกายเจ็บใจ  เป็นผลเสียต่อจิตใจของเด็กไปจนวันตายนะคะ
  • เด็กสับสน..ควรให้ความช่วยเหลือ  และติดตามใช้เวลา..ค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ
  • สวัสดีพี่คิม
  • สบายใจหรือยังช่วงนี้
  • ขอบคุณที่ให้กำลังใจ

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิมไม่ทุกข์ใจหรอกค่ะ  และไม่เครียด
  • เพียงแต่ไม่ชอบพฤติกรรมแบบ..ไม่น่าไว้วางใจ  ก็เท่านั้นเองค่ะ
  • และครูตีเด็ก ลงโทษเด็กพี่คิมก็ไม่ชอบค่ะ

บรรยากาศที่อบอุ่น ไม่กดดัน ทำให้ผ่อนคลาย

และเกิดอะไรดีๆค่ะ

แวะมาทักทาย

รักษาสุขภาพนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท