การใช้ไอซีทีในการบริหารการศึกษา


การใช้ไอซีทีในการบริหารการศึกษาเพื่อการเรียนรู้

การใช้ไอซีทีในการบริหารการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ 

 

ICT คือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้เข้ามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมสามารถประมวลผลข้อมูลข่าวสารได้เร็ว และสื่อสารกันได้สะดวก เทคโนโลยีดังกล่าวจึงเรียกรวมว่า ICT - Information and Communication Technology ไอซีที มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะการประยุกต์ในระบบการศึกษา

ความหมาย ICT

ICT ย่อมาจาก “Information and Communication Technology” หมาย ถึง “ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง แปลง จัดเก็บ ประมวลผล และค้นคืนสารสนเทศ

I ย่อมาจากคำว่า Information คือ ระบบสารสนเทศ

C ย่อมาจากคำว่า Communication คือ การสื่อสาร

T ย่อมาจากคำว่า Technology คือ เทคโนโลยี ในที่นี้คือ คอมพิวเตอร์

 

 

ความสำคัญของ ICT

การใช้ ICT ในการจัดการเรียนรู้ ความหมายโดยรวม หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ การสื่อสาร เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ ซึ่งรวมไปถึงการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาไทย โดยให้ความสำคัญ กับผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี ให้ความสำคัญสูงสุดในกระบวนการการปฏิรูปการเรียนรู้ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และรู้จักแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง การปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น ปลูกฝังคุณธรรมในทุกวิชา มีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่างแท้จริง

ปัจจุบันพบว่ากระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่อง ICT จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการ ศึกษา พ.ศ. 2550 – 2554 ดังนี้ “ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชน ใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา ได้เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐาน สากล” เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาในภาพรวมอย่างเป็นรูปธรรม

ลักษณะการใช้ ICT

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน

การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง

บทบาทของสถานศึกษาในการใช้ ICT เพื่อจัดการเรียนรู้

บทบาทของสถานศึกษา

1. กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันด้าน ICT

2. จัดทำหลักสูตร/จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการด้าน ICT

3. ผู้บริหารมีความมุ่งมั่น และมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

4. สนับสนุนครู และบุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเข้าถึงการใช้งาน ICT อย่างทั่วถึง

5. ปรับบทบาทและวิธีการสอนของครู

สถานศึกษาที่มุ่งหวังจะนำ ICT มาใช้ในการเรียนการสอนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องต่อไปนี้

1. มีความร่วมมือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน

2. ติดต่อกับแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เชื่อมโยงโรงเรียนเข้ากับชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3. จัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

4. ขจัดปัญหาเรื่องพรมแดน สถานที่และเวลา

5. นำศักยภาพของสื่อ ICT มาช่วยเสริมกระบวนการเรียนรู้

ความสำเร็จในการใช้ ICT ในการเรียนรู้

1. ผู้เรียน : จะต้องมีทักษะพื้นฐานในการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้

2. หลักสูตร : จะต้องมีการสอดแทรก ICT เข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนและส่งเสริมให้เกิดการคิด วิเคราะห์ และการสร้างองค์ความรู้

3. ผู้สอน/ผู้บริหาร : จะต้องมีทักษะพื้นฐาน และสามารถนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการ สอน

4. เทคโนโลยี : เลือกใช้เทคโนโลยีได้สอดคล้อง และเหมาะสมกับผู้เรียน

ดังนั้น การจะพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจำเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริม พัฒนาโครงสร้าง ICT ให้ครอบคลุมทั่วทุกภาค ทั้งเขตเมือง และชนบท รวมทั้งการส่งเสริมการใช้ ICT ของประชากร ทั้งในการดำรงชีวิต และในการทำงาน ซึ่งจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องศึกษา และหาวิธีการที่จะกระตุ้นเพื่อให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการใช้ ICT

ประโยชน์และความสำคัญของเทคโนโลยีบริหารการศึกษา  การใช้เทคโนโลยีของผู้บริหารการศึกษาระดับต่างๆนั้น  โดยทั่วไปเพื่อให้งานต่างๆที่ต้องรับผิดชอบสำเร็จลุล่วงด้วยดี  ดังประโยชน์ต่อไปนี้

1.ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาไว้เป็นหมวดหมู่ในฐานข้อมูลของหน่วยงาน  ซึ่งอาจจัดเก็บเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยอัตโนมัติ  และสามารถสืบคืนข้อมูลต่างๆมาใช้ได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วน

2.ช่วยในการประมวลผลข้อมูลที่จัดเก็บไว้เพื่อให้เป็นสารสนเทศรูปแบบต่างๆเช่น จัดทำเป็นรายงาน  ตาราง  กราฟ  และแผนภาพต่างๆได้แบบอัตโนมัติ  ทำให้ผู้บริหารได้รับทราบรายงานและเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

3.ช่วยในการประเมิน  หรืองานประกันคุณภาพ  เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานจะได้ผลที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายจริง

4.ช่วยในการส่งข้อมูลและรายงานที่ประมวลผลได้  แล้วไปให้ผู้รับที่อาจจะอยู่ห่างไกลจากหน่วยงาน  ทำให้ผู้รับได้รับข้อมูลและรายงานอย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะส่วนที่เป็นข้อมูลนั้นหากผู้รับต้องการนำไปใช้ประมวลผลต่อ  ก็สามารถทำได้ทันที  ไม่ต้องบันทึกข้อมูลใหม่อีกครั้ง

5.ช่วยในการนำเสนอรายงานหรือข้อเสนอต่างๆต่อผู้บังคับบัญชา  หรือ  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระหว่างการประชุมสัมมนา

6.ช่วยในการจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการปฏิบัติงาน  และ การดูงาน เพื่อสร้างเป็นฐานความรู้สำหรับนำมาให้ผู้บริหารระดับล่างได้ศึกษาและนำไปใช้ประกอบการปฏิบัติงาน เช่น ความรู่จากการเปิดสาขาวิชาหรือหลักสูตรใหม่ว่ากำหนดแนวทางไว้อย่างไร  การดำเนินงานได้ผลอย่างไร  มีปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร  ผลของการแก้ปัญหาเป็นอย่างไร

7.ช่วยให้ผู้บริหารสามารถทดสอบการตัดสินใจของตนได้โดยอาศัยโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจ  จากนั้นก็อาจเลือกดำเนินงานโดยใช้แนวทางที่เห็นว่าดีที่สุด

8.ช่วยในงานบริหารโดยตรงของผู้บริหาร เช่น การบริหารงานโครงการ การบันทึกตารางนัดหมาย การบันทึกข้อมูลส่วนตัว การจัดทำเอกสารที่ยังไม่ต้องการเปิดเผย การคำนวณหรือการประมวลผลบางอย่าง

สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีบริหารการศึกษาได้ดังนี้

1.เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้การบริหารจัดการของผู้บริหารการศึกษามีความสะดวกรวดเร็วและมีคุณภาพ

2.เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้การสื่อสารและการประสานงานด้านการบริหารการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาสะดวกรวดเร็ว

3.เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้พัฒนาการด้านการศึกษาของประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่นและมั่นคง

4.เทคโนโลยีบริหารการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้สามารถผลิตผู้จบการศึกษาทุกระดับที่มีคุณภาพได้

 

 

 ขอขอบคุณที่มา http://learners.inth/blog/myfirst13/167962

                     เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา  ดร.ครรชิต  มาลัยวงศ์

หมายเลขบันทึก: 278004เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2009 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะ ที่ชมว่างานสวย ของพี่นกก็สวยค่ะและเนื้อหาก็ดีด้วย ของพิมคงต้องปรับปรุงเนื้อหาอีก.ส่วนของป้าปิยะจะให้ช่วยทำให้ได้ค่ะไม่มีปัญหายินดีให้บริการค่ะ

แจ๋วจริงๆเลยนะค่อพี่นกไม่สงสารติ๊กกับพี่ขวัญบ้างเลยนะ

ถูกต้องแล้ว สงสารป้าเค้าเลยช่วยทำblogให้ป้าเค้าจะได้สวย ๆ เหมือนกับเพื่อนๆในห้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท